560 likes | 1.11k Views
การวัดประเมิน ตามสภาพจริง โดยการปฏิบัติและจากแฟ้มสะสมงาน เพื่อ พัฒนา / ปรับปรุงการเรียนรู้ : แนวคิดและวิธีการ ( Authentic, Performance, Portfolio Assessments FOR Learning Improvement: Concepts & Practices ).
E N D
การวัดประเมินตามสภาพจริง โดยการปฏิบัติและจากแฟ้มสะสมงาน เพื่อพัฒนา/ปรับปรุงการเรียนรู้ : แนวคิดและวิธีการ(Authentic, Performance, Portfolio Assessments FOR Learning Improvement: Concepts & Practices ) รองศาสตราจารย์ ดร. องอาจ นัยพัฒน์ ภาควิชา การวัดผลและวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
หัวข้อการบรรยาย • คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ • แนวทางการประเมินการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ • กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน • ผลการเรียนรู้: พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย • การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ • ตัวอย่าง: เครื่องมือการวัดประเมินผลการเรียนรู้ (พุทธิพิสัย จิตพิสัยและทักษะพิสัย) หมายเหตุ: เอกสารนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ แต่ได้โปรดอ้างอิงชื่อ/นามสกุลของผู้จัดทำ (ที่เรียบเรียงความคิดและร้อยเรียงถ้อยคำในการจัดทำเอกสารนี้เป็นเวลานานพอควร) ขอบคุณ ครับ รศ.ดร.องอาจ นัยพัฒน์
๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง • การวัด (Measurement) คือ การกำหนดตัวเลขเพื่อบ่งชี้ปริมาณคุณสมบัติหรือลักษณะของวัตถุหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจตามกฎเกณฑ์บางประการ • การประเมินค่า (Evaluation) คือ การตัดสินคุณค่าและมูลค่าของบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจตามการตีความข้อมูลสารสนเทศ (โดยเฉพาะข้อมูลสารสนเทศจากการวัดในรูปตัวเลข) ที่รวบรวมได้ • การวัดประเมิน (Assessment) คือ กระบวนการเก็บรวบรวม บันทึกและใช้ข้อมูลสารสนเทศเพื่อประเมินค่าบุคคล วัตถุ เหตุการณ์ หรือสิ่งใดๆ ที่สนใจ • การวัดประเมินในชั้นเรียน (Classroom Assessment)เป็นกระบวนการที่ครูทำการรวบรวมและตีความข้อมูล/สารสนเทศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และทัศนคติ/ความเชื่อของนิสิต/นักศึกษา แล้วนำผลการตีความดังกล่าวไปใช้ตัดสินใจในการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น • การวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment FORLearning) เป็นการวัดประเมินความก้าวหน้าเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน • การวัดประเมินขณะเรียนรู้ (Assessment AS Learning) เป็นการวัดประเมินการกำกับหรือนำตนเองในการเรียนรู้ได้อย่างเป็นอิสระของผู้เรียน • การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (Assessment OFLearning) เป็นการวัดประเมินเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงระดับความสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนนั่นเอง
๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การวัดประเมิน (Assessment) การวัด (Measurement) เช่น การทดสอบ ไม่ใช่การวัด (Non-measurement) เช่น การสังเกต การสอบถามด้วยวาจา และ/หรือ บวก บวก การประเมิน/ตัดสินคุณค่า (Evaluation/Value Judgments) เช่น ปานกลาง ดี ดีเยี่ยม แผนภาพ: กระบวนการวัดประเมิน (The assessment process)
๑.คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) • การวัดประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment)คือ การประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่เกิดขึ้นในสภาพการณ์จริง (A real life context) • การวัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessment) คือ การวัดประเมินกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของการปฏิบัติที่สะท้อนความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณลักษณะหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่สาธิตหรือแสดงออกมาให้เห็น • การวัดประเมินด้วยแฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) คือ การวัดประเมินความรู้ ทักษะ ความสามารถ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนจากข้อมูลหลักฐานที่บ่งชี้ความเพียรพยายาม ความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในแฟ้มสะสมงาน (Portfolios) ที่เก็บรวบรวมและจัดเรียงอย่างเป็นระบบภายในระยะเวลาหนึ่งๆ
การวัดประเมินหลังสอน ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ การวัดประเมิน ระหว่างสอน การวางแผน การสอน การค้นหาข้อมูลหลักฐานบ่งชี้ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การวัดประเมินก่อนสอน แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการสอนและ การวัดประเมินการเรียนรู้ เป้าหมายการเรียนรู้และวัตถุประสงค์การเรียนรู้โดยทั่วไป ที่มา: ดัดแปลงจาก McMillan (2004, p.7)
