150 likes | 376 Views
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้.
E N D
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( Computer Network ) หมายถึง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล หรือสื่ออื่นๆ ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถรับส่งข้อมูลแก่กันและกันได้
ในกรณีที่เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เป็นศูนย์กลาง เราเรียกคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางนี้ว่า โฮสต์ (Host) และเรียกคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เข้ามาเชื่อมต่อว่า ไคลเอนต์ (Client/Terminal) ระบบเครือข่าย (Network) จะเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อการติดต่อสื่อสาร เราสามารถส่งข้อมูลภายในอาคาร หรือข้ามระหว่างเมืองไปจนถึงอีกซีกหนึ่งของโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆ อาจเป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วแก่ผู้ใช้ ซึ่งความสามารถเหล่านี้ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการใช้งานในแวดวงต่างๆ
ลักษณะของระบบเครือข่าย Terminal Console Terminal Host Terminal
รูปแบบของเน็ตเวิร์คแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้ • 1. LAN (Local Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่จำกัด เช่นภายในตึกสำนักงานหรือภายในโรงงาน ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ลในการติดต่อสื่อสารกัน • 2. MAN (Metropolitan Area Network)เป็นการนำระบบ LAN หลายๆ LAN ที่มีพื้นที่อยู่ใกล้เคียงกันมาเชื่อมต่อกันให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เช่นเชื่อมต่อกันในเมือง หรือในจังหวัด เป็นต้น • 3.WAN (Wide Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันแบบกว้างขวาง อาจจะเป็นภายในประเทศหรือระหว่างประเทศเป็นการใช้ หลายๆ LAN หรือหลายๆ MAN ซึ่งอยู่คนละพื้นที่เชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น สำนักงานที่ New York เชื่อมต่อกับที่ Tokyo การติดต่อสื่อสารกัน อาจจะใช้ตั้งแต่สายโทรศัพท์จนกระทั่งถึงดาวเทียม • อาจจะมีอีกประเภทหนึ่ง คือ SAN (Small Area Network)เป็นกลุ่มของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันในพื้นที่ขนาดเล็กมาก อาจจะเป็นในบ้านหรือสำนักงานขนาดเล็กที่มีจำนวนของคอมพิวเตอร์ไม่ควรจะเกิน 10 เครื่อง
ลักษณะการทำงาน การทำหน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องของระบบเน็ตเวิร์คเป็นสำคัญ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ • Peer to Peer Networkเป็นลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีสิทธิ์เท่าเทียม กันหมด (Peer) ไม่มีเครื่องไหนทำหน้าที่ เป็นศูนย์กลางของเน็ตเวิร์คเครื่องทุกเครื่องเป็นทั้งผู้ใช้ และผู้ถูกใช้ สามารถเป็นได้ทั้ง Client และ Server ไม่มีเครื่องไหนมีหน้าที่ดูแลจัดการระบบทั้งหมด เป็นต้นว่าการแชร์ทรัพยากรจะทำอย่างไร ใครเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้งานแต่ละเครื่องจะเป็นผู้ดูแลข้อมูลและทรัพยากรของตัวเอง
2. Client-Server ในกรณีที่องค์กรของเรามีผู้ใช้เครื่อง มากกว่า 15-20 เครื่อง ระบบเน็ตเวิร์คแบบpeer to peer จะไม่เหมาะสม เราควรเลือกใช้ระบบ client-server จะเหมาสมกว่าเพราะมีความสามารถในการดูแลควบคุมการใช้งานของระบบเน็ตเวิร์คที่มีผู้ใช้จำนวนมากได้ดีกว่า ระบบเน็ตเวิร์คแบบนี้จะเป็นระบบที่มีศูนย์กลาง มีคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบ อำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล รักษาความปลอดภัยให้กับคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ มีหน้าที่คล้ายๆเป็นหัวหน้ากลุ่ม เราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ ว่า server ส่วนเครื่องที่เหลือในระบบที่ไม่ได้ทำหน้าที่นี้เราเรียกว่าclient หรือ workstation เป็นกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบ ที่ทำหน้าที่รับบริการจากเครื่อง server ซึ่งจะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานทุกอย่างของเน็ตเวิร์ค เช่นของมูลเครื่องพิมพ์จะถูกดูแล และ แชร์โดยเครื่อง server อุปกรณ์ทุกอย่างจะถูกเชื่อมต่อโดยตรง เครื่อง client ทุกเครื่องจะใช้งานทรัพยากรต่างๆ ผ่านทาง server
File Server (Application) Multiple Workstations sharing a common task
ลักษณะการจัดตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ลักษณะการจัดตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ • โครงสร้างของ Networkหมายถึงรูปแบบในการจัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ สายเคเบิ้ล และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อที่จะให้ข้อมูลได้ทำงานตามทิศทางที่เราได้กำหนดไว้ โครงสร้างเน็ตเวิร์คที่ต่างกันมีความต้องการด้านอุปกรณ์ต่างๆ เช่นฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ • 1. แบบบัส (BUS)2. แบบดาว (STAR)3. แบบวงแหวน (RING)
