150 likes | 407 Views
คอมพิวเตอร์. จัดทำ โดย นางสาว วนิดา หล้าพรหม เลขที่45 ชั้นม.4/1. สารบัญ. ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์มีกี่แบบ การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่2 การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่3 การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่4
E N D
คอมพิวเตอร์ จัดทำโดย นางสาว วนิดา หล้าพรหม เลขที่45 ชั้นม.4/1
สารบัญ • ความหมายของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์มีกี่แบบ • การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่2 • การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่3 • การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่4 • วิทยาการใหม่ๆ 4 เรื่องในคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 • ความคาดหวังของคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 • อ้างอิง
ความหมายของคอมพิวเตอร์ความหมายของคอมพิวเตอร์ • คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ • ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" • คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์ การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้
คอมพิวเตอร์มีกี่แบบ • เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 1 มีกี่แบบอะไรบ้าง คอมพิวเตอร์รุ่นที่หนึ่งนี้ เริ่มต้นขึ้นด้วยเครื่องยูนิแว็ก1 (UNIVAC; Universal Automatic Company) สร้างขึ้นโดยบริษัทสปอร์รีแรนด์ (Sperry Rand Corporation) ซึ่ง เป็นเครื่องที่พัฒนาสืบต่อโดยตรงจากระบบคอมพิวเตอร์อีนิแอ็กและไบแน็ก คอมพิวเตอร์แบบที่สองของรุ่นที่หนึ่ง คือ ซีอาร์ซี 102 (CRC 102) หรือเอ็นซีอาร์ 102 (NCR 102) สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2495 โดยบริษัทคอมพิวเตอร์รีเสิร์ช (Computer Res erch Corportation) เครื่อง 102 นี้ สร้างขึ้นมาเพื่อความประสงค์เบื้องต้นที่จะใช้ในกิจการทางวิทยาศาสตร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามของรุ่นที่หนึ่งที่สร้างออกมาจำหน่าย คือ ไอบีเอ็ม 701 (IBM 701) สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2495 โดยมุ่งหวังจะใช้ในกิจการทางวิทยาศาสตร์ แต่ด้วยความสามารถของบริษัทไอบีเอ็ม สามารถปรับปรุงเครื่องนี้ให้ใช้ได้กับการประมวลผลทางธุรกิจได้ • ไอบีเอ็ม 650 ได้เป็นที่นิยมกันมากที่สุด ทำให้มีการติดตั้งเครื่องไอบีเอ็ม 650 นี้มากกว่า 1,000 เครื่อง ต่อจากนี้ไอบีเอ็มได้ สร้างเครื่องอื่นๆ ออกมาอีกตามลำดับ เช่น ไอบีเอ็ม 704,705 และ 709 เป็นผลให้ไอบีเอ็มเป็นผู้นำหน้าในการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ใน พ.ศ. 2498 จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
การพัฒนาคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 2 • เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สองการพัฒนาที่สำคัญ ๆ ของรุ่นนี้มีดังต่อไปนี้ • 1.ทรานซิสเตอร์และไดโอด (transistor and diodes) คอมพิวเตอร์รุ่นที่สองใช้ทรานซิสเตอร์ ไดโอดและวงจร พิมพ์ไว้บนแผ่นพิมพ์ ความก้าวหน้าทางเทคนิคเหล่านี้ ทำให้ส่วนประกอบต่างๆ ในเครื่องมีการสูญเสียพลังงานน้อย ทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นน้อย ทำงานเป็นที่ไว้วางใจมากขึ้น และมีขนาดลดลงมาก • เพิ่มขยายขนาดแกนแม่เหล็ก แกนแม่เหล็ก (magnetic core) เป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก การเพิ่มเทคโนโลยีของแกนแม่เหล็ก ทำให้มีอัตราเร็วในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น
