430 likes | 1.02k Views
การจัดการสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์ลักษณะเชิงโครงการ (CAPITAL BUDGETING). รองศาสตราจารย์ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สารบัญ. ความสำคัญของงบลงทุน วัตถุประสงค์ของงบลงทุน ประเภทของโครงการลงทุน ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินในลงทุน
E N D
การจัดการสินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์ลักษณะเชิงโครงการ(CAPITAL BUDGETING) รองศาสตราจารย์ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สารบัญ ความสำคัญของงบลงทุน วัตถุประสงค์ของงบลงทุน ประเภทของโครงการลงทุน ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินในลงทุน วิธีประเมินค่าโครงการลงทุน วิธีการประเมินความเสี่ยงของโครงการ
ความสำคัญของงบลงทุน • การลงทุนต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก • ผลของการตัดสินใจผูกพันต่อการดำเนินงานเป็นเวลานาน หลายปี • การตัดสินใจลงทุนอาจมีผลต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวของกิจการ
วัตถุประสงค์ของงบลงทุนวัตถุประสงค์ของงบลงทุน • ผลตอบแทน(RETURN) • ความเสี่ยง(RISK)
ประเภทของโครงการลงทุนประเภทของโครงการลงทุน 1. โครงการลงทุนทดแทนเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่องไปได้ 2. โครงการลงทุนทดแทนเพื่อลดต้นทุนหรือเพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้น 3. โครงการขยายการผลิตสินค้าหรือตลาด 4. การลงทุนในสินค้าชนิดใหม่หรือธุรกิจใหม่ 5. การประเมินโครงการที่เป็นการสนองต่อกฎเกณฑ์หรือนโยบาย
เกณฑ์การประเมิน ภาพรวมโครงการ องค์ความรู้การประเมินโครงการ กระแสเงินสดโครงการ ความเสี่ยงโครงการ ภาพรวมองค์ความรู้ที่ต้องใช้ประเมินโครงการ
ขั้นตอนการพิจารณาตัดสินในลงทุนขั้นตอนการพิจารณาตัดสินในลงทุน • การสร้างและเสนอแนวคิดการลงทุน • พิจารณารูปแบบของการลงทุนรวมทั้งประเมินสินทรัพย์ที่มีอยู่ปัจจุบัน • การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนและประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ • การจัดเตรียมทำข้อเสนอโครงการ • การขออนุมัติลงทุนโครงการและดำเนินการลงทุน
วิธีประเมินค่าโครงการลงทุนวิธีประเมินค่าโครงการลงทุน • วิธีผลตอบแทนตามราคาบัญชีเฉลี่ย (Average Accounting Return: AAR) • วิธีระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PB) • วิธีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด(Discount Payback period : DPB) • วิธีค่าปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value : NPV) • วิธีดัชนีกำไร(Profitability Index : PI) • วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ(Internal Rate of Return : IRR) • วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการแบบปรับค่า(Modified Internal Rate of Return : MIRR)
วิธีผลตอบแทนตามราคาบัญชีเฉลี่ย(Average Accounting Return: AAR)
ตาราง 11.6 ประมาณการกำไรขาดทุนโครงการลงทุน บริษัทสินสมุทร (หน่วย: บาท)
วิธีทำ กำไรสุทธิเฉลี่ย = =46,666 บาท = 250,000 บาท มูลค่าการลงทุนเฉลี่ย = ผลตอบแทนตามราคาบัญชีเฉลี่ย (AAR) = =19%
วิธีระยะเวลาคืนทุน(Payback period : PB) ตัวอย่าง โครงการ S ใช้เงินลงทุนครั้งแรก 100,000 บาท โดยคาดว่าจะได้รับ กระแสเงินสดอิสระ(FCF) จากการดำเนินงานในแต่ละปีดังนี้ ปีที่ 0 -100,000 บาท 1 50,000 2 40,000 3 30,000 4 10,000 ดังนั้น PB = 2 + 10,000 30,000 = 2.33 ปี
วิธีระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด(Discount Payback period :DPB) ตัวอย่าง จากโครงการ S ถ้าบริษัทมีต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (DPB) ได้ดังนี้ ปีที่ FCF PVIF,10% PVFCF 0 -100,000 1.0000-100,000 1 50,0000.9091 45,455 2 40,000 0.8264 33,056 3 30,000 0.7513 22,539 4 10,000 0.6830 6,830 DPB = 2 + 21,489 = 2.95 ปี 22,539
วิธีค่าปัจจุบันสุทธิ(Net Present Value : NPV) NPV = PVFCF – I โดยที่ PVFCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วยต้นทุน เงินทุนถัวเฉลี่ย (k%) I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
ตัวอย่าง จากโครงการ S ถ้าบริษัทมีต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาค่าปัจจุบันสุทธิ(NPV)ได้ดังนี้ ปีที่ FCF PVIF,10% PVFCF 1 50,000 0.9091 45,455 2 40,000 0.8264 33,056 3 30,000 0.7513 22,539 4 10,000 0.6830 6,830 ผลรวม PVFCF 107,880 หัก เงินลงทุน (I)100,000 NPV7,880 ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า 10 % ซึ่งสังเกตได้จาก NPV>0
วิธีดัชนีกำไร(Profitability Index : PI) โดยที่ PVFCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วย ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย (k%) I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน PI = PVFCF I
ตัวอย่าง จากโครงการ S ถ้าบริษัทมีอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำที่ต้องการเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาค่าดัชนีกำไร(PI)ได้ดังนี้ ปีที่ FCF PVIF,10% PVFCF 1 50,000 0.9091 45,455 2 40,000 0.8264 33,056 3 30,000 0.7513 22,539 4 10,000 0.6830 6,830 ผลรวม PVFCF 107,880 หาร เงินลงทุน (I) 100,000 PI = 107,880/100,000 = 1.08 ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า เงินลงทุนคิดเป็น 1.08 เท่า ซึ่งสังเกตได้จาก PI>1
วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ(Internal Rate of Return : IRR) PVFCF = I โดยที่ PVFCF = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิ ตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่คิดลดด้วยอัตรา ผลตอบแทนจากโครงการ(r%) I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
ตัวอย่าง จากโครงการ S ซึ่งบริษัทมีอัตราต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยเท่ากับ 10% สามารถคำนวณหาอัตราผลตอบแทนจากโครงการ(IRR)ได้ดังนี้ ปีที่ FCF PVIF,14% PVFCF 1 50,000 0.8772 43,860 2 40,000 0.7695 30,780 3 30,000 0.6750 20,250 4 10,000 0.5921 5,921 ผลรวม PVFCF,14% 100,811 ผลรวม PVFCF,15% 99,167 อัตราผลตอบแทนจากโครงการ(IRR) อยู่ระหว่าง 14 – 15 % ดังนั้น ควรลงทุนในโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ให้ผลตอบแทนมากกว่า อัตราต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย(r>k)
วิธีอัตราผลตอบแทนจากโครงการแบบปรับค่า(Modified Internal Rate of Return : MIRR) ข้อสมมติ:กระแสเงินสดสุทธิที่กิจการได้รับในแต่ละปีสามารถนำไปลงทุน ต่อโดยได้รับผลตอบแทนในอัตราที่กิจการกำหนด(k%) PVTV = I โดยที่ PVTV = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับสุทธิตั้งแต่ปีที่ 1 ถึง n ที่ได้คำนวณทบต้นแล้ว และคิดลดด้วยอัตราผลตอบแทน จากโครงการแบบปรับค่า(MIRR) I = ค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่ายลงทุน
