1 / 60

โครงการสัมมนาการจัดการความรู้ การดำเนินการด้านการเงินการคลัง ปีงบประมาณ 2554 ครั้งที่ 1

โครงการสัมมนาการจัดการความรู้ การดำเนินการด้านการเงินการคลัง ปีงบประมาณ 2554 ครั้งที่ 1. กองคลัง สำนักงานอธิการบดี. วัตถุประสงค์. เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้การดำเนินการด้านการเงินการคลัง มีความถูกต้องตามระเบียบ.

Download Presentation

โครงการสัมมนาการจัดการความรู้ การดำเนินการด้านการเงินการคลัง ปีงบประมาณ 2554 ครั้งที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการสัมมนาการจัดการความรู้การดำเนินการด้านการเงินการคลังปีงบประมาณ 2554ครั้งที่ 1 กองคลัง สำนักงานอธิการบดี

  2. วัตถุประสงค์ • เพื่อสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องตรงกัน • เพื่อเพิ่มพูนความรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น • เพื่อให้การดำเนินการด้านการเงินการคลัง มีความถูกต้องตามระเบียบ

  3. หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ • ปฏิทินการบริหารงบประมาณแผ่นดิน / เงินรายได้ มก. ประจำปีงบประมาณ 2554 • การกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิกจ่าย เงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ • เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) ด้านการเงินการคลัง 4. เรื่องอื่นๆ

  4. ปฏิทินการบริหารงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2554 • กำหนดขึ้นเพื่อให้การบริหารงบประมาณแผ่นดิน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง เกิดวินัยทางการคลัง และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่องมาตรการและแนวทาง การเร่งรัดติดตามการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

  5. สาระสำคัญ • กำหนดอัตราการเบิกจ่ายของหน่วยงานในภาพรวม และงบลงทุนเป็นรายไตรมาส เช่น ไตรมาส 1 เบิกจ่ายภาพรวม ร้อยละ 20 เบิกจ่ายงบลงทุน ร้อยละ 10 • กำหนดวันสุดท้ายการขอขยายเวลาเบิกจ่าย เงินงบประมาณปี 2552-2553 กรณีเบิกจ่ายไม่ทัน 31 มี.ค. 2554 (21 มี.ค. 2554)

  6. สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการขออนุมัติโอนเปลี่ยนแปลงรายการ / โอนเงินเหลือจ่ายปี 2554 (29 ก.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายรับเรื่องขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีงบประมาณ 2554 และรับเรื่องขอขยายเวลาเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2552-2553 กรณีเบิกจ่ายไม่ทัน 30 ก.ย. 2554 (25 ส.ค. 2554)

  7. สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการรับใบสำคัญ BG01 / ระยะเวลาการรับใบสำคัญที่ได้ขอผ่อนผัน • กำหนดวันสุดท้ายการรับใบสำคัญเงินงบประมาณแผ่นดิน ประเภทงบประมาณเบิกแทน , งบกลางจากสำนักงบประมาณ • กำหนดวันสุดท้ายการจ่ายเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล / ค่าเล่าเรียนบุตร กรณีรับเป็นเงินสด (31 ส.ค. 2554)

  8. ปฏิทินการบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ มก. • กำหนดขึ้นเพื่อให้การบริหารงบประมาณ เงินรายได้ของหน่วยงานเป็นไปตามระเบียบ มก. ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 และข้อบังคับเกี่ยวกับ การบริหารงบประมาณเงินรายได้ พ.ศ.2545

  9. สาระสำคัญ • กำหนดการจัดส่งรายงานการเงินต่างๆ ของหน่วยงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน และวิทยาเขต ให้มหาวิทยาลัย 1. รายงานระดับคณะ สำนัก สถาบัน - รายงานเงินคงเหลือประจำวัน (รายสัปดาห์) - รายงานการจ่ายเงินรายได้กรณีวงเงินเกินครั้งละ 5 ล้านบาท กำหนดส่งภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป เพื่อนำเสนอสภามหาวิทยาลัย - รายงานผลการแจ้งยอดเงินคงเหลือเงินรายได้หน่วยงาน กำหนดส่งภายในวันสุดท้ายของเดือนถัดไป เช่น เดือน ต.ค. 53 กำหนดส่ง 30 พ.ย. 53

