1 / 34

ภาษา ( Language )

ภาษา ( Language ). บรรยายโดย พระมหาเผื่อน กิตฺ ติ โสภโณ. โครงสร้างภาษา ( Structure of language ). การศึกษาภาษา.

hina
Download Presentation

ภาษา ( Language )

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาษา(Language) บรรยายโดย พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ

  2. โครงสร้างภาษา(Structureof language)

  3. การศึกษาภาษา • หน่วยเสียงพื้นฐาน(Phonemes) หน่วยเสียงเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดในภาษา (ทางภาษาศาสตร์) หน่วยพื้นฐานของเสียง (ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา) เช่น ม อา ล อี การศึกษาเกี่ยวกับการสร้างคำหน่วยเสียงของแต่ละภาษาเรียกว่า morphology • หน่วยคำ(morpheme) หน่วยที่เล็กที่สุดของคำที่มีความหมายในตนเอง เช่น มาลี โรงเรียน ไป การศึกษาการรวมกันของหน่วยเสียงจนเกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย เรียกว่า Morphology • วากยสัมพันธ์(Syntax) การสร้างประโยค รูปแบบของประโยคตามไวยากรณ์ภาษานั้นๆ เช่น มาลี ไป โรงเรียน • อรรถศาสตร์(Semantics) คือ การศึกษาความหมายของคำ • วจนปฎิบัติศาสตร์(Pragmatics) คือ การวิเคราะหภาษาโดยอาศัยผูพูดและผูฟงเปนผูกำหนดความหมายของภาษา • นักภาษาศาสตร์และนักจิตวิทยาแยกศักยภาพทางภาษา(Linguistic competence)ออกจากสมรรถนะทางภาษา(LinguisticPerformance) โดยอธิบายว่า ศักยภาพทางภาษา หมายถึง ความรู้ทางภาษาที่ทำให้สร้างและเข้าใจภาษาได้ ส่วนสมรรถนะทางภาษานั้นเป็นผลจากศักยภาพทางภาษาและปัจจัยอื่นๆ

  4. สัทวิทยา(Phonology) สัทวิทยา อธิบายทุกภาษาจะมีหน่วยเสียงพื้นฐาน(Phonemes)ที่เป็นส่วนที่เล็กที่สุดของหน่วยคำที่ซึ่งมีจำนวนแตกต่างกันไปในแต่ละภาษา หน่วยเสียงพื้นฐานเหล่านี้เมื่อหากออกเสียงผิด หรือใช้ผิดมีผลให้ความหมายของคำเปลี่ยนไป เช่น go กับ no สัทวิทยาใช้สิ่งที่เรียกว่า Phonetics ในการศึกษาและระบุว่า Phonemes แต่ละตัวในแต่ละภาษามีวิธีการออกเสียงอย่างไร

  5. วากยสัมพันธ์(Syntax) คำว่า syntax(วากยสัมพันธ์)หมายถึง ลักษณะของคำภายในประโยคหรือส่วนต่างๆและวิธีการส่วนต่างๆของประโยคมารวมกันเจ้า จะเรียกว่า โครงสร้างประโยค ก็ได้ กฎวากยสัมพันธ์คล้ายกันกับกฎของของโฟนีมคือควบคุมให้คำหรือวลีต่างๆมารวมกันเป็นประโยคที่ถูกต้องตามหลักภาษานั้นๆ

  6. The poodle will chase the red ball

  7. เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวรญฺชาย วิหรติ S NP NP VP Ad.j. N. V. N. Pro.N N. เวรญฺชาย ที่เมื่อเวรัญชา เตน นั้น สมเยน สมัย ภควา ผู้นำแนกธรรม วิหรติ ทรงประทับอยู่ พุทฺโธ พระพุทธเจ้า