1 2 3 4 -100,000 50,000 40,000 30,000 10,000 k=10% 33,000 k=10% 48,400 k=10% 66,550 TV = 157,950 MIRR=12.1% PVTV=100,000
เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจ PB น้อยกว่าที่กิจการกำหนดไว้ NPV มากกว่าหรือเท่ากับ 0 PI มากกว่าหรือเท่ากับ 1 IRR(r) มากกว่าหรือเท่ากับ k MIRR มากกว่าหรือเท่ากับ k
การประมาณการกระแสเงินสด(FCF)ของโครงการการประมาณการกระแสเงินสด(FCF)ของโครงการ กระแสเงินสดอิสระ = กำไรที่ปราศจากภาระกู้ (NOPAT) + ค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดสุทธิ (net noncash charges) - เงินลงทุนถาวร (fixed capital) - เงินลงทุนหมุนเวียน (working capital) เมื่อ NOPAT = EBIT – T = EBIT x ( 1 – Tc)
ตัวอย่าง บริษัท บุญเจริญ จำกัด กำลังตัดสินใจซื้อเครื่องจักรใหม่เครื่องหนึ่ง ซึ่งมีผู้เสนอขายในราคา 180,000 บาทซึ่งมีค่าขนส่งและติดตั้งอีก 20,000 บาท เครื่องจักรใหม่จะมีอายุการใช้งาน 5 ปี ถ้าใช้เครื่องจักรใหม่ บริษัทจะมียอดขายเพิ่มขึ้นปีละ 120,000 บาท และมีต้นทุนสินค้าขายเพิ่มขึ้นปีละ 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นปีละ 10,000 บาท นอกจากนี้บริษัทยังต้องเตรียมเงินทุนหมุนเวียนไว้ 15,000 บาท ตั้งแต่ปีที่เริ่มลงทุน บริษัทคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง อัตราภาษีเงินได้ 30% และต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ย คือ 10% บริษัทควรซื้อเครื่องจักรใหม่หรือไม่
ตารางที่ 11.6 คำนวณกระแสเงินสดอิสระเพื่อใช้ประเมิน ความคุ้มค่าโครงการลงทุน (หน่วย: พันบาท)
การบ้าน • ARR = …………………… • PB = …………………… • DPB = …………………… • NPV = …………………… • PI = …………………… • IRR = …………………… • MIRR = …………………… • ความเสี่ยงของโครงการลงทุน............. • ควรลงทุนในโครงการนี้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตัวอย่างที่ 11.1 บริษัท คอมพิวเตอร์ไทยผลิตสินค้าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในครัวเรือนโดยอุปกรณ์ชิ้นนี้เรียกชื่อว่า สมารท์โฮม ตัวสินค้าประกอบด้วยตัวอุปกรณ์และซอฟท์แวร์เพื่อใช้สำหรับควบคุมระบบไฟฟ้าในบ้านผ่านอินเตอร์เนต บริษัทคอมพิวเตอร์ไทยได้ใช้เงินในการลงทุนเพื่อวิจัยและศึกษาความต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนเงินสูงถึง 300,000 บาท จากแผนการตลาดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของสินค้าเป็นผู้อยู่อาศัยที่มีการศึกษาสูง จำนวนหน่วยขายที่ประมาณการคือ 100,000 หน่วยต่อปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้วงจรอายุผลิตภัณฑ์นี้ค่อนข้างสั้น ประมาณได้ว่าวงจรผลิตภัณฑ์จะมีระยะ 4 ปี จึงกำหนดให้โครงการมีอายุ 4 ปี โดยจะขายผ่านร้านจำหน่ายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยราคาขายปลีกคือ 375 บาท และราคาขายส่งคือหน่วยละ 260 บาทซึ่งเป็นราคาที่บริษัทจะขายให้กับลูกค้า การพัฒนาอุปกรณ์ใหม่นี้ถือได้ว่าไม่ได้มีต้นทุนสูงมากนักเนื่องจากกระบวนการผลิตยังสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วได้ บริษัทคาดการณ์ว่าต้นทุนการออกแบบสินค้านี้มีค่าเท่ากับ 5,000,000 