1 / 63

บทที่ 4

บทที่ 4. ภาษาปาสกาลเบื้องต้น Introduction to Pascal. 4.1 ความเป็นมาของภาษาปาสกาล.

haines
Download Presentation

บทที่ 4

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 4 ภาษาปาสกาลเบื้องต้น Introduction to Pascal

  2. 4.1 ความเป็นมาของภาษาปาสกาล ภาษาปาสกาลได้รับการพัฒนามาจากภาษาอัลกอล (ALGOL) โดย นิคลอส เวิร์ธ (Niklaus Wirth) จากสถาบันแห่งชาติ ในเมืองซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในราวปีค.ศ.1970 คำว่า “ปาสกาล (Pascal) ” นั้นตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส คือ Blaise Pascal(1623-1662) ผู้สร้างเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลก ภาษาปาสกาลที่ Wirth พัฒนาขึ้นนั้น ถือว่าเป็นภาษาปาสกาลมาตรฐานในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการประกาศปาสกาลมาตรฐาน ขึ้น ชื่อ ANSI Pascal

  3. 4.1 ความเป็นมาของภาษาปาสกาล ในราวปี ค.ศ.1983บริษัท บอร์แลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล (Borland International) ได้ผลิตตัวแปลภาษาปาสกาลที่ทำงานบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ออกสู่ตลาดเรียกว่า เทอร์โบปาสกาล (Turbo Pascal) เทอร์โบปาสกาลได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีราคาถูกและใช้งานง่าย ซึ่งทางบริษัทได้ผลิตเทอร์โบปาสกาลออกมาหลายรุ่น ซึ่งก็ได้เพิ่มความสะดวกและความสามารถให้มากขึ้น และปัจจุบันเทอร์โบปาสกาลได้พัฒนามาทำงานในระบบปฏิบัติการวินโดว์ด้วย

  4. 4.2 นิยามพื้นฐาน • ไอเดนติไฟเออร์(Identifier) ไอเดนติฟายเออร์ เป็นชื่อที่ผู้ใช้กำหนดขึ้นในโปรแกรม เช่น ชื่อค่าคงที่ ชื่อตัวแปร ชื่อโพรซิเยอร์ หรือชื่อโปรแกรม เป็นต้น หลักการตั้งชื่อ มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ • ขึ้นต้นตัวแรกด้วยอักษรภาษาอังกฤษ (ตัวใหญ่หรือเล็กก็ได้) หรือ เครื่องหมายขีดล่าง (Underscore) ‘_‘ เช่น A , B , _X , DAY , Salary , Ex , _quiz เป็นต้น • ตัวต่อๆ ไปจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือตัวเลข หรือเครื่องหมายขีดล่างก็ได้ เช่น M100 , _F16 , X_RAY เป็นต้น

  5. 4.2 นิยามพื้นฐาน หลักการตั้งชื่อ มีหลักการง่ายๆ ดังนี้ • ห้ามมีอักขระพิเศษใดๆ นอกเหนือจากตัวอักษร , ตัวเลข และเครื่องหมายขีดล่าง • ห้ามมีช่องว่าง (Space) ระหว่างตัวอักษร • ห้ามซ้ำกับคำเฉพาะ (Reserved words) และคำมาตรฐาน (Standard Word) ที่ใช้ในภาษาปาสกาล • ชื่อหนึ่งๆ ต้องอยู่ในบรรทัดเดียวกันยาวไม่เกิน 127 ตัวอักษร แต่เครื่องคอมพิวเตอร์จะจำแนกความแตกต่างได้เพียง 63 ตัวแรกเท่านั้น

  6. 4.2 นิยามพื้นฐาน ข้อสังเกตในตั้งชื่อ • ในโปรแกรมหนึ่งๆ จะต้องมีชื่อเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น (Unique) เช่น เคยตั้งชื่อหนึ่งเป็นชื่อโปรแกรมแล้ว ก็ห้ามนำชื่อนั้น ตั้งเป็นชื่อตัวแปร หรือชื่ออื่นๆ อีกในโปรแกรมเดียวกัน • ควรตั้งชื่อให้กระทัดรัด สื่อความหมายต่อผู้ใช้ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาโปรแกรมในภายหลัง • ชื่อที่เป็นมาตรฐาน (Standard Identifiers) ถึงแม้จะไม่ใช่คำเฉพาะ (Reserved Words) เราสามารถนำมาใช้ตั้งเป็นชื่อในความหมายของเราได้ แต่ไม่ควรทำเพราะจะทำให้สับสนกับความหมายเดิม ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เช่น Real Input Read Write เป็นต้น