  8. อรรถศาสตร์(Semantics) อรรถศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความหมายของคำซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญของการใช้ภาษา เสียงที่เราเปล่งออกมาเพื่อสื่อถึงแนวคิดที่เราต้องการสื่อสาร และเมื่อการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ฟังต้องรับรู้ความหมายที่ผู้สื่อสารถ่ายทอดออกมาในแง่ใดแง่หนึ่ง. ซึ่งทฤษฎีว่าด้วยความหมายของคำยังคงได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทฤษฎีว่าด้วยความหมายมักจะอธิบายสิ่งต่อไปนี้ • ความผิดปกติ(Anomaly)ตัวอย่างเช่น ทำไม่เราจึงพูดว่าไม่ได้ว่า “เก้าอี้ตายแล้ว” • ความขัดแย้งกันในตัว(Self-contradiction) เช่น ทำไมความหมายจึงเปลี่ยนไปเมื่อเราสลับประโยคว่า “สุนัขเป็นสัตว์สี่เท้า” • ความคลุมเครือ(Ambiguity) ทำไมคำว่า “กระต่ายยังไม่แก่พอ”จึงมีความหมายว่า “กระต่ายยังอ่อนเกินไป” • ความเกี่ยวข้อง(Entailment) ทำไมคำว่า “นายมีเป็นลุงของฉัน” มีความหมายว่า นายมีเป็นผู้ชาย

  9. ทฤษฎีด้านอรรถศาสตร์ยังอธิบายว่าเพราะเหตุใดเราจึงใช้ความหมายของคำเพื่อจัดการกับประโยคและการอภิปรายโดยรวม. นักจิตวิทยาด้านการรู้คิดหลายสนใจในอรรถศาสตร์ในแง่ที่ว่า ความรู้ถูกจัดระเบียบและจัดเก็บอย่างไร และทฤษฎีเกี่ยวกับวิธีที่บุคคลสร้างแนวคิดและจัดระเบียบสิ่งต่างๆ

  10. วจนปฏิบัติศาสตร์(Pragmatics) ในการสื่อสารด้วยวาจา ผู้พูดต้องพูดให้ถูกหลักสัทวิทยา(phonology) วากยสัมพันธ์(syntax)และอรรถศาสตร์(semantics) นอกจากกฎ ๓ ประการข้างต้นแล้ว การสื่อสารจะประสบสำเร็จได้ต้องถูกต้องตามกฎวจนปฏิบัติศาสตร์อีกด้วย ซึ่งหมายถึง มารยาทหรือธรรมเนียมในการสนทนา เช่น การไม่พูดแทรกคู่สนทนา หรือการทักทายก่อนเริ่มการสนทนา เซียร์ล(Searle (1979)กล่าวว่า ในฟังคู่สนทนา มิใช่แค่เพียงใช่แค่เสียง คำหรือโครงสร้างประโยคเท่านั้นที่ผู้ฟังต้องเข้าใจประเภทของการพูดอีกด้วย(kind of utterances) โดยเข้าได้แบ่งการพูดออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  11. การพูดเพื่อบอกความคิดความเชื่อของตน(assertive utterance) เช่น ผมเป็นคนตรง ฉันไม่อยากกิน ฉันเบื่อ • การพูดเชิงบังคับ(Directive utterance) เช่น ปิดประตู ออกไปเดี๋ยวนี้ • การพูดเชิงสัญญา(Commissiveutterance) เช่น ใช้ได้แน่นอนผมรับรอง หรือผมจะหามาให้ • การพูดเชิงแสดงความรู้สึก(Expressive utterance) เช่น ขอโทษจริงๆ ผมจะไม่ทำอีกแล้ว ผมผิดหวังในตัวคุณจริงๆ • คำพูดเชิงบอกแจ้ง(declarative utterance) เช่น ขอประกาศให้ทั้งคู่เป็นสามีภรรยากัน คุณถูกไล่ออก

  12. การเข้าใจภาษาและการสร้างภาษา(Language comprehension and production)