  10. สาระสำคัญ - รายงานการเงินรายไตรมาสของหน่วยงาน กำหนดส่งภายในสิ้นเดือนถัดไปหลังสิ้นสุดแต่ละไตรมาส เช่น ไตรมาส 1 กำหนดส่ง 31 ม.ค. 2554 - รายงานงบการเงินโครงการพิเศษ ปีงบประมาณ 2553 กำหนดส่ง 31 ม.ค. 2554 (120 วันหลังสิ้นปีงบประมาณ)

  11. สาระสำคัญ 2. รายงานระดับวิทยาเขต - รายงานการเงิน / งบทดลองของวิทยาเขต เพื่อจัดทำรายงานการเงินรวมของมหาวิทยาลัย กำหนดส่ง ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป - รายงานการจ่ายเงินรายได้ กรณีวงเงิน เกินครั้งละ 5 ล้านบาท - รายงานการเงินรายไตรมาสของหน่วยงาน

  12. สาระสำคัญ • กำหนดการจัดส่งรายงานสรุปการจ่ายเงินค่าจ้างและเงินสมทบ ส่วนลูกจ้าง เพื่อออกหนังสือรับรองการนำส่งเงินสมทบเงินประกันสังคม และรายงานสรุปการจ่ายเงินค่าตอบแทนและภาษีหัก ณ ที่จ่าย เพื่อออก หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (กำหนดส่งรายงาน 1-31 ม.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายการขอขยายการกันเงินเหลื่อมปีงบประมาณเงินรายได้ ปีงบประมาณ 2553 และการส่งใบสำคัญการเบิกจ่ายกรณีขอกันเงินเหลื่อมปี ปีงบประมาณ 2553 (31 มี.ค. 2554)

  13. สาระสำคัญ • กำหนดวันสุดท้ายการขอกันเงินเหลื่อมปีงบประมาณ เงินรายได้ พ.ศ.2554 (31 ส.ค. 2554) • กำหนดวันสุดท้ายการจัดส่งใบสำคัญเบิกจ่าย กรณีเบิกจ่ายเงินรายได้ส่วนกลาง สำนักงานอธิการบดี, เงินรายได้ส่วนกลาง มก. และใบสำคัญการเบิกจ่าย กรณีการขอขยายกันเงินเหลื่อมปี ปีงบประมาณ 2553 (23 ก.ย. 2553) • กำหนดการจัดส่งรายงานมูลค่าทรัพย์สินของหน่วยงาน (30 ก.ย. 2554)

  14. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิก-จ่ายเงินรายได้มหาวิทยาลัยแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปีและขยายเวลาเบิก-จ่ายเงินรายได้มหาวิทยาลัย

  15. การกันเงินเหลื่อมปี หมายถึง การที่ส่วนราชการไม่สามารถ จะใช้จ่ายเงินได้ทันปีงบประมาณ รายจ่าย ส่วนราชการมีสิทธิ์ จะขออนุมัติเพื่อนำเงินรายการนั้น ไปใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อไปได้

  16. ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ • เรื่องแนวปฏิบัติในการขอกันเงิน ข้ามปีงบประมาณเงินรายได้ ประกาศ ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2537

  17. ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - เรื่องระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 ข้อ 15 และ 19 ประกาศ ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545

  18. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณเงินรายได้ 1. รายการที่สามารถขอกันเงินข้ามปีงบประมาณ - ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณเงินรายได้ โดยสั่งซื้อ/สั่งจ้างครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป/ รายการ

  19. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - กรณีไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็น ต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก ให้เสนอความจำเป็น ที่จะต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีก โดยให้เสนอต่อ อธิการบดีอนุมัติเป็นรายๆไป

  20. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2. ระยะเวลาการใช้จ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติกันเงินแล้ว - 6 เดือน หรือ ภายใน 31 มีนาคมของปีถัดไป

  21. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. การดำเนินการขอกันเงิน - หน่วยงานยื่นขอกันเงินก่อนสิ้นปีงบประมาณ อย่างน้อย 30 วัน (31 สิงหาคม) - เอกสารประกอบการยื่นขอกันเงินเพื่อประกอบการพิจารณา * สำเนาสัญญาซื้อ / จ้าง , ใบสั่งซื้อ / จ้าง , เอกสารอื่น ที่แสดงสภาพหนี้ โดยหัวหน้าหน่วยงานรับรอง