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประเมินการเรียนรู้และองค์ประกอบการเรียนรู้อื่นๆ ที่มา: องอาจ นัยพัฒน์. (2557)
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) แผนภาพ: ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดประเมินการเรียนรู้แบบผลสรุปและผลย่อย ระดับผลกระทบ (Impact level) หลักสูตร สารสนเทศป้อนกลับ (Information feedback) การวัดประเมินผลสรุป (Summative assessment) การวัดประเมินระดับมหภาค จิตวิทยา การวัดประเมินผลย่อย (Formative assessment) การวัดประเมินตัดสินผลการเรียนรู้ (AssessmentOFLearning) การสอนและการเรียนรู้ในชั้นเรียน การวัดประเมิน ระดับจุลภาค ระบบการวัดประเมินที่สมดุล (Balanced Assessment System) การวัดประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ (AssessmentFORLearning)
ความหมาย กระบวนการรวบรวม วิเคราะห์และวิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนจากหลากหลายแหล่งเพื่อความเข้าใจอย่างลุ่มลึกว่าผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ความสามารถทักษะ และคุณลักษณะพึงประสงค์อะไรบ้าง ที่เป็นผลจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผ่านมา หนังสือแนะนำ ๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน: • แนวคิดและหลักการ • เป็นไปในลักษณะ “การนั่งเคียงข้าง (Sitting beside)” ตามความหมายของคำว่า “assess” หรือ “assidere” ในภาษาละติน ที่แปลว่า “to sit beside” • ดำเนินไปด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ • มีการวิเคราะห์/วิพากษ์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ • ผู้ประเมินวัดประเมินการเรียนรู้ของนิสิต/นักศึกษาด้วยความเมตตา/เอื้ออาทร • รวมรวมข้อมูลสารสนเทศจากหลากหลายแหล่ง (ไม่เพียงแต่คะแนนการสอบ) • มุ่งเน้นวัดประเมินเพื่อการพัฒนาปรับปรุง (มากกว่าตรวจสอบ) การเรียนรู้
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๑) • เป็นการวัดประเมินในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตั้งอยู่บนฐานคิดสำคัญ คือ • รูปแบบและสาระของการวัดประเมินจะต้องสะท้อนการคิดและทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียนแต่ละกลุ่มสาระที่เกิดขึ้นในระดับจุลภาค (Micro small-scale level) เช่น ชั้นเรียน หรือห้องปฏิบัติการ/สนามปฏิบัติการ ได้อย่างดี • การวัดประเมินจะต้องมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเรียนรู้อย่างไร มีความก้าวหน้าเพียงใด (Formative purpose) ทำอะไรได้ (หรือไม่ได้) บ้าง และทำการพิจารณาตัดสินใจเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (ตามศักยภาพที่มี) (Assessment FOR learning)และมีจิตนิสัยกำกับการคิดหรือการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองได้อย่างเป็นอิสระในขณะเรียนรู้หรือไม่ (Assessment AS learning) • มุ่งเน้นประเมินกระบวนการเรียนรู้ (Process of learning) แทนที่จะเน้นการตัดสินผลการเรียนรู้ (Summative purpose) หรือพิสูจน์ให้เห็นว่าการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ผลตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่อย่างไร (Assessment OF learning) • มีสาระต้องเชื่อมโยงกับหลักสูตร/การจัดการเรียนรู้ จิตวิทยา/วัฒนธรรมการเรียนรู้ และจะต้องเชื่อมโยงกับระบบการวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานในระดับมหภาค (Macro or large-scale level) เช่น กลุ่มสถานศึกษา เขตพื้นที่ ประเทศ/นานาประเทศ (Balanced Assessment system)
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๒) • เป็นการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Classroom-based Formative Assessment) • ช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้และพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน • ช่วยปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Learning-oriented assessment)ของนิสิต/นักศึกษาให้แก่ครู/อาจารย์ • ให้สารสนเทศป้อนกลับอย่างมีความหมาย (Meaningful feedbacks) สำหรับผู้เรียน ครู/อาจารย์ (รวมทั้งผู้บริหารหลักสูตร) ว่าผู้เรียนมีผลการเรียนรู้ (Learning outcomes) ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และอารมณ์/ทัศนคติ เป็นไปตามระดับมาตรฐานหรือไม่ อย่างไร • เป็นการเชื่อมโยงระหว่างการสอนของครู/อาจารย์และการเรียนรู้ของผู้เรียน • ช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจให้แก่ครู/อาจารย์ (รวมทั้งผู้บริหารหลักสูตร) เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนในสาระต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๔) • เป็นตามสภาพจริง (Authentic) • เป็นกระบวนการต่อเนื่อง/พลวัต(ongoing/dynamic) ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร การเรียนการสอน และการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ • เป็นรูปแบบที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกและแสดงความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และทัศนคติ/ความเชื่อที่ตนมีตามความเป็นจริงได้อย่างอิสระ • วิธีดำเนินการมีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ตามบริบทของการจัดเรียนรู้ในชั้นเรียน • มีความสอดคล้องกับบริบทชั้นเรียนและวัฒนธรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน • เน้นวัดประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่สัมพันธ์กับ “โลกแห่งความเป็นจริง” • เน้นการวัดประเมินเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินหรือพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการเรียนรู้ (เช่น ตัดเกรด) • ลดความตึงเครียดและความวิตกกังวลจากประสบการณ์ใดๆ ในทางลบที่เกิดจากการวัดประเมินการเรียนรู้แบบดั้งเดิม • ส่งเสริมให้ผู้เรียนวัดประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือโดยกลุ่มเพื่อน (Self- or Peer-Assessment) เพื่อให้เกิดการคิดสะท้อนกลับมาพัฒนาการเรียนรู้ของตนต่อไป
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๕) • ลักษณะของการวัดประเมินตามสภาพจริง • ใช้วิธีการกระตุ้น/ท้าทายนิสิต/นักศึกษาให้ปฏิบัติการหรือแสดงออกในสภาพการณ์จริง (Performance in the field) ว่ามีความรู้/ความเข้าใจ ความสามารถ/ทักษะ และอารมณ์/ความรู้สึก เพียงใด อย่างไร • กำหนดโจทย์ ให้ปฏิบัติหรือแก้ปัญหาโดยใช้กิจกรรมหรืองานที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง • ใช้เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่หลากหลาย รวมทั้งสอดคล้องกับลักษณะผลการเรียนรู้ และบริบทที่ต้องการวัดประเมิน มากยิ่งขึ้น • ผลการวัดประเมินทำให้ครูมีสารสนเทศเพื่อใช้ตัดสินใจในกระบวนการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน มากขึ้น • มีกฎเกณฑ์สำหรับใช้ในการวัดประเมิน (Assessment rubrics) • เน้นให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้และครูสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ของตน (self reflection) จากสารสนเทศผลการวัดประเมิน • We do not learn from experience. We learn from reflecting on experience.John Dewey
๑. คำสำคัญ ความหมาย และแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง (ต่อ) กระบวนทัศน์ใหม่ในการวัดประเมินการเรียนรู้ (๖) สรุปประเภทและลักษณะของการวัดประเมินการเรียนรู้ (1) Berry (2008, pp. 9-11) สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (กำลังพิมพ์)
การวัดประเมินการเรียนรู้รายภาคเรียนการวัดประเมินการเรียนรู้รายภาคเรียน
๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ ผู้สอนกำลังจะไปไหน (จะนำพาผู้เรียนไปที่ใด) กลยุทธ์ที่ 1: ให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจวิสัยทัศน์เกี่ยวกับเป้าหมายการเรียนรู้อย่างชัดเจน กลยุทธ์ที่ 2: แบ่งปันตัวอย่างและตัวแบบงานที่ได้เรียนรู้ (ทั้งที่ดีและไม่ดี) ให้ผู้เรียนทราบ ผู้สอนอยู่ที่ใดในเวลานี้ กลยุทธ์ที่ 3: ให้สารสนเทศป้อนกลับ (Feedback) แก่ผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ กลยุทธ์ที่ 4: สอนผู้เรียนตั้งเป้าหมายและประเมินการเรียนรู้ของตนเอง ผู้สอนจะสามารถจัดการเรียนรู้ไปสู่เป้าหมายดังกล่าวได้อย่างไร (จะปิดช่องว่างจุดเป้าหมายที่จะไป-จุดที่อยู่ปัจจุบัน) กลยุทธ์ที่ 5: ออกแบบบทเรียนที่เน้นเป้าหมายการเรียนรู้แบบแยกส่วน (มากกว่ารวมส่วนกันอย่างหลากหลาย เป้าหมาย) ในแต่ละครั้ง กลยุทธ์ที่ 6: สอนผู้เรียนให้ทบทวนผลงานการเรียนรู้แต่ละคุณลักษณะในแต่ละเวลา กลยุทธ์ที่ 7: ปลูกฝังผู้เรียนให้คิดสะท้อนกลับ (ใคร่ครวญไตร่ตรอง) เพื่อกำกับติดตามเรียนรู้ของตนเองและ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น Chappuis, 2009, p. 12; Citing in Stiggins & Chappuis, 2012, p. 30
๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ การวัดประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศัตวรรษที่ 21 • บริบทหรือเงื่อนไขการวัดประเมินผันแปรได้ (มากกว่าการอยู่ภายใต้เพียงมาตรฐานเดียว) • สภาพการประเมินสอดคล้องกับ “โลกความเป็นจริง”(Real world situation) • เน้นการวัดประเมินกระบวนการและผลผลิตของการทำโครงการ (Projects) หรืองาน (Tasks) ที่กำหนดให้ปฏิบัติ (Project/Task-Based learning) • เน้นนำผลการวัดประเมินเป็นสารสนเทศป้อนกลับไปสนับสนุนการเรียนรู้ทั้งของผู้เรียนและผู้สอน • เน้นวัดประเมินและรายงานผลการประเมินการเรียนรู้ในรูปทีมงาน (Team results) (มากกว่ารายบุคคลรายบุคคล) • เปิดเผยขอบข่ายเนื้อหาและเกณฑ์การวัดประเมินกว้างๆ ให้ผู้เรียนทราบ (มากกว่าปกปิดไว้เป็นความลับ) • สนับสนุนให้ผู้เรียนประเมินกระบวนการและผลการเรียนรู้ของตนเอง (Self-assessment) (Reeves, 2010; Shepard et. al., 2005)