แถบแม่เหล็ก (magnetic tape) ขณะเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่หนึ่งจำนวนมากใช้บัตรคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สองใช้เครื่องแถบแม่เหล็ก อัตราเร็วสูงสำหรับอ่านและเขียนข้อมูลกันมาก เราอาจใช้แถบแม่เหล็กเป็นที่เก็บข้อมูลสำรอง ในขณะที่ข้อมูลนั้น กำลังถูกประมวลผลอยู่อย่างเรียงลำดับ นอกจากนี้ แถบแม่เหล็กมีราคาถูก จึงเป็นเครื่องช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ เจริญก้าวหน้าดิสก์แพ็คแม่เหล็ก (magnetic disk pack) • ความสามารถในการปฏิบัติงานตามเวลาจริงและตามการแบ่งเวลา(real time and time-sharing capabilities) • แนวความคิดในการสร้างวงจรเป็นกลุ่มก้อนหรือเป็นกล่อง (modular or building block concept) • 2.ภาษาเขียนที่เป็นสัญลักษณ์ (symbolic language)
คอมพิวเตอร์รุ่นที่ 3 ก้าวหน้าขึ้นอย่างไร • เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สาม มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น เป็นผลให้คอมพิวเตอร์รุ่นที่สามก้าวหน้ามากขึ้น และมีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าเดิมดังต่อไปนี้ • วงจรเบ็ดเสร็จหรือไอซี (integrated circuits; IC) ได้มี การพัฒนาวงจรรวมขึ้นเป็นกลุ่มเดียวกัน • ส่วนความจำ ในยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สาม ได้มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิตวงจรพิมพ์ให้ดีขึ้น ทำให้มีความก้าวหน้าทางวงจรคอมพิวเตอร์ขึ้น
ขยายความสามารถของการทงานตามเวลาจริงและตามการแบ่งเวลาสามารถขยายพื้นที่ของการเก็บข้อมูล การสื่อสารข้อมูล และการรับส่งข้อมูล • การสั่งงานและกาประมวลผลอเนกประสงค์ (multiprogramming and multiprocessing) • การขยายแนวความคิดของการสร้างกลุ่มก้อนของส่วนประกอบ (extension of building block concept) เป็นผล ให้สามารถขยายระบบคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงระบบมูลฐานของคอมพิวเตอร์ จึงมีความยืดหยุ่น (flexibility) ดีมาก • ภาษาระดับสูง (higher-level languages) ได้มีการปรับปรุงการเขียนภาษาต่างๆ เช่น เบสิก โคบอล (COBOL) และฟอร์แทรน (FORTRAN) เป็นต้น ให้ดีขึ้น
เกิดอะไรขี้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 4 • เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สี่ • มีการพัฒนาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ • วงจรเบ็ดเสร็จขนาดจิ๋ว (microscopic integrated circuits) ซึ่งบรรจุวงจรจำนวนมากลงบนแผ่นชิพ (chip)เล็กๆ ที่ผลิตขึ้นมาจากแผ่นซิลิคอนเล็กๆ • ส่วนความจำ ในยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่สี่ได้มีการพัฒนานำเอาระบบความจำแบบวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่ หรือแอลเอส ไอ (LSI; large-scale integration) และแบบเลเซอร์ (laser mass memory) มาใช้งาน การใช้ระบบความจำแบบวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่เป็นที่นิยมกั นมาก โดยจะต้องใช้ร่วมกับวิธีการเก็บข่าวสารด้วยวิธีที่เรียกว่า "เก็บความจำแบบแอสโซซิเอทีฟ" (associative memory) ชุดคำสั่งไมโคร (microprogramming) เป็นพัฒนาการที่สำคัญมากโดยเฉพาะชุดคำสั่งไมโครเป็นวิธีปฏิบัติของส่วนควบคุม • ระบบการสั่งงาน ได้มีการพัฒนาระบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์รุ่นที่สี่ให้ดีขึ้น แต่ยังไม่เป็นที่สำคัญเด่นชัด
