510 likes | 1.03k Views
บริษัท ทีซิส คอนเซาท์ จำกัด. การบริหารความเสี่ยง. ชาญชัย ดีอ่วม. นิยามความเสี่ยง. ความ เสี่ยง คือ ความไม่แน่นอน (หรือโอกาส) ที่อาจนำไปสู่ความสูญเสียหรือการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้ง ไว้
E N D
บริษัท ทีซิส คอนเซาท์ จำกัด การบริหารความเสี่ยง ชาญชัย ดีอ่วม
นิยามความเสี่ยง ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอน (หรือโอกาส) ที่อาจนำไปสู่ความสูญเสียหรือการไม่บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ความเสี่ยง หมายถึง เหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคตและอาจส่งผลในทางลบต่อองค์กร >> การตัดสินใจกระทำการใดๆ ที่ไม่มีข้อมูลหรือไม่มีการวางแผนใดๆ ถือว่าเป็นการเสี่ยงตัดสินใจในสภาวะของความเสี่ยง การเสี่ยง หมายถึง การตัดสินใจ(อย่างใดอย่างหนึ่ง) ที่จะดำเนินการ (หรือไม่ดำเนินการ)บนพื้นฐานของการขาดข้อมูลที่ชัดเจน ไม่ครบถ้วน ถือว่าเป็นการประมาณการ คาดเดา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจตรง หรือตรงข้ามกับสิ่งที่คาดไว้ ก็ได้ (ไม่แน่นอน)
นิยามของความเสี่ยง ความเสี่ยงที่มีความหมายในหลากหลายแง่มุม เช่น • โอกาสที่เกิดขึ้นแล้วธุรกิจจะเกิดความเสียหาย (Chance of Loss) • ความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ(Possibility of Loss) • ความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น (Uncertainty of Event) • การคลาดเคลื่อนของการคาดการณ์ (Dispersion of Actual Result)
ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ ปัญหาในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐที่ยังขาดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และ ไม่ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ความสิ้นเปลือง ความสูญเปล่า ความไม่ประหยัด ข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง การรั่วไหล การทุจริตและประพฤติมิชอบ และปัญหาเกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ความเสี่ยงของหน่วยงานความเสี่ยงของหน่วยงาน การไม่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานมีข้อบกพร่องผิดพลาด การใช้จ่ายเงินไม่ประหยัดและไม่คุ้มค่า มีปัญหาการทุจริต
การควบคุมความเสี่ยงของหน่วยงานการควบคุมความเสี่ยงของหน่วยงาน การกำกับการดูแลที่ดีหรือหลักธรรมมาภิบาล (Good Governance) 1 การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) 2 การควบคุมภายใน (Internal Control) 3
ความหมายของการบริหารความเสี่ยงความหมายของการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง (Risk management)หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารปัจจัยและควบคุมกิจกรรมรวมทั้งกระบวนการการดำเนินการต่างๆ เพื่อลดมูลเหตุของโอกาสที่จะทำให้เกิดความเสียหายจากการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามแผน เพื่อให้ระดับของความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่สามารถยอมรับได้ ควบคุมได้ และตรวจสอบได้อย่างเป็นระบบ โดยในการดำเนินการบริหารความเสี่ยงตาม SP 7 นั้น มุ่งเน้นแผนงาน/โครงการที่สำคัญซึ่งผลสำเร็จของแผนงาน/โครงการมีผลกระทบสูงต่อการบรรลุความสำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์
ความจำเป็นของการบริหารความเสี่ยงความจำเป็นของการบริหารความเสี่ยง การวางนโยบาย บริหารงานผิดพลาด ไม่บรรลุตามเป้าประสงค์ อะไรคือปัญหาสำคัญ การเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของปัจจัยต่าง ๆ เกิดเหตุการณ์ ที่ส่งผลกระทบ การบริหารความเสี่ยง : ให้ความสำคัญกับผลของความไม่แน่นอน
วัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยงวัตถุประสงค์ในการบริหารความเสี่ยง • เพื่อให้ผลการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่วางไว้ • เพื่อให้เกิดการรับรู้ ตระหนัก และเข้าใจถึงความเสี่ยงด้านต่างๆที่เกิดขึ้นกับองค์กร และหาวิธีจัดการที่เหมาะสมในการลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ • สร้างกรอบและแนวทางในการดำเนินงานให้แก่บุคลากรในองค์กรเพื่อให้สามารถบริหารจัดการความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ • เพื่อให้มีระบบในการติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการบริหารความเสี่ยงและเฝ้าระวังความเสี่ยงใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา • เพิ่มมูลค่าให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กร
