1.79k likes | 4.53k Views
บทที่ ๑ ความหมายและขอบเขตของปรัชญา ขอบข่ายเนื้อหา ความหมายและคุณค่าของปรัชญา บ่อเกิดและขอบเขตของปรัชญา ลักษณะ หน้าที่ และวิธีการของปรัชญา
E N D
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๑ ความหมายและขอบเขตของปรัชญา
บทที่ ๑ ความหมายและขอบเขตของปรัชญา ขอบข่ายเนื้อหา • ความหมายและคุณค่าของปรัชญา • บ่อเกิดและขอบเขตของปรัชญา • ลักษณะ หน้าที่ และวิธีการของปรัชญา
ความนำ • ความรู้ทางปรัชญา เป็นความรู้เกี่ยวกับ “การเป็น” “การอยู่” “การดำรงอยู่” ของมนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นเพียงสัตว์โลก เป็นความรู้ที่เกี่ยวกับความจริง ซึ่งเมื่อฉายแสงไปที่ใดก็กระจ่าง สว่างลึกซึ้ง มนุษย์แต่ละคนมีปรัชญาเป็นของตนเอง ซึ่งติดตัวมาตั้งแต่เกิด ชีวิตมนุษย์มีมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ วิวัฒนาการของปรัชญาย่อมมีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
๑.๒.๑ ความหมายของปรัชญา + ชฺญา ปร ปรัชญา รอบ, ประเสริฐ รู้ , เข้าใจ ความรู้อันประเสริฐ ความรอบรู้ หรือความรู้ขั้นสูง (ความหมายเน้นไปที่ความรู้ ผู้รู้) + Philos Sophia Philosophy ความรัก, ความสนใจ ความรู้ ความรักในความรู้ หรือความรักในปัญญา (The Love of Wisdom) (ความหมายเน้นกระบวนการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ)
คำว่า “ปรัชญา”เป็นศัพท์บัญญัติของ พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์-ประพันธ์ เพื่อแปลคำว่า philosophy เมื่อเทียบดูแล้วจะเห็นว่า คำภาษาไทย มีความหมายตามตัวอักษรเชิงอวดตัวมากกว่าคำฝรั่งซึ่งความหมายจะไม่ตรงกันเสียทีเดียว แต่เมื่อเป็นศัพท์บัญญัติเพื่อใช้แปลคำว่า philosophy ก็ต้องแปลความให้ตรงกับคำฝรั่ง
๑.๒.๒ คุณค่าของปรัชญา • วิชาปรัชญาไม่ช่วยให้เรามีชื่อเสียง ร่ำรวย • ไม่ทำให้เลื่อนตำแหน่ง หน้าที่ การงาน • ไม่ได้ทำให้เป็นคนมีชื่อเสียงเด่น หรือน่าคบขึ้น • ปรัชญายากทั้งการอ่าน การเข้าใจ การจำ • นักปรัชญาไม่เคยประสบความสำเร็จในการจัดการกับชีวิตของตนเองมากไปกว่าคนธรรมดาสามัญ เราจะศึกษาปรัชญาไปทำไม ?
เราจะศึกษาปรัชญาไปทำไม ? มีคำตอบอยู่ข้อเดียว ที่จะตอบคำถามว่าเรียนปรัชญาไปทำไมคือ เพื่อสนองความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์
คุณค่าของปรัชญา (ต่อ) • ที่กล่าวถึงมานั้นเป็นการมอง “ปรัชญา” ในแง่ลบ ถ้าหาคุณค่าของปรัชญาจริง ๆ ในแง่บวกก็มีมากมาย • คนที่ศึกษาปรัชญาเป็นคนช่างคิด จะพาไปสู่การคิดสร้างสรรค์ความเจริญที่เกิดขึ้นในโลกก็เพราะคนช่างคิด • ถ้าไม่มีนักปรัชญา ประเทศไทยก็ไม่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย จีนก็ไม่เป็นคอมมิวนิสต์ ถ้ามองให้ลึกซึ้งจะเห็นว่าปรัชญานั้น มีค่าและประโยชน์มหาศาล ให้ผลประโยชน์ในทางอ้อม แฝงอยู่ในทุก ๆ ประเด็นที่คนทั่ว ๆ ไปยังเข้าใจผิดอยู่ตามที่กล่าวข้างต้น
๑.๓ บ่อเกิดและขอบเขตของปรัชญา • ปรัชญา มีความเป็นมาอย่างไร และมีขอบเขตกว้างไกลไปถึงไหน จะได้อธิบายให้เห็นเป็นตอนๆ ไป ซึ่งในหัวข้อนี้ ได้แบ่งประเด็นศึกษาอยู่ ๒ ประการได้แก่ • บ่อเกิดของปรัชญา • ขอบเขตของปรัชญา
๑.๓.๑ บ่อเกิดของปรัชญา อะไรเป็นต้นเหตุให้เกิดปรัชญา ??? “ความแปลกใจ (wonder) เป็นบ่อเกิดของปรัชญา” เพลโต “ความสงสัย (Doubt) เป็นรากเหง้าแห่งปรัชญา” เฮอร์ สเปนเซอร์
ทำไมสิ่งเหล่านี้จึงเกิดขึ้น ??? ปรัชญาเริ่มต้นมาจากความแปลกใจ......