1. แบบบัส (BUS) • เป็นเน็ตเวิร์คที่ง่ายที่สุด และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องด้วยการใช้สายเคเบิ้ลเป็นสายหลัก เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องโดยมีเน็ตเวิร์คการ์ดเป็นตัวเชื่อมระหว่างสายเคเบิ้ลกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจะถูกส่งออกไปตามสาย ไปยังคอมพิวเตอร์ทุกๆเครื่อง ไม่สนใจว่าเครื่องไหนคือผู้รับ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะตรวจสอบเอง ว่าข้อมูลที่ส่งออกมานั้นเป็นของเครื่องตนเองหรือไม่ ถ้าไม่ จะปล่อยข้อมูลผ่านไป แต่ถ้าใช่ ก็จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ ในระบบนี้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันเป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์คจะน้อยลงเมื่อมีจำนวนคอมพิวเตอร์มากขึ้น สายเคเบิ้ลที่เป็นสายกลางที่ต้องใช้รับและส่งข้อมูล เรียกว่า backbone สายที่ใช้ส่วนมากจะเป็นสาย coaxial มีลักษณะคล้ายๆกับสายเคเบิ้ลทีวี การใช้จะต้องมีอุปกรณ์ที่ปิดหัวและท้ายของสายเคเบิ้ลด้วย เรียกว่า terminatorคอยรับสัญญาณไม่ให้สะท้อนกลับไป ซึ่งอาจจะเป็นการรบกวนสัญญาณได้ บัส เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุดในการติดตั้งเน็ตเวิร์ค ไม่ต้องมีฮาร์ดแวร์มากมาย มีเพียงแค่สายเคเบิ้ล เน็ตเวิร์ค-การ์ด และเทอร์มิเนเตอร์ ก็พอแล้ว มักใช้กับเน็ตเวิร์คขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มากนัก • ข้อดีและข้อเสีย • - ประหยัด สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง- ถ้าหากมีจุดใดของระบบ เช่น สายเคเบิ้ลไม่สามารถทำงานได้ ทั้งระบบก็จะเสีย- ถ้าหากมีจุดเสีย ยากที่จะตรวจพบ- จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ มีผลกับประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ค
2. แบบดาว (STAR) เป็นลักษณะการเชื่อมต่อโดยเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง เข้าสู่อุปกรณ์ส่วนกลางที่เรียกว่า ฮับ (HUB) ข้อมูลหรือสัญญาณ จะเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่ ผู้รับโดยผ่านฮับข้อดีและข้อเสีย - การขยายขนาดสามารถทำได้โดยง่าย โดยการต่อสายเคเบิ้ลที่เชื่อมกับคอมพิวเตอร์เข้าสู่ฮับ- เมื่อเกิดปัญหากับสายเคเบิ้ล หรือคอมพิวเตอร์ ไม่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งระบบ เสียเครื่องที่ไม่เสีย ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ และสามารถตรวจหาจุดเสียได้ง่ายด้วย- ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงถ้ามองในแง่เน็ตเวิร์คขนาดเล็ก เพราะเราต้องซื้อฮับและต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นจำนวนมากกว่าระบบแบบอื่น แต่ปัจจุบัน ราคาฮับถูกมาก ดังนั้น ก็ไม่ถือว่ามีค่าใช้จ่ายสูงนักถ้าฮับเสียเน็ตเวิร์คทั้งระบบก็จะเสียตามด้วย
3. แบบวงแหวน (RING) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ในลักษณะของรูปวงแหวนโดยใช้สายเคเบิ้ลการต่อ ลักษณะนี้จะไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสุดท้าย การส่งข้อมูลจะวิ่งผ่านคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเป็นรูปวงแหวนในทิศทางเดียวกัน เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูล มันจะทำการใส่ข้อมูลตำแหน่งของเครื่องที่มันต้องการจะส่งไปให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะนำสัญญาณมาเช็คว่าเป็นของตนเองหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ก็จะส่งไปให้เครื่องต่อไป สัญญาณจะวิ่งไปจนกระทั่งเจอคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น และรับข้อมูลนำไปใช้เนื่องจากสัญญาณจะวิ่งไปเรื่อยๆ เป็นวงกลม จึงไม่ต้องการอุปกรณ์ปิดหัวท้าย มักจะใช้กับเน็ตเวิร์คที่มีคอมพิวเตอร์อยู่ไม่ไกลกันมากนัก ใช้โทเค็นเป็นสือในการส่งสัญญาณ โทเค็นจะถูกวิ่งผ่านไปทุกเครื่องเรื่อยๆ จนกว่าเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลจะดึงโทเค็นไปใช้และส่งสัญญาณออกมา เครื่องที่มีโทเค็นเท่านั้นที่จะส่งข้อมูลได้ • ข้อดีและข้อเสีย • - คล้ายกับแบบบัส คือถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสีย หรือสายเคเบิ้ลขาดเสียหายก็จะทำให้เน็ตเวิร์คทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้- การขยายขนาดของระบบหรือการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไป ทำได้ยาก ถ้าจะทำก็ต้องมีการตัดและต่อสายเข้าไปใหม่
อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย 1. เน็ตเวิร์คการ์ด (Network Interface Card - NIC) 10/100/1000 Mbps สาย UTP หัวแบบRJ 45
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ทการเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ท