710 likes | 1.48k Views
หมวดวิชาที่ 2 ช. ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี. รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี. แนวคิด 1. หลักการสำคัญของการส่งผ่านข้อมูลสารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีไปยังผู้ใช้ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ
E N D
หมวดวิชาที่ 2 ช ความปลอดภัยในการใช้สารเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศิวะเดชาเทพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี แนวคิด 1. หลักการสำคัญของการส่งผ่านข้อมูลสารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีไปยังผู้ใช้ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ การจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลากบนภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ และการจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยซึ่งระบบต่างๆ จะมีหลักเกณฑ์บางส่วนเหมือนกันและบางส่วนแตกต่างกัน ทำให้เป็นปัญหาการปฏิบัติของประเทศต่างๆ จึงเกิดแนวคิดการจัดทำระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก(GloballyHarmonized System of Classification and Labeling of Chemical = GHS ) 2. ศึกษาขอบเขตการจัดทำระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี โดยหลักเกณฑ์ของ GHS ได้จำแนกสารเคมีออกเป็นประเภท และความรุนแรง อันตรายของสารแต่ละประเภท เช่น ด้านกายภาพแบ่งเป็น 16 ประเภท ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น 10 ประเภท 3. การติดฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับ Signal Word เป็นคำเตือน ข้อความอันตราย ข้อควรระวังแสดงเป็นวลีหรือ Pictogram ข้อมูลต่างๆของผลิตภัณฑ์ 4. รูปภาพสัญลักษณ์ตามระบบ GHS แสดงอันตรายทางด้านกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมรูปภาพสัญลักษณ์ตามระบบ GHS ใช้สำหรับการขนส่ง การติดฉลากตามหลักเกณฑ์ GHS
ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี 5. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีตามระบบ GHS ประกอบด้วย 16 หัวข้อ 6. ข้อพิจารณาในการนำไปใช้ประกอบด้วยการขนส่งพื้นที่การผลิตหรือที่จัดเก็บสารเคมีและผู้บริโภค 7. การจำแนกประเภทของสารเคมี แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ความเป็นอันตราย ความเป็นพิษ และความรุนแรงสารเคมี 8. ข้อควรปฏิบัติในการใช้สารเคมีให้ปลอดภัย 9. ผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในการใช้สารเคมีให้ปลอดภัยได้แก่ รัฐบาล นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ผลิต/ผู้จัดจำหน่าย โดยกำหนดหน้าที่ไว้ในแต่ละกลุ่ม 10. ศึกษาวิธีการจัดทำรายงาน สอ. 1 / สอ. 2/ สอ. 3/ สอ. 4
ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี ในแต่ละปี มีสารเคมีใหม่ ๆ ที่ผลิตออกสู่ตลาดโลกประมาณ 200 – 300 ชนิด และที่ผลิตแล้วอยู่ในตลาดมีไม่น้อยกว่า 100,000 ชนิด สารเคมีเหล่านี้ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีสำเร็จรูปมากมายหลายแสนชนิด บางชนิดมีความเป็นอันตรายต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต้องระมัดระวังในการนำไปใช้ ดังนั้น ประเทศต่างๆจึงได้พัฒนามาตรการเพื่อให้เกิดการใช้สารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีอย่างปลอดภัยขึ้น มาตรการหนึ่งที่ใช้กันแพร่หลายคือการจัดทำข้อมูลสารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีในรูปที่เข้าใจได้ง่ายและส่งผ่านไปยังผู้ใช้กลุ่มต่างๆ ได้แก่ นายจ้าง ลูกจ้าง และผู้บริโภค เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับทราบถึงอันตรายและข้อควรระวังในการใช้ ตลอดจนได้ทราบถึงวิธีการป้องกันและแก้ไขอันตราย ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากการใช้สารเคมี อีกทั้งเพื่อให้สาธารณชนมีความตระหนักถึงอันตรายและเลือกใช้สารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีที่มีอันตรายน้อยกว่า
