1 / 43

สุธรรม อุมาแสงทองกุล sutham_uma@hotmail นำเสนอโดย น้ำใจ จุลพุ์ปสาสน์ และ ประภัย สุขอิน

การใช้ประโยชน์จากบริการรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดต่างๆ ต่อการพัฒนาคอลเลคชันและบริการเชิงอ้างอิง : กรณีศึกษา สาขาการเกษตร ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้. สุธรรม อุมาแสงทองกุล sutham_uma@hotmail.com นำเสนอโดย น้ำใจ จุลพุ์ปสาสน์ และ ประภัย สุขอิน ม.ค. 2557. หนังสือ.

Download Presentation

สุธรรม อุมาแสงทองกุล sutham_uma@hotmail นำเสนอโดย น้ำใจ จุลพุ์ปสาสน์ และ ประภัย สุขอิน

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้ประโยชน์จากบริการรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดต่างๆการใช้ประโยชน์จากบริการรายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุดต่างๆ ต่อการพัฒนาคอลเลคชันและบริการเชิงอ้างอิง : กรณีศึกษา สาขาการเกษตร ห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สุธรรม อุมาแสงทองกุล sutham_uma@hotmail.com นำเสนอโดย น้ำใจ จุลพุ์ปสาสน์ และ ประภัย สุขอิน ม.ค. 2557

  2. หนังสือ “You can never be wise unless you love reading.” Samuel Johnson "คุณจะไม่สามารถเป็นคนเฉลียวดฉลาดได้เลย หากคุณไม่รักที่จะอ่านหนังสือ” ซามูเอล จอห์นสัน กวีชาวอังกฤษ ผู้เขียนพจนานุกรมอังกฤษ ต้นแบบของ Oxford dictionary

  3. รายชื่อหนังสือใหม่ คืออะไร รายชื่อหนังสือใหม่ของแต่ละห้องสมุด - เป็นบริการสารสนเทศข่าวสารทันสมัยชนิดหนึ่ง - เป็นเครื่องมือช่วยบรรณารักษ์ในการจัดหาหนังสือเข้าห้องสมุด (หนังสือของ อ. ธาดาศักดิ์ วชิรปรีชาพงษ์. 2530. การเลือกและจัดหาทรัพยากรห้องสมุด จัดเป็น 1 ใน 6 เครื่องมือช่วยจัดหาหนังสือ)

  4. ประโยชน์ของรายชื่อหนังสือใหม่ประโยชน์ของรายชื่อหนังสือใหม่ 1. ช่วยผู้ใช้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่ๆ ติดตามวิทยาการ ดึงดูดผู้ใช้เข้าห้องสมุด 2. ช่วยบรรณารักษ์จัดหาหนังสือใหม่เข้าห้องสมุด = กิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาคอลเลคชัน และช่วยบรรณารักษ์ใช้ประเมินทรัพยากรสารสนเทศที่มีกับเกณฑ์ต่างๆ = กิจกรรมหนึ่งของการพัฒนาคอลเลคชัน

  5. รายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุด … ในที่นี้ ไม่ใช่รายการหนังสือใหม่บนชั้นแนะนำ เพราะไม่อาจเผยแพร่ไปนอกห้องสมุดได้ ไม่ใช่รายการปกหนังสือ+แนะนำบนเว็บ เพียงบางเล่มหรือบางส่วน

  6. รายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุด … ในที่นี้ รายชื่อหนังสือใหม่ทั้งหมดของห้องสมุด นำเสนอรายเดือน อาจในรูป (1) กลุ่มข้อมูลใน OPAC หรือ (2) รายการใน PDF, Word, Excel ฯลฯ มีข้อมูลรายการบรรณานุกรม นำเสนอหรือดึงข้อมูลผ่าน OPAC ได้

  7. ความเป็นมาของการวิจัยความเป็นมาของการวิจัย รายชื่อหนังสือใหม่ของห้องสมุด • ช่วยผู้ใช้ทราบว่าห้องสมุดมีหนังสือใหม่ๆ ติดตามวิทยาการ • ช่วยบรรณารักษ์จัดหาหนังสือใหม่เข้าห้องสมุด = การพัฒนาคอลเลคชัน (ดังที่เกริ่นนำมาข้างต้น)

  8. ความเป็นมาของการวิจัย (ต่อ) แนวคิดใหม่ๆ ในการบริการที่เน้นการเข้าถึงสารสนเทศ ขยายขอบเขตไปยังทรัพยากรนอกเหนือที่ห้องสมุดถือครอง ห้องสมุดจัดบริการข้อมูลเชิงอ้างอิง ชี้ไปยังแหล่งข้อมูลนอกห้องสมุดได้

  9. ความเป็นมาของการวิจัย (ต่อ) ข้อมูลบรรณานุกรมเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ที่ถ่ายโอนข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลของห้องสมุดได้สะดวก แต่ก็อาจมีปัญหาเชิงคุณภาพของข้อมูล จึงควรศึกษาปัญหานี้ + = ? หมายเหตุ สหบรรณานุกรมรุ่นแรกที่ใช้ VTLS มีปัญหาเชิงการจัดการคุณภาพข้อมูล มากน้อยเพียงใด ?