  7. 4.2 นิยามพื้นฐาน • ไอเดนติฟายเออร์มาตรฐาน (Standard Identifiers)

  8. 4.2 นิยามพื้นฐาน • คำสงวน (Reserved Word)

  9. 4.2 นิยามพื้นฐาน • ค่าคงที่ (Constant) • ค่าคงที่ คือ ไอเดนติฟายเออร์ที่มีค่าข้อมูลหนึ่งอย่างถาวรโดยไม่มีการเปลี่ยน แปลงค่าข้อมูลนั้นๆ ตลอดทั้งโปรแกรม • ค่าคงที่จะต้องถูกนิยามขึ้นก่อนที่จะนำไปใช้ในคำสั่งภาษาปาสกาล การนิยามค่าคงที่ทำเพื่อวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ • เพื่อสร้างไอเดนติฟายเออร์ให้เป็นค่าคงที่ • และการกำหนดข้อมูลของค่าคงที่ให้มีค่าข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้

  10. 4.2 นิยามพื้นฐาน • ค่าคงที่ (Constant) ตัวอย่างการกำหนดค่าคงที่ของข้อมูลพื้นฐาน ได้แก่ Digit = 5 เป็นการกำหนดค่าคงที่ชื่อ Digit มีค่าเท่ากับ 5 Gpa = 3.75 เป็นการกำหนดค่าคงที่ชื่อ Gpa มีค่าเท่ากับ 3.75 Correct = True เป็นการกำหนดค่าคงที่ชื่อ Correct มีค่าเท่ากับ True Grade = ‘A’ เป็นการกำหนดค่าคงที่ชื่อ Grade มีค่าเท่ากับ A

  11. 4.2 นิยามพื้นฐาน • ตัวแปร (Variable) • ตัวแปร คือ ไอเดนติฟายเออร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าได้ระหว่างการทำงานของโปรแกรม • ตัวแปรทุกตัวที่จะนำไปใช้ในโปรแกรมได้ต้องมีการประกาศหรือนิยามไว้ก่อนเสมอ • การประกาศจะต้องระบุว่าไอเดนติฟายเออร์นั้นเป็นตัวแปร และจะต้องกำหนดประเภทข้อมูลของตัวแปรนั้นไว้ • ตัวแปรจะแตกต่างจากคำนิยามค่าคงที่ • ซึ่งประเภทข้อมูลของค่าคงที่ขึ้นอยู่กับรายการข้อมูลที่กำหนดให้ค่าคงที่นั้นๆ

  12. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ภาษาปาสกาลมีข้อมูลให้ผู้ใช้ได้เลือกใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมให้เหมาะสมกับงานมากที่สุด ปาสกาลมาตรฐานจำแนกชนิดข้อมูลออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้ดังนี้ 1. ข้อมูลสเกล่าร์ ( Scalar Data Type) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.1 ข้อมูลมาตรฐาน ( Standard ) ประกอบด้วย จำนวนเต็ม ( Integer ) จำนวนจริง ( Real ) บูลีน ( Boolean ) อักขระ ( Character )

  13. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ปาสกาลมาตรฐานจำแนกชนิดข้อมูลออกเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้ดังนี้ 1.2 ข้อมูลผู้ใช้กำหนดเอง ( User-Defined Data Type ) ประกอบด้วย ข้อมูลแจงนับ ( Enumerated ) ข้อมูลพิสัยย่อย ( Subrange ) 2. ข้อมูลแบบโครงสร้าง( Structured Data Type ) ประกอบด้วย อาร์เรย์ ( Array ) เรคอร์ด ( Record ) ไฟล์ ( File ) เซ็ต ( Set ) 3. ข้อมูลพอยเตอร์( Pointer Data Type )