ความปลอดภัยในการใช้สารเคมีความปลอดภัยในการใช้สารเคมี หลักการสำคัญของการส่งผ่านข้อมูลสารเคมีและผลิตภัณฑ์เคมีไปยังผู้ใช้ มี 3 ส่วนคือ • การจัดกลุ่มสารเคมี • การติดฉลากบนภาชนะบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ • การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
ความเป็นมาของ GHS ปัญหาความหลากหลายของกฎระเบียบว่าด้วยการแสดงข้อสนเทศของสารเคมีในประเทศต่าง ๆ การไม่ประสานงานกันขององค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ในการจำแนกสารเคมีและการจัดทำฉลากสารเคมี ทำให้มีระบบการจำแนกและการจัดทำฉลากสารเคมีที่แตกต่างกันมากมายอยู่ทั่วโลก จึงเกิดแนวคิดการจัดทำระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและการติดฉลาก (GloballyHarmonized System of Classification and Labeling of Chemical ) ขึ้นใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ นครโจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี พ.ศ. 2545
แนวคิดของ GHS การจัดทำหลักเกณฑ์จัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีทั้งที่เป็นสารและสารผสมที่เป็นอันตรายด้านกายภาพ อันตรายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และการจัดทำส่วนประกอบของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย โดยเชื่อมโยงหลักเกณฑ์และฉลากให้สอดคล้องกัน ครอบคลุมสารเคมี (รวมทั้งสารผสม สารละลาย และอัลลอยด์) ยกเว้นการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ GHS สำหรับกลุ่มสารที่นำไปใช้ในการบริโภคอย่างตั้งใจ ได้แก่ สารเคมีปรุงแต่งอาหาร สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสารที่ตกค้างในอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา และเครื่องสำอาง อย่างไรก็ตามกระบวนการผลิตกลุ่มสารดังกล่าว ยังอยู่ในขอบเขตการติดฉลากตามหลักเกณฑ์ของ GHS
สาระสำคัญของระบบ GHS สาร/สารผสม การจำแนกความเป็นอันตราย Criteria-based ความเป็นอันตราย ทางกายภาพ ความเป็นอันตรายต่อ สุขภาพและสิ่งแวดล้อม การสื่อสารความเป็นอันตรายไปยังกลุ่มเป้าหมาย ฉลาก เอกสารข้อมูลความปลอดภัย
การจำแนกความเป็นอันตรายตามระบบ GHS ความเป็นอันตรายของสารเคมี แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ - ความเป็นอันตรายทางกายภาพ (Physical hazards) - ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazards) และ - ความเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental hazards) ความเป็นอันตรายในแต่ละกลุ่ม แบ่งออกเป็นประเภท (Class) ความเป็นอันตรายในแต่ละประเภท แบ่งออกเป็นประเภทย่อย (Category or Division or Type) ตามระดับความรุนแรงของความเป็นอันตราย
ความเป็นอันตรายทางกายภาพจำแนกได้ 16 ประเภท(Classes) ระเบิด ก๊าซไวไฟ ละอองลอยไวไฟ ก๊าซออกซิไดซ์ ก๊าซภายใต้ความดัน ของเหลวไวไฟ ของแข็งไวไฟ ของเหลวที่ติดไฟได้ง่ายในอากาศ