  13. การรับรู้คำพูด(Speech perception) • ภาษาก็เหมือนกับข้อมูลอื่นๆคือถูกเปลี่ยนรู้จากข้อมูลดิบไปเป็นการสร้างตัวแทน(representation)ที่มีความหมายในความจำ คำพูด(speech) ถือได้ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้ภาษา การเข้าใจคำพูดที่ใครบางคนกำลังพูดกับเรานั้นไม่ง่ายเว้นแต่ว่าเป็นภาษาต่างประเทศหรือผู้พูดมีปัญหาในการพูดอย่างขั้นรุนแรง นอกจากนี้เรายังสามารถเข้าใจคำพูดของเด็ก ผู้ใหญ่ คนที่พูดรัวเร็ว หรือคนที่พูดสำเนียงต่างประเทศหรือสำเนียงท้องถิ่น • แม้จะดูเป็นเหตุเป็นผลที่จะสันนิษฐานว่า เราเข้าใจคำพูดเหมือนที่เราเข้าใจตัวหนังสือโดยแยกแยะจากช่องว่างระหว่างคำ แต่โชคร้ายที่น่าพอใจนี้ไม่เป็นความจริง(ความจริงแล้ว การงานวิจัยยังชี้ว่าเราไม่ได้จัดการกับตัวหนังสือแบบรายตัวอักษร

  14. จอร์จมิลเลอร์(Gourge Miller,1990) ได้อธิบายปัญหาพื้นฐานในการรับรู้คำพูดเอาไว้ 2 ประการคือ • คำพูดมีลักษณะต่อเนื่องกันไป มีการหยุดในระหว่างน้อยมากเมื่อวิเคราะห์ด้วย spectrogram จะเห็นได้ว่าช่องๆว่างไม่สอดคล้องกับคำหรือพยางค์ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในเชิงกายภาพไม่มีตรงไหนที่จะชี้ได้ว่าช่องว่างระหว่างคำอยู่ตรงไหน • หน่วยเสียงพื้นฐาน(phoneme)แต่ละตัวออกเสียงแตกต่างกันไปตามแต่บริบทเช่น ลักษณะการพูด เพศ เหตุผลที่เรายังสามารถรับรู้คำพูดได้อย่างถูกต้องแม้คุณภาพเสียงจะแตกต่างกันไปคือการรับรู้คำพูดของเราเป็นแบบจัดหมวดหมู่(categorical) นั้นคือ ในการจัดการกับเสียงพูดเราจัดหมวดหมู่เสียงโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องนำสู่การมีสติระลึกรู้(awareness)เพ่งความสนใจ(Attention)หรือ

  15. Lisker and Abramson (1970) ได้อธิบายการการรับรู้คำพูดแบบจัดหมวดหมู่โดยใช้คอมพิวเตอร์สร้างเสียงพูดที่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะที่เกิดจากริมฝีปาก(bilabial) เช่น /b/ /p/ จากนั้นตามด้วยเสีย “ah” ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า พยัญชนะใดก็ตามที่ตามด้วย VOT(Voice onset time) +0.03วินาทีหรือน้อยกว่าจะถูกได้ยินเป็น “ba” และหากมากกว่าจะถูกได้ยินเป็น “pa” ผู้รับการทดลองไม่สามารถแยกแยะได้ความแตกต่างระหว่างพยัญชนะที่มี VOT -0.05 กับ -0.10 ได้ การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่าเราให้ความสนใจกับคุณสมบัติของด้านเสียงของคำพูดที่มีความหมายและเพิกเฉยกับคุณสมบัติอื่นเช่น ระดับเสียง นั่นคือเหตุผลที่เราสามารถเข้าใจคำพูดต่างระดับเสียงหรือสำเนียงได้

  16. การพูดผิดSpeech Errors in Production นอกจากการใช้คำพูดแล้ว เรายังสร้างคำพูดเพื่อสื่อสารกับคนอื่นอีกด้วย งานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างคำพูดส่วนหนึ่งมุ่งให้ความสนใจกับการความผิดพลาดในการสร้างคำพูด(Speech error) ตัวอย่างเช่น • Sue keeps food in her vesk. (Substitution of “v” for “d”) • Keep your cotton-pickin’ hands off my weetspeas. (Shift of “s”) • . . . got a lot of ponsandpatsto wash. (Exchange of sounds) • We’ll sit around the song and sing fires.(Exchange of words and morphemes)

