1.31k likes | 6.34k Views
แผลกดทับ หมายถึง. ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ถูกทำลายเฉพาะที่จากแรงกด แรงเสียดทาน และแรงเฉือน ที่มากระทำอย่างต่อเนื่อง จนผิวหนังมีรอยแดง และมีการแตกทำลายของผิวหนัง. แผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ. เกรด 1 ผิวหนังเป็นรอยแดง เกรด 2 ผิวหนังถูกทำลายถึงชั้น Dermis
E N D
แผลกดทับ หมายถึง ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ถูกทำลายเฉพาะที่จากแรงกด แรงเสียดทาน และแรงเฉือน ที่มากระทำอย่างต่อเนื่อง จนผิวหนังมีรอยแดง และมีการแตกทำลายของผิวหนัง
แผลกดทับแบ่งออกเป็น 4 ระดับ เกรด 1 ผิวหนังเป็นรอยแดง เกรด 2 ผิวหนังถูกทำลายถึงชั้น Dermis เกรด 3 ผิวหนังถูกทำลายถึงชั้น Subcutaneouse tissue เกรด 4 ผิวหนังถูกทำลายถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก
โครงสร้างของผิวหนังStructure of the skin • ชั้นหนังกำพร้า [Epidermis] • ชั้นหนังแท้ [Dermis] • ชั้นใต้ผิวหนัง [Subcutaneous] • ชั้นกล้ามเนื้อ [Muscle] • ชั้นกระดูก [Bone]
แผลกดทับแบ่งได้ 4 ระดับ แผลกดทับระดับที่ 1[Pressure ulcer stage 1] ผิวหนังยังไม่มีการฉีกขาด จะปรากฏรอยแดงบริเวณผิวหนัง เมื่อทดสอบกดบนรอยแดง รอยแดงไม่จางหายไปใน 30 นาทีเรียกว่า[nonblancing erythema]
แผลกดทับระดับที่ 2 [Pressure ulcer stage 2] ผิวหนังชั้นกำพร้า และหนังแท้ถูกทำลายฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อรอบๆ มีอาการปวด บวม ร้อน และมีสิ่งขับหลั่งจากแผลเล็กน้อยถึงปานกลาง
แผลกดทับระดับที่ 3 Pressure ulcer stage 3 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกถึงชั้นไขมัน แต่ยังไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ แผลเป็นโพรง สิ่งขับหลังปริมาณปานกลางถึงมาก อาจมีกลิ่นเหม็น
แผลกดทับระดับที่ 4 Pressure ulcer stage 4 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกถึงชั้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่งปริมาณมาก และมีกลิ่นเหม็น
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ 1.ปัจจัยภายในร่างกาย -อายุ -ความบกพร่องในการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว -ภาวะอ้วนหรือผอม -ภาวะทุพโภชนาการ -การไหลเวียนเลือดลดลง เช่น BP ต่ำ ,ภาวะช็อก
-ความพร่องในการควบคุมขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ-ความพร่องในการควบคุมขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ -ภาวะไข้ -ภาวะติดเชื้อภายในร่างกาย -ภาวะโรคทางกายเดิมของผู้ป่วย -ภาวะทางจิตใจของผู้ป่วย -การได้รับยาบางชนิด
2.ปัจจัยภายนอกร่างกาย 2.1 แรงกด [Pressure] 2.2 แรงเฉือน[Shearing] 2.3 แรงเสียดทาน [Friction] 2.4 ความเปียกชื้น [Moisture]
แรงกด [PRESSURE] เป็นแรงภายนอกที่มากระทำโดยตรงต่อส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีผลต่อผิวหนัง และขัดขวางการส่งผ่านออกซิเจน สารอาหารไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ได้
Pressure points SUPINE POSITION SITTING POSITION Sacrum 23% LATERAL PRESSURE Ischium 24% Trochanter 15%
แรงเฉือน [ Shearing] • เป็นสองแรงที่กระทำในทิศทางตรงข้ามกัน ในแนวขนาน • ในท่าครึ่งนั่ง ครึ่งนอน น้ำหนักตัวถูกส่งผ่านตามแนวกระดูกสันหลัง ขณะที่ผิวหนังถูกยึดอยู่กับที่ • เกิดแรงสองแรงที่กระทำในทิศทางตรงข้ามกัน การไหลเวียนของเลือดเสียไป