  22. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 4. การขยายระยะเวลาการกันเงิน - การเบิกจ่ายดำเนินการไม่เสร็จสิ้นภายใน 31 มีนาคม สามารถขยายเวลากันเงินได้ไม่เกินวันทำการสุดท้าย ของปีงบประมาณ (30 กันยายน) - ดำเนินการโดยจัดทำบันทึกขอขยายระยะเวลาพร้อมเหตุผล ความจำเป็น แนบพร้อมบันทึกการได้รับอนุมัติกันเงินฉบับแรก

  23. สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สาระสำคัญของประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ระเบียบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าด้วยเงินรายได้ พ.ศ.2545 ข้อ 15 1. รายการที่เบิกจ่ายไม่ทัน ยกเว้นค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ให้นำไปเบิกจ่ายในปีถัดไป 2. การอนุมัติกันเงินสำหรับค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ให้ผู้มีอำนาจอนุมัติการจ่ายเงินตามข้อ 19 เป็นผู้อนุมัติดำเนินการ ภายในวงเงินที่มีอำนาจอนุมัตินั้น

  24. สรุปแนวทางในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณรายจ่ายสรุปแนวทางในการขอกันเงินข้ามปีงบประมาณรายจ่าย • การกันเงินข้ามปี กรณีก่อหนี้ผูกพัน - ก่อหนี้ไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ วงเงิน 10,000 บาทขึ้นไป - แนบเอกสารประกอบการพิจารณา - วงเงินเกิน 1 ล้านบาท ส่งเรื่องให้กองคลังดำเนินการ • กรณีไม่ก่อหนี้ผูกพัน - แจ้งเหตุผลความจำเป็น - วงเงิน 10,000 บาทขึ้นไป เฉพาะครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง - รายการอื่นเบิกจ่ายโดยใช้เงินงบประมาณปีถัดไป • ส่งเรื่องขอกันเงินข้ามปีต่อกองคลังอย่างน้อย 30 วันก่อนสิ้นปีงบประมาณ

  25. การเบิกจ่ายและการบันทึกบัญชีการเบิกจ่ายและการบันทึกบัญชี • รายการที่ได้รับอนุมัติกันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปีให้บันทึกคุมงบประมาณ เพื่อเป็นแหล่งเงินในการเบิกจ่ายในปีต่อไป • การเบิกจ่าย : จัดทำใบสำคัญเบิกจ่ายแนบพร้อมเรื่องที่ได้รับอนุมัติ กันเงินเบิกจ่ายเหลื่อมปี :ส่งเบิกให้เสร็จสิ้นภายใน 31 มี.ค. • การบันทึกบัญชี : บันทึกเป็นรายจ่ายในปีงบประมาณที่จัดส่งใบสำคัญเบิกจ่าย

  26. การดำเนินการแจ้งหน่วยงานการดำเนินการแจ้งหน่วยงาน - กำหนดระยะเวลาดำเนินการตามปฏิทิน การบริหารงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้ มก. - แจ้งเวียนหน่วยงานเป็นบันทึก ประมาณต้นเดือนสิงหาคม ของทุกปี

  27. ปัญหาที่พบในปีงบประมาณ 2553 • จัดส่งทุกรายการกันเงินที่กองคลัง • กรณีไม่ได้ก่อหนี้ผูกพันส่งเรื่องกันเงินเลยสิ้นปีงบประมาณ • ขอขยายระยะเวลากันเงินเกินระยะเวลาที่กำหนด

  28. หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ คุณจรรยา กุลบ่าง (กุ้ง) หมายเลขภายใน 4322 คุณไพเราะ รุ่งเรือง (เจี๊ยบ) หมายเลขภายใน 4321 , 4324 คุณวลีรัตน์ กาญจนปกรณ์ชัย (ตุ๊ก) หมายเลขภายใน 4301

  29. เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) • จัดทำตามนโยบายของท่านอธิการบดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ให้หน่วยงานส่วนกลางรวบรวมความรู้ในการบริหารจัดการ ภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้หน่วยงานใช้เป็นเครื่องมือ ในการดำเนินงานให้มีความถูกต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ทั้งมหาวิทยาลัย และใช้เป็นเอกสารแนบกรณีนำส่งเอกสาร มาดำเนินการที่ส่วนกลาง

  30. เอกสารประกอบการเสนอเรื่อง (Check List) ของกองคลังมีทั้งสิ้น 26 เรื่อง ประกอบด้วย 1. ตรวจสอบ กค1 - กค4 : การเบิกจ่ายเงินบำเหน็จตกทอด, เงินช่วยพิเศษ , เงินประจำตำแหน่ง, เงินบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ 2. ตรวจสอบ กค 5 : การยืมเงินโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ 3. ตรวจสอบ กค 6 : การคืนเงินประกันสัญญา 4. ตรวจสอบ กค 7 : การยืมเงินทดรองราชการ

