420 likes | 1k Views
ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. การ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ.
E N D
ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ความหมายของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง กระบวนการดำเนินงานที่ส่งเสริมให้ บุคลากรเพิ่มความรู้ และทักษะ มีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ 1. การพัฒนาเป็นกระบวนการในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบุคคลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ 2. การพัฒนามุ่งให้เกิดความเสมอภาคในสังคม 3. การพัฒนาจะต้องสร้างให้เกิดการกระจายอย่างทั่วถึง ทั้งในเรื่องรายได้ของคนในชุมชน และการกระจายการบริการต่างๆ ที่รัฐจะพึงให้แก่ประชาชนให้มากที่สุด โดยไม่มีช่องว่างระหว่างชนบทและชุมชนเมือง
ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1.ช่วยพัฒนาให้องค์กรเจริญเติบโต เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นสื่อกลางในการประสานงานต่างๆ จึงต้องแสวงหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามา 2. มีการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กร 3. เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ สร้างความเข้าใจกัน ลดการขัดแย้งในองค์กร
วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์วัตถุประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 1. สนองความต้องการของสังคม คำนึงถึงสิทธิและประโยชน์ของบุคคล ระเบียบ กฎหมายต่างๆ 2. ตระหนักถึงความคาดหวังในการพัฒนา การเพิ่มผลผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ ทำได้โดยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 3. สนองความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน คนมีชีวิตจิตใจ กิจกรรมต่างๆ ต้องสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญา (Philosophy) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพยายามที่จะสืบเสาะจัดหมวดหมู่และจัดระบบของความรู้ทุกสาขา เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้าศึกษาและทำความเข้าใจความหมายอันเกี่ยวข้องกับความจริงทั้งมวล
ปรัชญาประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 แขวง วิชาด้วยกันดังนี้ อภิปรัชญา (Metaphysies)เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาหาข้อเท็จจริง ความจริงอันเกี่ยวกับธรรมชาติในโลกมนุษย์และจักรวาล 2. ญาณวิทยา (Epistemology)เป็นวิชาที่ศึกษาเรื่องของความรู้ ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร 3. คุณวิทยา (Axiology)เป็นวิชาที่ว่าด้วยค่านิยม และความดีงามต่างๆ 4. ตรรกศาสตร์ (Logies)เป็นวิชาที่ว่าด้วยการคิดหาเหตุผล เพื่อค้นหาข้อพิสูจน์ที่เชื่อถือได้โดยอาศัยปัญหาและความสัมพันธ์เป็นหลักในการแก้ปัญหา วินิจฉัยพิสูจน์ความจริง
ปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ปรัชญาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ถ้าองค์กรประกอบด้วยสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถจะทำให้องค์กรพัฒนาและเจริญเติบโต 2. สมาชิกมีความพึงพอใจระหว่างสมาชิกด้วยกัน และสมาชิกกับผู้บังคับบัญชาจะก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในองค์กร 3. บุคคลที่ทำงานตรงกับความถนัดและความสามารถของตนเอง จะเกิดความพึงพอใจและมีความสุขในการทำงาน 4. บุคคลที่เข้ามาในองค์การ มีส่วนช่วยเหลือและพัฒนาให้องค์กรเจริญ
5. การประนีประนอม การประสานประโยชน์จะก่อให้เกิดความเข้าใจกันและสร้างความสงบสุขได้ 6. สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิทยาการใหม่ๆ ความทันสมัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ 7. องค์การเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนรับผิดชอบสังคม จะต้องสร้างให้สมาชิกมีความรู้สึกที่ดี ยอมรับและศรัทธาองค์การมากขึ้น
ความหมายของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ความหมายของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรัชญา หมายถึง แนวความคิด ตัวอย่างเช่น ในปัจจุบันนี้การศึกษาในระดับอุดมศึกษาผิดหลักที่ว่า “การศึกษาควรมีอยู่ตลอดชีวิต” ปรัชญาในที่นี้ก็หมายถึง แนวความคิด ปรัชญา หมายถึง ความเชื่อ หรือ คติ ตัวอย่างเช่น แดงมีหลักปรัชญาชีวิตว่า “ลูกผู้ชายตายเสียยังดีกว่าอยู่อย่าง ไร้เกียรติ” ปรัชญา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพยายามสืบเสาะ แสวงหา จัดหมวดหมู่ และจัดระบบของความรู้ทุกสาขา เพื่อให้สะดวกแก่การค้นคว้า ศึกษา และทำความเข้าใจความหมาย อันเกี่ยวข้องกับความจริงทั้งมวล