ปรัชญาเกิดมาจากความสงสัย......ปรัชญาเกิดมาจากความสงสัย......
๑.๓.๒ ขอบเขตของปรัชญา • ปรัชญามีขอบเขตกว้างขวางกว่าศาสตร์อื่นใด เพราะเป็นวิชาครอบจักรวาล ทั้งจักรวาลแห่งสสาร วัตถุอันเป็นรูปธรรม และจักรวาลแห่งจิตวิญาณอันเป็นนามธรรม นักปรัชญาเมธีได้พยายามที่จะจัดแบ่งประเภทสาขาของปรัชญา ให้คลุมเนื้อหาของปรัชญาให้มากที่สุด ปรากฏว่าได้มีผู้แบ่งไว้ต่าง ๆ กัน
ปรัชญา อภิปรัชญา อะไรจริงแท้ ญาณวิทยา รู้ได้อย่างไรว่าจริง คุณวิทยา มีคุณค่าอะไร จักรวาลวิทยา ลักษณะที่แท้ คือ อะไร ภววิทยา ภาวะที่แท้ คือ อะไร จริยศาสตร์ ความประพฤติที่ดี คือ อะไร สุนทรียศาสตร์ ความงามที่แท้ คือ อะไร เทวบัญชา ปราชญ์ สัมผัส หยั่งรู้ ตรรกะ
๑.๔.๑ ลักษณะของปรัชญา • ปรัชญา ตามลักษณะการใช้ของคนทั่วๆ ไป ทั้งในและนอกวงการปรัชญา มี ๒ ลักษณะด้วยกันดังนี้ • ๑) ปรัชญาในความหมายที่เป็นแนวคิด ได้แก่ ทัศนคติ หรือหลักการในการดำเนินงานบางอย่างเช่น พูดว่า “ปรัชญาธุรกิจของคุณน่าสนใจมาก” “ผมพอใจในหลักปรัชญาการบริหารของเขา” เป็นต้น • ๒) ปรัชญาในความหมายของวิชาปรัชญา ปรัชญาในลักษณะนี้หมายถึงวิชาที่ศึกษากันอยู่ขณะนี้ ซึ่งมีเนื้อหาลึกซึ้ง เจาะลึกลงไปในเนื้อหาของวิชาปรัชญาโดยตรง
จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง ปรัชญาในความหมายที่เป็นแนวคิด
ลักษณะของปรัชญาตะวันตกและตะวันออกลักษณะของปรัชญาตะวันตกและตะวันออก
๑.๔.๒ หน้าที่ของปรัชญา • ปรัชญาโดยทั่วไปมีหน้าที่หรือกิจที่กระทำอยู่ ๓ อย่าง คือ • ๑. ทำหน้าที่ในการอนุมาน (Speculation) ได้แก่ การวาดภาพรวมหรือสร้างโลกทัศน์ • ๒. การกำหนดค่า (Prescription) หรือ การแสวงหาค่า ค่าเป็นจุดหมายปลายทางของกิจกรรม เป็นตัวกำหนดทิศทางของชีวิตมนุษย์ • ๓. การวิพากษ์หรือวิเคราะห์ (Criticism or Analysis) ปรัชญาช่วยวิพากษ์และวิเคราะห์มูลบทของศาสตร์ต่างๆ เพื่อให้ถ่องแท้ในวิชาของตน
๑.๔.๓ วิธีการของปรัชญา • วิธีการที่นักปรัชญาใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความจริงแท้ ก็คือระบบความคิดแบบตรรก ๒ วิธี คือ วิธีการนิรนัย วิธีการอุปนัย
วิธีการนิรนัย (Deduction) • อริสโตเติล เป็นผู้คิดค้นวิธีการนิรนัย ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นจากการคาดการณ์คำตอบที่คาดหวังจากการวิจัยของผู้วิจัย โดยอาศัยหลักเหตุผล ความรู้ ประสบการณ์ ผลการวิจัยที่มีมาก่อนสามัญสำนึก
วิธีการนิรนัย ดอกไม้สีขาวมีกลิ่นหอม (ความรู้เดิม หรือประโยคอ้าง) ดอกมะลิมีสีขาว (ความจริงย่อย) ดอกมะลิมีกลิ่นหอม (ข้อสรุป)
วิธีการอุปนัย (Induction) • ฟรานซิส เบคอน เป็นผู้คิดค้นวิธีการอุปนัย ซึ่งเป็นสมมุติฐานที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากผู้วิจัยขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ หรือเรื่องนั้นไม่มีใครทำมาก่อน ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องใช้วิธีการวิจัยขั้นสำรวจมาช่วยเพื่อสร้างสมมุติฐาน
วิธีการอุปนัย แม่ชอบชื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) พี่สาวชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) เพื่อนผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) ป้าชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ความจริงย่อย ประโยคอ้าง) ผู้หญิงชอบซื้อสินค้าที่มีของแถม (ข้อสรุป)
ติดตามผลงานอื่นๆ ของเราได้ที่