180 likes | 415 Views
สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552. ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 ระยะ 1. ช่วงต้นปี 2551 ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย (1) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง. (2) อัตราแลกเปลี่ยน
E N D
สรุปภาวะเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 และแนวโน้มปี 2552 ปัจจัยเสี่ยงด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็น 2 ระยะ 1. ช่วงต้นปี 2551 ปัจจัยเสี่ยงประกอบด้วย (1) ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(2) อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทช่วงต้นปี 2551 อยู่ในระดับค่อนข้างแข็ง โดยในเดือนมีนาคม 2551 แข็งค่าสุด 31.46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลต่อต่อการส่งออกและการแข่งขันราคาในต่างประเทศ (3) อัตราดอกเบี้ย ในช่วงต้นปี อัตราดอกเบี้ย MLR อยู่ที่ประมาณร้อยละ 6.85-7.13 ต่อปี แต่จากภาวะเงินเฟ้อ ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก ทำให้อัตราดอกเบี้ย MLR ไปแตะระดับสูงสุดที่ 9.2% ในเดือนกรกฎาคม 2551 และส่งผลให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับ ตัวขึ้นเป็น 3.75% (4) ความไม่สงบทางการเมือง ปัญหาสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของ นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ ภาคเศรษฐกิจ
2. ช่วงปลายปี 2551 (1) วิกฤติเศรษฐกิจโลก วิกฤติการเงินของสหรัฐฯ (Subprime) ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งพึ่งพิงกับการส่งออกถึงร้อยละ 67 ของ GDP โดยในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวการส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่ภายหลังวิกฤติ Subprime ส่งผลให้การส่งออกติดลบตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2551 โดยล่าสุดเดือนมกราคม 2552 ติดลบถึง 26.5 % (2) ความไม่สงบทางการเมือง ความไม่สงบภายในประเทศ โดยเฉพาะการปิดสนามบิน ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ด้านการค้าการลงทุน นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัย โดยเดินทางเข้าประเทศไทยปี 2551เพียง 13.5 ล้านคน หดตัวจากเดิมร้อยละ 5.6 โดยสูญเสียรายได้ประมาณ 1 แสนล้าน (3) การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและการลดความเสี่ยง การเก็งกำไรจากน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับราคาลดลงจากราคาเฉลี่ย 147 เหรียญ สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เหลือเพียงไม่เกิน 50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
(4) อัตราดอกเบี้ย • เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) และทำให้หลายประเทศใช้ • นโยบาย การเงินเข้าแทรกแซง โดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ FED ประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียง 1% ธนาคารกลางอังกฤษปรับลด 1% โดยในเดือนธันวาคม 2551 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 1% ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายลดเหลือ 2.75% ส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) ลดลงเหลือ 6.75%
สถานการณ์เศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ขายปลีกขายส่ง ท่องเที่ยว/ภัตตราคาร ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดเชียงใหม่ (GPP) ปี 2550 มีมูลค่า 120,972 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว ปี 2550 เท่ากับ 74,524 บาท/ปี
ภาวการณ์ผลิต สินค้าเกษตร ช่วงต้นปีราคาสินค้าเกษตรอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง แต่ภายหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจราคา สินค้าเกษตรเกือบทุกชนิดปรับราคาลดลง
มูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOPจังหวัดเชียงใหม่ พันล้านบาท 3.082 2.454 ปี ปี 2551 มียอดจำหน่ายสินค้า OTOP เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.58 เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ และการสั่งซื้อจากต่างประเทศ
สถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ปี 2550-2551 แม้ว่าในปี 2551 มีการขยายตัวการจัดตั้งนิติบุคคลร้อยละ 4.29 แต่ปรากฏว่าในขณะเดียวกันก็มี การนิติบุคคลได้จดทะเบียนเลิกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 7.65
มูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2549-2551
มูลค่าการส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มูลค่าการส่งสินค้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ปี 2549 - 2551
จำนวนโรงแรมและห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่จำนวนโรงแรมและห้องพักในจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 74 แห่ง เป็นสมาชิกสมาคมโรงแรม 58 แห่ง จำนวนห้องพัก 8,982 ห้อง
อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่ เปรียบเทียบ MoM ปี 2550/2551 เงินเฟ้อ เดือน ปี 2551 ปี 2552 อัตราเงินเฟ้อจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2551 สืบเนื่องจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการปรับราคาลดลง
แนวโน้มปี 2552 1. สินค้าเกษตร ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ส่งผลให้นักลงทุน ปรับลดความเสี่ยง โดยเสริมสภาพคล่องด้านการเงิน หันมาเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์น้อยลง 2. การจ้างงาน ภาคการผลิตมีแนวโน้มปรับลดการผลิต เนื่องจากคำสั่งซื้อหดตัว ส่งผลให้การจ้างงานมีแนวโน้ม ปรับตัวลดลงหรือปรับลดชั่วโมงการทำงาน เพื่อความอยู่รอดของกิจการ 3. อำนาจการบริโภค การคาดหมายการลดการผลิตตามอุปสงค์ที่ลดลงและการจ้างงานที่ลดลงจะส่งผลกระทบ ต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภค (ที่อยู่ในภาวการณ์ว่างงาน) และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงทำให้ กำลังการซื้อของผู้บริโภคลดลงและจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในอนาคต 4. อัตราเงินเฟ้อ นอกจากรายได้ของแรงงานมีแนวโน้มลดลง ผู้บริโภคจะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ ในระดับต่ำ จึงคาดว่าแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 จะอยู่ในระดับต่ำมาก
5. การลงทุน อุปสงค์ของตลาดโดยภาพรวมมีแนวโน้มที่ลดลง ประกอบกับการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิด NPL แนวโน้มการลงทุนในจังหวัด เชียงใหม่โดยทั่วไปจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก 6. อสังหาริมทรัพย์ ในระยะที่ผ่านมาจังหวัดเชียงใหม่มีการลงทุนด้านตลาดอสังหาริมทรัพย์ (Real-estate) มาก จังหวัดหนึ่ง แต่ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลให้ให้รายได้ของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับวัสดุ ก่อสร้างมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มปรับตัวลดลง 7. ภาวะตลาดสินค้า ภาวะตลาดสินค้าในจังหวัดเชียงใหม่มีแนวโน้มหดตัว โดยเฉพาะสินค้าส่งออก เนื่องจาก ประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ 8. การท่องเที่ยว แนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในปี 2552 ยังคงซบเซาต่อเนื่องจากปี 2551 แม้ว่าราคา น้ำมันเชื้อเพลิงจะลดลง แต่นักท่องเที่ยวจะยังได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ข้อเสนอแนะ ภาคผู้ประกอบการ 1. การรักษาตลาดเดิม ขยายตลาดใหม่ 2. การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเพื่อการแข่งขัน 3. การศึกษาค้นคว้าและสร้างนวัตกรรมใหม่เพื่อสร้างโอกาสและทางเลือก ภาครัฐ 1. เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณสู่ภาคประชาชนและผู้ประกอบการโดยเร็ว 2. จัดทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับภาคประชาชน 3. จัดเตรียมมาตรการรองรับปัญหาว่างงาน 4. สนับสนุนส่งเสริม และแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านการค้า การลงทุน 5. การจัดวางยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ในการรองรับวิกฤตเศรษฐกิจไปสู่การปฏิบัติอย่างชัดเจน