ความเป็นอันตรายทางกายภาพจำแนกได้ 16 ประเภท(Classes) ของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายในอากาศ ของแข็งทำปฏิกิริยาในอากาศ สารที่เกิดความร้อนได้เอง สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ ของเหลวออกซิไดส์ ของแข็งออกซิไดส์ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ สารกัดกร่อนต่อโลหะ
ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจำแนกได้ 10 ประเภท(Classes) สารพิษเฉียบพลัน สารกัดกร่อนหรือระคายเคืองต่อผิวหนัง สารอันตรายร้ายแรงต่อตา/ระคายเคืองต่อตา สารที่ทำให้เกิดการแพ้ต่อผิวหนังหรือทางเดินหายใจ สารก่อกลายพันธุ์
ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจำแนกได้ 10 ประเภท(Classes) สารก่อมะเร็ง สารพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารพิษต่อระบบอวัยวะเฉพาะที่- สัมผัสเพียงครั้งเดียว สารพิษต่อระบบอวัยวะเฉพาะที่-สัมผัสหลายเดียว สารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ - เฉียบพลัน - เรื้อรัง
GHS Hazard Communication การสื่อสารความเป็นอันตราย
วัตถุประสงค์ ทำการปรับประสานเพื่อให้เป็นระบบการสื่อสารความเป็นอันตรายเพียง ระบบเดียวซึ่งรวมถึง - ฉลาก - เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) โดยมีพื้นฐานจากเกณฑ์การจำแนกตามระบบ GHS
Product Lifecycle of Chemicals Inception Disposal Design ProductLifecycle Use Develop Sell Manufacture Transport
ความสามารถในการเข้าใจเรื่องความสามารถในการเข้าใจเรื่อง สาระสำคัญต่างๆของการสื่อสารความเป็นอันตราย หลักการนำทาง - ควรมีการนำส่งข้อสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมายมากกว่าหนึ่งทาง - ควรพิจารณาความสามารถในการเข้าใจเรื่องจากข้อสนเทศที่มีอยู่ (บทความ รายงานการศึกษา และข้อมูลต่างๆ) - วลีที่ใช้แสดงระดับความเป็นอันตรายควรมีความสอดคล้องกันโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นอันตรายในประเภทใด - เมื่อแปลคำและวลีเป็นภาษาอื่น ควรรักษาความสามารถในการเข้าใจเรื่อง (comprehensibility)ของคำ/วลีนั้นเอาไว้ให้ได้ - รูปแบบและสีของสิ่งต่างๆบนฉลาก และรูปแบบของเอกสารข้อมูลความปลอดภัยควรเป็นมาตรฐานเดียวกัน
การปรับปรุงข้อสนเทศให้ทันสมัยการปรับปรุงข้อสนเทศให้ทันสมัย เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้นำเข้า ควรปรับปรุงแก้ไขฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีให้ ทันสมัยเมื่อมีข้อสนเทศใหม่ที่มีนัยสำคัญ “ข้อสนเทศใหม่ที่มีนัยสำคัญ”(new and significant information) หมายถึง ข้อสนเทศใดๆที่เปลี่ยนแปลงการจำแนกตามระบบ GHS ไปจากเดิม และทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงข้อสนเทศที่จะต้องแสดงบนฉลากหรือในเอกสารข้อมูลความปลอดภัย
ข้อสนเทศที่ต้องแสดงบนฉลากตามระบบ GHS • Signal Word เป็นคำเตือนเพื่อชี้ระดับความรุนแรงของอันตรายและให้ผู้อ่านตื่นตัว • ถึงศักยภาพอันตรายที่ปรากฏบนฉลากได้แก่ Dangerและ Warning • (โดย Danger แสดงถึงระดับอันตรายที่มากกว่าWarning) • ข้อความอันตราย (Hazard Statement) เป็นวลีที่บอกให้ทราบถึงลักษณะอันตราย • และระดับความรุนแรงของผลิตภัณฑ์สารแต่ละประเภท และแต่ละกลุ่ม • ข้อควรระวังแสดงเป็นวลีหรือ Pictogram ที่บอกข้อควรระวังถึงสิ่งที่ต้องทำ • ในการลดผลกระทบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุดจากการสัมผัส หรือจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง • Product Identified ได้แก่ ชื่อสาร และถ้าเป็นส่วนผสมของอัลลอยด์จะต้องระบุสาระสำคัญทั้งหมด • ที่เป็นพิษเฉียบพลัน อันตรายกัดกร่อนต่อผิวหนังหรืออันตรายร้ายแรงต่อตา • เป็นสารก่อกลายพันธุ์ สารก่อมะเร็ง หรือเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ • ที่ผิวหนังหรือทางเดินหายใจ เป็นต้น
