1 / 25

แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่

แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่. 1. แรง (Force). หมายถึง สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุอาจจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ นักเรียนลองยกตัวอย่างแรงที่สังเกตได้จากชีวิตประจำวัน.

liv
Download Presentation

แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แรง มวล และกฎการเคลื่อนที่ 1. แรง (Force) • หมายถึง สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการพยายามดึงหรือดันที่จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่ • แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์ มีทั้งขนาดและทิศทาง • เมื่อมีแรงมากระทำต่อวัตถุ วัตถุอาจจะเคลื่อนที่หรือไม่ก็ได้ • นักเรียนลองยกตัวอย่างแรงที่สังเกตได้จากชีวิตประจำวัน

  2. กรณีที่มีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุ พิจารณาจากแรงลัพธ์ (Resultant force, Net force) การรวมแรงทั้งหมดที่กระทำแบบเวกเตอร์ ถ้ามีแรงสองแรงซึ่งอยู่ในทิศตั้งฉากกันกระทำ เช่น และ แรงลัพธ์คือ

  3. กรณีที่มีแรงหลาย ๆ แรงกระทำต่อวัตถุ สามารถหาแรงลัพธ์ได้จากการรวมองค์ประกอบทางแกน x และทางแกน y ของแรงต่าง ๆ ที่กระทำ ได้แรงลัพธ์ในรูปขององค์ประกอบทางแกน x และทางแกน y ซึ่งตั้งฉากกัน Y X

  4. 2. กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน เซอร์ ไอแซก นิวตัน (Sir Issac Newton) นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ ได้สรุปเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของวัตถุทั้งที่อยู่อยู่นิ่งและในสภาพการเคลื่อนที่เป็น “กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน” กฎข้อที่ 1“ วัตถุจะคงสภาพอยู่นิ่ง หรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวในแนวตรง นอกจากจะมีแรงลัพธ์ ซึ่งมีค่าไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุนั้น ” กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1 ของนิวตัน ใช้กับกรอบอ้างอิงเฉื่อย (ความเร่งเป็นศูนย์) เท่านั้น

  5. กฎข้อที่ 2“ เมื่อมีแรงลัพธ์ ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์ มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ ” กฎข้อที่ 3“ ทุกแรงกิริยา (Action Force) จะต้องมีแรงปฏิกิริยา (Reaction Force) ที่มีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้ามเสมอ ”

  6. 3. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน “เมื่อมีแรงลัพธ์ ซึ่งมีขนาดไม่เป็นศูนย์มากระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเกิดความเร่งในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ที่มากระทำ และขนาดของความเร่ง จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ และจะแปรผกผันกับมวลของวัตถุ” มวล (mass) ของวัตถุ เป็นสมบัติประจำตัวของวัตถุอย่างหนึ่ง

  7. มวลของวัตถุนิยามว่า เป็นสมบัติทางความเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ • วัตถุที่มีมวลมากจะต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้มาก ส่วนวัตถุที่มีมวลน้อยจะต้านการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ได้น้อย • มวลเป็นปริมาณสเกลาร์ มีหน่วยเป็นกิโลกรัม • มวลของวัตถุที่เคลื่อนที่ มีความสัมพันธ์กับแรงที่มากระทำอย่างไร ? • จากการทดลอง สรุปเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้ • ในกรณีที่มวลคงตัว ขนาดของความเร่ง a จะแปรผันตรงกับขนาดของแรงลัพธ์ a  F

  8. ในกรณีใช้แรงค่าคงตัว ขนาดของความเร่ง a แปรผกผันกับมวล m 1 a  m สรุปเป็นความสัมพันธ์ได้ว่า F a  m F  ma เขียนเป็นรูปสมการได้เป็น F = kma เมื่อ k เป็นค่าคงตัวของการแปรผัน

  9. ในหน่วยเอสไอ กำหนดให้ k = 1 โดยกำหนดหน่วยของแรง เป็น 1 นิวตันเมื่อมวลเป็นหนึ่งกิโลกรัม ความเร่งเป็นหนึ่งเมตร/วินาที 2 หมายถึง แรง 1 นิวตัน ที่ทำให้วัตถุมวล 1 กิโลกรัม เคลื่อนที่ด้วยความเร่ง 1 เมตร/วินาที 2 F = ma แรงและความเร่งเป็นปริมาณเวกเตอร์ เขียนในรูปของสมการเวกเตอร์ได้เป็น

