1 / 32

นางสาว ปรา นิสา ทองอ่อน ผู้สอน

การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น (Introduction to C Programming). นางสาว ปรา นิสา ทองอ่อน ผู้สอน. โครงสร้างของภาษา C. ภาษา C เป็นภาษาระดับกลาง ( Middle –lever language)

Download Presentation

นางสาว ปรา นิสา ทองอ่อน ผู้สอน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้นการเขียนโปรแกรมภาษาซีเบื้องต้น (Introduction to C Programming) นางสาวปรานิสา ทองอ่อนผู้สอน

  2. โครงสร้างของภาษา C • ภาษา C เป็นภาษาระดับกลาง (Middle –lever language) • ภาษา C เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ชนิดคอมไพล์ (compiled Language) ซึ่งมีคอมไพลเลอร์ (Compiler) ทำหน้าที่ในการคอมไพล์ (Compile) หรือแปลงคำสั่งทั้งหมดในโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์นำคำสั่งเหล่านั้นไปทำงานต่อไป

  3. ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ (Translator) • แอสเซมเบลอ (Assembler) เป็นตัวแปลภาษาแอสแซมบลีซึ่งเป็นภาษาระดับต่ำให้เป็นภาษาเครื่อง • อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นตัวแปลภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์ ไปเป็นภาษาเครื่อง • คอมไพเลอร์ (Compiler) จะเป็นตัวแปลภาษาระดับสูงเช่นเดียวกับอินเตอร์พรีเตอร์แต่จะใช้วิธีแปลโปรแกรมทั้งโปรแกรมให้เป็นออบเจคโคด ก่อนที่จะสามารถนำไปทำงานเช่นเดียวกับแอสแซมเบลอ

  4. โครงสร้างของภาษา C • พรีโพรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ • ส่วนการกำหนดค่า • ส่วนฟังก์ชันหลัก • การสร้างฟังก์ชันและการใช้ฟังก์ชัน • ส่วนอธิบายโปรแกรม

  5. โครงสร้างของภาษา C

  6. พรีโพรเซสเซอร์ไดเรกทีฟเฮดเดอร์ไฟล์ (Header Files) • ทุกโปรแกรมต้องมี • ใช้สำหรับเรียกไฟล์ที่โปรแกรมต้องการในการทำงานและกำหนดค่าต่างๆ • เริ่มต้นด้วยเครื่องหมาย ไดเร็กทีฟ (#) ตามด้วยชื่อโปรแกรม หรือตัวแปรที่ต้องการกำหนดค่า • #include เป็นการแจ้งให้คอมไพเลอร์อ่านไฟล์อื่นเข้ามาคอมไพร่วมด้วย

  7. พรีโพรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ เฮดเดอร์ไฟล์ (Header Files) • #include<ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> หรือ • #include  “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์” • *** เครื่องหมาย <> คร่อมชื่อไฟล์เป็นการอ่านไฟล์จากไดเร็กทอรีที่กำหนดไว้ก่อน • *** เครื่องหมาย “” คร่อมชื่อไฟล์เป็นการอ่านไฟล์จากไดเร็กทอรีปัจจุบันที่กำลังติดต่ออยู่ และไฟล์ที่จะ include เข้ามานี้ จะต้องไม่มีฟังก์ชัน main()

  8. พรีโพรเซสเซอร์ไดเรกทีฟพรีโพรเซสเซอร์ไดเรกทีฟ Int main (void){ เฮดเดอร์ไฟล์ (Header Files) เป็นส่วนที่เก็บไลบรารี่มาตรฐานของภาษา C ซึ่งจะถูกดึงเข้ามารวมกับโปรแกรมในขณะที่กำลังทำการคอมไพล์ โดยใช้คำสั่ง #include<ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์> หรือ #include  “ชื่อเฮดเดอร์ไฟล์”