  14. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็ม ( Integer ) ข้อมูลจำนวนเต็ม คือการเก็บตัวเลขในลักษณะของเลขจำนวนเต็ม ซึ่งประกอบด้วย เลขจำนวนเต็มบวก เลขจำนวนเต็มลบ เลขจำนวนเต็มศูนย์ เลขจำนวนเต็มในทางคณิตศาสตร์มีค่าได้ ตั้งแต่ -α ถึง + α แต่ค่าตัวเลขในเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ได้ภายใต้ขอบเขตหนึ่ง คือ -Maxint , … … , -1 , 0 , 1 , … … , Maxint โดย Maxint คือค่าไอเด็นติฟายเออร์มาตรฐานที่ถูกกำหนดค่าไว้แล้วที่หมายถึงขอบเขตของเลขจำนวนเต็มในเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละชนิด เช่น –32768 ถึง 32767 หรือ -2147483648 ถึง 2147483647

  15. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริง ( Real ) ข้อมูลจำนวนจริง คือการเก็บตัวเลขในลักษณะของเลขที่มีทศนิยม ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอยู่ 2 ลักษณะ คือ • Floating Point Representation คือ เลขจำนวนจริงที่อยู่ในรูปของเลขที่มีทศนิยม เช่น 1893.42716 , -4.3928 เป็นต้น • Scientific Notation คือ เลขจำนวนจริงที่อยู่ในรูปของเอ็กซ์โปเนนเชียล ( Exponential ) โดยมีตัวภาษาอังกฤษ E หรือ e ซึ่งหมายถึง ยกกำลังใน ฐาน 10 เช่น 1.89342716E+03 เป็นต้น • ค่าต่ำสุดได้ประมาณ 2.93874E-39 และมีค่าสูงสุดได้ถึงประมาณ 1.70141E+38

  16. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ข้อมูลบูลีน ( Boolean ) ข้อมูลบูลีน เป็นข้อมูลที่เป็นค่าความจริงทางตรรก ซึ่งมีข้อมูลเพียงสองค่าเท่านั้น คือ True (จริง) และ False (เท็จ) โดยทั่วๆ ไป ข้อมูลบูลีนเป็นข้อมูลที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการเขียนโปรแกรม การเปรียบเทียบที่เราเห็นได้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้อยกว่า ( < ) มากกว่า ( > ) น้อยกว่าหรือเท่ากับ ( <= ) มากกว่าหรือเท่ากับ ( >= ) เท่ากับ ( = ) ไม่เท่ากับ ( <> ) การเปรียบเทียบโดยใช้เครื่องหมายหรือคำพูดข้างต้นนั้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการเปรียบเทียบจะมีค่าเป็นจริง ( True ) หรือ ไม่จริง ( False ) เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น

  17. 4.3 ข้อมูลในภาษาปาสกาล ข้อมูลชนิดตัวอักขระ ( Character ) ข้อมูลอักขระ คือ ข้อมูลเพียง 1 ตัว ซึ่งข้อมูลอักขระอาจเป็นได้ดังนี้ - ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ( Letter ) ได้แก่ A,B,C,…, Z, a,b,c,…,z - ตัวเลข ( Digit ) ได้แก่ 0 , 1 , 2 , .......... , 9 - อักขระพิเศษ ( Special Character) ได้แก่ อักขระอื่นๆที่ไม่ใช่ตัวอักษรภาษาอังกฤษ และตัวเลข เช่น ! , @ , & , % , $ , + , - , * , ช่องว่าง(Space) เป็นต้น

  18. 4.4 แผนภาพไวยากรณ์ของภาษาปาสกาล ภาษาปาสกาลเป็นภาษาที่มีรูปแบบและลักษณะเฉพาะตัว มีกฎ เกณฑ์ที่เข้มงวด การเขียนโปรแกรมจะต้องถูกหลักไวยากรณ์ทุกอย่างจึงจะสามารถทำงานได้ ภาษาปาสกาลจะมีแผนภาพไวยากรณ์ของภาษาที่เรียกว่า ซินแท็กซ์ไดอะแกรม ( Syntax Diagram ) ซึ่งใช้อธิบายโครง สร้างของภาษา และลักษณะของการเขียนโปรแกรมได้อย่างชัดเจน ดังนั้นผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมจึงควรฝึกอ่านแผนภาพไวยากรณ์เพื่อช่วยให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง

  19. 4.4 แผนภาพไวยากรณ์ของภาษาปาสกาล สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภาพไวยากรณ์ ประกอบด้วย

