200 likes | 667 Views
บทที่ 6 ดิ นแดน (Territory). กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประเภทของดินแดน. Res Nullius หรือ Terra Nullius ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ และรัฐสามารถเข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้ Res Communis หรือ Common Property
E N D
บทที่ 6ดินแดน(Territory) กอบกุล รายะนาคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประเภทของดินแดน • Res NulliusหรือTerra Nullius ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีเจ้าของ และรัฐสามารถเข้าครอบครองเป็นเจ้าของได้ • Res Communisหรือ Common Property ดินแดนหรือพื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม รัฐไม่อาจเข้าถือครองและอ้างความเป็นเจ้าของได้ • Common Heritage of Mankind มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ มีกลไกระหว่างประเทศควบคุมการแสวงประโยชน์
Western Sahara Caseค.ศ. 1975 ประเด็นที่ขอความเห็นจาก ICJ • ดินแดน Western Sahara เป็น terra nulliusใช่หรือไม่ ณ เวลาที่ตกเป็นอาณานิคมของสเปน เมื่อ ค.ศ. 1884 • อะไรคือความสัมพันธ์ตามกฎหมาย (legal ties) ระหว่างดินแดนนี้กับอาณาจักรโมร็อกโกและ มอริเตเนีย
ความเห็นของศาลWestern Sahara Case (1) Western Sahara ไม่ใช่ terra nulliusณ เวลาที่ ตกเป็นอาณานิคมของสเปน เพราะเป็นดินแดนที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่ มีหัวหน้าเผ่า และมีการจัดองค์กรทางการเมืองและทางสังคมในระดับหนึ่ง (2) แม้ชนบางเผ่าจะมีความภักดีต่อสุลต่านแห่งโมร็อกโกเป็นการส่วนตัว แต่ก็ไม่มีการใช้อำนาจมากถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าโมร็อกโก หรือมอริเตเนียมีอำนาจอธิปไตยเหนือ Western Sahara
Res Communis • พื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่มีรัฐใดเข้าถือครองหรืออ้างสิทธิได้ • ทุกรัฐมีสิทธิแสวงประโยชน์จากพื้นที่นี้ได้เท่าเทียมกัน • ประเทศที่มีความสามารถมากกว่าจะได้เปรียบ • ตัวอย่างเช่น ทะเลหลวง อวกาศชั้นนอก (outer space)
มรดกร่วมกันของมนุษยชาติCommon Heritage of Mankind • พื้นที่ซึ่งเป็นสมบัติส่วนรวม ไม่มีรัฐใดเข้าถือครอบครองหรืออ้างสิทธิเป็นเจ้าของได้ • ต้องมีกลไกระหว่างประเทศควบคุมการแสวงประโยชน์ • ทรัพยากรหรือผลประโยชน์ที่ได้ต้องเอามาแบ่งให้รัฐอื่นๆอย่างยุติธรรม
มรดกร่วมกันของมนุษยชาติ (2) • เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในกฎหมายทะเลก่อน เพื่อคุ้มครองให้ทรัพยากรในพื้นทะเลลึกและพื้นสมุทรเป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติ • ดวงจันทร์ และวัตถุบนท้องฟ้า เป็นมรดกร่วมกันของมนุษยชาติตาม TheMoon Treaty ค.ศ. 1979 • บริเวณแอนตาร์กติกากำลังพัฒนาไปสู่การเป็นcommon heritage of mankind
การได้ดินแดน • เกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ เช่น ที่งอกตามธรรมชาติ (accretion) เช่น แม่น้ำเปลียนเส้นทางไหล เกาะเกิดขึ้นตรงปากแม่น้ำ • การยกดินแดนให้แก่รัฐอื่น (Cession) • การทำความตกลงระหว่างรัฐเพื่อยกดินแดนให้ เช่น สนธิสัญญาสันติภาพหลังสงคราม • ค.ศ. 1866 ออสเตรียยก Venice ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยกต่อให้อิตาลี • ค.ศ. 1867 U.S. ซื้อ Alaska จากรัสเซีย • ค.ศ. 1916 เดนมาร์กขายหมู่เกาะ West Indies ให้แก่ U.S.