หลักการบริหารความเสี่ยงหลักการบริหารความเสี่ยง • องค์กรที่เผชิญหน้ากับความเสี่ยงจะมีความสามารถในการแข่งขันมากกว่าองค์กรที่ละเลยความเสี่ยง • การบริหารความเสี่ยงมิใช่การกำจัดความเสี่ยง แต่เป็นกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ อย่างเป็นระบบ • ผู้บริหารทุกท่านมีความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารความเสี่ยง • ถ้าระบบการบริหารความเสี่ยงได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและเหมาะสมทั้งองค์กร การบริหารความเสี่ยงจะทำให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ ในองค์กรที่คำนึงถึงความเสี่ยงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจ และบริหารจัดการทรัพยากรและงบประมาณให้มีความเหมาะสม
การดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ PMQA หมวด 2การวางแผน เชิงยุทธศาสตร์(SP) SP 7จังหวัดต้องมีการวิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO เพื่อเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินแผนงาน/โครงการที่สำคัญซึ่งต้องครอบคลุมความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล
จังหวัดต้องมีการวิเคราะห์ และบริหารจัดการความเสี่ยง ตามประเด็นยุทธศาสตร์ให้ครบถ้วน ทุกประเด็นยุทธศาสตร์ • คัดเลือกแผนงาน/โครงการที่สำคัญและมีผลกระทบสูงต่อการบรรลุความสำเร็จตามประเด็นยุทธศาสตร์ และเป็นโครงการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ • ประเด็นยุทธศาสตร์ละอย่างน้อย 1 แผนงาน/โครงการ • เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลกระทบต่อความสำเร็จหรือการบรรลุเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ
The Committee of Sponsoring Organization (COSO) เป็นหน่วยงานที่ได้เผยแพร่วิธีการและกรอบแนวคิดของการควบคุมภายในขององค์กร (Internal Control Framework) อย่างเป็นระบบ เมื่อช่วงต้นทศวรรษของ ปี ค.ศ.1990 จนกระทั่งเป็นที่รู้จักและมีความนิยมอย่างแพร่หลาย หลังจากที่วิธีการและการดำเนินการควบคุมภายใน (Internal Control) นั้นเป็นที่ถกเถียงกันมาเป็นเวลานาน จังหวัดต้องมีขั้นตอนการดำเนินการ หลักเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม ตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามมาตรฐาน COSO (Committee of Sponsoring Organization of the Tread way Commission) คือ... • การกำหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง (Objective Setting) • การระบุความเสี่ยงต่างๆ (Event Identification) • การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) • กลยุทธ์ที่ใช้ในการจัดการกับแต่ละความเสี่ยง (Risk Response) • กิจกรรมการบริหารความเสี่ยง (Control Activities) • ข้อมูลและการสื่อสารด้านบริหารความเสี่ยง (Information and Communication) • การติดตามผลและเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ (Monitoring)
กระบวนการบริหารความเสี่ยง ตามหลัก COSO • แผนงาน/โครงการ
ขั้นตอนที่ 1 กำหนดเป้าหมายการบริหารความเสี่ยง • พิจารณาเลือกแผนงาน/โครงการที่มีความสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ และได้รับงบประมาณ (ตารางที่ 1, 2, 3) • การกำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารจัดการความเสี่ยง (ตารางที่ 4) • กำหนดวัตถุประสงค์ของการบริหารความเสี่ยงโดย • กำหนดจากวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร • กำหนดจากเป้าหมายหลักองค์กรให้สอดคล้องกับภารกิจ • กำหนดจากเป้าหมายในระดับหน่วยงาน • กำหนดจากเป้าหมายของแผนงานโครงการและกิจกรรมที่ทำให้บรรลุเป้าหมายในระดับองค์กร
ตัวอย่าง การกำหนดวัตถุประสงค์ รักษาความเป็นโรงเรียนชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ในระดับมัธยมศึกษา ที่มีคุณภาพมาตรฐานโลก นักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 นักเรียนเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย Top Ten ของโลก ไม่น้อยกว่า 5 คน/ปี ร่วมมือ ส่งเสริมให้มีโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่อย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนที่ 2 การระบุความเสี่ยง • การระบุความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล(ตารางที่ 5) ให้นำหลักธรรมาภิบาลทั้ง 10 ด้านมาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์ความเสี่ยง 1. หลักประสิทธิผล2. หลักประสิทธิภาพ 3. หลักการมีส่วนร่วม 4. หลักความโปร่งใส 5. หลักการตอบสนอง 6. หลักภาระรับผิดชอบ 7. หลักนิติธรรม 8. หลักการกระจายอำนาจ9. หลักความเสมอภาค 10. หลักการมุ่งเน้นฉันทามติ
หลักธรรมาภิบาล ประสิทธิผล (Effectiveness) การปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการ มีกระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผล และพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพ (Efficiency) การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด เกิดผลิตภาพ คุ้มค่าการลงทุน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม รวมทั้งการลดขั้นตอน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานเพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระค่าใช้จ่าย
หลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วม (Participation) ต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา/ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแก้ไขปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินงาน และร่วมตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ความโปร่งใส (Transparency) การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมา ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและเชื่อถือได้ ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างสม่ำเสมอ และมีการวางระบบให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารดังกล่าวได้โดยง่าย
หลักธรรมาภิบาล การตอบสนอง (Responsiveness) สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด สร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจ รวมถึงตอบสนองความคาดหวัง/ต้องการของประชาชนผู้รับบริการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลากหลาย และมีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม ภาระรับผิดชอบ (Accountability) การปฏิบัติงานต้องสามารถตอบคำถามและชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย มีการรายงานความก้าวหน้าและผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อสาธารณะเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ตลอดจนมีการจัดเตรียมกระบวนการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาและผลกระทบใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
หลักธรรมาภิบาล นิติธรรม (Rule of Law) การใช้อำนาจของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในการปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด ด้วยความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ การกระจายอำนาจ (Decentralization) การมอบอำนาจและกระจายความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดำเนินการให้ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการโอนถ่ายบทบาทและภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคส่วนอื่นๆ ในสังคม
หลักธรรมาภิบาล ความเสมอภาค (Equity) การได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีการแบ่งแยกชาย/หญิง เชื้อชาติ อายุ ภาษา ความเชื่อทางศาสนา และอื่นๆ เป็นต้นนอกจากนี้ต้องคำนึงถึงโอกาสความทัดเทียมกันของการเข้าถึงบริการสาธารณะของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสในสังคม การมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) ต้องมีกระบวนการในการแสวงหาฉันทามติ หรือข้อตกลงร่วมกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจะต้องไม่มีข้อคัดค้านที่หาข้อยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญ
ขั้นตอนที่ 2 การระบุความเสี่ยง (ต่อ) • ระบุปัจจัยที่มีผลกระทบในเชิงลบต่อเป้าหมายขององค์กรหรือการปฏิบัติงานทั้งในระดับองค์กรและกิจกรรม • - ปัจจัยความเสี่ยงทั้งจากภายในและภายนอก • - เหตุการณ์ร้ายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น • - การเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งจากภายใน • และภายนอก