  10. 4. กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สามของนิวตัน “ ทุกแรงกิริยาจะต้องมีแรงปฏิกิริยา ที่มีขนาดเท่ากันและทิศตรงข้ามกันเสมอ ” เช่น โลกและดวงจันทร์ที่ดึงดูดกัน แรงที่โลกดึงดูดดวงจันทร์ จะมีขนาดเท่ากับแรงที่ดวงจันทร์ดึงดูดโลก สองแรงนี้มีขนาดเท่ากันและทิศตรงกันข้าม ถ้า เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุก้อนที่หนึ่ง เป็นแรงที่กระทำต่อวัตถุก้อนที่สอง

  11. พิสูจน์โดยใช้เครื่องชั่งสปริงสองตัว โดยเกี่ยวกันแล้วใช้มือทั้งสองออกแรงดึงที่สองปลาย เครื่องชั่งทั้งสองอ่านค่าได้เท่ากันเสมอ แรงกิริยา-ปฏิกิริยาเกิดขึ้นเสมอทั้งกรณีที่วัตถุสัมผัสกัน หรือไม่สัมผัสกัน เช่น แรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ แรงระหว่างประจุไฟฟ้า แรงดูด-ผลักของแท่งแม่เหล็ก

  12. วัตถุแขวนจากเพดานด้วยเชือกวัตถุแขวนจากเพดานด้วยเชือก แรงที่เพดานดึงเชือก แรงที่เชือกดึงเพดาน แรงที่เชือกดึงวัตถุ แรงที่วัตถุดึงเชือก น้ำหนักของวัตถุ

  13. 5. น้ำหนัก (Weight) พิจารณาการตกแบบเสรีของวัตถุ ความเร่งของวัตถุมีค่าคงตัว จากกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร่งถ้าแรงลัพธ์ที่มากระทำไม่เป็นศูนย์ แรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุนี้คือ แรงดึงดูดของโลก หรือ น้ำหนักของวัตถุ วัตถุมวล m ตกแบบเสรีด้วยความเร่ง จากกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน น้ำหนักของวัตถุ

  14. วัตถุสองก้อนมีมวล m1และ m2ตามลำดับ อัตราส่วนระหว่างมวลของวัตถุทั้งสองจะสัมพันธ์กับอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของวัตถุทั้งสองอย่างไร ? สรุปได้ว่า อัตราส่วนระหว่างมวลของวัตถุสองก้อนจะเท่ากับอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของวัตถุทั้งสอง ที่อยู่ในบริเวณเดียวกัน หน่วยของน้ำหนักมีหน่วยเป็น นิวตัน หรือกิโลกรัม ?

  15. 6. กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน ทำไมดาวเคราะห์จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ? นิวตันนำผลการสังเกตของนักดาราศาสตร์มาสรุปได้ว่า การที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ เสนอกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลไว้ว่า “ วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู่หนึ่ง ๆ จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองของระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น ”

  16. m1 m2 R แรงดึงดูดระหว่างมวลของวัตถุคู่หนึ่ง เมื่อ G เป็น ค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล มีค่าเดียวกันเสมอไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใด ๆ G เรียกว่า ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล (Universal gravitational constant) มีค่าเท่ากับ 6.673 x 10-11 N m2 / kg2

  17. คำถาม :จะมีวิธีการหามวลของโลกได้อย่างไร ? ตอบ ใช้กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน ได้มวลของโลกมีค่าประมาณ 6 x 10 24 kg น้ำหนัก ณ ตำแหน่งที่ห่างจากผิวโลก คำถาม: ทำไมน้ำหนักของวัตถุจึงลดลงเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น ตอบ เนื่องจาก Fg = mg ดังนั้นค่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g จะมีค่าลดลงเมื่อวัตถุอยู่ห่างจากผิวโลกมากขึ้น

  18. คำถาม :ทำไมค่า g บนผิวโลกแต่ละที่จึงมีค่าต่างกัน ? ตอบ เนื่องจาก ค่า g มีค่าลดลงตามระดับความสูงและเป็นปฏิภาคผกผันกับระยะห่างจากศูนย์กลางของโลกกำลังสอง สภาพไร้น้ำหนัก (weightlessness) เป็นสภาพที่ปรากฏเฉพาะต่อผู้สังเกตที่มีความเร่ง ทำให้รู้สึกว่าไม่มีน้ำหนัก ทั้งที่ยังมีแรงดึงดูดของโลกอยู่ เช่น คนที่อยู่ในดาวเทียมที่กำลังโคจรรอบโลก คนในลิฟต์ที่ขาดและตกลงด้วยความเร่ง