การปฐมนิเทศ การจัดการปฐมนิเทศอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับความต้องการของบุคลการใหม่ ซึ่งในที่นี้จะจำแนกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ ดังต่อไปนี้ 1.) การตระเตรียมงาน 2.) ให้ข้อมูลที่บุคลากรจำเป็นต้องทราบ 3.) พิจารณาและกำหนดวิธีการเสนอข้อมูล 4.) การประเมินผลและติดตามผล
การฝึกอบรม การฝึกอบรมเป็นกระบวนการจัดกิจกรรมการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนต่อเนื่อง สามารถเกิดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะและเจตคติ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต้องการ หลังอบรมนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์สูงสุด โดยมีฐานความต้องการของผู้เข้าอบรม การอบรมมีการจูงใจเหมาะสมกับสภาพของผู้เข้าอบรมจะช่วยให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายได้
ความจำเป็นในการฝึกอบรมความจำเป็นในการฝึกอบรม ความจำเป็นในการฝึกอบรม หมายถึง สถานการณ์ที่เป็นปัญหาต่อผลสำเร็จของงานซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรม นั่นคือ สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนคติที่เหมาะสมนั่นเอง
ประเภทของความจำเป็นในการฝึกอบรมประเภทของความจำเป็นในการฝึกอบรม แบ่งโดยใช้วิธีการค้นหาเป็นหลัก 1.1ความจำเป็นที่ปรากฏชัดแจ้ง คือ ความจำเป็นที่ไม่จำเป็นต้องค้นหา แต่ถ้าหากพบว่ามีสภาพการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นก็ควร จะพิจารณา ถึงการจัดฝึกอบรมได้เลย 1.2 ความจำเป็นที่ต้องค้นหา คือ ความจำเป็นที่ปรากฏผลออกมาในรูปลักษณะต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมีการ วิเคราะห์จากผล เหล่านั้น เพื่อนำไปสู่สาเหตุว่าสามารถจะแก้ไขได้ด้วยการฝึกอบรมหรือไม่
2. แบ่งโดยพิจารณาช่วงเวลาเป็นหลัก 2.1 ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่ปรากฏชัดแจ้งในปัจจุบัน หมายถึง สภาพการณ์ที่เป็นปัญหาข้อขัดข้อง และก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานได้อย่างชัดเจน 2.2 ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่จะปรากฏในอนาคตเพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้นในอนาคตรวมทั้งเพื่อเป็นการรองรับการเปลี่ยนแปลง จึงทำการฝึกอบรมเสีย ในปัจจุบัน 2.3 ความจำเป็นในการฝึกอบรมที่มุ่งปรับระดับความสามารถของบุคคลและขององค์การ ทั้งในปัจจุบัน และอนาคต
แบ่งโดยพิจารณาถึงผู้มีความจำเป็น แบ่งโดยพิจารณาถึงผู้มีความจำเป็น 3.1 ความจำเป็นของแต่ละบุคคล เป็นสภาพการณ์หรือปัญหาของผู้ปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลซึ่งอาจแก้ไขได้ด้วยการ ไปเข้ารับการฝึกอบรม ความจำเป็นระดับนี้อาจค้นหาได้ไม่ยากนัก 3.2 ความจำเป็นของกลุ่มงาน หรือหน่วยงานแห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ หมายถึงสภาพการณ์หรือปัญหา ของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งมักจะมีสภาพการณ์หรือปัญหาคล้าย ๆ กัน 3.3 ความจำเป็นขององค์การ เป็นสภาพการณ์หรือปัญหาของบุคคลในองค์การ ซึ่งอาจจะต้องแก้ไขด้วยการฝึกอบรม
ปัจจัยที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมปัจจัยที่เกี่ยวกับการฝึกอบรม การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม บทบาทของหน่วยงานฝึกอบรมหรือผู้จัดหลักสูตร วิทยากรหรือผู้บรรยาย 5. ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
แนวคิดในการจัดฝึกอบรมแนวคิดในการจัดฝึกอบรม การจัดการฝึกอบรมอย่างเป็นระบบ อิงอยู่บนแนวคิดแบบระบบ ซึ่งมีสาระสำคัญคือ 1. ระบบของการฝึกอบรมเป็นเพียงระบบย่อยระบบหนึ่งขององค์การ และ ปฏิสัมพันธ์กับระบบอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น นโยบายขององค์การในด้านการคัดเลือกบุคคล หรือการจัดการ ย่อมมีอิทธิพลอย่างมากต่อการจัดการฝึกอบรม 2. แนวคิดแบบระบบเน้นการนำข้อมูลย้อนกลับ มาใช้เพื่อ การปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น โครงการฝึกอบรมจึงไม่เคยเป็นเพียงจุดหมายปลายทาง แต่จะเป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนตามข้อมูลที่ได้รับกลับมาอยู่เสมอ ๆ เพื่อให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ 3. แนวคิดแบบระบบจะทำหน้าที่เป็นเสมือนเกราะความคิดสำหรับการวางแผนและดำเนินการการฝึกอบรม