หมายเหตุ: เรียนรู้ (Learn) เข้าใจ (Understand) สร้างสรรค์ (Create) สำรวจ (Explore) และแบ่งปัน (Share) สำรว จ เรียนรู้อะไรนอกเหนือจากบทเรียนบ้าง มีสิ่งใดที่ทำผิดและเรียนรู้จาก สิ่งผิดนั้นอย่างไร แบ่งปัน ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อช่วยเหลือบุคคล ชั้นเรียน ชุมชนหรือ โลกอย่างไรบ้าง สร้างสรรค์ มีแนวคิด ความรู้ หรือความเข้าใจใหม่อะไรบ้าง ที่สามารถนำเสนอได้ การวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ใน ศัตวรรษที่ 21 เข้าใจหลักฐานอะไรที่สามารถประยุกต์การเรียนรู้ในขอบเขตการรู้คิดหนึ่งไปยังที่คล้ายๆ กัน เรียนรู้ รู้อะไร และสามารถทำอะไร ได้บ้าง กรอบแนวคิดการวัดประเมินทักษะการเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 (ที่มา: อ้างอิงจาก Reeves, 2010, p.312)
เป้าหมาย/ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนในโลกศัตวรรษที่ 21 การเรียนรู้ในศัตวรรษที่ 21 ที่ห้องปฏิบัติการทางการศึกษาในเขตพื้นที่ส่วนกลางตอนเหนือ (North Central Regional Educational Laboratory–NCREL) หรือที่นิยมเรียกว่า enGauge model พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 2003 โดยได้รับการอ้างอิงถึงในหนังสือ 21st Century Skills ค่อนข้างมากเช่นเดียวกับ P21 Framework กรอบแนวคิดทักษะในศัตวรรษที่ 21 (The Partnership of 21st Century Skills–P21)
๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ หลักการตั้งคำถามเพื่อวัดประเมินการเรียนรู้ • เน้นตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบแบบให้เหตุผล • คำถามเชิงวิเคราะห์ • คำถามเชิงสังเคราะห์ • คำถามเชิงเปรียบเทียบ • คำถามเชิงจำแนก • คำถามเชิงประเมิน • คำถามนิรนัยและอุปนัย • เน้นตั้งคำถามที่กระตุ้นการคิดและสนับสนุนการเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกตและเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนถ่ายโยงการเรียนรู้ • คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนยืนยัน/ตรวจสอบสิ่งที่ได้เรียนรู้ • คำถามที่ช่วยทำให้ผู้เรียนกำกับ/ควบคุมตนเอง • เน้นตั้งคำถามแบบลุ่มลึกและเชื่อมโยงสาระเดียวกัน • เช่น ตั้งคำถามเกี่ยวกับการอ่านหนังสือนอกเวลาภาษาอังกฤษ (อ่านเข้าใจเรื่องราวได้มากน้อยเพียงใด มีคำศัพท์ง่ายหรือยากต่อการเข้าใจบ้าง ผู้เขียนมีกลยุทธ์ในการเสนอเรื่องราวอย่างไร เรียนรู้อะไรบ้างจากเรื่องราวที่อ่าน และโดยภาพรวมแล้วชอบเรื่องที่อ่านหรือไม่ อย่างไร) • กระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามด้วยตนเองเพื่อสะท้อนกลับความคิดของตนเอง
๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้๒.กลยุทธ์ของการวัดประเมินเพื่อการเรียนรู้ หลักการสำคัญให้สารสนเทศป้อนกลับ (Feedback) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ • ใช้กฎเกณฑ์/แนวทางการให้คะแนน (Scoring rubrics or guidelines) เป็นแนวทางการให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อความชัดเจน • เน้นการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (มากกว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับเชิงเปรียบเทียบระหว่างผู้เรียนด้วยกัน) • ส่งเสริมบรรยากาศในหมู่ผู้เรียนให้มีการวิพากษ์เชิงสร้างสรรค์ มีการคิดใคร่ครวญทวนสอบความคิดและการเรียนรู้ของตนเอง และการยอมรับจุดจำกัดที่ต้องพัฒนาปรับปรุง • ใช้ผลงานหรือทักษะจากการปฏิบัติงานของผู้เรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานแต่ละระดับเพื่อบ่งชี้ข้อดีและข้อจำกัดในการเรียนรู้ของผู้เรียน • ควรเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอตลอดกระบวนการเรียนรู้ (มิใช่เฉพาะตอนจบการสอนแต่ละหัวข้อ) • ครู/อาจารย์และผู้เรียนต้องเข้าใจร่วมกันว่าการให้สารสนเทศป้อนกลับช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ ต้องเชื่อถือและไว้วางใจระหว่างกัน • ควรรวบรวมและวิเคราะห์ข้อผิดพลาดสำคัญ (Key errors) ที่เกิดจากการเรียนรู้ของผู้เรียนว่ามีอะไรบ้าง เกิดจากสาเหตุอะไร และจะให้สารสนเทศป้อนกลับอะไรเพื่อช่วยให้ผู้เรียนหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเหล่านั้น (อาจกระทำผ่านกระบวนการวิจัยในชั้นเรียน) • ใช้กลยุทธ์การเสริมแรงทางบวกด้วยการสื่อสารให้ผู้เรียนรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-efficacy) ในขณะให้สารสนเทศป้อนกลับเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ • สื่อสารด้วยถ้อยคำทางภาษาที่เข้าใจง่ายๆ ตรงประเด็นที่ต้องพัฒนาปรับปรุง และมีระดับความยากง่ายเหมาะสม (ไม่ง่ายเกินไปจนขาดความท้าทาย หรือยากเกินไปจนเกิดความท้อแท้ !!!)