  19. แรงเสียดทาน (Friction Force) แรงเสียดทาน คือ แรงต้านที่เกิดจากการสัมผัสกันระหว่างผิววัตถุ 2 ผิว N F f mg แรงเสียดทานสถิต (static friction) คือ ค่าของแรงมากที่สุดที่เริ่มทำให้วัตถุเคลื่อนที่ได้ s = sN

  20. แรงเสียดทานจลน์ (kinetic friction) คือ แรงเสียดทานขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ k = kN สำหรับผิวสัมผัสคู่หนึ่ง สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต(s) มีค่ามากกว่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจลน์ (k) เสมอ ขนาดของแรงเสียดทานขึ้นกับลักษณะและชนิดของผิวสัมผัส

  21. การประยุกต์ใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันการประยุกต์ใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน • หลักการแก้ปัญหา • พิจารณาเฉพาะแรงภายนอกที่กระทำกับวัตถุ โดยการเขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่เรียกว่า Free-body diagram • แตกแรงที่กระทำต่อวัตถุให้อยู่ในแกนที่เหมาะสม • พิจารณาแรงที่กระทำต่อวัตถุในแต่ละแกนโดยใช้กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน

  22. ตัวอย่างที่ 1 ถ้าแรง F ขนาด 20 N ทำมุม 600กับแนวราบ จงหาความเร่งของกล่อง กำหนดให้กล่องมวล 5 kg , g = 9.8 m/s2 ,  = 0.1 F 600 ตัวอย่างที่ 2มวล m วางอยู่บนกล่องมวล M โดยมีสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างมวลทั้งสองเป็น และกล่อง M วางอยู่บนพื้นลื่น ออกแรงลากกล่อง M ให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยความเร่ง a จงหาค่า a สูงสุดที่ทำให้มวล m ไม่ไถล m F M

  23. ตัวอย่างที่ 3มวล m และมวล M ผูกติดกันด้วยเชือกที่ไม่ยืด และคล้องผ่านรอกลื่นดังรูป จงหาความเร่งของมวลทั้งสองและแรงตึงในเส้นเชือก โดยสมมติให้ M > m a a M m m M  ตัวอย่างที่ 4 มวล M ผูกติดกับเชือกไม่ยืดที่คล้องผ่านรอกลื่น และปลายอีกข้างหนึ่งผูกกับมวล m ที่วางอยู่บนพื้นเอียงลื่นที่เอียงทำมุม  กับแนวระดับ จงหาความเร่งของมวลทั้งสอง และถ้ามวลทั้งสองอยู่นิ่งกับที่ จงหามุมเอียง  ในรูปของตัวแปร m กับ M โดยที่ m  M

  24. ตัวอย่างที่ 5 แท่งทองเหลืองวางบนแผ่นเหล็กกล้าที่ทำมุมเป็นพื้นเอียง สัมประสิทธิ์ความเสียดทานระหว่างสองผิวคู่นี้มีค่า s= 0.50 และ k= 0.44 จงหาค่ามุม  ที่พื้นเอียงทำกับแนวระดับที่ทำให้แท่งทองเหลืองเริ่มเคลื่อนที่ หลังจากเริ่มเคลื่อนที่แล้วแท่งทองเหลืองจะมีความเร่งเท่าใด ถ้าค่ามุมไม่เปลี่ยนแปลง ตัวอย่างที่ 6 ถ้าแรงที่ช้างดึงซุงเท่ากับแรงที่ซุงดึงช้างตามกฎข้อที่สามของนิวตัน ช้างลากซุงให้เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วคงตัวได้อย่างไร

  25. ตัวอย่างที่ 7รถยนต์มีเครื่องยนต์ที่มีกำลังสามารถหมุนล้อให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ ถ้ากำหนดให้ว่ากำลังของรถ คือ P = Fv มีค่าคงตัว และเมื่อรถวิ่งในอากาศจะมีแรงต้านของอากาศเท่ากับ kv2(แรงต้านเป็นปฏิภาคกับ v2) เมื่อ v เป็นอัตราเร็วที่รถวิ่ง กฎของนิวตันทำนายว่ารถจะวิ่งบนพื้นราบด้วยความเร็วจำกัดหรือความเร็วสุดท้าย (ไม่สามารถจะวิ่งเกินความเร็วค่าหนึ่งได้) จงแสดงว่าความเร็วสุดท้ายนี้จะมีค่าเท่าใด v kv2 f1 + f2 = F f1 f2

More Related