1 / 43

บทที่ 9 ลูกหนี้และตั๋วเงิน

บทที่ 9 ลูกหนี้และตั๋วเงิน. ลูกหนี้ (Accounts Receivable). ลูกหนี้ เกิดจากการที่ผู้ขายให้เครดิตสินเชื่อทางการค้าแก่ผู้ซื้อ คือ ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อนำสินค้าหรือบริการไปใช้ก่อน และให้นำเงินมาชำระในภายหลัง กิจการจะรับรู้ลูกค้าเป็นลูกหนี้การค้า. ลูกหนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้

Download Presentation

บทที่ 9 ลูกหนี้และตั๋วเงิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 9ลูกหนี้และตั๋วเงิน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  2. ลูกหนี้ (Accounts Receivable) ลูกหนี้ เกิดจากการที่ผู้ขายให้เครดิตสินเชื่อทางการค้าแก่ผู้ซื้อ คือ ผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อนำสินค้าหรือบริการไปใช้ก่อน และให้นำเงินมาชำระในภายหลัง กิจการจะรับรู้ลูกค้าเป็นลูกหนี้การค้า • ลูกหนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้ • ลูกหนี้การค้า • ลูกหนี้อื่น ๆ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  3. ลูกหนี้การค้า (Trade Receivables) ลูกหนี้การค้า หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ คือ เกิดจากรายการขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ ซึ่งในการให้เครดิตสินเชื่อต้องมีการกำหนดเงื่อนไขระยะเวลาการชำระหนี้ไว้อย่างชัดเจน เช่น 30 วัน 60 วัน หรือ 90 วัน เป็นต้น ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  4. ลูกหนี้อื่น ๆ (Other Receivables) ลูกหนี้อื่น ๆ หมายถึง ลูกหนี้ที่เกิดจากรายการอื่น นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น 1. เงินให้พนักงานกู้ยืม 2. เงินให้กู้แก่บริษัทในเครือและบริษัทย่อย 3. ลูกหนี้และเงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ 4. รายได้ค้างรับ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  5. วิธีการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้วิธีการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ การขายสินค้า/บริการ การขายสินค้า/บริการเป็นเงินเชื่อ การขายสินค้า/บริการเป็นเงินสด เดบิต ลูกหนี้การค้า xx เครดิต ขายสินค้า xx เดบิต เงินสด xx เครดิต ขายสินค้า xx เงื่อนไขการชำระเงิน เช่น 2/10, n/30 2/10, 1/15, n/45 ลูกหนี้ที่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ลูกหนี้ที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เดบิต เงินสด xx เครดิต ลูกหนี้การค้า xx ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  6. ลูกหนี้ที่คาดว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ลูกหนี้ที่คาดว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ณ วันสิ้นงวดบัญชี กิจการจะต้องสรุปยอดคงเหลือของบัญชีลูกหนี้การค้า เพื่อให้ทราบว่ามีลูกหนี้การค้ารายใดค้างชำระหนี้ และเป็นระยะเวลา เท่าใด เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโอกาสในการได้รับชำระเงิน หากผลการวิเคราะห์ไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่าจะสามารถเรียกเก็บเงินได้ทั้งหมด กิจการต้องคำนวณเปอร์เซ็นต์ของลูกหนี้การค้าที่คาดว่าจะไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ และนำไปหักออกจากบัญชีลูกหนี้การค้า เพื่อให้บัญชีลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าที่คาดว่าจะสามารถเรียกเก็บเงินได้ วิธีการทางบัญชี คือ การตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  7. วิธีการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้วิธีการบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้ที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ การขายสินค้า/บริการ การขายสินค้า/บริการเป็นเงินเชื่อ การขายสินค้า/บริการเป็นเงินสด เดบิต ลูกหนี้การค้า xx เครดิต ขายสินค้า xx เดบิต เงินสด xx เครดิต ขายสินค้า xx เงื่อนไขการชำระเงิน เช่น 2/10, n/30 2/10, 1/15, n/45 ลูกหนี้ที่สามารถเรียกเก็บเงินได้ ลูกหนี้ที่คาดว่าไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เดบิต เงินสด xx เครดิต ลูกหนี้การค้า xx ตั้งเป็นประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เดบิต หนี้สงสัยจะสูญ xx เครดิต ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ xx ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  8. บัญชีหนี้สงสัยจะสูญ (Doubtful Accounts)หมายถึง ลูกหนี้ที่กิจการ คาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้และได้ทำการประมาณการไว้ ณ วันสิ้นงวดบัญชี ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการในงวดบัญชีนั้น บัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowances for Doubtful Accounts)หมายถึง จำนวนเงินส่วนที่กันไว้สำหรับลูกหนี้ที่กิจการคาดว่าจะเรียกเก็บเงินไม่ได้ กิจการจะบันทึกแยกบัญชีไว้ต่างหากจากลูกหนี้การค้าถือเป็นบัญชีปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้การค้า เพื่อให้ลูกหนี้การค้าแสดงมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะสามารถเรียกเก็บเงินได้ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  9. การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน บริษัท งบกำไรขาดทุน (บางส่วน) สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 25xx ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  10. บริษัท งบดุล (บางส่วน) วันที่ 31 ธันวาคม 25xx ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  11. วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ การประมาณหนี้สงสัยจะสูญ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้คงเหลือ 2. การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อสุทธิ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  12. 1. การประมาณค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดลูกหนี้คงเหลือ วิธีนี้จะพิจารณาลูกหนี้การค้าแต่ละราย โดยจัดแบ่งกลุ่มลูกหนี้ การค้าตามระยะเวลาของการเป็นหนี้ ดังนั้น กลุ่มลูกหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระและกลุ่มลูกหนี้ที่พ้นกำหนดเวลาชำระเงินจะมีอัตราเปอร์เซ็นต์ของจำนวนหนี้สงสัยจะสูญแตกต่างกัน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  13. ตารางแยกอายุลูกหนี้ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  14. บริษัท กิจเจริญ จำกัด ตารางคำนวณหนี้สงสัยจะสูญ วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  15. กรณีบริษัทเปิดดำเนินการเป็นปีแรกกรณีบริษัทเปิดดำเนินการเป็นปีแรก การบันทึกบัญชีจะแสดงดังนี้ สมุดรายวันทั่วไป หน้า 1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  16. บริษัทฯ สามารถตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญได้จากยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด โดยไม่จำเป็นต้องแยกอายุลูกหนี้รายตัวได้ จากตัวอย่างข้างต้น สมมติบริษัทฯ มีนโยบายตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 4% ของยอดลูกหนี้คงเหลือ ณ วันสิ้นงวด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  17. การบันทึกบัญชี สมุดรายวันทั่วไป ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  18. บริษัทกิจเจริญ จำกัด งบดุล (บางส่วน) วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  19. 2. การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อสุทธิ การประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญจากยอดขายเชื่อสุทธิ โดยกำหนดอัตราหนี้สงสัยจะสูญเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายเชื่อสุทธิ และจำนวนที่คำนวณได้นำไปบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน โดยไม่ต้องคำนึงถึงบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่มีอยู่เดิม ยอดขายเชื่อสุทธิ = ยอดขายเชื่อ – รับคืนสินค้า - ส่วนลดจ่าย ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  20. ตัวอย่าง