แรงเสียดสี [Friction] • แรงที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของพื้นผิวสองอย่างสัมผัสกัน เช่นการเลื่อนผู้ป่วยด้วยวิธีดึงหรือลาก เกิดการหลุดลอกของผิวหนังชั้นตื้นๆ คล้ายแผลถลอก
การค้นหาปัญหา การประเมินทางการพยาบาล (nursing assessment) ต้องมีการประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับทุกราย(รับใหม่,รับย้าย) และบันทึกให้เสร็จสิ้นภายในเวร
แบบประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ(Risk assessment tools) 1.ประเมินความเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับโดยใช้แบบประเมิน Braden scaleแบ่งความเสี่ยงออกเป็น *ความเสี่ยงสูง (braden scale <หรือ=12) *ความเสี่ยงปานกลาง (braden scale 13-14) *ความเสี่ยงต่ำ (braden scale 15-16) ***ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 65 ปีถือว่ามีภาวะเสี่ยงได้ถ้า braden scale<หรือ=18
2.ทำการประเมินใหม่ทุกครั้งที่มีการปลี่ยนแปลง เช่น p/o, coma score drop 3.ประเมินความเสี่ยงทุกครั้งที่มีการพลิกตัวผู้ป่วย 4.ลงบันทึกผลการประเมินอย่างถูกต้องในใบประเมิน 5.ส่งข้อมูลต่อ เมื่อมีการรับส่งเวร ทุกวันและทุกเวร****
กระบวนการป้องกันการเกิดแผลกดทับกระบวนการป้องกันการเกิดแผลกดทับ 1.การประเมินและทำความสะอาดผิวหนัง[Skin assessment and cleansing] *ประเมิน,บันทึกผิวหนังอย่างเป็นระบบ *ทำความสะอาดผิวหนังโดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง *ใช้วาสลิน,โลชั่น,ครีม ที่ไม่มีส่วนผสมของ Alcohol ทาหลังอาบน้ำ
*ใช้วาสลินหรือ zine paste ทาบริเวณก้นรายที่ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
2.2โภชนาการ [ Nutrition] ประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้มีภาวะขาดสารอาหาร มีภาวะAlb ต่ำกรณีไม่มีข้อจำกัดของโรค เสริมอาหารที่มีโปรตีนมากขึ้น กรณีได้รับสารอาหารน้อย ปรึกษาแพทย์เพื่อให้สารอาหารเพิ่มเติม
2.3 การจัดท่า [Positioning] จัดทำนาฬิกาพลิกตะแคงตัว ทุก 2 ช.ม โดยใช้เทคนิค ยก,จัด, ดึง,ดู
-จัดท่านอนหัวสูงไม่เกิน 30 องศา ยกเว้นในรายที่มีข้อจำกัด เช่นspine- injury
-จัดท่านอนตะแคงทำมุม 30 องศา -ใช้ pat- slide ทุกครั้งในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย -ใช้ผ้าขวางเตียงในการเปลี่ยนท่านอนและยกตัวผู้ป่วย -ในรายที่แขนมีแรง กระตุ้นให้ผู้ป่วยโหนตัวเพื่อลดแรงกด -จัดเสื้อผ้าให้เรียบตึงหลีกเลี่ยงการนอนทับปุ่มกระดูก เพื่อลดแรงกดเฉพาะที่
-บริหาร ข้อมือ,ข้อเท้า เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต -ผู้ป่วยที่มีแขนขาบวม ควรยกให้สูงกว่าระดับของหัวใจ
2.4การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด2.4การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด ผู้ป่วยคะแนน Braden scale <หรือ= 12 จัดให้นอนที่นอน ลมสลับท่อ
2.5 จัดโปรแกรมให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลลากรทุกระดับอย่างน้อยปีละครั้ง ให้ความรู้แก่ญาติเพื่อมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ ร.พ-กลับบ้าน
3.การดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดแผลกดทับ3.การดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดแผลกดทับ สิ่งที่ต้องทราบและทำเมื่อเกิดแผลกดทับขึ้น -แผลกดทับอยู่บริเวณใด? -ระดับใด? -มีการติดตามประเมินการหายของแผล -บันทึกไว้ในรายงานการเกิดแผลกดทับ -วิธีการดูแลแผล -วิธีป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น