  31. 5. ตรวจสอบ กค 8 : การยืมเงินรายได้ มก. 6. ตรวจสอบ กค9 - กค13 : การดำเนินการด้านพัสดุ(วิธีพิเศษ, สอบราคา, ประกวดราคา, การจัดทำ PO, การสร้างข้อมูล ผู้ขาย, การจำหน่ายพัสดุ) 7. ตรวจสอบ กค14 - กค19 : การเบิกบำเหน็จลูกจ้างประจำ, เงินช่วยพิเศษ, การเบิกเงินลูกจ้างชั่วคราว, การเบิกค่าจ้าง พนักงานราชการ, พนักงานมหาวิทยาลัย เงินรายได้, ค่าจ้างชั่วคราวเงินงบประมาณ

  32. 8. ตรวจสอบ กค20 - กค22 : การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงาน นอกเวลาราชการ, ค่าใช้จ่ายเดินทางไป ราชการ 9. ตรวจสอบ กค23 : การโอนเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณ 10. ตรวจสอบ กค24 - กค26 : การเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม / ประชุม / สัมมนา

  33. สามารถ Download เอกสารดังกล่าวได้จาก Website กองคลัง หากมี Check List เพิ่มเติมจะนำเสนอใน Website กองคลังต่อไป • หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรายการใน Check List สอบถามได้ที่ กค 1-4 , 14-19 งานการเงิน 4316-4317 กค 5-7 งานบัญชี 4318-4320 กค 8 งานเงินรายได้ 4323 กค 9-13 งานพัสดุ 4307-4309 กค 20-26 งานงบประมาณ 4310-4313

  34. เรื่องอื่นๆ • การแก้ไขพระราชกฤษฎีกา 1. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2553 สาระสำคัญ - เน้นให้ความสำคัญการตรวจสุขภาพ การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการป้องกันโรค เช่น การฉีดวัคซีน - การเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน - การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยขณะไปศึกษา / ฝึกอบรม / ดูงานในต่างประเทศ - แบบฟอร์มใบเบิกเงินสวัสดิการให้ผู้ขอรับเงินสวัสดิการ รับรองสิทธิของตนเอง เช่นเดียวกับใบเบิกเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการศึกษาบุตร

  35. 2. พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2553 สาระสำคัญ - กำหนดเทียบตำแหน่งจาก ซี เป็น แท่ง - การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน (มาตรา 27) - ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ กรณีไปประจำสำนักงานต่างจังหวัด

  36. แนวทางปฏิบัติในการโอนเงินที่ได้รับจากเงินรายได้แนวทางปฏิบัติในการโอนเงินที่ได้รับจากเงินรายได้ ส่วนกลาง มก. เข้าบัญชีหน่วยงาน - แจ้งเวียนหน่วยงานตามหนังสือที่ ศธ0513.10105 / ว.16471 ลว 6 ต.ค. 52 - วัตถุประสงค์ เพื่อให้หน่วยงานใช้จ่ายเงิน ที่ได้รับสนับสนุนจากส่วนกลางได้คล่องตัว และเป็นไปตามระเบียบวิธีบริหารงบประมาณ

  37. การกู้เงินโครงการ ชพค. - โครงการเงินกู้ของ ชพค. เป็นโครงการร่วมกันระหว่าง ชพค. กับธนาคารออมสิน สิ้นสุดโครงการ 30 ธ.ค. 2553 เฉพาะบุคลากรทางการศึกษาที่เป็นสมาชิก ชพค. - หลักเกณฑ์การกู้เงิน หลักฐาน : สลิปเงินเดือน 3 เดือน มียอดเงินคงเหลือเพียงพอ สำหรับวงเงินขั้นต่ำที่ ชพค. กำหนด พร้อมหนังสือรับรองเงินเดือน : Statement หรือ หลักทรัพย์

  38. : หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือนนำส่งเงินกู้รับรองโดยมหาวิทยาลัย ปัจจุบันกองคลังลงนามในหนังสือเฉพาะบุคลากรที่จ่ายเงินเดือน โดยกองคลัง ; ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานมหาวิทยาลัย เงินงบประมาณ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ (เฉพาะสังกัดสำนักงานอธิการบดี) - การพิจารณาจาก ชพค. : ใช้เวลา 2 เดือน : ได้รับอนุมัติการกู้เงินแล้วบุคลากรชำระคืนเงินกู้ให้ ชพค. 2 เดือนแรก เดือนถัดไปหักเงินเดือนชำระหนี้