  17. Garrett (1988) ได้ศึกษาความผิดพลาดในการพูดพบว่า ความผิดพลาดในการพูดแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ • ความผิดพลาดอันเนื่องความหมายที่เชื่อมโยงกัน เช่น ใช้คำว่า นิ้วมือ(finger)แทนคำว่า นิ้วเท้า(toes) หรือคำว่าเดิน(walk)แทนที่จะใช้คำว่า วิ่ง(run) • ผิดพลาดเนื่องจากรูปศัพท์คล้ายกัน เช่น คำว่า guest แทนที่จะเป็น goat, mushroom แทนที่จะเป็น mustache

  18. การเข้าใจประโยคSentence Comprehension • คนเราเข้าใจความหมายจากประโยคได้อย่างไร? จะเห็นได้ว่า งานดังกล่าวนี้มีความซับซ้อนเพราะนอกจากเราจะต้องเข้าใจความหมายแต่ละคำแล้วเรายังต้องเข้าใจโครงสร้างประโยค(Syntactic structure)อีกด้วย • ในการวิจัยต่อเนื่อง Jarvella(1971) ได้ให้ผู้รับการทดฟังข้อความยาวๆ เสียงแทรกในระหว่างข้อความยาวๆเป็นสัญญาณให้ผู้รับการทดลองนึกย้อนอะไรก็จากประโยคที่เข้าได้ยินให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จาเวลล่าได้สร้างข้อความที่มีวลีคล้ายกันแต่มีองค์ประกอบประโยคแตกต่างกัน โดยจะเห็นได้ว่าอนุประโยคตรงกลางของทั้งสองประโยคเหมือนกัน ดังนี้

  19. With this possibility, Taylor left the capital. After he had returned to Manhattan, he explained the offer to his wife. (ด้วยความเป็นไปได้นี้ เทเลอร์ออกจากเมืองหลวง หลังจากกลับถึงแมนฮัตตัน เขาได้อธิบายข้อเสนอแก่ภรรยาของเขา) • Taylor did not reach a decision until after he had returned to Manhattan. He explained the offer to his wife. (เทเลอร์ยังตัดสินใจไม่ได้จนกระทั่งกลับถึงแมนฮัตตัน เขาได้อธิบายข้อเสนอแก่ภรรยาของเขา)

  20. ผลการวิจัยพบว่า การจำคำต่างๆในอนุประโยคแรกของผู้รับการทดลองคล้ายคลึงกันและเฉลี่ยอยู่ที่ 16% • การจำคำในประโยคที่3 (“he explained the offer to his wife”) ของผู้รับการทดลองทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันโดยอยู่ที่เฉลี่ย 85% สันนิษฐานว่าประโยคดังกล่าวยังอยู่ใน ความจำที่กำลังทำงาน(working memory) สำหรับอนุประโยคที่2 (After he had returned to Manhattan) ซึ่งเป็นข้อความเดียวกันในทั้งสองประโยคพบว่า ผู้รับการทดลองจำอนุประโยคที่ 2 ของข้อความที่ 1 ถูกต้อง 54% ส่วนอนุประโยคที่ 2 ข้อความที่ 2 ถูกต้อง 20% จาเวลล่าให้เหตุผลว่า เพราะอนุประโยคที่2ในข้อความที่ 1 กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการ จึงยังถูกเก็บไว้ใน working memory ส่วนอนุประโยคที่ 2 ของข้อความที่ 2 เป็นส่วนหนึ่งของประโยคถูกดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว • งานวิจัยนี้ชี้ว่า แม้ปกติแล้วดูเหมือนว่าเราทิ้งคำต่างๆหลังจากที่สร้างตัวแทนขึ้นในความคิดแล้ว ไวยากรณ์ยังมีอิทธิพลต่อความเข้าใจแม้ว่าเราจะไม่ตระหนักรู้