2. เป้าหมายการวัด ประเมินชัดเจน วัดประเมินอะไร เป้าหมาย ชัดเจนต่อผู้สอนและผู้เรียนหรือไม่ ๓. แนวทางการประเมินการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ 1. จุดมุ่งหมายการวัดประเมินชัดเจน วัดประเมินทำไม ใครจะใช้ผลวัดประเมิน ผู้เรียนเป็นผู้ใช้ด้วยหรือไม่ 3.1 เครื่องมือ-วิธีการ วัดประเมินสอดคล้อง กับเป้าหมายการเรียนรู้ & จุดมุ่งหมายการประเมิน วัดประเมินอย่างไร เครื่องมือวิธีการใด & มีคุณภาพ หรือไม่ 3.ออกแบบ วัดประเมินที่ดี 3.2 เลือกตัวอย่างภาระ งาน/กิจกรรมที่จะวัดประเมินเหมาะสม ผู้เรียนมีบทบาทอะไรและมีหลีกเลี่ยงความลำเอียงหรือไม่ อย่างไร 5. สื่อสารมีประสิทธิผล รายงานผลบรรลุจุดมุ่งหมาย ตอบสนองความจำเป็น ของผู้เรียน & ผู้เกี่ยวข้อง ดัดแปลงจาก Stiggins & Chappuis, 2012, p.24)
๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน กระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน แผนภาพกระบวนการวัดประเมินในชั้นเรียน • วางแผน • ทำความเข้าใจบริบทการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน • กำหนดจุดมุ่งหมายการวัดประเมินและใช้ผลการวัดประเมิน • กำหนดเป้าหมาย/ผลการเรียนรู้ที่จะวัดประเมิน • เลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ และเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ • ลงมือวัดประเมิน (รวบรวมข้อมูลสารสนเทศ) • ลงมือรวบรวม (ตระหนักต่อจรรยาบรรณ) • รายงานผล • วิเคราะห์และตีความข้อมูลสารสนเทศ • รายงานผลและพัฒนาการเรียนการสอน http://www.utexas.edu/academic/diia/assessment/iar/teaching/
วัดประเมินผลการเรียนรู้วัดประเมินผลการเรียนรู้ ผลผลิตสุดท้าย การวัดประเมินผลการเรียนรู้ ที่อยู่ในรูปแบบ 2 องค์ประกอบที่แสดงในรูปแบบข้อความ คือ มาตรฐานที่คาดหมายว่าผู้เรียนว่าสามารถ บรรลุผลได้สำเร็จ เป้าหมาย ผลลัพธ์หรือสมรรถนะ วัดประเมินโดยวิธีการของ เกณฑ์มาตรฐานวัดประเมิน สิ่งที่วัดประเมิน สมรรถนะที่ประยุกต์ใช้ ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน ทักษะพิสัย- พุทธิพิสัย- จิตพิสัย ประกอบด้วย ทักษะพิสัย พุทธิพิสัย สมรรถนะเชิงปฏิบัติการ (Practical competence) สมรรถนะเชิงหลักการ(Foundational competence) สมรรถนะเชิงสะท้อนกลับ (Reflexive competence) ที่มา: South African Qualifications Authority (2001, p.20)
๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน สมรรถนะของการเรียนรู้ 3 แบบ สมรรถนะเชิงปฏิบัติการ (Practical competence) สมรรถนะเชิงหลักการ (Foundational competence) สมรรถนะเชิงสะท้อนกลับ (Reflexive competence) สะท้อนการมีความสามารถและทักษะด้านการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมจริง (การปฏิบัติ) แสดงให้เห็นถึงการมีความรู้ความเข้าใจและเหตุผลในการปฏิบัติ (การให้เหตุผลเบื้องหลังการปฏิบัติ) แสดงให้เห็นถึงทักษะ และความสามารถในการเชื่อมโยง (บูรณาการ) การปฏิบัติเข้ากับความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำอย่างไตร่ตรองและมีทัศนคติที่ดี (ความสามารถประยุกต์และการอธิบายเหตุผลสนับสนุนการปฏิบัติงาน) ทักษะพิสัย-พุทธิพิสัย- จิตพิสัย ทักษะพิสัย พุทธิพิสัย ที่มา: South African Qualifications Authority (2001, p.21)