บริษัท นวพล จำกัด มียอดคงเหลือในบัญชีลูกหนี้ ดังนี้ บริษัทกิจเจริญ จำกัด งบดุล (บางส่วน) วันที่ 31 ธันวาคม 25x5 บริษัทฯ มีนโยบายตั้งประมาณการค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ 2% ของยอดขายเชื่อสุทธิ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  21. การบันทึกบัญชี สมุดรายวันทั่วไป ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  22. การตัดจำหน่ายหนี้สูญ (Writing of Bad Debt) เมื่อลูกหนี้ถึงกำหนดชำระเงิน แต่กิจการไม่สามารถเรียกเก็บเงินและ กิจการได้ดำเนินการติดตามทวงถามจนถึงที่สุดแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ กิจการควรตัดจำหน่ายลูกหนี้ดังกล่าวออกจากบัญชีและบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด วิธีการตัดจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชีแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี ดังนี้ 1. กรณีตัดจำหน่ายตามเกณฑ์กฎหมายภาษีอากร 2. กรณีตัดจำหน่ายตามหลักการบัญชี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  23. 1. กรณีตัดจำหน่ายตามเกณฑ์กฎหมายภาษีอากร การตัดจำหน่ายหนี้สูญตามเกณฑ์กฎหมายภาษีอากร เกิดจาก ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ซึ่งสามารถระบุได้ชัดเจนและเป็นไปตามกฎหมายกำหนด เช่น ลูกหนี้ถึงแก่กรรม, ล้มละลาย เป็นต้น 2. กรณีตัดจำหน่ายตามหลักการบัญชี การตัดจำหน่ายหนี้สูญตามหลักการบัญชี เกิดจากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ซึ่งกิจการมีความมั่นใจว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้ และสาเหตุไม่ชัดเจน เป็นการคาดการณ์จากกิจการเอง ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  24. ตารางเปรียบเทียบวิธีการบันทึกบัญชีการตัดจำหน่ายลูกหนี้ออกจากบัญชี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  25. หนี้สูญได้รับคืน (Bad Debt Recoveries) เมื่อกิจการได้ตัดจำหน่ายลูกหนี้เป็นหนี้สูญแล้ว แต่ภายหลังลูกหนี้ได้นำเงินกลับมาชำระหนี้ กิจการจะต้องบันทึกบัญชีรับรู้ลูกหนี้ดังกล่าวกลับขึ้นมาเป็นลูกหนี้ใหม่ และบันทึกบัญชีรับชำระหนี้จากลูกหนี้ตามปกติ วิธีการบันทึกบัญชีแยกพิจารณาเป็น 2 กรณีเช่นเดียวกับการตัดจำหน่าย ลูกหนี้เป็นหนี้สูญ ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  26. ตารางเปรียบเทียบวิธีการบันทึกบัญชีหนี้สูญได้รับคืน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  27. ตั๋วเงินรับ (Note Receivables) ตั๋วเงินรับ หมายถึง คำมั่นสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยปราศจากเงื่อนไขที่บุคคลหนึ่งรับจะชำระเงินจำนวนหนึ่งที่แน่นอนให้แก่บุคคลหนึ่งภายในเวลาที่กำหนด • ตั๋วเงินรับสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ • ตั๋วเงินชนิดไม่มีดอกเบี้ย • ตั๋วเงินชนิดมีดอกเบี้ย ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  28. การบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงินการบัญชีเกี่ยวกับตั๋วเงิน ตัวอย่าง เมื่อ 1 เมษายน 25x1 บริษัท นภา จำกัด ขายสินค้าจำนวน 30,000 บาท ให้บริษัทริมธาร จำกัด ได้รับชำระเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินมีกำหนดเวลา 3 เดือน อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อปี ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  29. การบันทึกบัญชี 25x1 หมายเหตุ : การคำนวณดอกเบี้ย = 30,000 x 12 x 3 = 900 บาท 100 12 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  30. ตั๋วเงินขาดความเชื่อถือตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ ตั๋วขาดความเชื่อถือ คือ ตั๋วเงินที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามตั๋วได้เมื่อตั๋วเงิน ดังกล่าวถึงวันครบกำหนด ซึ่งผู้สั่งจ่ายหรือผู้รับเงินต้องทำการแจ้งความเพื่อ ขอทำคำคัดค้าน (Protes fee) ภายใน 3 วัน นับจากวันครบกำหนด และมีสิทธิ์เรียกร้องให้ผู้ออกตั๋วหรือผู้จ่ายเงินชดใช้จำนวนเงินคืนภายหลัง ดังนี้ 1. จำนวนเงินตามตั๋วพร้อมดอกเบี้ยครบกำหนด 2. ดอกเบี้ยพ้นกำหนด 3. ค่าธรรมเนียมในการทำคำคัดค้าน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  31. การบันทึกบัญชี 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  32. การบันทึกบัญชี 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  33. การออกตั๋วเงินฉบับใหม่แทนตั๋วเงินฉบับเก่าการออกตั๋วเงินฉบับใหม่แทนตั๋วเงินฉบับเก่า ในบางกรณี เมื่อตั๋วเงินถึงวันครบกำหนด ผู้จ่ายเงินไม่สามารถจ่ายเงินตามจำนวนดังกล่าวได้ แต่ได้ติดต่อขอขยายเวลาการชำระหนี้ต่อผู้ถือตั๋ว โดยการขอออกตั๋วเงินฉบับใหม่แทนตั๋วเงินฉบับเก่า โดยมูลค่าหน้าตั๋วฉบับใหม่จะมีมูลค่าเท่ากับมูลค่าหน้าตั๋วฉบับเก่า บวก จำนวนดอกเบี้ยของตั๋วเงินฉบับเก่าทั้งจำนวน ส่วนอัตราดอกเบี้ยและอายุของตั๋วเงินขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  34. ตัวอย่าง จากตัวอย่างที่แล้ว สมมติเมื่อตั๋วเงินดังกล่าวถึงวันครบกำหนด ร้านนิลสยามไม่สามารถจ่ายเงินตามตั๋วได้ จึงขอยืดเวลาในการจ่ายเงินให้แก่บริษัท เพชรแท้ จำกัด ออกไปโดยขอออกตั๋วเงินฉบับใหม่มาแทน ในอัตราดอกเบี้ย 12%ต่อปี กำหนด 30 วัน การบันทึกบัญชี 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  35. การบันทึกบัญชี 25x1 การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงินรับฉบับใหม่ในวันครบกำหนด = 81,600 x 12 x 30 = 816 บาท 100 360 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  36. การขายลดตั๋วเงิน การขายลดตั๋วเงิน คือ การนำตั๋วเงินรับที่กิจการถืออยู่ไปขายลดให้แก่สถาบันการเงินก่อนที่ตั๋วเงินจะถึงวันครบกำหนด ผู้ทรงตั๋วจะลงนามสลักหลังตั๋วเงินพร้อมส่งมอบตั๋วเงินให้สถาบัน การเงิน แต่ผู้ขายลดตั๋วเงินยังต้องรับผิดชอบในตั๋วเงินฉบับดังกล่าวอยู่จนกว่าจะได้มีการจ่าย-รับเงินกันจนเป็นที่เรียบร้อย หากถึงวันครบกำหนดสถาบันการเงินไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากผู้ออกตั๋วเงินได้ ผู้ขายลดยังต้องรับผิดชอบในการจ่ายเงินตามมูลค่าหน้าตั๋วบวกดอกเบี้ยทั้งจำนวนให้แก่สถาบันการเงิน ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  37. การบันทึกบัญชี 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  38. - ณ วันที่ตั๋วเงินครบกำหนด หากธนาคารได้รับเงินจากผู้ออกตั๋ว ภาระผูกพันของผู้ขายลดตั๋วเงิน ที่มีต่อสถาบันการเงินจึงสิ้นสุดลง 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  39. - ณ วันที่ตั๋วเงินครบกำหนด หากธนาคารไม่ได้รับชำระหนี้จาก ผู้ออกตั๋ว ธนาคารสามารถนำตั๋วเงินฉบับดังกล่าวไปขอรับเงินจากผู้ขายลด ตั๋วเงิน ผู้ขายลดตั๋วเงินจะต้องรับภาระในจำนวนเงินดังกล่าว 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  40. ในวันที่ 24 สิงหาคม 25x1 บริษัทน่านน้ำจำกัด ยินยอมจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลาพ้นกำหนดในอัตรา 12%ต่อปี พร้อมค่าใช้จ่ายในระหว่างการดำเนินคดี จำนวน 1,800บาท 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์ การคำนวณดอกเบี้ยตั๋วเงินรับฉบับใหม่ในวันครบกำหนด = 51,000 x 12 x 15 = 255 บาท 100 360

  41. การปรับปรุงดอกเบี้ยเมื่อสิ้นงวดบัญชีการปรับปรุงดอกเบี้ยเมื่อสิ้นงวดบัญชี • ตั๋วเงินที่ครบกำหนดในปีถัดไป จะต้องทำการปรับปรุงดอกเบี้ย เพื่อแสดงให้เห็นถึงจำนวนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด และจำนวนดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีถัดไป ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  42. ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 25x1 บริษัท แววเจริญ จำกัด ได้รับชำระหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 400,000 บาท กำหนด 90 วัน อัตราดอกเบี้ย 15% จากบริษัท พูนเพิ่ม จำกัด (กิจการทำการปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด 31 ธันวาคม) การบันทึกบัญชี 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

  43. 25x1 25x1 ผศ.อัจฉราพร โชติพฤกษ์

More Related