1 / 28

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิชา เศรษฐศาสตร์ ม .2

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิชา เศรษฐศาสตร์ ม .2. การออมและการลงทุน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. ผู้จัดทำ นายธนิตย์ พลายมาศ. การลงทุน (Investment)

Download Presentation

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิชา เศรษฐศาสตร์ ม .2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วิชา เศรษฐศาสตร์ ม.2 การออมและการลงทุน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้จัดทำ นายธนิตย์ พลายมาศ

  2. การลงทุน (Investment) หมายถึงการใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคตเพิ่มขึ้น

  3. การลงทุนคืออะไร - คือกระบวนการที่ทำให้เกิดการใช้เงินทุนในกิจกรรมการผลิต โดย เฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา - เงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศและทำให้เกิดความเจริญ เติบโตอย่างยั่งยืน

  4. แหล่งเงินทุนที่สำคัญ 2. เงินทุนจากต่างประเทศ 1. เงินออมภายในประเทศ

  5. การออม หมายถึง เงินรายได้ที่หักด้วยเงินรายจ่าย โดยเงินที่เหลือจะไม่ถูกใช้ โดยจะถูกเก็บไว้ใช้บริโภคในอนาคตหรือในยามจำเป็น

  6. ความสำคัญของการออม - เงินออมถูกนำไปใช้เป็นแหล่งที่มาของเงินทุน - หากการลงทุนในประเทศมีการพึ่งพาเงินออมในประเทศอย่าง เพียงพอโดยไม่ต้องพึ่งพาเงินจากต่างประเทศ ระบบเศรษฐกิจ ก็จะมีการพัฒนาไปอย่างมีเสถียรภาพ

  7. การแบ่งกลุ่มของการออมการแบ่งกลุ่มของการออม กลุ่มที่ 1คือการออมภาครัฐบาล ประกอบด้วย ภาครัฐบาลกลาง , ท้องถิ่น และภาครัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่ 2คือการออมภาคเอกชน ประกอบด้วย ภาคครัวเรือนและ ภาคธุรกิจนิติบุคคล

  8. ประเภทของการออม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. การออมทางตรง 2. การออมทางอ้อม

  9. 1. การออมทางตรง คือ การออมที่เกิดขึ้นโดยผ่านเครื่องมือการออมรูปแบบต่างๆ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใน 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 ตลาดเงิน เป็นการระดมเงินทุนระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินคลัง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน รูปแบบที่ 2 ตลาดทุน เป็นการระดมเงินทุนระยะยาว 1 ปีขึ้นไป เช่น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล ตลาดหลักทรัพย์

  10. 2. การออมทางอ้อม คือ การออมที่เกิดขึ้นโดยการที่ผู้มีเงินออมทำการออมผ่านตัวกลางทางการเงิน เช่นธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทประกันภัย มี 2 แบบคือ 1. การออมแบบไม่ผูกพัน 2. การออมแบบผูกพัน

  11. 1) การออมแบบไม่ผูกพัน คือ การออมที่มีระยะเวลา ไม่ยาวนาน ผู้ออมจะเรียกเงินคืนจากตัวกลางทางการเงินเมื่อไหร่ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น การฝากเงินฝากแบบออมทรัพย์กับธนาคาร

  12. 2) การออมแบบผูกพัน คือ การออมที่มีระยะเวลายาวนาน ผู้ออมไม่สามารถเรียกเงินออมคืนได้จนกว่าจะครบสัญญา หรือต้องเสียค่าปรับในการยกเลิกสัญญาการออม

  13. การออมแบบผูกพัน แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ รูปแบบที่ 1 การออมภาคบังคับ คือการออมที่เกิดจากการกำหนดของรัฐบาล เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) รูปแบบที่ 2 การออมภาคสมัครใจ คือการออมที่ผู้ออมเลือกทำเพิ่มเติมจากการออมภาคบังคับ เช่นการทุนสำรองเลี้ยงชีพ การประกันชีวิต กองทุนรวมระยะยาว กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

  14. ปัจจัยที่กำหนดการออม 1. การวางแผนการใช้เงินในอนาคต 2. ความมั่นคงของสถาบันการเงิน 3. อัตราดอกเบี้ย 4. ระยะเวลาการฝากเงิน 5. การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยในอนาคต 6. เทคโนโลยี

  15. การลงทุนทางการเงิน คือ การลงทุนเป็นการนำเงินไปซื้อหลักทรัพย์ทางการเงิน เช่น พันธบัตร หุ้นสามัญ หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ ซื้อบ้านและที่ดินเพื่อขายเก็งกำไร โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบเงินปันผลหรือดอกเบี้ย

  16. การลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ คือ การใช้จ่ายเพื่อทำให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. งานก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น สำนักงาน โรงงานผลิต โรงแรม ร้านค้าปลีก บ้านที่อยู่อาศัย 2. เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นใหม่ 3. สินค้าคงคลัง มี 2 ความหมายคือ วัตถุดิบที่ยังไม่ได้นำมาใช้ในการผลิตและสินค้าที่ผลิตแล้วแต่ยังไม่ได้นำออกมาจำหน่าย

  17. ความสำคัญของการลงทุนต่อการพัฒนาประเทศความสำคัญของการลงทุนต่อการพัฒนาประเทศ 1. ทำให้เกิดสินค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น 2. ทำให้เกิดการจ้างงาน 3. ทำให้ครัวเรือนมีรายได้นำมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น 4. เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น

  18. ประเภทของการลงทุนในประเทศไทย มี 2 ประเภท 1. การลงทุนทางตรง คือ การลงทุนที่ผู้ลงทุนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการบริหารจัดการธุรกิจนั้นๆ เช่น การซื้อวัตถุดิบ การซื้อเครื่องจักร ก่อสร้างโรงงาน

  19. 2. การลงทุนทางอ้อม คือ การลงทุนทางการเงินผ่านตลาดการเงินประเภทต่างๆ เช่น ตลาดหลักทรัพย์ ตลาดอนุพันธ์ ตลาดตราสารหนี้ มี 3 รูปแบบดังนี้ รูปแบบที่ 1การฝากธนาคาร รูปแบบที่ 2การลงทุนตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ รูปแบบที่ 3การลงทุนตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant)

  20. ปัจจัยที่กำหนดการลงทุนปัจจัยที่กำหนดการลงทุน 1. การเปลี่ยนแปลงของรายได้ 2. อัตราดอกเบี้ย 3. เทคโนโลยี 4. นโยบายของรัฐและเสถียรภาพทางการเมือง 5. ปัจจัยอื่นๆ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม

  21. ปัญหาของการออมและการลงทุนในสังคมไทยปัญหาของการออมและการลงทุนในสังคมไทย ปัญหาของการออม 1. รายได้ต่ำ 2. ผลตอบแทนต่ำ 3. ความไม่รู้ 4. เป้าหมายของการออม

  22. สภาวการณ์การออมภาคครัวเรือนสภาวการณ์การออมภาคครัวเรือน ข้อมูลจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง www.fpo.go.th

  23. ปัญหาของการลงทุน 1. ต้นทุนการผลิตสูง การขาดประสิทธิภาพในการผลิต 2. การพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ 3. ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ 4. การให้สิทธิพิเศษทางการค้า

  24. วิธีการบริหารจัดการเงินออม 6 ขั้นตอน 1. การประเมินสถานการณ์ของตนเอง 2. การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน 3. การจัดทำแผนการเงิน 4. การปฏิบัติตามแผน 5. การติดตามวัดผล 6. การปรับแผน

  25. วิธีการบริหารจัดการลงทุนวิธีการบริหารจัดการลงทุน 1. การรวบรวมข้อมูลทางการเงิน 2. การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ 3. การวางแผนปฏิบัติการ 4. การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 5. การติดตามและทบทวนการลงทุน

  26. บทสรุป - การออมเป็นการเก็บสะสมเงินรายได้ที่เหลือจาก การใช้จ่ายไว้ใช้บริโภคในอนาคต - เงินออมถูกนำไปใช้เป็นแหล่งที่มาของเงินลงทุน - ถ้าการลงทุนในประเทศพึ่งพาเงินออมในประเทศ ไม่ต้องพึ่งพาเงินจากต่างประเทศ จะทำให้ระบบ เศรษฐกิจมีการพัฒนาไปอย่างมีเสถียรภาพ

  27. บทสรุป (ต่อ) - การลงทุนเป็นการนำเงินออมไปหาผลตอบแทนทั้งใน ระยะสั้นและระยะยาว - การลงทุนก่อให้เกิดรายได้และการจ้างงาน ทำให้เกิดการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ - หากต้องการเก็บออมหรือนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน ตามที่คาดหวังควรศึกษาวิธีการบริหารจัดการเพื่อให้ได้ ผลตอบแทนตามที่ต้องการ

  28. ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง http://www.fpo.go.th ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน http://www.tsi-thailand.org free powerpoint template http://www.free-power-point-templates.com free picture http://www.absolutvision.com http://www.freedigitalphotos.net ผู้จัดทำ นายธนิตย์ พลายมาศ e-mail : thanitpr@hotmail.com

More Related