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง อาจมาได้จากหลายสาเหตุ เช่น ระบบงานขององค์กรบุคลากร การเงินการคลังการเมือง เศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ลูกค้าหรือผู้รับบริการ สภาพการแข่งขัน เป็นต้น และอาจมีแหล่งที่มาของความเสี่ยงทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ดังนี้
ประเภทของความเสี่ยง • ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : S) • เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายและพันธกิจในภาพรวม อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์หรือเหตุการณ์ภายนอก ส่งผลต่อกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ไม่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์/วิสัยทัศน์ หรือเกิดจากการกำหนดกลยุทธ์ที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนทำให้ขาดการยอมรับ หรือโครงการไม่ได้นำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือตอบสนองความต้องการอย่างแท้จริง • โครงการที่คัดเลือกมานั้นอาจมีความเสี่ยงต่อเรื่องประสิทธิผล และการมีส่วนร่วม • ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risk : O) • ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือผลการปฏิบัติงาน เกิดขึ้นเนื่องจากระบบงานภายในขององค์การ/กระบวนการ/เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่ใช้/บุคลากร/ความเพียงพอของข้อมูล ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินโครงการ • อาจมีความเสี่ยงต่อเรื่องประสิทธิภาพ และความโปร่งใส
ประเภทของความเสี่ยง • ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk : F) • ความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการบริหารงบประมาณและการเงิน เช่น การบริหารการเงินไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม ทำให้ขาดประสิทธิภาพ และไม่ทันต่อสถานการณ์ หรือเป็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเงินขององค์การ เช่น การประมาณการงบประมาณไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องกับขั้นตอนการดำเนินการ เนื่องจากขาดการจัดหาข้อมูล การวิเคราะห์ การวางแผน การควบคุม และการจัดทำรายงานเพื่อนำมาใช้ในการบริหารงบประมาณ • อาจมีความเสี่ยงต่อเรื่องนิติธรรม และภาระรับผิดชอบ • ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ (Compliance Risk : C) • ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากความไม่ชัดเจน ความไม่ทันสมัย หรือความไม่ครอบคลุมของกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ รวมถึงการทำนิติกรรมสัญญา การร่างสัญญาที่ไม่ครอบคลุมการดำเนินงาน • อาจมีความเสี่ยงต่อเรื่องนิติธรรม และความเสมอภาค
วัดด้านการเงิน ผลกระทบ วัดด้านอื่น ความเสี่ยง ความถี่ในอดีต โอกาสเกิด คาดการณ์อนาคต ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเสี่ยง Risk Assessment & Analysis Tools • ระบุมาตรการปัจจุบันที่ได้ดำเนินการ เพื่อควบคุมหรือลดความความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยเสี่ยง • ประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ภายใต้มาตรการดังกล่าว โดยวิเคราะห์ผลกระทบในด้านต่างๆและโอกาสในการเกิด • Sensitivity Analysis • Historical Data Analysis • Statistical Analysis • Forecasting Method • Decision Tree Analysis คูณ
ระดับที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องควบคุมความเสี่ยงไม่ต้องระดับที่ยอมรับได้โดยไม่ต้องควบคุมความเสี่ยงไม่ต้อง มีการจัดการเพิ่มเติม ระดับที่พอยอมรับได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไปยังระดับที่ยอมรับไม่ได้ ระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้โดยต้องจัดการความเสี่ยงเพื่อให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป ระดับที่ไม่สามารถยอมรับได้จำเป็นต้องเร่ง จัดการแก้ไขทันที สรุปขั้นตอนการประเมินความเสี่ยง รายงานความเสี่ยงที่ได้ระบุไว้ เพื่อการประเมิน ต่ำ การให้คะแนนความเป็นไปได้และ ผลกระทบของความเสี่ยง ปานกลาง การประเมินระดับความเสี่ยง สูง การตอบสนองและการจัดการ ความเสี่ยง(ไม่ยอมรับความเสี่ยง) สูงมาก ระดับผู้รับผิดชอบแผนบริหารความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ระบุทรัพยากรที่จำเป็นและระยะเวลา เช่น งบประมาณ ทรัพย์สิน เป็นต้น
การวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงการวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง
มาก ผลกระทบ น้อย น้อย มาก โอกาสที่จะเกิด แผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile)
ตัวอย่างแผนภูมิความเสี่ยง (Risk Profile) ผลกระทบ (Impact) โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) Risk Appetite Boundary
ขั้นตอนที่ 4 การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการความเสี่ยง • การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง(Avoid/Terminate): ปฏิเสธและหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง โดยการหยุด ยกเลิก กิจกรรมหรือโครงการที่จะนำไปสู่เหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยง • การลดความเสี่ยง(Reduce/Treat):เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงขั้นตอนบางส่วนของกิจกรรม/โครงการที่นำไปสู่ความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสเกิด หรือผลกระทบของความเสี่ยง • การยอมรับความเสี่ยง(Accept/Take):ยอมรับผลที่จะเกิดขึ้น แต่ควรมีมาตรการติดตามอย่างใกล้ชิด • การร่วมจัดการความเสี่ยง(Share/Transfer): ยกภาระความเสี่ยง/แบ่งความเสี่ยงบางส่วนให้กับบุคคลอื่น • (ตารางที่ 8)
ขั้นตอนที่ 5 กิจกรรมบริหารความเสี่ยง • การกำหนดกิจกรรมหรือมาตรการในการจัดการความเสี่ยงให้หมดไปหรือลดลงในระดับที่ยอมรับได้ โดยจะต้องเป็นกิจกรรมที่หน่วยงานยังไม่เคยปฏิบัติหรือเป็นกิจกรรมที่กำหนดเพิ่มเติมจากกิจกรรมเดิมที่เคยปฏิบัติอยู่แล้วแต่ไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ นอกจากนี้ยังต้องกำหนดระยะเวลาที่ใช้ และหน่วยงานผู้รับผิดชอบ
การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ผลกระทบ โอกาสเกิด
การพิจารณาเลือกแผนจัดการความเสี่ยงการพิจารณาเลือกแผนจัดการความเสี่ยง • ศึกษาความเป็นไปได้และค่าใช้จ่ายของแต่ละทางเลือก • วิเคราะห์ถึงผลได้ผลเสียของแต่ละทางเลือก • ผลได้ คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนำมาตรการนั้นมาใช้ลดความเสี่ยง อาจเกิดขึ้นในทันที หรือในระยะยาว • ผลเสีย ได้แก่ ต้นทุน เวลา หรือความสะดวกที่เสียไป รวมไปถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ขั้นตอนที่ 6 ข้อมูลและการสื่อสารด้านการบริหารความเสี่ยง • กำหนดช่องทางในการสื่อสารการดำเนินการบริหารความเสี่ยง • ระบบข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องขององค์กร ทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรเช่น ข้อมูลทางการเงิน ผลการดำเนินงานขององค์กร เพื่อให้ขั้นตอนการกำหนดแนวทางตอบสนองต่อความเสี่ยงมีข้อมูลที่เพียงพอ และติดตามผลทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องทำให้บุคลากรทุกระดับสามารถสื่อสารกันได้ และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง และผู้บริหารได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 7การติดตามและทบทวนความเสี่ยง • การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงโดยกำหนดระยะเวลาการรายงานความคืบหน้าที่เหมาะสม เพื่อ • แผนจัดการความเสี่ยงถูกนำไปใช้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ • ทราบถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังจากใช้แผนจัดการความเสี่ยง • สามารถปรับปรุงแก้ไขแผนจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือกรณีที่แผนเดิมไม่มีประสิทธิภาพ • มีการรายงานผลต่อผู้บริหารที่ได้รับมอบหมาย 1) เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง 2) เพื่อสรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 7การติดตามและทบทวนความเสี่ยง ความเสี่ยง ที่ถูกจัดการ ความเสี่ยง ที่ถูกจัดการ ความเสี่ยง ก่อนจัดการ ความเสี่ยง ที่เหลือ การจัดการ หลังทบทวน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความเสี่ยง ที่ยอมรับได้ ตอบสนองความเสี่ยง ติดตามทบทวน
แบบฟอร์มการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงแบบฟอร์มการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ตารางที่ 1, 2, 3 เป็นการคัดเลือกโครงการเพื่อจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (สำนักงานจังหวัดเป็นผู้จัดทำ)
ถาม-ตอบ บริษัท ทีซิส คอนเซาท์ จำกัด