1 / 21

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics. อ . มานิตา หนูสวัสดิ์. สัปดาห์ที่ 3 การจัดระเบียบทางสังคม และวัฒนธรรม. การจัดระเบียบทาง สังคม. การจัดระเบียบทางสังคมและโครงสร้างทางสังคม ( Social organization and Social structure )

leanne
Download Presentation

วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชาสังคมและการเมือง Social and Politics อ.มานิตา หนูสวัสดิ์

  2. สัปดาห์ที่ 3 การจัดระเบียบทางสังคมและวัฒนธรรม

  3. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • การจัดระเบียบทางสังคมและโครงสร้างทางสังคม (Social organization and Social structure) • การจัดระเบียบทางสังคม หมายถึง การทำให้สังคมมนุษย์มีความเป็นระเบียบ • การจัดระเบียบทางสังคม มีคำเรียกได้อีกหลายคำ เช่น โครงสร้างทางสังคม, ระบบสังคม • การจัดระเบียบทางสังคม จึงเกี่ยวข้องกับ บรรทัดฐานทางสังคม สถานภาพ และบทบาท

  4. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • ทำไมต้องมีการจัดระเบียบทางสังคม? • มนุษย์โดยทั่วไปมีความแตกต่างกัน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน 2.มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคม ต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตน ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบการแบ่งหน้าที่การงานในสังคม 3. มนุษย์มีลักษณะตามธรรมชาติที่สำคัญ คือ การต่อสู้ การใช้อำนาจและคามขัดแย้งต่อกันตามปรัชญาของ Hobbes ดั้นนั้นสังคมจึงจำเป็นต้องมีระบบระเบียบเป็นแบบแผนในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์

  5. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • บรรทัดฐานทางสังคม (social norms) • บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เป็นที่คาดหวังของสังคมเป็นมาตรฐานที่สมาชิกของสังคมถูกคาดหวังให้ปฏิบัติตาม • เป็นสิ่งที่ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมและทำให้สมาชิกในสังคมทราบว่าจะปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ หรืออะไรเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ • หน้าที่ของบรรทัดฐานทางสังคม คือ การจัดระเบียบและช่วยลดความจำเป็นของการเผชิญหน้าในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆทางสังคมที่สมาชิกของสังคมมีส่วนร่วม

  6. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • แบ่งบรรทัดฐานทางสังคมได้ 3 ประเภท 1.วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (folkways) 2.จารีตหรือศีลธรรม (mores) 3.กฎหมาย (laws)

  7. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน (folkways) • วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แบบแผนหรือพฤติกรรมที่คนจำนวนมากเห็นว่าเหมาะสม ถูกต้องในสถานการณ์นั้นๆ • วิถีประชาจะครอบคลุมพฤติกรรมด้านต่างๆของสังคมไว้ซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำที่ปฏิบัติจนเป็นความเคยชิน เป็นนิสัย เป็นประเพณี ไม่มีการบังคับให้ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด • วิถีประชาเป็นบรรทัดฐานที่มีระดับความสำคัญน้อยในสังคม กล่าวคือ การกระทำผิดวิถีประชานั้นมีผลกระทบต่อส่วนรวมน้อยและไม่รุนแรง จึงทำให้บทลงโทษของการกระทำผิดตามวิถีประชาไม่ร้ายแรง

  8. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • จารีตหรือศีลธรรม (mores) • จารีตหรือศีลธรรม คือ กฎของสังคมที่กำหนดว่าการกระทำใดถูก การกระทำใดผิด ต้องประพฤติหรือปฏิบัติอย่างไรจึงเรียกว่าทำดีหรือกระทำอย่างไรเรียกว่าทำชั่ว • จารีต เป็นบรรทัดฐานที่มีระดับความสำคัญต่อสังคมมาก เนื่องจากการกระทำผิดจารีตจะมีผลกระทบสมาชิกในสังคมจำนวนมากหรือสังคมโดยส่วนรวม • ลักษณะสำคัญของจารีต คือ เป็นทั้งข้อปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติ แต่ละสังคมย่อมมีจารีตแตกต่างกันเพราะเป็นคุณค่าที่แต่ละสังคมจะยึดถือ และจารีตมักเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าวิถีประชา