  39. ปัญหา - การลงนามในหนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ ของคณะ สำนัก สถาบัน - การหักเงินเดือนชำระคืนเงินกู้

  40. การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี และการขยายเวลาเบิกจ่ายเงิน งานงบประมาณ กองคลัง สำนักงานอธิการบดี

  41. ระเบียบที่เกี่ยวข้อง • พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2551 • มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียนกระทรวงการคลังและกรมบัญชีกลางที่กำหนดข้อบังคับและวิธีปฏิบัติในเรื่องกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี

  42. พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 กำหนดว่า “ การขอเบิกเงินจากคลังตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณใดให้กระทำได้แต่เฉพาะภายในปีงบประมาณนั้น เว้นแต่ (1) เป็นงบประมาณรายจ่ายข้ามปี หรือ (2) เป็นเงินงบประมาณรายจ่ายที่ได้ก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นงบประมาณหรือที่ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีให้เบิกเหลื่อมปี และได้มีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีไว้ตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินจากคลัง”

  43. ในกรณี(2) ให้ขยายเวลาขอเบิกเงินจากคลังต่อไปได้อีก 6 เดือนปฏิทินของปีงบประมาณถัดไป เว้นแต่ มีความจำเป็นต้องขอเบิกจากคลังภายหลังเวลาดังกล่าวก็ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเป็นราย ๆ ไป”

  44. ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลังระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง ปี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 1 ความทั่วไป หมวดที่ 2 การใช้งานในระบบ หมวดที่ 3 การเบิกเงิน หมวดที่ 4 การจ่ายเงิน หมวดที่ 5 การจ่ายเงินยืม หมวดที่ 7 การเก็บรักษาเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 8 การนำเงินส่งคลังและฝากคลัง หมวดที่ 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมวดที่ 6 การรับเงินของส่วนราชการ หมวดที่ 10 การควบคุมและตรวจสอบ

  45. หมวด 9 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ข้อ 101 ส่วนราชการใดได้ก่อหนี้ไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยการซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของหรือเช่าทรัพย์สินที่มีใบสั่งซื้อ หรือสัญญา หรือข้อตกลงและมีวงเงินตั้งแต่ 50,000บาทขึ้นไป หรือตามที่กระทรวงการคลังกำหนด กรณีที่ไม่สามารถเบิกเงินไปชำระหนี้ได้ทันสิ้นปีงบประมาณ ให้ถือว่าใบสั่งซื้อ หรือสั่งจ้างหรือสัญญาหรือข้อตกลง ที่ได้จัดทำไว้ในระบบGFMIS เป็นการขอกันเงินเหลื่อมปี ต่อไปอีกเป็นเวลา 6 เดือน นับจากวันสิ้นปีงบประมาณ

  46. ในกรณีที่ส่วนราชการไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน แต่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินนั้นต่อไปอีกให้กระทรวงเจ้าสังกัดขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว ให้ขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีได้ ข้อ 102 การขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี ส่วนราชการต้องดำเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

  47. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการกันเงินเหลื่อมปี และขยายเวลาเบิกจ่ายเงินด้วยระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) (Government Fiscal Management Information System )

  48. ปีงบประมาณ หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ 30 กันยายนของ ปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปนั้นเป็นชื่อสำหรับงบประมาณนั้น ตัวอย่าง งบประมาณ พ.ศ. 2554 หมายถึง (ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2554)

  49. หนี้ หมายถึง ข้อผูกพันที่จะต้องจ่ายหรืออาจจะต้องจ่ายเป็นเงิน สิ่งของ หรือบริการไม่ว่าจะเป็นการเกิดจากการกู้ยืม การค้ำประกัน การซื้อหรือการจ้างโดยใช้เครดิต

  50. การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีการกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี หมายถึง การดำเนินการเพื่อให้เงินงบประมาณปีปัจจุบันที่เบิกจ่ายจากคลังไม่ทันภายในสิ้นปีงบประมาณ ให้สามารถนำไปใช้จ่ายในปีงบประมาณถัดไปได้ โดยเงินงบประมาณที่ว่านั้นไม่ต้องพับไป

More Related