มีการพัฒนาด้านขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาด้านขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์ • การสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ คอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์นี้นิยมเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ในยุคของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 4 มีการสร้างคอมพิวเตอร์ขึ้นมาทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ และยักษ์ โดยระบุลักษณะสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ด้วยการมีคำสั่งระดับล้านคำต่อวินาที (mips;million instruction per second) และคอมพิวเตอร์ ขนาดยักษ์ ด้วยการมีคำสั่งระดับสิบล้านคำสั่งขึ้นไป ต่อวินาที บริษัทซีดีซี (CDC) ได้นำผู้นำในการสร้างคอมพิวเตอร์ขนาดยักษ์ ซีดีซี 7600 (CDC 7600) ขึ้น ต่อมาบริษัทไอบีเอ็มได้สร้าง ไอบีเอ็ม 360/195 (IBM360/195) เครื่องทั้งสองนี้ทำงานด้วยอัตราเร็วประมาณ 15 ล้านคำสั่งต่อวินาที • มินิคอมพิวเตอร์ วิวัฒนาการด้านเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่หรือที่นิยมเรียกว่า เมนเฟรม (mainframe) ได้เริ่มด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นที่หนึ่งถึงรุ่นที่สี่ • ไมโครคอมพิวเตอร์ หลังจากที่มีผู้ผลิตมินิคอมพิวเตอร์ออกสู่ตลาดเพียง 2-3 ปี ประวัติศาสตร์ด้านวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ก็ได้ซ้ำรอยอีกครั้ง หนึ่งด้วย การที่มีผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วหรือไมโครคอมพิวเตอร์ขึ้นมาราคาต่ำกว่าและทำงานได้ทุกอย่างเหมือ นมินิคอมพิวเตอร์ แต่น้อยกว่าและช้ากว่า
วิทยาการใหม่ๆ 4 เรื่องในคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 • วิทยาการใหม่ๆ ที่สำคัญรวม 4 เรื่องคือ • ระบบข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ ระบบนี้ทางญี่ปุ่นเชื่อว่าการใช้คอมพิวเตอร์ใน อนาคต จะเป็นระบบนี้ทั้งนั้น หลักการก็คือ จะรวบรวมค วามรู้ของผู้เชี่ยวชาญ ด้านต่างๆ เข้าไว้ในคอมพิวเตอร์ให้หมด ให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญนั้น ๆ ได้ ตัวอย่างสมัยนี้ก็ มีแล้วหลายด้าน • ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงมาก ญี่ปุ่นต้องการให้คนสามารถสั่งคอมพิวเตอร์ว่าจะทำอะไร โดยไม่ต้องบอกว่าจะทำอย่างไรแล้วให้ คอมพิวเตอร์จัด การหาวิธีทำงานเอาเองเพื่อความเข้าใจจะขอกล่าวถึงเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์เล็กน้อย การประมวลผลแบบกระจายหรือแบบขนาน เป็นการรวมวิทยาการด้านโทรคมนาคมกับด้านการประมวลผลซึ่งเป็นการต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้ง< WBR>ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ขนาดจิ๋ว ตามเมืองต่างๆ เข้าด้วยกัน ใครมีงานอะไร ก็ส่งเข้าคอมพิวเตอร์ของตน ถ้า
