300 likes | 457 Views
Design A Performance Task for the Classroom การออกแบบภาระงานในชั้นเรียน. มองหาแนวคิดสำคัญๆจากมาตรฐานการเรียนรู้. แนวคิดสำคัญๆจะเป็น ความคิดรวบยอดที่เป็นหัวใจจริงๆ ซึ่งสามารถมองหาได้จาก คำนามที่สำคัญ ในข้อความของมาตรฐานการเรียนรู้นั้นๆ.
E N D
Design A PerformanceTask for the Classroom การออกแบบภาระงานในชั้นเรียน
มองหาแนวคิดสำคัญๆจากมาตรฐานการเรียนรู้ • แนวคิดสำคัญๆจะเป็นความคิดรวบยอดที่เป็นหัวใจจริงๆ ซึ่งสามารถมองหาได้จากคำนามที่สำคัญในข้อความของมาตรฐานการเรียนรู้นั้นๆ มาตรฐาน ท ๔.๒: สามารถใช้ภาษาแสวงหาความรู้ เสริมสร้างลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาชีพ สังคม และชีวิตประจำวันมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ท ๔.๒.๑(ช่วงชั้นที่ 4): สามารถใช้ทักษะทางภาษาในการพัฒนาการเรียน การทำงาน และการประกอบอาชีพ และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาความรู้ อาชีพ และการดำเนินชีวิต
ชุดคำถามที่สำคัญมีลักษณะอย่างไร • ควรเป็นคำถามที่กว้างๆ คำถามปลายเปิด และสัมพันธ์กับหัวข้อ • ใช้คำถามว่า “ อย่างไร” และ “ทำไม” • ให้คำนึงถึงระดับที่หลากหลายในระบบพัฒนาการของ Bloom • ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับนักเรียน • มีลำดับขั้นตอน เพื่อที่จะให้นำสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งอย่างเป็นธรรมชาติ • สามารถใช้ได้กับครูผู้สอน เพื่อสร้างคำตอบทางด้านเนื้อหาจากคำถามในหน่วยการเรียนรู้นี้ • สามารถแลกเปลี่ยนกับครูผู้สอนคนอื่นๆ
จากความเข้าใจสู่ชุดคำถามจากความเข้าใจสู่ชุดคำถาม • มาตรฐาน:นักเรียนรู้ว่าคุณลักษณะต่างๆทางชีววิทยาถูกถ่ายทอดทางบรรพบุรุษอย่างต่อเนื่อง • เข้าใจว่า ยีน(gens)เป็นหน่วย พื้นฐานทางพันธุกรรม มีกระบวนการสืบทอดคุณลักษณะต่างๆหรือลักษณะของพ่อแม่สู่บุตรของตนทางยีน • ลักษณะเฉพาะต่างๆของสิ่งมีชีวิตสืบทอดส่งต่อ แต่ละรุ่นได้อย่างไร ?
ภาระงาน/ชิ้นงานและการประเมินผลภาระงาน/ชิ้นงานและการประเมินผล • เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดเวลา • ผลที่เกิดขึ้นเป็นตัวเป็นตนจับต้องได้ หรือสามารถสังเกต การกระทำที่แสดงออกมาได้ • สนับสนุนการประเมินตนเองและพิจารณาปรับปรุงแก้ไขใหม่ได้ • ตัดสินตามข้อกำหนด เป็นคะแนน • แสดงออกถึงระดับความชำนาญตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นหลักฐานและได้มีการเผยแพร่เกณฑ์การแสดงความสามารถนี้ไว้ก่อนแล้ว • บางครั้งก็ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันของนักเรียน
ขั้นตอนการกำหนดภาระงานขั้นตอนการกำหนดภาระงาน • กำหนดเป้าหมาย • สร้างสถานการณ์ • เขียนคำชี้แจง • ตัดสินใจเลือกผู้ติ /ชมหรือผู้ประเมิน • กำหนดแนวทางการให้คะแนน • ทบทวนและปรับปรุงภาระงาน
1. การกำหนดเป้าหมาย 1.ความคาดหวังตามมาตรฐานการเรียนรู้ • นักเรียนควรเรียนรู้อะไรและปฏิบัติอะไรไร • ควรเริ่มจากความคาดหวังจากมาตรฐานเพียง 1 มาตรฐานก่อน • ได้ร่างภาระงานแล้ว ทบทวน เพิ่มความคาดหวัง มาตรฐาน • เรียงลำดับความคาดหวังและมาตรฐาน ควรใช้ 3 – 6 มาตรฐาน