  20. 4.4 แผนภาพไวยากรณ์ของภาษาปาสกาล ตัวอย่าง Program First ; โปรแกรมมีชื่อว่า First ถ้ามีการใช้ไฟล์ในโปรแกรมด้วย การเขียนไวยากรณ์ในส่วนนี้จะเขียนได้ดังนี้ Program First (Input , Output) ; โปรแกรมชื่อ First มีการทำงานที่มีการรับข้อมูลเข้ามาทำงานในโปรแกรม และการ แสดงผลออกมายังหน่วยแสดงผล

  21. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล โปรแกรมภาษาปาสกาล มีโครงสร้างที่แบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. ส่วนหัวโปรแกรม (Program Heading Part) 2. ส่วนการประกาศ (Declaration Part) 3. ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statement Part)

  22. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล 1. ส่วนหัวโปรแกรม (Program Heading Part) Program Compute_Area ; Program Compute_Area ( Input, Output ); Program Report (Input, Output, Datafile);

  23. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล 2. ส่วนการประกาศ (Declaration Part) ส่วนนี้จะอยู่ถัดลงมาจากส่วนหัวของโปรแกรม ซึ่งจะทำหน้าที่กำหนดและประกาศข้อมูลให้โปรแกรมสำหรับใช้งาน ส่วนของการประกาศนี้จะประกอบด้วย - การประกาศเลเบล ( Label Declaration) - การกำหนดค่าคงที่ (Constant Declaration) - การกำหนดแบบข้อมูลชนิดใหม่ ( Type Declaration) - การประกาศตัวแปร ( Variable Declaration) - การประกาศโพรซิเยอร์และฟังก์ชั่น ( Procedure and Function Declaration) ส่วนการประกาศนี้ถ้าการประกาศใดไม่ได้ใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องประกาศส่วนนั้นๆ แต่ถ้ามีการประกาศหลายๆ แบบ จำเป็นต้องประกาศตามลำดับที่ปรากฏในโครงสร้างของการประกาศข้างต้น

  24. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล 2. ส่วนการประกาศ (Declaration Part) ส่วนการประกาศนี้สามารถเขียนในรูปของรูปแบบไวยากรณ์ได้ดังรูป

  25. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การประกาศเลเบล (Label Declaration) Label Start , Exit ;

  26. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การกำหนดค่าคงที่ (Constant Declaration)

  27. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การกำหนดค่าคงที่ (Constant Declaration) Const A = 5134 ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บเลขจำนวนเต็ม 5134 ตั้งชื่อเนื้อที่นั้นว่า A B = 5.0 ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บเลขจำนวนจริง 5.0 ตั้งชื่อเนื้อที่นั้นว่า B Baht = ’฿’ ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บอักขระ ‘฿’ 1 ตัว ตั้งชื่อเนื้อที่ว่า Baht Check = TRUE ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บค่าความจริง( Boolean ) ตั้งชื่อเนื้อที่ว่า Check Cal = 2*3+4 ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บผลการคำนวณนิพจน์ 2*3+4 Greeting = ‘Hello’ ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บข้อความ Hello โดยตั้งชื่อเนื้อที่ว่า Greeting

  28. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การกำหนดแบบข้อมูลชนิดใหม่ (Type Declaration)

  29. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การประกาศตัวแปร (Variable Declaration)

  30. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การประกาศตัวแปร (Variable Declaration) Var N, K : Integer ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลชนิดเลขจำนวนเต็มสองแห่ง ตั้งชื่อว่า N และ K R, X, Y : Real ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลชนิดเลขจำนวนจริงสามแห่ง ชื่อว่า R , X , Y ตามลำดับ Test : Boolean ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลชนิด Boolean ตั้งชื่อว่า Test Grade : Char ; จัดเนื้อที่สำหรับเก็บข้อมูลชนิด Char ตั้งชื่อว่า Grade

  31. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล การประกาศโพรซิเยอร์และฟังก์ชั่น (Procedure & Function Declaration)

  32. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล 3. ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statement Part) ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยชุดคำสั่งเหล่านั้นจะอยู่ระหว่างคำสงวน “Begin” และ “End” เสมอ โดยคำสั่งแต่ละคำสั่งจะวางเรียงลำดับตามความต้องการที่จะให้โปรแกรมทำงานหรือตามขั้นตอนที่เขียนขึ้นตามลำดับการแก้ปัญหานั่นเอง และจะต้องมีเครื่องหมายจุด “ . ” ตามหลังคำว่า End ด้วย

  33. 4.5 โครงสร้างโปรแกรมภาษาปาสกาล 3. ส่วนคำสั่งการทำงาน (Statement Part) เขียนในรูปแบบดังต่อไปนี้ Begin คำสั่งที่ 1 ; คำสั่งที่ 2 ; คำสั่งที่ 3 ; คำสั่งที่ … ; End.