  9. ตัวอย่าง #include<stdio.h> เฮดเดอร์ไฟล์นี้จะมีส่วนขยายเป็น .h เสมอ และเฮดเดอร์ไฟล์เป็นส่วนที่จำเป็นต้องมีอย่างน้อย 1 เฮดเดอร์ไฟล์ ก็คือ เฮดเดอร์ไฟล์ stdio.h ซึ่งจะเป็นที่เก็บไลบรารี่มาตรฐานที่จัดการเกี่ยวกับอินพุตและเอาท์พุต

  10. ส่วนตัวแปรแบบ Global (Global Variables) เป็นส่วนที่ใช้ประกาศตัวแปรหรือค่าต่าง ๆ ที่ให้ใช้ได้ทั้งโปรแกรม ซึ่งใช้ได้ทั้งโปรแกรม  ซึ่งในส่วนไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ ฟังก์ชัน (Functions) เป็นส่วนที่เก็บคำสั่งต่าง ๆ ไว้ ซึ่งในภาษา C จะบังคับให้มีฟังก์ชันอย่างน้อย 1 ฟังก์ชั่นนั่นคือ ฟังก์ชั่น Main() และในโปรแกรม 1 โปรแกรมสามารถมีฟังก์ชันได้มากกว่า 1 ฟังก์ชั่น

  11. ส่วนตัวแปรแบบ Local (Local Variables) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับประกาศตัวแปรที่จะใช้ในเฉพาะฟังก์ชันของตนเอง ฟังก์ชั่นอื่นไม่สามารถเข้าถึงหรือใช้ได้ ซึ่งจะต้องทำการประกาศตัวแปรก่อนการใช้งานเสมอ  และจะต้องประกาศไว้ในส่วนนี้เท่านั้น

  12. ตัวแปรโปรแกรม (Statements) เป็นส่วนที่อยู่ถัดลงมาจากส่วนตัวแปรภายใน ซึ่งประกอบไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ ของภาษา C และคำสั่งต่าง ๆ จะใช้เครื่องหมาย ; เพื่อเป็นการบอกให้รู้ว่าจบคำสั่งหนึ่ง ๆ แล้ว ส่วนใหญ่ คำสั่งต่าง ๆ ของภาษา C เขียนด้วยตัวพิมพ์เล็ก เนื่องจากภาษา C จะแยกความแตกต่างของตัวพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่หรือ Case Sensitive นั่นเอง ยกตัวอย่างใช้ Test, test หรือจะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัวกัน นอกจากนี้ภาษา C ยังไม่สนใจกับการขึ้นบรรทัดใหม่ เพราะฉะนั้นผู้ใช้สามารถพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งในบรรทัดเดียวกันได้ โดยไม่เครื่องหมาย ; เป็นตัวจบคำสั่ง

  13. ค่าส่งกลับ (Return Value) เป็นส่วนที่บอกให้รู้ว่า ฟังก์ชันนี้จะส่งค่าอะไรกลับไปให้กับฟังก์ชั่นที่เรียกฟังก์ชั่น ซึ่งเรื่องนี้ผู้เขียนจะยกไปกล่าวในเรื่องฟังก์ชั่นอย่างละเอียดอีกทีหนึ่ง หมายเหตุ (Comment)เป็นส่วนที่ใช้สำหรับแสดงข้อความเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการในโปรแกรม ซึ่งจะใช้เครื่องหมาย /*และ */ ปิดหัวและปิดท้ายของข้อความที่ต้องการ

  14. การตั้งชื่อ • การตั้งชื่อ (Identifier) ให้กับตัวแปร ฟังก์ชันหรืออื่น ๆ มีกฎเกณฑ์ในการตั้งชื่อ ดังนี้ 1.  ตัวแรกของชื่อจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมาย _ เท่านั้น 2.  ตัวอักษรตั้งแต่ตัวที่ 2 สามารถเป็นตัวเลข หรือเครื่องหมาย_ก็ได้ 3.  จะต้องไม่มีการเว้นวรรคภายในชื่อ แต่สามารถใช้เครื่อง_คั่นได้ 4.  สามารถตั้งชื่อได้ยาวไม่จำกัด แต่จะใช้ตัวอักษรแค่ 31 ตัวแรกในการอ้างอิง 5.  ชื่อที่ตั้งด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก จะถือว่าเป็นคนละตัวกัน 6.  ห้ามตั้งชื่อซ้ำกับคำสงวนของภาษา C