1.การกำหนดเป้าหมาย(ต่อ)1.การกำหนดเป้าหมาย(ต่อ) 2. กำหนดหลักฐาน/ร่องรอยของการเรียนรู้ - หลักฐาน/ร่องรอยเป็นบรรทัดฐานเพื่อประเมินผลสำเร็จของนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ - หลักฐาน/ร่องรอยเป็นฐานของการประเมินผลซึ่งจะได้มีการพัฒนาในโอกาสต่อไป - หลักฐาน/ร่องรอยก่อให้เกิดทิศทางการปรับปรุงพัฒนาภาระงาน
2.การสร้างสถานการณ์เงื่อนไขเกี่ยวกับภาระงาน2.การสร้างสถานการณ์เงื่อนไขเกี่ยวกับภาระงาน สถานการณ์ในภาระงานมีอยู่ 3 ส่วน- บริบทของสถานการณ์เงื่อนไข(ทำไมต้องทำ) - คำแนะนำชี้แนวทางให้กับนักเรียน(ทำอย่างไร) - ผู้ติ/ชมหรือผู้ประเมิน(ใครประเมิน)
3.เขียนคำชี้แจง คำชี้แจงต้อง - เขียนด้วยถ้อยคำที่ง่าย ชัดเจน ว่าต้องการให้นักเรียนทำอะไร - ผลผลิตสุดท้าย(product)/ผลการปฏิบัติงาน(performance)ที่ต้องการต้องมีลักษณะเป็นอย่างไร
4.ตัดสินใจเลือกผู้ ติ/ชม(ประเมิน) ผู้ประเมินที่ดีที่สุด คือ ผุ้ที่มีความสนใจอย่างแท้จริงในผลงาน/ผลการปฏิบัติงานของนักเรียน นักเรียนในห้องเรียน ครูผู้สอน ผู้ประเมินภายนอก
5.กำหนดแนวทางการให้คะแนน5.กำหนดแนวทางการให้คะแนน 1.แนวทางการให้คะแนนควรควรอยู่บนหลักฐานการเรียนรู้ 2.จุดเริ่มต้นของการสร้างแนวทางการให้คะแนนจากรายละเอียดคุณภาพผลงานของนักเรียน 3.รายละเอียดของคุณภาพการปฏิบัติ/ผลงานควรจำเพาะเจาะจงในภาระงานนั้นๆ 4.ควรมีตัวอย่างผลงานที่มีคุณภาพหลากหลายให้นักเรียนดูเป็นตัวอย่าง 5.ตัดสินใจว่าจะให้ระดับคุณภาพกี่ระดับ
6.การปรับปรุงภาระงาน 1.การออกแบบภาระงานเป็นกระบวนการย้อนกลับ ซึ่งต้องการการทบทวน ปรับปรุง แก้ไขได้ใหม่อีก 2.ถ้ามีการเพิ่มเติมความคาดหวัง/มาตรฐานการเรียนรู้ ต้องมีการปรับหลักฐานการเรียนรู้ สถานการณ์เงื่อนไข คำชี้แนะ แนวทางการให้คะแนนขึ้นใหม่ตามมาด้วย 3.ในแต่ละความคาดหวังและมาตรฐานการเรียนรู้ซึ่งเป็นเป้าหมายที่กำหนดขึ้นนั้นต้องพิจารณาแนวทางการให้คะแนนประกอบด้วย
GRASPSจำและจับไว้ให้แน่นๆGRASPSจำและจับไว้ให้แน่นๆ • G: Real –world Goal(เป้าหมาย) • R: Real – world Role(หน้าที่/บทบาท) • A: Real – world Audience (ผู้ดู,ผู้ฟัง) • S: Real – world Situation(สถานการณ์/เงื่อนไข) • P: Real – world Products or Performances • S: Standards
โครงงานรวบยอด/ภาระงานที่จะประเมินความสามารถประกอบด้วยโครงงานรวบยอด/ภาระงานที่จะประเมินความสามารถประกอบด้วย 1. มีคำแนะนำชี้แนะสำหรับนักเรียน 2. มีมิติ(ด้านต่างๆ)ของภาระงาน/โครงงาน/ชิ้นงาน (องค์ความรู้, ความเข้าใจ) 3. ทักษะต่างๆ(ที่จะถูกประเมินผล) 4. มีระบบการให้คะแนน (scoring systems) • Rubric –ใช้สำหรับตัดสินระดับความสามารถ • Checklist –ใช้สำหรับตัดสินการมีหรือไม่มีทักษะ,หรือ พฤติกรรมที่ต้องการเห็นหรือพิสูจน์