  34. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์เป็นกลุ่มของตัวถูกกระทำ (Operands) ( ได้แก่ ตัวเลข, ค่าคงที่, ตัวแปร เป็นต้น) รวมกับตัวกระทำ (Operators) ซึ่งได้แก่ เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ ( เช่น เครื่องหมายบวก ,เครื่องหมายคูณ เป็นต้น) และเครื่องหมายทางตรรกะ ( เช่น AND, OR , NOT เป็นต้น ) นิพจน์ในภาษาปาสกาลมี 2 แบบ คือ • นิพจน์เชิงตัวเลข( Numerical Expressions) นิพจน์เชิงตัวเลขใช้แทนค่าการคำนวนซึ่งจะให้ผลลัพธ์เป็นตัวเลข เช่น X = A + B – 2 • นิพจน์บูลีน( Boolean Expressions) ใช้แทนเงื่อนไขทางตรรกะซึ่งมีค่าเป็นจริงหรือเท็จเท่านั้น เช่น Z = A > B

  35. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์ทางคณิตศาสตร์ นิพจน์ทางคณิตศาสตร์เป็นนิพจน์เชิงตัวเลขที่มีการใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ (Arithmetics Operators) เป็นตัวกระทำกับข้อมูลที่เป็นจำนวนเลข ดังนี้ + คือ การบวก - คือ การลบ * คือ การคูณ / คือ เป็นการหารแบบปกติ ผลลัพธ์ของการหารมีค่าเป็น real เสมอ เช่น 5/2 มีค่าเท่ากับ 2.5 DIV คือ การหารที่ให้ผลลัพธ์เฉพาะจำนวนเต็มที่เป็นผลลัพธ์ของการหาร เช่น 13 Div 3 มีค่าเท่ากับ 4 MOD คือ การหารที่ให้ผลลัพธ์เฉพาะเศษที่เหลือจากการหาร เช่น 13 Mod 3 มีค่าเท่ากับ 1

  36. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์ทางการเปรียบเทียบ (Comparison Expressions) นิพจน์ทางการเปรียบเทียบเป็นนิพจน์บูลีนที่ใช้เปรียบเทียบระหว่างข้อมูลชนิดเดียวกันสอง ค่าว่าเป็นไปตามเครื่องหมายนั้น จริง หรือ เท็จ ให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลชนิด Boolean เสมอ เครื่องหมายเปรียบเทียบ ( Relational Operators) เหล่านี้ได้แก่ Relational Operator < > <= >= = <> ตัวอย่างเช่นA = 2 + 3 <> 8 มีความหมายว่า นิพจน์ 2+3 มีค่าไม่เท่ากับ 8 จริง ดังนั้น ตัวแปร A จะมีข้อมูลเป็น จริง ( TRUE )

  37. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์ทางตรรก (Logical Expressions) นิพจน์ทางตรรกเป็นนิพจน์บูลีนที่ใช้เป็นตัวกระทำกับข้อมูลชนิด Boolean ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นค่า Boolean เสมอ เครื่องหมายตรรก (Logical Operators) เหล่านี้ได้แก่ เครื่องหมาย NOT , AND , OR , XOR เป็นต้น ตารางค่าความจริงของเครื่องหมาย NOT

  38. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์ทางตรรก (Logical Expressions) ตารางค่าความจริงของเครื่องหมาย AND

  39. 4.6 นิพจน์ (Expression) นิพจน์ทางตรรก (Logical Expressions) ตารางค่าความจริงของเครื่องหมาย OR

  40. 4.6 นิพจน์ (Expression) ลำดับการทำงานของนิพจน์ ในนิพจน์เดียวกัน หากมีการใช้ Operators หลายๆ ตัว เครื่องจะคำนวณตาม Operator ทีละตัว ตามลำดับความสำคัญ( Precedence of Operator) จากสูงสุดลงไปดังนี้ 1. NOT , ติดลบ (Unary Minus) เช่น -A (จะต้องไม่มีตัวกระทำข้างหน้า เครื่องหมาย) 2. AND , * , / , DIV , MOD 3. OR , + , - , XOR 4. เครื่องหมายเปรียบเทียบ (< , <= , > , >= , = , <>)