  15. โครงสร้างพื้นฐานของการเขียนภาษา C รูปแบบ ……………………………………………… # include “stdio.h” Main() { }

  16. คำสั่ง printf() คำสั่ง printfถือว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม( int ) , ทศนิยม ( float ) , ข้อความ ( string ) หรืออักขระ นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย

  17. คำสั่ง printf() printf(“ format ” , variable); format : ข้อมูลที่ต้องการแสดงออกทางหน้าจอ : ข้อมูลเขียนไว้ในเครื่องหมาย “ ” : ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ ข้อความธรรมดา และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย variable : ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้

  18. คำสั่ง printf() printf(“ format ” , variable); รูปแบบ printf(“ข้อความ”); หรือ รูปแบบ printf(“รหัสควบคุมรูปแบบ”,ตัวแปร); หรือ รูปแบบ printf(“control string”,variable list,……);

  19. ฟังก์ชั่น Printf รูปแบบ printf(“ข้อความ”); หรือ รูปแบบ printf(“รหัสควบคุมรูปแบบ”,ตัวแปร); หรือ รูปแบบ printf(“control string”,variable list,……); # include “stdio.h” Main() { printf(“PRANISA”); }

  20. แก้ปัญหาการ Run ไม่ผ่าน ฟังชั่น Printf รูปแบบ printf(“ข้อความ”); # include “stdio.h” # include “conio.h” Main() { printf(“PRANISA”); getch(); } # include “stdio.h” Main() { printf(“PRANISA”); }

  21. คำสั่ง \t ให้เว้น teb รูปแบบ printf(“…ข้อความ...\t”); # include “stdio.h” # include “conio.h” Main() { printf(“PRANISA\t”); printf(“THONGON”); getch(); }

  22. คำสั่ง \n ให้ขึ้นบรรทัด รูปแบบ printf(“…ข้อความ...\n”); หรือ พิมพ์ข้อความเรียบร้อยแล้วให้ขึ้นบรรทัดใหม่ { printf(“PRANISA\t”); printf(“THONGON\n”); printf(“PRANISA\t”); printf(“THONGON”); getch(); }

  23. คำสั่ง \n ให้ขึ้นบรรทัด รูปแบบ printf(“\n…ข้อความ...”); คำสั่ง \n นำหน้าให้ขึ้นบรรทัดใหม่ก่อน แล้วพิมพ์ข้อความ { printf(“PRANISA\t”); printf(“THONGON”); printf(“\nPRANISA\t”); printf(“THONGON”); getch(); }

  24. คำสั่งเครื่องหมาย % คำสั่ง %d ให้พิมพ์รูปแบบเลขจำนวนเต็มฐานสิบ คำสั่ง %s ให้พิมพ์ชุดตัวอักษร(string) หรือข้อความ คำสั่ง %f ให้พิมพ์รูปแบบเลขทศนิยม คำสั่ง %c ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวเดียว(Char) เครื่องหมาย % เรียกว่า format specification

  25. คำสั่งเครื่องหมาย %

  26. คำสั่งเครื่องหมาย %

  27. รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ แสดงได้ดังนี้ เครื่องหมาย \ เรียกว่า backslash

  28. การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้ เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย “ ” ดังแสดงตัวอย่างต่อไปนี้ รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ แสดงได้ดังนี้

  29. คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด          การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป็นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 

  30. คำสั่ง  scanf()ในภาษา C  การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยการเรียกใช้ฟังก์ชัน  scanf()  ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  โดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม  ทศนิยม  อักขระ หรือข้อความ 

  31. รูปแบบคำสั่ง  scanf()scanf("format",&variable);

More Related