ตัวอย่าง GRASPS โครงงานรวบยอด • เธอเป็นสมาชิกคนหนึ่งของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ลงไปสืบสวนการที่ป่าไม้บางส่วนหดหายไปจากป่าฝนในอเมซอน(AMAZON) เธอมีหน้าที่รับผิดชอบในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์(ซึ่งรวมถึงร่องรอยหลักฐานที่เป็นภาพ เช่นภาพถ่ายต่างๆ) และผลงานที่เป็นรายงานทางวิทยาศาสตร์ซึ่งต้องเป็นการสรุปเงื่อนไขในปัจจุบัน,แนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคต ผลงานนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับอเมซอนในตัวมันเองแล้ว มันยังมีอิทธิพลขยายในวงกว้างไปยังพื้นโลกของเราอีกด้วย รายงานของเธอจะถูกนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสหประชาชาติ รายงานของเธอควรให้รายละเอียดและข้อมูลสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยมีข้อแนะนำสนับสนุนแผนปฏิบัติการที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์ครบถ้วน
ตัวอย่าง GRASPS • G:the goal(ภายในสถานการณ์) คือ ความเข้าใจในเงื่อนไขการสูญเสียป่าไม้ในปัจจุบันและแนวโน้มความเป็นไปได้ในอนาคต • R:Role : นักเรียนเป็นสมาชิกคนหนึ่งในทีมสืบสวนทางวิทยาศาสตร์ • A: Audience : กลุ่มเป้าหมายของผู้ฟังหรือผู้ดูคืออนุกรรมการสหประชาชาติ • S:Situation:ภาพเหตุการณ์ การแจ้งให้คณะอนุกรรมการสหประชาชาติทราบเกี่ยวกับผลของการสูญเสียป่าไม้ในเขตป่าฝน อเมซอนและทำให้คณะอนุกรรมการมั่นใจปฏิบัติตามคำแนะนำในแผนปฏิบัติการ • P: Product:ผลงานต้องชัดเจนและแผนปฏิบัติการต้องสมบูรณ์ • S:Standards: มาตรฐานซึ่งโดยมีโครงงานจะถูกตัดสินจากรายละเอียดต่างๆและคำแนะนำชี้แนะภายใต้การมีข้อมูลหลักฐานอย่างเต็มที่ในแผนปฏิบัติการที่ต้องชัดเจน(clear) และมีความสมบูรณ์ครบถ้วน(complete)
General Categories of Instructional Strategiesประเภทของยุทธวิธีการสอน 1. การสอนแบบตรง (Direct Instruction): วิธีการสอนที่ครูมีบทบาทสำคัญ - เปรียบเทียบและเทียบความแตกต่าง (Compare & Contrast) -การบอกบท การตั้งคำถามและจัดระบบล่วงหน้า (Cues, Questions, Advance Organizer) -ให้แสดง,สาธิต ( Demonstrations ) - คำถามเกี่ยวกับการสอน (Didactic Question) - ฝึกฝน (Drill , Practice) - สอนที่ชัดเจน (ExplicitTeaching) - จัดระบบที่ชัดเจน (Graphic Organizers)
1. การสอนแบบตรง (Direct Instruction) (ต่อ) - แนะนำให้อ่าน,ฟัง,ทัศนะ (Guides for Reading, Listening, viewing) - จำแนกความเหมือนและความต่าง (Identifying similarities and Differences) - เขียนบรรยายอย่างรอบรู้ (Mastery Lecture) - การสนับสนุนความพยายามและให้จำได้ (Reinforcingeffort & Providing Recognition) - กำหนดเป้าหมายและให้ผลย้อนกลับ (Setting Objective & Providing Feedback) - สรุปและบันทึกสิ่งที่สนใจ (Summarizing & Note Taking) - ทัศนะที่ครูกำหนดไว้แล้ว (Structured Overview)
2. การเรียนรู้จาก การทดลอง(Experiential Learning): วิธีการสอนที่ผู้เรียนได้ทำหรือมีประสบการณ์ตามจริง หรือจากสถานการณ์จำลอง • จัดการทดลอง (Conduction Experiments) • สังเกตการภาคสนาม (Field Observation) • การเรียนนอกสถานที่ (Field Trips) • การสร้างแบบจำลอง (Model Building) • เล่นตามกฎ/บทบาทสมมติ (Role Playing)