ข้อสนเทศที่ต้องแสดงบนฉลากตามระบบ GHS • ชื่อผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายที่อยู่ โทรศัพท์ของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย • Pictogram เป็นแผ่นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสทำมุม 45 องศากับแนวระนาบ ที่มีสัญลักษณ์ แนวขอบ • และสีพื้นซึ่งแสดงข้อมูลเฉพาะตัวของสาร ดังนี้ :- • 6.1) สัญลักษณ์แสดงอันตรายทางด้านกายภาพและอันตรายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม • เป็นสีดำ • 6.2) แนวขอบแผ่นเครื่องหมาย เป็นสีแดง • 6.3) พื้นของแผ่นเครื่องหมาย เป็นสีขาว
ข้อสนเทศที่ต้องแสดงบนฉลากตามระบบ GHS • ฉลากของสารที่มีอันตราย • 7.1) การติดสัญลักษณ์ • 7.1.1) อันตรายด้านกายภาพให้จัดลำดับตามข้อกำหนดในข้อเสนอแนะ • การขนส่งสินค้าอันตรายของสหประชาชาติ • 7.1.2) อันตรายด้านสุขภาพให้จัดลำดับดังนี้ • * ถ้าติดสัญลักษณ์กะโหลกและกระดูกไขว้ ไม่จำเป็นต้องติดสัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจ • * ถ้าติดสัญลักษณ์แสดงกัดกร่อน ไม่จำเป็นต้องติดสัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจ • * ถ้าติดสัญลักษณ์รูปคน ไม่จำเป็นต้องติดสัญลักษณ์เครื่องหมายตกใจ (เฉพาะสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังหรือระคายเคืองต่อผิวหนังและตา) • 7.2) การติดคำเตือน ถ้าติด Danger แล้ว ไม่ต้องติด Warning • 7.3) การติดข้อความแสดงอันตราย ติดข้อความอันตรายเพื่อแสดงอันตรายทั้งหมดของสารบนฉลาก
พิกโตแกรม นิยามหมายถึงส่วนประกอบทางกราฟฟิกซึ่งรวมถึงรูปสัญลักษณ์และ ส่วนที่เป็นกราฟฟิกอื่นๆเช่นเส้นขอบรูปแบบหรือสีพื้นที่ตั้งใจทำขึ้น เพื่อนำส่งข้อสนเทศจำเพาะ (ให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจ) ลักษณะ - รูปร่าง– สี่เหลี่ยมจัตุรัสมุมตั้ง - สีสัญลักษณ์ – สีดำ สีพื้น – สีขาว เส้นขอบ – สีแดง* (ตัวอย่างพิกโตแกรมสำหรับสารระคายเคืองผิวหนัง) (*ในบางกรณีหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่อาจยอมให้ใช้สีดำสำหรับเส้นขอบก็ได้) !
พิกโตแกรม สำหรับหีบห่อที่อยู่ภายใต้บังคับของUN Model Regulations - สำหรับการขนส่งควรใช้พิกโตแกรม (ฉลาก) ตามที่ระบุใน UN Model Regulations - ข้อกำหนด(spec.)สำหรับพิกโตแกรมในภาคการขนส่ง ให้เป็นไปตามที่ระบุในUN Model Regulations - ถ้ามีพิกโตแกรมในภาคการขนส่งปรากฏบนหีบห่ออยู่แล้ว ไม่ควรมีพิกโตแกรมตามระบบGHSสำหรับความเป็นอันตรายอย่างเดียวกันนั้นอีก
ตัวอย่างพิกโตแกรมในภาคการขนส่งสำหรับตัวอย่างพิกโตแกรมในภาคการขนส่งสำหรับ ของเหลวไวไฟ 3
สารไวไฟ สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง สารที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ สารที่เกิดความร้อนได้เอง สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ สารออกซิไดส์ สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ วัตถุระเบิด สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง
ก๊าซภายใต้ความดัน สารกัดกร่อน (โลหะ/ผิวหนัง/ดวงตา) ความเป็นพิษเฉียบพลัน (ประเภท 1-2-3)
! การระคายเคืองต่อดวงตา/ผิวหนัง การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อผิวหนัง ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง (ประเภท 3) ความเป็นพิษเฉียบพลัน (ประเภท 4) การก่อมะเร็ง การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบ-ทางเดินหายใจ ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจง การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ฯ อันตรายจากการสำลัก