จิตพิสัย(Affective Domain) คนดี: มีคุณธรรม/ จริยธรรม/จิตพิสัยดี (Ethical/ Affective Characteristics) พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คนเก่ง (๑): มีความรู้ความคิด /สติปัญญาดี (Cognitive /Intellectual Ability) ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คนเก่ง (๒):มีทักษะ/กระบวนการ/ความสามารถทางปฏิบัติ (Psychomotor skill/ Performance) ๔. กระบวนการวัดประเมินการเรียนรู้ในชั้นเรียน เป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของผู้เรียน (Students’ Expected Learning Outcomes) คนมีสุข: มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี/มีสุนทรียภาพดี (Physical & Mental Health/Aesthetic Value) เชาวน์ปัญญาอารมณ์ (Emotional Intelligence-EI or EQ) และสุนทรียศาสตร์ (๒). ด้านความรู้ (Knowledge) (๔). ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและ ความรับผิดชอบ และเชาวน์ปัญญาศีลธรรม (Moral Intelligence-MI or MQ) (๓). ด้านทักษะทางปัญญา (Cognitive Skills) เชาวน์ปัญญาการรู้คิด (Cognitive Intelligence-CI or IQ) (๕). ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
Cognitive Domain Higher- order Thinking Skills Advanced Reasoning Basic From: ดัดแปลงจาก Sallee (2012, June) http://suzanne-sallee-iachieve.blogspot.com/2011/08/mobile-learning-and-blooms-taxonomy.html
http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.htmlhttp://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html
http://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.htmlhttp://softchalkcloud.com/lesson/files/8wXSLynRaeBOP6/Learning_Outcomes_Lesson_print.html
ตัวอย่างตารางแสดงรายละเอียดสาระและผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัดประเมินตัวอย่างตารางแสดงรายละเอียดสาระและผลการเรียนรู้ที่ต้องการวัดประเมิน ที่มา: http://cjc-educ10.wikispaces.com/Table+of+Specifications+(TOS)
จิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑) เครื่องมือ/วิธีการ • การสังเกตของอาจารย์ • แบบมีโครงสร้าง • แบบไม่มีโครงสร้าง • การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน • สังคมมิติ (Sociometric approach) • การทายชื่อคุณลักษณะ/พฤติกรรมของบุคคล (Guess-Who approach) • การรายงานตนเองของนิสิต/นักศึกษา • แบบสอบถาม • มาตรประมาณค่า (Rating scale) • การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment) มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านจิตพิสัย • มีความประพฤติอย่างมีคุณธรรม/จริยธรรม • มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม/สังคม • มีความสามารถปรับตนท่ามกลางความขัดแย้งทางค่านิยม • มีการพัฒนานิสัยและปฏิบัติตนตามศีลธรรม • มีการแสดงถึงภาวะผู้นำ • มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล • มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม
การเลือกเครื่องมือ/วิธีการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ (๒) A Teacher ’ Guide To Classroom Assessment
เครื่องมือและวิธีการวัดประเมินเครื่องมือและวิธีการวัดประเมิน เป้าหมายหรือผลการเรียนรู้ ที่คาดหวัง Stiggins & Chappuis (2012, p. 73) Learning targets for 21st Century (Stiggins & Chappuis, 2012,pp. 45-46)
ตัวอย่าง:การวัดประเมินด้านจิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑)
ตัวอย่าง:การวัดประเมินจิตพิสัย (จิตนิสัย/อารมณ์):แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๒) ๙. จิตพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๓) ตัวอย่าง: มาตรประเมินปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของนิสิต/นักศึกษา
พุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๑) มาตรฐานผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย • มีความรู้ความเข้าใจ วิเคราะห์และจำแนก ข้อเท็จจริงในหลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ • สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และใช้ความรู้ ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการต่างๆ ในการแก้ปัญหา • สามารถวิเคราะห์เชิงตัวเลขและใช้เทคนิคทางคณิตศาสตร์และสถิติ • สามารถสื่อสารทั้งการพูด การเขียน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ • สามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง เครื่องมือ/วิธีการ • แบบทดสอบ • แบบเลือกตอบ (Multiple-choice test) • แบบความเรียง (Essay test) • การวัดประเมินการปฏิบัติ (Performance assessments) • กำหนดงาน/กิจกรรมและบริบทเงื่อนไข • กำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Scoring rubrics) เป็นแบบองค์รวม (Holistic) หรือ แบบวิเคราะห์ (Analytic) • ใช้วิธีการสังเกตร่วมกับมาตรประมาณค่า (Rating scale) และ/หรือ • ใช้แบบตรวจสอบรายการ (Check-lists) • การใช้แฟ้มสะสมงาน (Portfolio assessment)
พุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๒) เครื่องมือ/วิธีการ (ต่อ) • การวัดประเมินภาคปฏิบัติ • ข้อดี : สอดคล้องกับสภาพจริง/บูรณาการกับการจัดการเรียนรู้/เหมาะกับการวัดทักษะหรือประยุกต์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหา • ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ผลการวัดประเมินไม่คงเส้นคงวา ณ จุดเวลาต่างๆ (ความเที่ยงต่ำ)/ใช้เวลามากในการวางแผนและทำการวัดประเมิน • การใช้แฟ้มสะสมงาน • ข้อดี : ส่งเสริมให้นิสิต/นักศึกษาวัดประเมินการเรียนรู้ของตนเองและร่วมมือกับอาจารย์ในการวัดประเมิน/ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้/ สอดคล้องกับสภาพจริง/ • ข้อจำกัด: อาจลำเอียง/ตรวจยาก/มักมีความเที่ยงต่ำ/ใช้เวลามากในการพัฒนาเกณฑ์การให้คะแนน เครื่องมือ/วิธีการ • แบบทดสอบ (แบบเลือกตอบ) • ข้อดี : เป็นปรนัย/ครอบคลุมเนื้อหาสาระที่ต้องการวัดประเมิน/ตรวจง่าย • ข้อจำกัด: สร้าง (ให้มีคุณภาพดี) ทำได้ยากและใช้เวลามาก/เหมาะกับการวัดประเมินความรู้ความเข้าใจ/อาจเดาได้ถูกโดยไม่มีความรู้/ • แบบทดสอบ (แบบความเรียง) • ข้อดี : เหมาะกับการวัดประเมินความคิดระดับสูง/เดาถูกได้ยากถ้าไม่มีความรู้ • ข้อจำกัด: มักเป็นอัตนัย/ตรวจยาก
ตัวอย่าง: การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๕) ตัวอย่าง: แบบประเมินความสามารถในการสื่อสาร (การพูดและเขียน) แบบประเมินการเขียนรายงานการทดลองในห้องปฏิบัติการ แบบประเมินการนำเสนอและอภิปรายผลงานวิจัยในที่ประชุม ที่มา: Brown wth Bull & Pendlebury (1997, p.105, 159)
ตัวอย่าง: การวัดประเมินพุทธิพิสัย/ทักษะพิสัย:แนวทางการวัดประเมินตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ (๗) • มาตรประเมินค่าการกล่าวสุนทรพจน์/คำบรรยาย/คำปราศรัย • คำชี้แจง: โปรดประเมินความสามารถการกล่าวสุนทรพจน์โดยทำเครื่องหมาย ที่จุดใดๆ บนช่วงแสดงลักษณะของการกล่าวสุนทรพจน์พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดในช่องคิดเห็นเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้เข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการกล่าวสุนทรพจน์ของนิสิต/นักศึกษาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ก.ด้านเนื้อหาสาระและการลำดับความ 1. การกล่าวเปิดประเด็น ไม่เหมาะสม กล่าว เป็นปกติธรรมดา ปลุกเร้านำเข้าสู่ ออกนอกประเด็น ไม่มีสิ่งใดน่าสนใจเป็นพิเศษ ประเด็นได้อย่างน่าสนใจยิ่ง ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: .......................................................................................................................... ข.ด้านการนำเสนอ 2. ท่าทาง/การแสดงออก ราบเรียบ ระดับเดียว ประหม่าและ ส่วนใหญ่ตรงประเด็น มีความมั่นใจ เป็นธรรมชาติ แสดงความสับสน/วกวนบ่อยครั้ง มีบางครั้งแสดงความสับสน สอดคล้องตามถ้อยคำกล่าวเน้น ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: ..........................................................................................................................