  9. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • กฎหมาย (laws) • กฎหมายคือ กฎเกณฑ์ที่ถูกบันทึกไว้เป็นทางการถึงข้อห้ามไม่ให้กระทำหรือข้อบังคับให้ทำตาม และมีบทลงโทษตามการกระทำผิดกฎหมายแต่ละอย่างว่าจะได้รับโทษสถานใดบ้าง • กฎหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้น เป็นบรรทัดฐานที่มีลักษณะเป็นทางการมากที่สุด เป็นอำนาจรัฐ • กฎหมายยังมีบทลงโทษที่เป็นทางการและสามารถควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  10. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • ปัจจัยที่ทำให้เราต้องปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคม 1. เราทำตามเพราะได้รับการปลูกฝั่ง สั่งสอน และผ่านการขัดเกลาทางสังคมตั้งแต่เด็กให้ปฏิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมทีละเล็กทีละน้อย 2. เราทำตามเพราะเป็นความเคยชินหรือเป็นนิสัย 3. เราทำตามเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา เช่น มารยาทการขับรถ การไม่ทุจริตในห้องสอบ 4. เราทำตามเพราะต้องการแสดงความเป็นพวกเดียวกัน หรือกลุ่มเดียวกัน

  11. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • สถานภาพ (status) • สถานภาพหมายถึง ตำแหน่งที่ได้จากการเป็นสมาชิกของสังคม ตำแหน่งต่างๆจะเป็นตัวกำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของสมาชิก • สถานภาพเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคม สถานภาพจะเป็นตัวกำหนดว่าบุคคลจะปฏิบัติต่อกันอย่างไรจึงเหมาะสม • สิ่งที่ตามมาจากการมีสถานภาพ คือ การแบ่งช่วงชั้น หรือ ลำดับชั้นทางสังคม ซึ่งเกี่ยวข้องกับความมั่งคั่ง อำนาจ และเกียรติยศ เป็นสภาพที่บอกว่าใครเหนือกว่าใคร ใครอยู่สูงหรือต่ำกว่าใคร เป็นเรื่องที่แสดงถึงความเป็นชนชั้นในสังคม

  12. การจัดระเบียบทางสังคมการจัดระเบียบทางสังคม • บทบาท (role) • บทบาทหมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของสถานภาพ เป็นพฤติกรรมที่คาดหวังสำหรับผู้ที่อยู่ในสถานภาพต่างๆจะปฏิบัติอย่างไร • ปัญหาที่พบในลักษณะของสถานภาพและบทบาท คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีสถานภาพซ้อนกันหลายอย่าง หรือการมีบทบาทหลายอย่างที่ต้องกระทำพร้อมกัน สถานภาพหรือบทบาทบางอย่างก็ทำให้เกิดความขัดแย้งกันเอง เกิดความตึงเครียด

  13. วัฒนธรรม Culture

  14. วัฒนธรรม (Culture) • ความหมาย • “วัฒนธรรมเป็นสิ่งทั้งหมดที่มีลักษณะซับซ้อน ซึ่งรวมทั้งความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ จริยธรรม ศีลธรรม กฎหมาย ประเพณี และความสามารถอื่นๆ รวมถึงอุปนิสัยต่างๆ ที่มนุษย์ได้มาโดยการเรียนรู้จากการเป็นสมาชิกของสังคม”(Edward B. Tylor) (ศิริรัตน์ แอดสกุล 2555:71) • “วัฒนธรรม คือ แบบแผนพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ และยังรวมถึงผลที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม สิ่งของต่างๆ ที่คนทำขึ้นและความรู้ที่มีอยู่ร่วมกันในกลุ่มชนหนึ่งและมีการถ่ายทอดไปยังสมาชิกคนอื่นๆของสังคม”(Cuber) (ศิริรัตน์ แอดสกุล 2555: 73)