คำสัญญาณ นิยาม คำหนึ่งคำบนฉลากที่ใช้แสดงระดับความรุนแรงในเชิงเปรียบเทียบของความเป็นอันตราย และทำให้ผู้อ่านมีความตื่นตัวเกี่ยวกับความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้น คำสัญญาณในระบบ GHS มีเพียง 2 คำคือ - “อันตราย” “Danger” สำหรับความเป็นอันตรายที่มีระดับความรุนแรงมากกว่า - “ระวัง” “Warning” สำหรับความเป็นอันตรายที่มีระดับความรุนแรงน้อยกว่า
ข้อความแสดงความเป็นอันตรายข้อความแสดงความเป็นอันตราย นิยาม วลีที่กำหนดไว้สำหรับความเป็นอันตรายในแต่ละประเภทและประเภทย่อย ซึ่งอธิบายถึงลักษณะความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์อันตรายใดๆรวมทั้งอธิบายถึง ระดับความรุนแรงของความเป็นอันตรายตามที่เหมาะสม ตัวอย่างข้อความแสดงความเป็นอันตราย(คำแปลกลาง) - ของเหลวและไอระเหยไวไฟสูง (highly flammable liquid and vapour) - เป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนัง (toxic in contact with skin) - เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ (harmful to aquatic life) ฯลฯ
Standardized Label Elements(สาระสำคัญบนฉลากที่ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน) ตัวอย่าง 1 ความเป็นพิษเฉียบพลัน ทางปาก ประเภทย่อย 1 อันตราย เป็นอันตรายถึงตายได้เมื่อกลืนกิน
ตัวอย่าง 2 : ความเป็นพิษเฉียบพลันต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำ ระวัง เป็นพิษร้ายแรงต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ Standardized Label Elements
ตัวอย่าง 3 : สารก่อมะเร็งประเภทย่อย 1A อันตราย อาจก่อให้เกิดมะเร็ง Standardized Label Elements
ตัวอย่าง 4 : วัตถุระเบิด ประเภทย่อย 1.1 อันตราย วัตถุระเบิด อันตรายจากการระเบิดทั้งมวล Standardized Label Elements
ตัวอย่าง 5 : ของเหลวไวไฟ ประเภทย่อย 1 อันตราย ของเหลวและไอระเหยไวไฟสูงมาก Standardized Label Elements
ตัวอย่าง 6 : ของเหลวออกซิไดส์/ของแข็งออกซิไดส์ ประเภทย่อย 1 อันตราย สารออกซิไดส์ชนิดรุนแรง อาจทำให้เกิดไฟไหม้หรือระเบิด Standardized Label Elements
GHS VS Transport Pictograms (Annex 1) • ก๊าซไวไฟประเภทย่อย 1 อันตราย ก๊าซไวไฟสูงมาก 2
GHS VS Transport Pictograms (Annex 1) • ของแข็งไวไฟประเภทย่อย 1 อันตราย ของแข็งไวไฟ
GHS VS Transport Pictograms (Annex 1) • วัตถุระเบิดประเภทย่อย 1.2 อันตราย วัตถุระเบิดอันตรายจากสะเก็ดระเบิดอย่างรุนแรง
ข้อความที่เป็นข้อควรระวังข้อความที่เป็นข้อควรระวัง นิยาม วลี (และ/หรือพิกโตแกรม) ที่อธิบายมาตรการที่ควรดำเนินการเพื่อ ป้องกันหรือลดผลกระทบในทางเสียหายให้เหลือน้อยที่สุดโดยผลกระทบ นั้นเป็นผลจากการได้รับสัมผัสหรือจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสมหรือ จากการใช้หรือเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์อันตรายนั้นๆ สำหรับสาธารณชนทั่วไป(general public): “เก็บให้พ้นมือเด็ก” “อ่านฉลากก่อนใช้” “หากต้องการคำแนะนำจากแพทย์ให้ถือภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์หรือฉลากติดมือไปด้วย”
ข้อความที่เป็นข้อควรระวังข้อความที่เป็นข้อควรระวัง มี 4 ประเภทซึ่งครอบคลุมถึง - การป้องกัน - การดำเนินการตอบสนอง (ในกรณีการหกรดหรือรั่วไหลหรือการได้รับสัมผัส) - การเก็บรักษาและ - การกำจัด มีข้อแนะนำการใช้ข้อความที่เป็นข้อควรระวังที่สอดคล้องกับระบบ GHS อยู่ใน ภาคผนวก 3 ของระบบ GHS