  21. การเข้าใจข้อความตัวหนังสือComprehending Text Passages • Just and Carpenter (1987) ได้พยายามศึกษาว่าคนเรามีอ่านอย่างไรโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์วัดการหยุด(fixation)ของตาการหยุดของตาคือการหยุดการสแกนด้วยสายตาเป็นระยะเวลาสั้นๆก่อนเลื่อนการอ่านต่อไป พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะหยุดการสแกนเป็นเวลา 250วินาทีก่อนเลื่อนต่อไปซึ่งการเปลี่ยนจังหวะดังกล่าวใช้เวลาราว 10-20มิลลิวินาที ซึ่งทั้งสองสันนิษฐานว่า การแปลความหมายคำแต่ละคำเกิดขึ้นในระหว่างนั้น การหยุดจะเป็นตัวบอกว่าการแปลคำยากหรือง่ายแค่ไหน • งานวิจัยของ Kintschand Keenan (1973)ได้ชี้ให้เห็นว่า องค์ประกอบด้านความหมายของคำมีผลต่อการอ่าน โดยให้รับการทดลองอ่านข้อความความยาวเท่ากันเข้าใจได้ยากง่ายแตกต่างกันเนื่องจากความซับซ้อนตำแหน่งของคำ(propositional complexity) พบว่าตำแหน่งคำที่ถูกสร้างขึ้นในใจเป็นแบบลำดับขั้น(hierarchy)โดยจะมีคำที่เป็นแกนกลางและคำที่ช่วยให้รายละเอียดที่มีความสำคัญน้อยกว่า

  22. ไวยากรณ์เรื่องราว(Story Grammars)

  23. หลักการสนทนาของกริเชียนGriceanMaxims of Conversation 1. หลักว่าด้วยปริมาณ(Maxim of quantity). ทำคำพูดของคุณให้มีสาระเท่าที่จำเป็นอย่าทำให้มีสาระเกินความจำเป็น. 2. หลักว่าด้วย(Maxim of quality). ทำคำพูดของคุณให้น่าเชื่อถือ อย่าพูดสิ่งที่คุณเชื่อให้เป็นเรื่องเหลวไหล อย่าพูดโดยไม่มีหลักฐาน. 3. หลักว่าด้วยความสัมพันธ์(Maxim of relation). สร้างความเกี่ยวเนื่องกัน. 4. หลักว่าด้วยมารยาท(Maxim of manner). สร้างความชัดเจน หลีกเลี่ยงการแสดงออกที่ไม่ชัดเจนความคลุมเครือ กระชับและเป็นลำดับ.

  24. ภาษากับการรู้ คิด(Language and cognition)

  25. The Modularity Hypothesis • นักทฤษฎีกลุ่มนี้มองว่า ภาษาเป็นกระบวนการทางการรู้คิดที่เป็นส่วนอิสระ1งานวิจัยของ Swinney (1979)ซึ่งพบว่า เมื่อเกิดพบกับคำที่คลุมเครือ ความหมายต่างขอคำจะถูกตุ้นให้ทำงานโดยอัตโนมัติ

  26. The Whorfian Hypothesis • สมมติฐานที่เรียกว่า สมมติฐานของวอเฟียนว่าด้วยความสัมพันธ์ทางภาษา(Whorfian hypothesis of linguistic relativity) เชื่อว่า ภาษาเกิดจากการรับรู้โลกรอบตัว การจัดหมวดหมูและการคิด ภาษาแตกต่างกันไปตามแต่ภูมิประเทศของโลก เขายกตัวอย่างเช่น ชาวเอสกิโมมีคำเรียกหิมะหลายคำ ขณะที่ภาษาอังกฤษมีแค่คำเดียว ภาษาอังกฤษมีคำเรียกสีหลายคำ ขณะที่ชนเผ่าดานิในอินโดนิเซียมีแค่ ขาว ดำและสว่าง

  27. Neuropsychological Views andEvidence • ปี 1861 Pierre Paul Brocaแพทย์ชาวฝรั่งเศสค้นพบว่า สมองส่วนที่เรียกว่า Broca area ในปัจจุบันทำหน้าเกี่ยวกับความสามารถในการเปล่งเสียงพูด • 1874 ปีต่อมา Carl Wernicke นักประสาทวิทยาชาวเยอรมันพบว่า สมองส่วนที่เรียกว่า Wernicke’s area ในปัจจุบันทำหน้าที่เกี่ยวกับการเข้าใจภาษา

More Related