การได้ดินแดน 3. การครอบครองดินแดนที่เป็น terra nullius (occupation) • เป็นการครอบครองโดยรัฐหรือเอกชนที่กระทำในนามของรัฐ • ครอบครองโดยมีเจตนาอ้างอำนาจอธิปไตย • ต้องเป็น terra nullius(ไม่ใช่ดินแดนที่มีชนเผ่าอาศัยอยู่) • การค้นพบดินแดน (discovery) เป็นเพียงการอ้างสิทธิเบื้องต้น ซึ่งจะสมบูรณ์ได้ ก็แต่เมื่อมีการครอบครองและใช้อำนาจรัฐอย่างแท้จริง (Island of Palmas case)
การได้ดินแดน 4. การได้ดินแดนโดยครอบครองดินแดนที่รัฐอื่นเป็นเจ้าของ หรืออ้างสิทธิอยู่ (prescription) • การครอบครองในตอนแรกอาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่อาจอ้างเหตุผลโดยชอบ • แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป และมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ เช่น การไม่คัดค้าน การเห็นตาม (acquiescence) และการรับรองโดยรัฐอื่น ก็อาจทำให้เป็นการครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย และรัฐได้สิทธิสมบูรณ์ในที่สุด
การได้ดินแดน 5. การได้ดินแดนโดยใช้กำลัง (conquest or use of force) • ใช้กันในอดีตก่อนต้นศตวรรษที่ 20 • ในปัจจุบันถือว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย • Kellog-Briand Pact ค.ศ. 1928 ห้ามใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายของรัฐ • UN Charter, Art. 2 (4) ห้ามรัฐสมาชิกคุกคามหรือใช้กำลังต่อบูรณาภาพแห่งอาณาเขตและเอกราชทางการเมืองของรัฐอื่น เว้นแต่เป็นการป้องกันตนเอง • อาจกลายเป็นชอบด้วยกฎหมายเมื่อเวลาผ่านพ้นไปและรัฐอื่นรับรอง
องค์ประกอบอื่นๆของการได้ดินแดนองค์ประกอบอื่นๆของการได้ดินแดน • กิจกรรมและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิผลของรัฐเหนือดินแดน (exercise of effective authority) • การรับรอง (recognition) การเห็นตามหรือไม่คัดค้าน (acquiescence) • หลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
กิจกรรม การใช้อำนาจและการบริหารของรัฐเหนือดินแดน • เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่สุด • การใช้อำนาจรัฐต้องมีมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละกรณี • การแสดงออกมีหลายรูปแบบ • ในพื้นที่ซึ่งไม่มีคนอยู่อาศัยหรืออยู่อาศัยน้อย การใช้อำนาจรัฐอาจมีน้อยกว่าในกรณีอื่นๆ
Island of Palmas Case (1928)(U.S. v. Netherlands) • สหรัฐอ้างสนธิสัญญา ค.ศ. 1898 ยกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ให้ U.S. • อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้เกาะ Palmas เป็นของเนเธอร์แลนด์ เนื่องจาก “มีการใช้อำนาจรัฐและแสดงออกอย่างแท้จริงถึงกิจกรรมของรัฐอย่างต่อเนื่องและโดยสันติ” • การค้นพบ (Discovery) ก่อให้เกิดสิทธิเบื้องต้น ซึ่งจะนำไปสู่สิทธิโดยสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีการครอบครองอย่างแท้จริง