การดูแลแผลกดทับระดับที่ 1 ผิวหนังยังไม่มีการฉีกขาด จะปรากฏรอยแดงบริเวณผิวหนัง เมื่อทดสอบกดบนรอยแดง รอยแดงไม่จางหายไปใน 30 นาที การดูแล 1.ดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับ -ประเมินและทำความสะอาดผิวหนัง -โภชนาการ -การจัดท่า -ใช้อุปกรณ์ลดแรงกด? -จัดโปรแกรมการให้ความรู้อย่างสม่ำเสมอ
การดูแลแผลกดทับระดับที่ 2 ผิวหนังชั้นกำพร้า และหนังแท้ถูกทำลายฉีกขาดเป็นแผลตื้น การดูแล 1.ดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2.ล้างทำความสะอาดแผลด้วย 0.9%nss solutoinirrigateและเลือกใช้อุปกรณ์ปิดแผลที่เหมาะสม *trasparent dressing
*Hydrocolloiddressing *Gel dressing 3. ใช้สารเคลือบผิวหนัง เช่น วาสลิน
การดูแลแผลกดทับระดับที่ 3 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกถึงชั้นไขมัน แต่ยังไม่ถึงชั้นกล้ามเนื้อ แผลเป็นโพรง การดูแล 1.ดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2.ประเมินการติดเชื้อ ปรึกษาแพทย์เพื่อส่ง Exudate c/s หรือ Tissue c/s
3.ประเมินแผลทุกครั้งก่อนการทำแผล ถ้ามีเนื้อตายปรึกษาแพทย์เพื่อทำการ Debridement 4.กรณีมีการงอกขยายเนื้อเยื่อ ใช้0.9%nss solutionเท่านั้นหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา dressing เช่น Dakin ,Hydrogen peroxide เพราะจะมีผลต่อ fibroblastใหม่ที่เกิดขึ้น 5.วาง dressingเช่น cutinova cavityหรือ foam dressing ถ้าไม่มีใช้ Gauze ชุบ 0.9%nss solution pack ปิดทับด้วย Gauze แห้งอีกหนึ่งชั้น
การดูแลแผลกดทับระดับที่ 4 มีการทำลายชั้นผิวหนังลึกถึงชั้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก แผลเป็นโพรง การดูแล 1.ดำเนินการตามแนวทางการป้องกันการเกิดแผลกดทับ 2.กำจัดเนื้อตายเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสภาวะของผู้ป่วย 3.เลือกอุปกรณ์ปิดแผลตามปริมาณของสิ่งขับหลั่ง
*Hydrocolloiddressing *calcium alginate *Gauze ร่วมกับ Silver sulfa diazine *Gauze ร่วมกับ 0.9%nss solution solution 4.ผู้ป่วยไม่มีปัญหา Coagulogramปรึกษาแพทย์เพื่อทำ Vacuum dressing…..if แผลแดงดีแพทย์พิจารณาเย็บปลูกเนื้อเยื่อใหม่
ประเมินความเสี่ยงผู้ป่วยทุกรายที่รับใหม่หรือรับย้าย ใช้แบบประเมิน Braden scale ผู้ป่วยที่มีระดับความเสี่ยง(คะแนน 6-18) ผู้ป่วยที่ไม่มีความเสี่ยง(คะแนน 19-23) แนวทางปฏิบัติในการป้องกันการเกิดแผลกดทับในหอผู้ป่วย ประเมินความเสี่ยงซ้ำเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง ให้การดูแลตามแนวทางการป้องกันแผลกดทับ 1.Skin assessment and cleansing 2.Nutrition 3.Position 4.Pressure relieving device 5.Education Programs ประเมินผล ผู้ป่วยไม่เกิดแผลกดทับ ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับ จำหน่าย ใช้หลักการดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดแผลกดทับ
สูตรคำนวณอัตราการเกิดแผลกดทับสูตรคำนวณอัตราการเกิดแผลกดทับ จำนวนผู้ป่วยที่มีแผลกดทับใหม่ตั้งแต่ระดับ 1 ขึ้นไป ระหว่างอยู่ในโรงพยาบาล x 1000 จำนวนวันนอนของผู้ป่วยทั้งหมดใน 1 เดือน
สูตรการหาอัตราความชุกสูตรการหาอัตราความชุก จำนวนผู้ป่วยที่มีแผลกดทับในวันที่สำรวจ x 100 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน