430 likes | 639 Views
เกณฑ์การคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย. โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายอุตสาหกรรม. สิ่งที่ต้องทราบเมื่อจะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย. รู้เขา (แหล่งทุนและผู้วิจัยอื่น) ..... รู้เรา (ลักษณะงานและทีมงาน).
E N D
เกณฑ์การคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัยเกณฑ์การคัดเลือกข้อเสนอโครงการวิจัย โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายอุตสาหกรรม
สิ่งที่ต้องทราบเมื่อจะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยสิ่งที่ต้องทราบเมื่อจะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย รู้เขา (แหล่งทุนและผู้วิจัยอื่น) ..... รู้เรา (ลักษณะงานและทีมงาน) • แหล่งทุนวิจัยและภารกิจของแหล่งทุน • ความแตกต่างของการวิจัยและพัฒนา เพราะมีผลกระทบต่อการทบทวนทฤษฎีและวรรณกรรม และลีลาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย • ความแตกต่างของโครงการแบบ Demand pull/ Supply push/บูรณาการ และความแตกต่างของผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ เพราะมีผลกระทบต่อการเลือกแหล่งทุน และลีลาการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย • หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย
ตัวอย่างปัจจัยที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัยตัวอย่างปัจจัยที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย - พันธกิจของแหล่งทุนและประเภทของทุนวิจัย - ประเภท เช่น • งานที่สอดคล้องและสนองนโยบายรัฐ • งานวิจัยพื้นฐาน และงานแบบ Supply push • งานวิจัยประยุกต์ การพัฒนาเชิงทดลอง และงานแบบ Demand pull ชุดโครงการหรืองานแบบบูรณาการ • งาน Area based • สิ่งประดิษฐ์ • งานแบบวิศวกรรมย้อนรอย • การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างปัจจัยที่เป็นเกณฑ์ในการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัย (ต่อ) - ความชัดเจนของความสำคัญและที่มาของโครงการ - ความชัดเจนของการตรวจสอบทฤษฎี ผลงานวิจัย และสิทธิบัตร - ประโยชน์:ผลได้หรือผลรับ (Outputs) / ผลลัพธ์หรือผลบังเกิด (Outcomes) / ผลกระทบ (Impact) / การเปลี่ยนแปลง (Change) - ความรู้พื้นฐาน - องค์ความรู้ใหม่ - องค์ความรู้เก่าที่ต้องการยืนยัน - การพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาสังคม ฯลฯ - วิธีการดำเนินการวิจัย เช่น วิธีการรวบรวมข้อมูล ฯลฯ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 กำหนดเป้าประสงค์การพัฒนาที่มุ่งสู่สังคมที่อยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้และภูมิคุ้มกัน และการสร้างสมดุลของการพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกมิติ โดยการเสริมสร้างทุนเพื่อการพัฒนาประเทศทั้ง 3 ด้าน คือ ทุนเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศในระยะยาว
วาระแห่งชาติ (National agenda) 1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2. แก้ไขความยากจน กระจายรายได้ 3. พัฒนาทุนทางสังคม Social capital เช่น OTOP โรงงานชุมชน 4. การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) หมายเหตุ ข้อ 1 และ 2 เป็นตัวนำไปสู่ข้อ 3 และ 4 เทคโนโลยีเพื่อการแข่งขัน เศรษฐกิจชุมชน สังคมเรียนรู้ เศรษฐกิจและสังคม
ยุทธศาสตร์ประเทศ 5 ด้าน 1. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ 2. การเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ 3. การพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับ คุณภาพชีวิต 4. ความมั่นคงของชาติการต่างประเทศ การอำนวยความ ยุติธรรม 5. การบริหารจัดการประเทศ
ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาสังคม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัยทรัพยากรและภูมิปัญญาของประเทศสู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม
แผนกลยุทธ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2547-2556 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ เศรษฐกิจชุมชน และคุณภาพชีวิต ยุทธศาสตร์ที่ 2พัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์ที่ 3พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสถาบัน ยุทธศาสตร์ที่ 4สร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยุทธศาสตร์ที่ 5ปรับระบบบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แผนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีวัสดุแห่งชาติ พ.ศ. 2548-2557 ยุทธศาสตร์ที่ 1 • เทคโนโลยีและวัสดุเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ • เทคโนโลยีและวัสดุเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ • เทคโนโลยีและวัสดุเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและชิ้นส่วน ยุทธศาสตร์ที่ 2เทคโนโลยีวัสดุเพื่อพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ยุทธศาสตร์ที่ 3เทคโนโลยีวัสดุเพื่อพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจแฟชั่น ยุทธศาสตร์ที่ 4เทคโนโลยีวัสดุเพื่อพัฒนาการแพทย์และสาธารณสุข ยุทธศาสตร์ที่ 5เทคโนโลยีวัสดุเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทน
แบ่งตามเกณฑ์จากประโยชน์ของการวิจัยโดยสภาวิจัยแห่งชาติแบ่งตามเกณฑ์จากประโยชน์ของการวิจัยโดยสภาวิจัยแห่งชาติ งานวิจัยพื้นฐาน หรืองานวิจัยบริสุทธิ์ (Basic or Pure research) ได้องค์ความรู้ใหม่ และ/หรือ การขยายความรู้ให้สมบูรณ์ งานวิจัยประยุกต์ (Applied research) ได้การขยายความรู้ให้สมบูรณ์ และ/หรือ การแก้ไขปัญหาด้านประยุกต์
โครงการแบบ Demand pull และ Supply push • แบบ Demand pullมาจากความต้องการหรือความจำเป็น ของผู้ใช้ (User) หรือผู้ให้ทุน (Granting agency) • แบบ Supply pushคือ ผู้นำเสนอสร้างความเชื่อให้ผู้ใช้หรือผู้ให้ทุนคิดว่าเรื่องที่นำเสนอเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจึงจะไม่ทำไม่ได้
3. ความรู้ติดตัว 7. วิจัย 6. โจทย์วิจัย 8. แก้ปัญหา 5. ความรู้ติดตาม โครงการแบบ Demand pull 2. เห็นปัญหา 4. Consult 3. ความรู้ติดตัว 1. ปฏิสัมพันธ์กับ User
5. R&D 4. เห็นโอกาสใช้งาน 1. ความรู้ติดตัว 6. ผลักดันสู่ตลาด 8. ความต้องการใหม่ 3. วิจัย 7. คู่แข่ง 2. ต้องการรู้มากขึ้น โครงการแบบ Supply push
ตัวอย่างงานชุดโครงการงานไม้และเยื่อตัวอย่างงานชุดโครงการงานไม้และเยื่อ ศึกษาชีววิทยาของมอด การป้องกันรักษาเนื้อไม้โดยไม่ใช้สารเคมี เทคโนโลยีการเลื่อยและอบไม้ปาล์มน้ำมัน การแปรรูปไม้ การพัฒนาระบบตัดฟันและขนส่งไม้เศรษฐกิจ ปัจจัยที่มีผลต่อการอบไม้อุตสาหกรรมภายใต้สุญญากาศ โครงการแบบบูรณาการ (ชุดโครงการ)
ประเภทของงานวิจัยที่แบ่งตามสาขาวิชาประเภทของงานวิจัยที่แบ่งตามสาขาวิชา 1. งานวิจัยสายวิทยาศาสตร์ ส่วนมากทำงานวิจัยแบบทดลอง (Experiment) 2. งานวิจัยสายสังคมศาสตร์ ส่วนมากทำงานวิจัยแบบสำรวจ (Survey) มีเทคนิคการวางแผนวิจัย (Research design) แตกต่างกัน ประเภทของงานวิจัยที่แบ่งตามลักษณะข้อมูลที่เก็บได้ 1. งานวิจัยแบบปริมาณ (Quantitative research) เป็นงานที่ใช้ข้อมูลที่วัดได้ด้วยเทคนิคหรือวิธีต่างๆ 2. งานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นงานที่ใช้ข้อมูลที่ได้จากวิธีคิด วิเคราะห์ วิจารณ์เปรียบเทียบจากประสบการณ์และภูมิปัญญาของนักวิจัย รวมทั้งข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการตอบแบบสอบถาม
ตัวอย่างการวิจัยและพัฒนาตัวอย่างการวิจัยและพัฒนา การวิจัยพื้นฐาน (Basic research) 1. การศึกษาการแก้สมการเชิงอนุพันธ์ 2. การศึกษากลไกทางชีวเคมีและชีว-ฟิสิกส์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการต้านทานรังสีของจุลินทรีย์ 3. การศึกษาคุณสมบัติและโครงสร้างของสมุนไพรและพืชพันธุ์ของไทย 4. การศึกษาการแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ความถี่ต่างๆ
ตัวอย่างการวิจัยและพัฒนาตัวอย่างการวิจัยและพัฒนา การวิจัยประยุกต์ (Applied research) 1. การศึกษาการแก้สมการเชิงอนุพันธ์เพื่อใช้อธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น อธิบายความหนาแน่นและความเร็วของการแพร่กระจายของคลื่นวิทยุ 2. การศึกษาเกี่ยวกับผลของกระบวนการที่มีการใช้ความร้อนและการฉายรังสีต่อการอยู่รอดของยีสต์เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาวิธีการถนอมน้ำผลไม้ 3. การวิจัยเกี่ยวกับการนำสมุนไพรและพืชพันธุ์ของไทยมาใช้ในการบำบัดทางสุขภาพ 4. การศึกษาเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายโดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีเซลลูลาร์
ตัวอย่างการวิจัยและพัฒนาตัวอย่างการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาเชิงทดลอง (Experimental development) 1. การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้สมการเชิงอนุพันธ์สำหรับอธิบายการเคลื่อนที่แบบคลื่น 2. การพัฒนากระบวนการถนอมน้ำผลไม้ด้วยรังสีแกมมา 3. การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ช่วยบำบัดความเจ็บป่วยแบบเรื้อรังและทำให้สดชื่นจากสมุนไพรและพืชพันธุ์ของไทย 4. การพัฒนาต้นแบบโทรศัพท์มือถือ
Area-based research (การวิจัยเพื่อพื้นที่ ) • โจทย์ใหญ่ๆ / “ยุทธศาสตร์” ของพื้นที่ • Manufacturing, Services, การเกษตร ทรัพยากร การค้าข้ามแดน ฯลฯ • กลไกจัดการพื้นที่ (จังหวัด/กลุ่มจังหวัด) และภาคี • ความรู้ที่มีอยู่แล้ว/ ภูมิปัญญา (นักวิชาการ ภาคประชาชน)
* ผลงานวิจัย เช่น ความรู้ใหม่ วิธีการหรือเทคนิคใหม่ สิ่งประดิษฐ์ คิดค้น สิ่งประดิษฐ์จากการทำวิศวกรรมย้อนรอย* สิ่งลอกเลียนแบบ (Copy) * สิ่งประดิษฐ์คิดค้น (Invention) * สิ่งประดิษฐ์จากการทำวิศวกรรมย้อนรอย(Reverse engineering) ความแตกต่างระหว่าง.....
แนวทางการกำหนดโจทย์วิจัยรัฐกำหนดแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยดังนี้แนวทางการกำหนดโจทย์วิจัยรัฐกำหนดแนวทางการสนับสนุนงานวิจัยดังนี้ 1. งานที่สอดคล้องและสนองนโยบายรัฐ ร้อยละ 50 2. งานวิจัยพื้นฐาน (Basic research) ร้อยละ 30 3. งานวิจัยประยุกต์ วิจัยพัฒนา ร้อยละ 20
แต่ละส่วนของข้อเสนอโครงการมีความสำคัญแต่ละส่วนของข้อเสนอโครงการมีความสำคัญ • ชื่อโครงการ (Project title) • ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง (Background and Justification) • วัตถุประสงค์ (Objectives) • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (Expected outputs) • ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Literature reviews) • แนวทางและวิธีการดำเนินการ (Research design or Methodology) • ผู้รับผิดชอบ (Working group) • ระยะเวลา (Time) • งบประมาณ (Budget) • เอกสารอ้างอิง (References) • ประวัตินักวิจัย
หลักการและเหตุผลเชื่อมกับปัญหา ความรุนแรงของปัญหา จึงต้องการแก้ปัญหา (โดยการหาปัญญาเพื่อแก้ปัญหา) • วัตถุประสงค์ ต้องเป็นไปเพื่อแก้ปัญหา (ไม่ใช่แค่ได้ปัญญา) ตามที่ระบุในหลักการและเหตุผล • ผลได้ ต้องทำให้วัตถุประสงค์บรรลุผล (ถ้าเป็นการแก้ปัญหา ก็ต้องมีการ Implement ผลวิจัย) • วิธีการ ต้องทำแล้วได้ผลได้ โดยวิธีการที่ “เร็ว” “ถูก” “ดี/แม่น/ยำ เชื่อถือได้” วิธีการจึงอยู่ในกรอบของ Acceptable lower limit (ALL) ของการใช้ทรัพยากร • งบประมาณ ต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในวิธีการ และเป็น ALL ความเชื่อมโยงของหัวข้อในข้อเสนอโครงการ
วิสัยทัศน์ด้าน การวิจัยของประเทศ แผนพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม ความต้องการด้านอุตสาหกรรม พาณิชย์ ศักยภาพของประเทศ ในการวิจัยด้าน S & T ทิศทางการวิจัย ด้านการเมือง ด้านสังคม ผู้เชี่ยวชาญระดมแนวคิดในการกำหนดเทคโนโลยี งานวิจัยต้องมีทิศทาง เพื่อกำหนดแผน กลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
ทางเลือก เช่น ระดับความลึกของงานวิจัย • ระดับที่ 1อธิบายว่าอย่างไรเพื่อหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ตัวอย่าง หาความสัมพันธ์ระหว่างเปอร์เซ็นต์การหักของเมล็ดข้าวกับพันธุ์ข้าวต่างๆ ระหว่างสี • ระดับที่ 2อธิบายว่าทำไมเพื่อเข้าใจเหตุผลของการเกิดความสัมพันธ์นั้น ตัวอย่าง ทำไมเกิดปลายข้าวขณะสี หาคำอธิบายระหว่างความแข็งแรงของข้าวกับแรงที่เกิดระหว่างสี • ระดับที่ 3อธิบายว่าอย่างไรเพื่อหาคำตอบของปัญหาหลัก ตัวอย่าง ปรับปรุงเครื่องสีข้าวอย่างไร ข้าวจึงไม่หักระหว่างสี
ทฤษฎีจับปลา (ปลา=ความรู้) วิจัยขั้นสูง วิจัย 26 ออกแบบ/สร้าง ยั่งยืน พัฒนา 23 ซ่อม อายุ (ปี) 21 19 17 17 14 14 ม. 3 อายุ (ปี) ทฤษฎีจับปลา ระดับการศึกษา ข้อมูลจาก รศ.ดร.วีระเชษฐ์ ขันเงิน
ความจำเป็นของ Format Format คือ การกำหนดระบบข้อมูล ดังนั้นถ้าไม่เขียนตาม Format ข้อมูลจะไม่ครบอย่างที่ผู้ให้ทุนต้องการเห็น ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินข้อเสนอโครงการตามข้อมูลที่กำหนดในแบบประเมิน ซึ่งมาจากรายละเอียดใน Format
ทุกหัวข้อในข้อเสนอโครงการมีหน้าที่เฉพาะ ต้องเอาใจใส่เวลาเขียน และเมื่อเขียนเสร็จ ต้องถามกลับว่า แต่ละหัวข้อที่เขียนไปนั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันแล้วหรือยัง ข้อเสนอโครงการที่หน้าที่ของทุกหัวข้อสอดคล้อง ชัดเจน และถูกต้องหลักวิชาการ จะช่วยให้การตีพิมพ์ผลงานง่ายขึ้น
ประเด็นการตรวจสอบโครงร่างวิจัยเพื่อให้ทุนประเด็นการตรวจสอบโครงร่างวิจัยเพื่อให้ทุน • ความสอดคล้องระหว่างโครงร่างวิจัยที่เสนอกับโครงการหลัก • ความชัดเจนของความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง คำถามวิจัย และความสามารถที่จะทำได้ • ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับวิธีการดำเนินการวิจัย เช่น วิธีการรวบรวมข้อมูล ฯลฯ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล ความสมเหตุสมผล
ประเด็นการตรวจสอบโครงร่างวิจัยเพื่อให้ทุน (ต่อ) • การตรวจสอบทฤษฎี ผลงานวิจัย และสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง • ขั้นตอนการทำงานและระยะเวลา • คุณค่าของผลการวิจัยที่คาดว่าจะได้ • - ความรู้พื้นฐาน • - องค์ความรู้ใหม่ • - องค์ความรู้เก่าที่ต้องการยืนยัน • - การพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ การพัฒนาสังคม ฯลฯ • 7. งบประมาณ
อย่าลืมเกี่ยวกับ Design of Experiment (DOE) ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เอกสารสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ การตรวจค้นข้อมูลสิทธิบัตรในการวิจัย เว็บไซต์ต่างๆ มีสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ประมาณล้านรายการที่ยังสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดและผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายได้ทันทีโดยไม่ละเมิดสิทธิ ข้อควรระวัง ต้องไม่ผลิตหรือจำหน่ายสินค้าที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรในประเทศที่มีการยื่นจดสิทธิบัตรไว้แล้ว !!!