บาทและเมื่อกระบวนการออกแบบแล้วเสร็จเป็นที่น่าพอใจ บริษัทวางแผนจะผลิตโดยวิธีว่าจ้างแหล่งผลิตภายนอกด้วยต้นทุนหน่วยละ 110 บาทต่อหน่วย นอกจากนั้นบริษัทยังได้พัฒนาซอฟท์แวร์เพื่อควบคุมเครื่องใช้ผ่านอินเทอร์เนต โครงการผลิตซอฟท์แวร์ คาดว่าต้นทุนในการใช้วิศวกรออกแบบผลิตภัณฑ์นี้จะสูงถึงคนละ 200,000 บาทต่อปีคาดว่าทีมวิศวกรออกแบบจะมีจำนวนทั้งสิน 50 คน และเพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ใหม่นี้จะทำงานเข้ากันได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ในครัวเรือนทั่วไป บริษัทจึงต้องทดสอบระบบต่างๆนี้ การทดสอบนี้ทำในห้องทดสอบที่มีอยู่แล้วแต่ต้องมีการลงทุนอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มเข้าไปเป็นเงินอีก 7,500,000 บาท ระบบการผลิต และการทดสอบต่างนี้จะแล้วเสร็จภายในหนึ่งปีและมีสินค้าผลิตออกมา บริษัทคอมพิวเตอร์ไทยคาดว่าจะใช้เงินในการโฆษณาปีละ 2,800,000 บาทต่อปี จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นนี้จะได้นำไปประมาณการเพื่อคาดการณ์กำไรส่วนเพิ่ม
ตารางที่ 11.1 คาดการณ์กำไรส่วนเพิ่มของบริษัทคอมพิวเตอร์ไทย (หน่วย: พันบาท)
ตัวอย่างที่ 11.3 สมมติว่าบริษัทคอมพิวเตอร์ไทยจะต้องใช้พื้นที่ในสถานที่เก็บสินค้าเพื่อใช้สร้างห้องทดสอบดังกล่าวซึ่งพื้นที่นี้สามารถให้เช่าได้ปีละ 200,000 บาทต่อปีเป็นเวลา 4 ปีการสูญเสียรายได้จากการเช่นนี้จะกระทบต่อการประเมินโครงการนี้อย่างไร และสมมติต่อไปว่ายอดขายประมาณ 25% ของสินค้าสมาร์ทโฮมของบริษัทคอมพิวเตอร์ไทยมาจากลูกค้าที่เป็นผู้ซื้ออินเทอร์เนตไร้สายของกิจการอยู่แล้ว ดังนั้นจึงคาดการว่าโครงการสินค้าสมาร์ทโฮมจะทำให้ยอดขายของบริษัทลดลงไป สมมติว่าราคาขายของอินเทอร์เนตไร้สายมีราคาหน่วยละ 100 บาทและมีต้นทุนหน่วยละ 60 บาท
ตารางที่ 11.2 คาดการณ์กำไรของบริษัทคอมพิวเตอร์ไทยกรณีที่เกิด Canibalization และคำนึงค่าเสียโอกาสพื้นทีเช่า
ตัวอย่างที่ 11.4 การยอมรับผลิตภัณฑ์และการเปลี่ยนแปลงราคา จากตัวอย่างที่ 11.1 ของบริษัท คอมพิวเตอร์ไทย จำกัด สมมติว่าเมื่อได้ผลิตสินค้าไปและสินค้าได้รับการตอบสนองจากลูกค้าได้ดีจึงคาดการยอดขายของบริษัทคอมพิวเตอร์ไทยใหม่โดยคาดว่ายอดขายจะเป็นปีละ 100,000 หน่วยในปีที่ 1 เป็น 125,000 หน่วยในปีที่ 2 และ ปีที่ 3 ในปีที่ 4 คาดว่าสินค้าเริ่มจะเสื่อมความนิยมตามวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จึงคาดการยอดขายเป็น 50,000 หน่วย สมมติอีกว่าจากการแข่งขันที่มีมากขึ้นจึงคาดการว่าราคาขายและต้นทุนผลิตคาดว่าจะลดลงปีละ 10% ต่อปีซึ่งตัวเลขนี้เป็นไปเช่นเดียวกันกับการคาดการณ์ของสินค้ากลุ่มอินเทอร์เนต
ตารางที่ 11.3การเปลี่ยนแปลงราคา ต้นทุนขาย และ จำนวนขายตามวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์(หน่วย: พันบาท)
ตารางที่ 11.5คำนวณกระแสเงินสดอิสระเพื่อใช้ประเมิน ความคุ้มค่าโครงการลงทุน (หน่วย: พันบาท)
ประเภทของความเสี่ยง • ความเสี่ยงเอกเทศ (Stand-Alone Risk) • ความเสี่ยงกิจการ (Corporate Risk) • ความเสี่ยงตลาด (Market Risk)
วิธีการประเมินความเสี่ยงของโครงการวิธีการประเมินความเสี่ยงของโครงการ • การวิเคราะห์ความไว • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน • การวิเคราะห์สถานการณ์ • การวิเคราะห์ด้วยแผนภูมิต้นไม้
ตารางที่ 11.11 ตารางแสดงค่าการวิเคราะห์ความไวจากการเปลี่ยนแปลงตัวแปรนำเข้า
ตารางที่ 11.4 การวิเคราะห์สถานการณ์