ตัวอย่างฉลากตามระบบ GHS ! ชื่อผลิตภัณฑ์ : โอ้โหเด็ด ชื่อสารเคมี : 2,4-ดี ไอโซบิวทิล เอสเทอร์ (2,4-D isobutyl ester) ชื่อผู้ผลิต : บริษัท XXXX จำกัด 66 ถนนเทพารักษ์ อ. บางพลี จ. สมุทรปราการ โทร xxxxxxxx โทรสาร xxxxxxxx ระวัง เก็บให้พ้นมือเด็ก เป็นอันตรายเมื่อสูดหายใจเข้าไป ข้อควรระวัง: • ให้สวมหน้ากากและถุงมือขณะฉีดพ่น • หากสัมผัสตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด และรีบไปพบแพทย์ ข้อสนเทศที่เป็นส่วนเสริมเพิ่มเติม : ทะเบียนวัตถุอันตรายเลขที่ 2432/2548
ตัวอย่างฉลากตามระบบ GHS สารกำจัดแมลง ชื่อผลิตภัณฑ์ : อะบาติน ชื่อสารเคมี : อะบาเม็กติน (Abamactin) ชื่อผู้จัดจำหน่าย : บริษัท เคโมฟายล์ จำกัด 93/52 ชั้น 5 อาคารเดอะโมเดอร์นกรุ๊ป ถนนแจ้งวัฒนะ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร 0-25746373-4 ! ระวัง เก็บให้พ้นมือเด็ก เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน ข้อควรระวัง: เมื่อได้รับสารนี้ทั้งทางดื่ม-กิน สัมผัส หรือสูดดมเข้าไป ให้รีบไปพบแพทย์พร้อม ภาชนะบรรจุและฉลากนี้ทันที ข้อสนเทศส่วนเสริมเพิ่มเติม : ทะเบียนวัตถุอันตรายเลขที่ 2432/2548 สำหรับแพทย์: เมื่อมีผู้ได้รับอันตรายจากสารนี้ ให้ฉีด xx 10 mg/v และฉีดซ้ำทุก 15 นาที จนอาการเป็นปกติ
ตัวอย่างฉลากตามระบบ GHS ชื่อผลิตภัณฑ์ : คอมราด 33 ชื่อสารเคมี : ไดโครโทฟอส ชื่อผู้ผลิต : บริษัท เคโมฟายล์ จำกัด 93/52 ชั้น 5 อาคารเดอะโมเดอร์นกรุ๊ป ถนนแจ้งวัฒนะ อ. ปากเกร็ด จ. นนทบุรี 11120 โทร 0-25746373-4 อันตราย อ่านฉลากก่อนใช้ เป็นอันตรายถึงตายได้เมื่อสูดหายใจเข้าไป ข้อควรระวัง: ห้ามทิ้งไว้ในสิ่งแวดล้อม ห้ามดื่มน้ำ กินอาหาร สูบบุหรี่ในขณะใช้สารนี้ ใช้ถุงมือและหน้ากากขณะใช้ ข้อสนเทศส่วนเสริมเพิ่มเติม : สำหรับแพทย์:เมื่อมีผู้ได้รับอันตรายจากสารนี้ ให้ฉีด xx 2 mg/v และฉีดซ้ำทุก 15 นาที จนอาการเป็นปกติ
เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย 16 หัวข้อ ต่อไปนี้ ชื่อสาร ชื่อผู้ผลิต ชื่อผู้จำหน่าย และสถานที่ติดต่อ ส่วนประกอบหรือสาระสำคัญในสารผสม อันตรายของสาร การปฐมพยาบาลเบื้องต้น มาตรการผจญเพลิง มาตรการจัดการเมื่อสารหกหรือรั่วไหล การเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บ
เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเอกสารข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย 16 หัวข้อ ต่อไปนี้ การคุ้มครองอันตรายส่วนบุคคล คุณสมบัติทางกายภาพและเคมี ความเสถียรและความไวในการทำปฏิกิริยา พิษวิทยา นิเวศวิทยา การกำจัด การขนส่ง ข้อมูลกฎระเบียบและข้อบังคับ ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม
ข้อพิจารณาในการนำไปใช้ข้อพิจารณาในการนำไปใช้ • การขนส่ง • GHS จะนำไปใช้เพียง Pictogram เท่านั้นสำหรับบรรจุภัณฑ์ขนส่งในกลุ่มอันตราย • ด้านกายภาพ ด้านสิ่งแวดล้อม และกลุ่มสารพิษเฉียบพลัน ในกรณีที่มีการติดฉลาก • ตามข้อเสนอแนะการขนส่งสินค้าอันตรายแห่งสหประชาชาติแล้ว • ให้ยกเว้นไม่ต้องมีฉลากของ GHS • พื้นที่การผลิตหรือที่จัดเก็บสารเคมี (workplace) • GHS จะนำไปใช้ทั้งการติดฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัย • และฉลากต้องครอบคลุมส่วนประกอบทั้งหมดตามหลักเกณฑ์ของ GHS • ผู้บริโภค • GHS จะนำไปใช้เฉพาะการติดฉลากและต้องครอบคลุมส่วนประกอบทั้งหมด • ตามหลักเกณฑ์ของ GHS และข้อพิจารณาอื่นเพิ่มเติมได้ เช่น • ข้อมูลแสดงความน่าจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ (Likelihood of Injury) เป็นต้น