ตัวอย่าง: การวัดประเมินผลการเรียนรู้ (พุทธิพิสัยจิตพิสัย และทักษะพิสัย):แนวทางการวัดประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน (๒) การเลือกตัวอย่างงาน/กิจกรรมการเรียนรู้และการทดสอบด้วยวาจาเพื่อประเมินค่าแฟ้มสะสมงาน การให้ค่าแฟ้มสะสมผลงาน (2) • สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลักจำนวนมาก จะต้องสุ่มหรือเจาะจงเลือกมาเป็นตัวอย่างเพื่อทำการวัดประเมิน • สาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมหลักที่ทำการวัดประเมินจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของมวลสาระการเรียนรู้ ภาระงาน หรือกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดที่นิสิต/นักศึกษาต้องเรียนรู้ • การสอบปากเปล่าแฟ้มสะสมงาน นิสิต/นักศึกษาผู้รับการประเมินเลือกแฟ้มที่ตนพอใจประมาณครึ่งหนึ่งของแฟ้มทั้งหมดมาใช้ในการทดสอบด้วยวาจา โดยมีขั้นตอนการนำเสนอ ดังนี้ 1. ผู้เรียนนำเสนอ 5 - 7 นาที 2. คณะกรรมการทดสอบซักถาม 3. ผู้ถูกประเมินออกจากห้องทดสอบ 4. คณะกรรมการทดสอบอภิปรายและ ปรึกษาเกี่ยวกับผลการทดสอบปากเปล่า ตัวอย่าง: เกณฑ์/มาตรฐาน • การพิจารณาแฟ้ม คณะกรรมการจะทำการประเมินแฟ้มด้วยเกณฑ์ 4 ข้อ (ข้อละ 5 คะแนน) รวม 20 คะแนน โดยแต่ละคนต่างพิจารณาแล้วนำคะแนนมาสรุปร่วมกัน โดยมีเกณฑ์การตัดสิน คือ คะแนน 18 - 20 หมายถึง ดีเลิศ คะแนน 15 - 17 หมายถึง พอใจ คะแนน 12 - 14 หมายถึง ค่อนข้างพอใจ คะแนนต่ำกว่า 12 หมายถึง ปรับปรุง Rubrics ที่มา: ดัดแปลงจาก jfmueller.faculty.noctrl.edu/toolbox/rubrics.htm
ความหมาย คุณสมบัติของเครื่องมือ/วิธีการวัดประเมิน ที่สามารถวัดประเมินได้ตรงตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ครอบคลุมครบถ้วนตรงตามเนื้อหาสาระ และสอดคล้องตรงตามความเป็นจริงของสิ่งที่ต้องการวัด (APA, 1985; Messick, 1994; Miller, Linn & Gronlund, 1995) โดยพิจารณาความตรง (ความเที่ยงตรง) ประเด็นต่อไปนี้ ความเหมาะสม (appropriateness) ความหมาย (meaningfulness)และ ประโยชน์ (usefulness)ของข้อสรุปเฉพาะที่ได้มาจากผลของการวัดประเมิน ดังนั้น ความตรงหรือไม่ตรงของการวัดไม่ได้อยู่ที่เครื่องมือแต่ขึ้นอยู่กับข้อสรุปเฉพาะที่เป็นผลมาจากค่าที่ได้จากการวัดด้วยเครื่องมือ ความตรง (Validity) ของการวัดประเมิน ความเที่ยง (Reliability) ของการวัดประเมิน • วิธีการประมาณค่าความเที่ยง (ความเชื่อมั่น) • การทดสอบซ้ำ (Test–Retest Method) • การใช้เครื่องมือวัดที่มีความคล้ายคลึง (Equivalent–Form Method) • การหาค่าความคงตัวภายในเครื่องมือวัด (Internal Consistency Method) • ความหมาย • คุณสมบัติของการวัดที่แสดงให้ทราบว่าค่าของคะแนนที่เป็นผลมาจากการวัดด้วยเครื่องมือและวิธีการวัดประเมินที่มีความคงเส้นคงวา (Consistency)หรือคงตัว (Stability)หรือไม่ เพียงใด
เอกสารอ้างอิง สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (กำลังพิมพ์). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัยสถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 37-50), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. องอาจ นัยพัฒน์ (2553). การวัดประเมินในชั้นเรียน: วิวัฒนาการและแนวคิดใหม่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา 2(3), 1-12. องอาจ นัยพัฒน์ (2557). กระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต: บันทึกสรุปและการปรับเปลี่ยนที่ท้าทาย ใน องอาจ นัยพัฒน์ (บรรณาธิการ). การวิจัย สถาบันและกระบวนการเรียนรู้สู่อนาคต (หน้า 105-120), กรุงเทพฯ: บริษัทวงตะวัน จำกัด. South African Qualifications Authority (2001). Criteria and Guidelines for Assessment of NQF Registered Unit standards and Qualifications. Pretoria, South Africa. Airasian, P.W. (2000). Assessmentin the classroom: A concise approach (5thed.). NewYork: Mc-GrawHill. American Psychological Association, American Educational Research Association, & National Council on Measurement in Education. (1985). Standards for educational and psychological testing. Washington, D.C.: American Psychological Association. Arter, J. A., & Spandel, V. (1992). Using portfolios of student work in instruction and assessment. Educational Measurement: Issues and Practice, 11, 36-44. Brown, G., Bull, J. & Pendlebury, M. (1997). Assessing student learning in higher education. New York: Routledge. McMillan, J.H/ (2004). Classroom assessment: Principles and practice for effective instruction (3rd ed.). Singapore: Pearson Education. Messick, S. (1994). The interplay of evidence and consequences in the validation of performance assessments. Educational Research, 23(2), 13-23. Miller, M.D., Linn, R. L., & Grondlund, N. E. (2009). Measurement and assessment in teaching(10th ed.) Englewood Cliffs, NJ: Merrill. Reeves, D. (2010). A framework for assessing 21st century skills. In J. Bellanca & R. Brandt (Eds.). 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press. Stiggins, R.J. & Chappuis, J. (2012). Student-Involved Assessment FOR Learning (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.