  15. วัฒนธรรม (Culture) • “วัฒนธรรม คือ ระบบความสัมพันธ์ของคนกับคน และคนกับธรรมชาติ โดยปกติแล้วระบบความสัมพันธ์นี้มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้นใหม่ทุกชั่วอายุคน แต่มักจะรับระบบความสัมพันธ์ที่ตกทอดกันมาจากอดีต … ต้องอาศัยการถ่ายทอดปลูกฝังกันเป็นเวลานาน กว่าจะสามารถดำเนินชีวิตในระบบความสัมพันธ์หนึ่งๆได้ …“(นิธิ เอียวศรีวงศ์ 2537: 32) • ระบบความสัมพันธ์หรือวัฒนธรรมจึงมีพลังกำหนดชีวิตของคนยิ่งกว่าสิ่งใด

  16. วัฒนธรรม (Culture) • ลักษณะของวัฒนธรรม 1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกสังคมและเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 2. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ 3. วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ต้องมีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรม 4. วัฒนธรรมเป็นผลรวมของหลายอย่าง ทั้งความรู้ ความเชื่อ ความคิด อุดมการณ์ ค่านิยม รูปแบบการใช้ชีวิต เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ

  17. วัฒนธรรม (Culture) • ลักษณะของวัฒนธรรม 5. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สังคมใช้ร่วมกันไม่เป็นสมบัติของคนใดคนหนึ่ง 6. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ปรับปรุงและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตามกาลเวลาและสภาพแวดล้อมทางสังคม (มีการถ่ายทอดวัฒนธรรม การรับวัฒนธรรมอื่น การแพร่กระจายของวัฒนธรรม การผสมผสานและการกลืนวัฒนธรรม) 7. วัฒนธรรมเป็นส่วนสำคัญในการหล่อหลอมความคิดและบุคลิกภาพของคนในสังคม อีกทั้งยังเป็นตัวกำหนดรูปแบบความคิด ความรู้สึก และการแสดงออกการกระทำทางสังคม

  18. วัฒนธรรม (Culture) • หน้าที่ของวัฒนธรรม 1. วัฒนธรรมทำหน้าที่ในการควบคุมสังคม ในรูปแบบธรรมเนียมประเพณี ศีลธรรม 2. วัฒนธรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของกลุ่มหรือของสังคม 3. วัฒนธรรมทำให้เกิดความกลมเกลียว เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดความเป็นปึกแผ่นทำให้สังคมคงอยู่ต่อไปได้ คนที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมเกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกัน เกิดความรู้สึกรักและหวงแหน มีจิตสำนึกความเป็นเจ้าของ 4. วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสร้างระเบียบแก่สังคมและทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการปรับตัวของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม

  19. วัฒนธรรม (Culture) • วัฒนธรรมของแต่ละสังคมมีความแตกต่างกัน การตีความหรือการให้คุณค่าวัฒนธรรมเป็นการนำวัฒนธรรมของแต่ละสังคมมาเปรียบเทียบกันเป็นสิ่งที่พึงระวัง เพราะ ไม่มีเกณฑ์สากลใดๆมาเป็นเครื่องวัดหรือบอกว่าเป็นมาตรฐานของวัฒนธรรมได้ ยิ่งกว่านั้นการตีค่าวัฒนธรรมของสังคมต่างๆจะก่อให้เกิดอคติทางวัฒนธรรม • สิ่งที่ตามมาจากการคิดว่าวัฒนธรรมของตัวเองดีกว่าของคนอื่น คือ การหลงใหลวัฒนธรรมของตัวเอง การดูถูก การมีอคติ การเลือกปฏิบัติ

  20. อ้างอิงและเรียบเรียง • เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “วัฒนธรรมกับสังคมไทยในกระแสการเปลี่ยนแปลง”ชุด โลกาภิวัฒน์ (Globalization) อภิชาติ สถิตนิรามัย บรรณาธิการ โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ The Toyota Foundation และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ระหว่างวันที่ 15-16 พฤศจิกายน พ.ศ 2537 • ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2555) ความรู้เบื้องต้นสังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. • ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553) สังคมและวัฒนธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

More Related