เครื่องนั้นทำได้ก็ไป ถ้าทำไม่ได้เพราะไม่มีเวลา หรือไม่มีความสามารถ ก็ส่งไปให้เครื่องอื่นช่วยทำให้เพราะฉะนั้นทุกๆ คนจะมีความสามารถ ด้านคอมพิวเตอร์เท่าเทียมกันหมด ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดหรือมีเครื่องเล็ก เครื่องใหญ่อย่างไร เทคโนโลยีวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่มาก เป็นวิทยาการที่เริ่มมาตั้ง แต่ประมาณ พ.ศ. 2502 โดยมีการผลิตวงจรเบ็ดเสร็จขึ้น โดยเอาวงจร หลาย ๆ วงจรรวมไว้ในแผ่นซิลิคอนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ หรือเรียกว่าชิพ ซึ่งมีผู้พัฒนากันต่อมาอย่างรวดเร็วมาก กระทั่ง พ.ศ. 2507 ก็มีวงจรเบ็ด เสร็จชนิดเล็ก (SSI;small scale integration) แต่ละชิพมีความสา มารถเท่ากับทรานซิสเตอร์ 10-100 ตัว ใน พ.ศ. 2514 มีชิพวงจรเบ็ดเสร็จ ชนิดใหญ่ แต่ละชิพวงจรมีความสามารถเท่ากับทรานซิสเตอร์ 100-10,000 ตัว จนถึงปัจจุบันนี้มีชิพวงจรเบ็ ดเสร็จชนิดใหญ่มาก แต่ละชิพเทียบเท่ากับทรานซิสเตอร์กว่าหนึ่งหมื่นตัว ฉะนั้นจึงสามารถใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่มาก ซึ่งแต่ละชิพมีขนาดเล็กกว่าหนึ่งตารางเซนติเมตร ให้ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีความสามารถเท่าคอมพิวเตอร์ใหญ่ๆ ในปัจจ ุบัน หรือจะใช้ชิพวงจรเบ็ดเสร็จชนิดใหญ่มากขนาดเล็กๆ นั้นทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์เฉพาะกิจที่มีความสามารถมากมายก็ได้
ความคาดหวังของคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 • 1. สามารถประมวลผลภาษาคน เช่น ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษได้แบบเดียวกับคน ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงอย่างโคบอล หรือฟอร์แทรนและไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาระดับต่ำ • 2. สามารถประมวลผลและรับส่งข้อมูลได้ทุกรูปแบบ ไม่จำเป็นว่าข้อมูลเข้าจะต้องเป็นจานแม่เหล็กหรือพิมพ์เข้าทางแป้น พิมพ์ กล่าวคือ ยอมให้ข้อมูลเป็นกระดาษแผ่นๆ ได้ เป็นหนังสือทั้งเล่มก็ได้ เป็นภาพวาดหรือภาพถ่ายก็ได้ เป็นเสียงก็ได้ • 3. สามารถให้คำปรึกษาและหาประสบการณ์เองได้ ผู้ใช้สามารถจะขอให้คอมพิวเตอร์ให้คำปรึกษาด้านต่างๆ เช่น ด้านการลงทุน ด้านการก่อสร้ าง ด้านโภชนาการ หรือแม้แต่ด้านชีวิตครอบครัว และให้คอมพิวเตอร์จดจำปัญหาและผลการให้คำปรึกษาว่าให้ผลดีไม่ดีเพียงใด จำ ประสบการ ณ์ไว้ใช้ในการให้คำปรึกษาต่อๆ ไปได้
4. สามารถเก็บข้อมูลได้หลายประเภท ไม่มีข้อจำกัดในด้านความจำจะถามประวัติศาสตร์ของทุกประเทศทั่วโลกก็บอกได้หมด จะถาม ข้อมูลด้านการเงินการธนาคารก็มีครบหมด ข้อมูลด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านการสาธารณสุข ฯลฯ มีหมดทุกเรื่อง ครบถ้วนทุกประการ ความคาดหวังเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์รุ่นที่ 5 ก็คือการที่จะทำคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถคล้ายคน ให้เข้าใจภาษาคน ให้รับส่งข้อมูลทุกอย่างที่คนรับส่งได้ ให้ศึกษาประสบการณ์เองได้ ให้รู้จักให้คำปรึกษา และให้เก็บข้อมูลไว้ให้พร้อมเสมอทุกด้าน
อ้างอิง http://www.followhissteps.com/web_health/snakelec.html http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%87%E0%B8%B9 http://www.thaitrip4u.com/Healthy/STH09.asp?QID=423 http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=1c1120a54895f012 http://www.com-th.net/webboard/index.php?topic=111817.0