เว็บไซต์ http://gb.espacenet.com ดูชื่อเรื่อง บทคัดย่อ เรื่องเต็ม วิธีการผลิต โดยละเอียดได้ http://ep.espacenet.com ดูชื่อเรื่อง บทคัดย่อ เรื่องเต็ม วิธีการผลิต โดยละเอียดได้ http://www.uspto.gov ดูเรื่องเต็มสิทธิบัตรอเมริกา
เว็บไซต์ (ต่อ) http://www.jpo.go.jp สืบค้นสิทธิบัตรญี่ปุ่น http://ipdl.wipo.int สืบค้นสิทธิบัตรของสำนักงาน World IP www.ipthailand.org และ http://www.ipic.moc.go.th สืบค้นสิทธิบัตรไทย
Patent download softwares IP-discover; www.ipdiscover.comใช้ดาวน์โหลดเอกสารสิทธิบัตรฟรีโดยไม่จำกัดระยะเวลาการใช้งานและปริมาณข้อมูล Patent hunter; www.patenthunter.comใช้ดาวน์โหลดเอกสารสิทธิบัตรอเมริกาได้ฟรี 20 วัน ไม่จำกัดปริมาณข้อมูล Patent browser; www.patentbrowser.com ใช้ดาวน์โหลดเอกสารสิทธิบัตรอเมริกาและยุโรปฟรี 10 เรื่อง PatSee Pro: Trial version; www.imageapps.com/software.htmlใช้ดาวน์โหลดเอกสารสิทธิบัตรอเมริกาฟรี 7 เรื่อง IP : Intellectual Property
Patent mapping การทำ Patent mapping จะทำให้ทราบว่ามีสิ่งใดที่ถูกทำไปแล้ว เพื่อการนำไปต่อยอด Patent mapping software INAS : Patent Information Analysis System www.winslab.com MATHEO patent (Automatic updating and Processing of patent) www.matheo-software.com ชมรมต่อยอดเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย www.toryod.com
ข้อเสนอโครงการควร 1. เป็นงานแบบบูรณาการ 2. สอดคล้องกับนโยบายวิจัยของชาติ ฉบับที่ 6 (2545-2549) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 วาระแห่งชาติ ยุทธศาสตร์ของประเทศ ฯลฯ 3. ต่อยอดได้ นำไปใช้ได้จริง และประเมินค่าได้ 4. มีพลวัต สอดคล้องกับความเป็นจริง 5. สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มมูลค่าทาง เศรษฐกิจ หรือสังคม 6. เป็นงานวิจัยที่สร้างนักวิจัยและเครือข่ายวิจัย 7. มีส่วนร่วมจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐ-เอกชน-ชุมชน
พบว่า ข้อเสนอโครงการที่ไม่ผ่าน 1. ไม่สอดคล้องกับนโยบายวิจัยของแหล่งทุน 2. เป็นงานทำซ้ำซ้อน มีผู้ทำแล้ว ดังนั้นควร Review งานให้ชัดเจน 3. ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เช่น ขอทุนซ้ำซ้อน ส่งเอกสารไม่ครบ สมบูรณ์ เขียนงบประมาณไม่ชัดเจน 4. ไม่มี User(s) ที่ชัดเจน สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 1. ข้อเสนอโครงการต้องไม่ทิ้งคำถามไว้ในใจผู้อ่าน (ผู้ประเมินโครงการ) 2. ไม่ใช้คำว่า มาก มากมาย น้อยมาก สูงขึ้น ควรใช้จำนวนตัวเลขร้อยละ หรือประมาณการเป็นตัวเลข จะทำให้น่าเชื่อถือกว่า
การลงทุนด้านการวิจัยและจำนวนนักวิจัยของประเทศต่าง ๆ (ข้อมูลจาก IMD World Competitiveness Yearbook, 2006)
จำนวนสิทธิบัตร และอันดับความเข้มแข็งของประเทศ (ข้อมูลจาก IMD World Competitiveness Yearbook, 2006)
จำนวนผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในปี 2546 (ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)
ผู้จัดการชุดโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ว & ท รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ สำนักงานโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ตึกภาควิชาวิศวกรรมเคมี ชั้น 6 ห้อง ChE 605 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. 10520 โทรศัพท์ติดต่อการเงิน 0-2326-4423 หรือ 084-077-0202 หรือ0-2739-2418-9 ต่อ 152 ติดต่อวิศวกรโครงการ 0-2739-2387หรือ 0-2326-4424 หรือ 086-777-1895 หรือ0-2739-2418-9 ต่อ 167 โทรสาร 0-2739-2387หรือ0-2326-4423 E-mailtrfmag@kmitl.ac.thหรือ trfmag@yahoo.com http://www.trfmag.org