2. การเรียนรู้จากการทดลอง (ต่อ): - หุ่นจำลอง,ตัวอย่าง (Modeling) - สถานการณ์จำลอง (Simulations) - การสำรวจ (Surveys) - การแสดงออกโดยไม่ใช่ภาษา (Nonlinguistic Representations) - เกม (Games) - Synectics
3. การเรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง (Independent Learning): ผู้เรียนทำงานอย่างอิสระ บางครั้งให้กำหนด เวลาเอง เลือกภาระงานหรือหัวข้อเอง • คำถามที่กำหนดให้ ( Assigned Question) • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) • บทเรียนที่สอดคล้องกัน (CorrespondenceLessons) • เรียงความ (Essays) • การจัดระบบที่ชัดเจน (Graphic Organizers) • - การบ้านและแบบฝึกหัด (Homeworks and practice)
3. การเรียนรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง (Independent Learning)(ต่อ): • -ศูนย์การเรียน (Learning Centers) • - รายงาน (Report) • - โครงการวิจัย (Research Project) • - สรุปและบันทึกสิ่งที่สนใจ (Summarizing and Note Taking) • ชุดกิจกรรมการเรียน (Learning Activity Package)
4. การเรียนรู้ทางอ้อม:ยุทธวิธีการสอนที่ผู้สอนจัดสถานการณ์การเรียนและชิ้นงาน แต่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกทิศทางหรือทางออกเอง • กรณีศึกษา (Case studies) • การบรรลุความคิดรวบยอด (Concept Attainment) • การสร้างความคิดรวบยอด (Concept Formation) • แผนผังความคิดรวบยอด(Concept Mapping) • การขยายและการทดสอบสมมุติฐาน (Generating & Testing Hypotheses)
4. การเรียนรู้ทางอ้อม: (ต่อ) • - การจัดระบบที่ชัดเจน (Graphic Organizers) • - การแก้ปัญหา (Problem Solving) • - การอ่านเพื่อหาความหมาย (Reading for Meaning) • - การสอนแบบแลกเปลี่ยนกัน (Reciprocal Teaching) • - การอภิปรายที่สะท้อนความคิดเห็น (Reflective Discussion) • วิธีการของ Cloze(Cloze Procedures)
5. การสอนแบบปฏิสัมพันธ์ :การสอนเกี่ยวข้องกับการทำงานระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และ/หรือผู้สอน เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการเรียนรู้ • การระดมสมอง (Brainstorming) • วัฏจักรความรู้ (Circle of Knowledge) • การเรียนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning) • การโต้วาที/ถกเถียง (Debates) • การสัมภาษณ์ (Interviewing) • กลุ่มปฏิบัติการ (Laboratory Groups)
5. การสอนแบบปฏิสัมพันธ์: (ต่อ) • การอภิปรายกลุ่ม (Panels) • การปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน (Peer Practice) • การแก้ปัญหา (Problem Solving) • บทบาทสมมุติ (Role Playing) • การสัมมนาแบบโสกราติค (Socratic Seminars) • กลุ่มสอนพิเศษแบบตัวต่อตัว (Tutorial Groups)
ติดต่อพวกเราได้ที่ E-Mail Address:Obec_assessment@hotmail.com http://academic.obec.go.th/assessment2549/index.htm อ.ไตรรงค์ เจนการ:pootrairong@yahoo.com(02-2885771)