  41. 4.6 นิพจน์ (Expression) ลำดับการทำงานของนิพจน์ - ถ้ามีวงเล็บหรือฟังก์ชั่น ให้ทำก่อนเครื่องหมายอื่นๆ - เครื่องหมายที่มี Priority เท่ากัน จะกระทำเครื่องหมายที่พบก่อน จากซ้ายไปขวา - เครื่องหมายที่มี Priority ต่ำกว่า หากต้องการให้ทำก่อนให้ใช้วงเล็บ “ ( ) ” เข้าช่วย ตัวอย่าง2 – 3 * 4 + 5 เครื่องจะทำ 3*4 ก่อน แล้วจึงลบออกจาก 2 แล้วจึงบวกด้วย 5 ผลลัพธ์จากนิพจน์นี้ คือ -5

  42. 4.7 การรับข้อมูล ภาษาปาสกาลมีการรับข้อมูลจากภายนอกเข้ามาทำงานในโปรแกรมโดยใช้คำสั่ง Read และ Readln ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการรับข้อมูลเข้ามาเหมือนกันแต่ก็มีข้อแตกต่างของการใช้งาน

  43. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Read เป็นคำสั่งในการรับข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปรที่ระบุไว้ ดังไวยากรณ์ต่อไปนี้ เช่น Read( A ) A จะต้องเป็นตัวแปรที่ถูกระบุไว้ก่อนแล้วในโปรแกรม ถ้าให้ A เป็นตัวแปรชนิด Integer หมายความว่า ในโปรแกรมต้องการให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลเลขจำนวนเต็มผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร A ที่อยู่ในเครื่อง เช่น ถ้าใส่ค่า 14 เข้ามาทางคีย์บอร์ด A ก็จะมีค่าเท่ากับ 14

  44. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Read ชนิดของข้อมูลที่คำสั่ง Read สามารถรับเข้ามาได้มีดังนี้ - ข้อมูลชนิด Integer - ข้อมูลชนิด Real - ข้อมูลชนิด Char - ข้อมูลย่อยของข้อมูลที่สามารถนับจำนวนได้ - Array หมายเหตุคำสั่ง Read ไม่สามารถใช้ได้กับข้อมูลชนิดตรรก ( Boolean ) ได้ คำสั่ง Read จะทำการรับข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจนกว่าผู้ใช้จะกดคีย์ Enter

  45. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Read ตัวอย่างที่ 1 Var A : Integer ; Begin Read( A ) ; ถ้าใส่ข้อมูล 56 78 A จะมีค่าเป็น 56

  46. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Read ตัวอย่างที่ 2 Var A , B : Integer ; Begin Read( A ) ; Read( B ) ; ถ้าใส่ข้อมูลดังนี้ 56 78 42 A จะมีค่าเป็น 56 และ B จะมีค่าเป็น 78

  47. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Readln รูปแบบคำสั่งจะเหมือนกับคำสั่ง Read เพียงแต่คำสั่ง Readln จะทำการรับข้อมูลทั้งบรรทัด เพื่อมอบให้กับตัวแปรต่างๆที่อยู่ในคำสั่ง Readln ดังไวยากรณ์และตัวอย่างต่อไปนี้

  48. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Readln ตัวอย่างที่ 3 Var A , B : Integer ; Begin Readln( A , B ) ; ถ้าใส่ข้อมูลดังนี้ 56 78 42 A จะมีค่าเป็น 56 และ B จะมีค่าเป็น 78

  49. 4.7 การรับข้อมูล คำสั่ง Readln ตัวอย่างที่ 3 Var A , B : Integer ; Begin Readln( A ) ; Readln( B ) ; ถ้าใส่ข้อมูลดังนี้ 56 78 42 A จะมีค่าเป็น 56 และ B จะมีค่าเป็น 42

  50. 4.8 การแสดงผลข้อมูล ภาษาปาสกาลมีการแสดงข้อมูลจากในโปรแกรมให้ผู้ใช้ได้ทราบโดยใช้คำสั่ง Write และ Writeln ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการแสดงข้อมูลออกมาเหมือนกันแต่ก็มีข้อแตกต่างของการใช้งาน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

More Related