คดี Clipperton Island ค.ศ. 1931(France v. Mexico) • นายทหารเรือฝรั่งเศสค้นพบเกาะนี้เมื่อ 17 พ.ย. ค.ศ. 1858 และประกาศอำนาจอธิปไตยในนามของฝรั่งเศส ต่อมาไปประกาศในวารสารที่ Honolulu ในวันที่ 8 ธ.ค. ปีเดียวกัน • มิได้ดำเนินการอื่นใดจนถึง ค.ศ. 1897 เมื่อเกิดข้อพิพาทกับเม็กซิโก ซึ่งอ้างว่าสเปนค้นพบเกาะนี้ก่อน • อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยให้เกาะเป็นของฝรั่งเศส เพราะคำกล่าวอ้างไม่มีน้ำหนัก และเกาะนี้เป็น terra nullius ณ เวลาที่ฝรั่งเศสค้นพบ การใช้หรือการแสดงออกถึงอำนาจรัฐอาจไม่จำเป็นหากเป็นดินแดนที่ไม่มีคนอยู่อาศัย การที่ฝรั่งเศสไม่ใช้อำนาจเหนือเกาะไม่ทำให้สิทธิของฝรั่งเศสสิ้นไป
คดี Legal Status of Eastern Greenland ค.ศ. 1933(Denmark v. Norway) • ข้อพิพาทระหว่างเดนมาร์กและนอร์เวย์เกี่ยวกับสิทธิเหนือฝั่งตะวันออกของเกาะกรีนแลนด์ • สนธิสัญญาที่เดนมาร์กทำกับรัฐอื่นๆในช่วง ค.ศ. 1814 – 1915 อ้างถึงเกาะกรีนแลนด์ทั้งเกาะ เดนมาร์กให้สัมปทานแก่เอกชนในการค้าขาย ทำเหมืองแร่ ติดตั้งระบบโทรเลข ใช้อำนาจบริหารและออกกฎหมาย ประกาศทะเลอาณาเขต และเขตประมงของเกาะ • นอร์เวย์ส่งทีมสำรวจไปที่เกาะเป็นครั้งคราว ก่อสร้างสถานีวิทยุและอาคาร ในขณะที่เดนมาร์กประท้วงการสร้างสถานีวิทยุ • PCIJ วินิจฉัยให้เกาะเป็นของเดนมาร์ก
Sovereignty over Pulau Ligitan and Pulau Sipadan ค.ศ. 2002(Malaysia v. Indonesia) • พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเหนือเกาะเล็กสองเกาะนอกฝั่งเกาะบอร์เนียว ซึ่งไม่มีคนอาศัย • อังกฤษซึ่งปกครองมาเลเซียใช้อำนาจเหนือเกาะทั้งสอง เช่น กำหนดเขตห้ามล่านก เก็บภาษีไข่เต่า และสร้างประภาคารบนเกาะ • เนเธอร์แลนด์อ้างแผนที่ที่เนเธอร์แลนด์ซึ่งเคยปกครองอินโดนีเซียทำขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1891ซึ่งแสดงว่าสองเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะ East Indies (อินโดนีเซียปัจจุบัน) • เนเธอร์แลนด์และอินโดนีเซียไม่เคยประท้วง • ICJ วินิจฉัยให้เกาะเป็นของมาเลเซีย
2. การรับรอง การไม่คัดค้าน และการเห็นตาม • เป็นการแสดงออกถึงการยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐ • การรับรอง คือ การยอมรับ • การไม่คัดค้าน หรือเห็นตาม หมายถึง รัฐนิ่งเฉยไม่คัดค้านในสถานการณ์ที่ตนเองน่าจะได้กระทำเช่นนั้น จะกลายเป็นหลักฐานสนับสนุนการอ้างสิทธิของรัฐเหนือดินแดน • มีความสำคัญมากเมื่อรัฐสองรัฐ หรือมากกว่าอ้างสิทธิเหนือพื้นที่เดียวกัน
3. หลักกฎหมายปิดปาก (estoppel) • ห้ามมิให้รัฐที่มีถ้อยแถลงหรือมีพฤติกรรมยอมรับสิทธิของอีกรัฐหนึ่งเปลี่ยนแปลงจุดยืนของตนเองในภายหลัง และปฏิเสธสิทธิของรัฐอื่นที่ตนเองเคยยอมรับ • คดี Temple of Preah Vihearค.ศ. 1962 • ICJ ตัดสินโดยโดยอาศัยข้อเท็จจริงและหลักฐานว่าไทยยอมรับแผนที่ และอำนาจอธิปไตยของฝรั่งเศส • การอ้าง estoppel ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น การแสดงออกของรัฐมีความชัดเจนเพียงใด ระยะเวลาที่นิ่งเฉยไม่คัดค้าน การไม่คัดค้านชอบด้วยเหตุผลหรือไม่
ความสำคัญของการคัดค้านความสำคัญของการคัดค้าน • การครอบครองและใช้อำนาจรัฐอย่างต่อเนื่องต้องเป็นไปโดยสงบ ปราศจากการรบกวน • Chamizal Arbitrationค.ศ. 1911 (U.S. v. Mexico) • คณะกรรมาธิการพรมแดนระหว่างประเทศไม่เห็นด้วยกับการอ้างสิทธิของ U.S. เนื่องจากเม็กซิโกได้ประท้วงมาโดยตลอด รวมทั้งมีสนธิสัญญาซึ่งระบุชัดเจนว่ามีปัญหาเส้นเขตแดนที่รอการแก้ไข