  10. วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. สร้างฐานข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่สาขาเกษตร 2. ศึกษาการนำข้อมูลไปใช้ในฐานข้อมูลห้องสมุด 3. ประเมินทรัพยากรสารสนเทศสาขาการเกษตรของแม่โจ้

  11. วิธีดำเนินการวิจัย 1. ประเภทการวิจัย วิจัยเอกสาร / เชิงสำรวจ 2. ประชากร แหล่งข้อมูล ข้อมูลรายการหนังสือใหม่ ใน OPAC ห้องสมุดต่างๆ 3. การสุ่มตัวอย่าง ห้องสมุด 14 แห่ง,เก็บ 4เดือน (ก.ย.-ธ.ค.) จาก มก. มจ., เก็บ 12 เดือน (ม.ค.-ธ.ค.55) 4. เครื่องมือISIS, Qedit, Ulibm และ/หรือ Elib 5. สถิติ ร้อยละ

  12. วิธีดำเนินการ - เก็บรวบรวมข้อมูลจาก ม.แม่โจ้ การเก็บข้อมูลจาก ม.แม่โจ้ Horizon ของหน่วยงานผู้วิจัย 1. ถ่ายข้อมูลบรรณานุกรมจากฐาน Horizon เป็นไฟล์ ISO-2709

  13. 2.จากข้อมูลไฟล์ ISO-2709 -> ใช้โปรแกรม Import เข้า CDS/ISIS

  14. วิธีดำเนินการ - เก็บรวบรวมข้อมุลจาก OPAC เก็บข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่จาก OPAC ห้องสมุดที่ใช้ Innopac 1 จฬ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2มช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3มข มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4มร มหาวิทยาลัยรามคำแหง 5มมส มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 6มม มหาวิทยาลัยมหิดล 7มศก ท มหาวิทยาลัยศิลปากร 8สจล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 9สจพ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 10มน มหาวิทยาลัยนเรศวร 11 มก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นไฟล์ Excel

  15. รายชื่อหนังสือใหม่จาก Innopac มักประมวลผลรายเดือน FTLIST ตย. จาก จุฬาฯ เป็นรายเดือน และ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ รายเดือนรวม1 ปี

  16. กรณี มก. เป็นไฟล์ Excel ต้องไปสืบค้น OPAC อีกครั้งหนึ่ง

  17. เก็บข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่จาก OPAC ห้องสมุดที่ใช้ Horizon 12มธ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13สพบ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ใน OPAC มักมี tab บอก New Titles คือหนังสือใหม่

  18. วิธีดำเนินการ - ขั้นตอนเก็บข้อมูลแต่ละรายการ ค้นรายการที่เป็นสาขาเกษตร เทียบกับข้อมูลที่มีในฐาน ISIS ที่ใช้วิจัย

  19. กรณีข้อมูลซ้ำ บันทึกรหัสห้องสมุดในฐาน ISIS ; บันทึกข้อมูลอื่นๆ เช่น สารบาญ แนวสืบค้น

  20. กรณีข้อมูลไม่ซ้ำ เลือก MARC -> ป้ายดำ -> เข้า Qedit -> แปลงเข้า ISIS

  21. อนึ่ง กรณีใช้โปรแกรม Ulibm เลือก MARC -> ป้ายดำ -> เข้า Ulibm เลย ทดลองนำเข้าได้จาก MARC ของ Innopac ; ส่วน MARC ของ Horizon นำเข้าไม่ได้

  22. วิธีดำเนินการ - สร้างฐานข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่ ถ่ายข้อมูลจากฐาน ISIS -> ISO-2709 -> ถ่ายเข้า Ulibm หรือ Elib

  23. สรุปผลการวิจัย - 1. ฐานข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่ ดำเนินการแล้วเสร็จ มีข้อมูลทั้งสิ้น 1,316 รายชื่อ (ปัจจุบันข้อมูล 4,000 = 2ปี) บริการด้วยโปรแกรม Ulib เว็บ ณ เว็บไซต์ http://www.library.mju.ac.th:8080/agtxt/

  24. สรุปผลการวิจัย - 2. การนำไปใช้ในฐานหลัก Horizon นำข้อมูลรายชื่อหนังสือใหม่ไปใช้ในฐานข้อมูลโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ Horizon ทดลองนำข้อมูลเข้าตามมาตรฐาน ISO-2709 ได้

  25. สรุปผลการวิจัย - 2. การนำข้อมูลไปใช้ในฐานหลัก (ต่อ) ข้อดี (1) ลดภาระการบันทึกข้อมูล (2) ข้อมูลมีรายละเอียดสมบูรณ์มากขึ้น (3) ข้อมูลบางรายการมีสารบาญหรือบทคัดย่อ (4) ข้อมูลได้ถูกบรรณาธิกรเบื้องต้น

  26. สรุปผลการวิจัย - 2. การนำข้อมูลไปใช้ในฐานหลัก (ต่อ) แต่สภาพปัจจุบันมีบรรณารักษ์ใช้งานน้อย อาจเนื่องจาก - ขาดทักษะในการใช้วิธีถ่ายโอน - ขาดแหล่งกลาง (เช่น สหบรรณานุกรม) ที่จะค้นหาจุดเดียว - ขาดแหล่งสารสนเทศที่มีข้อมูลต้นแบบคุณภาพดี - ขาดซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลทั้งระเบียนเข้าระบบได้สะดวก

  27. สรุปผลการวิจัย - 2. การนำข้อมูลไปใช้ในฐานหลัก (ต่อ) ปัญหา(1) ปัญหารูปแบบข้อมูลตามมาตรฐาน MARC format (1.1) เขตข้อมูลที่ห้องสมุดต่างๆ ใช้ต่างกัน (1.2) ข้อมูล indicator แตกต่างกัน (1.3) ข้อมูลเขตข้อมูลค่าคงที่ Tag 008 Fixed field ไม่สมบูรณ์ เช่น 710 ^a มหาวิทยาลัยxxx. ^b สาขาวิชาxxx 692 ^aมหาวิทยาลัยxxx. ^b สาขาวิชาxxx เช่น 650 _4เกษตรกรรม 650 _7เกษตรกรรม

  28. สรุปผลการวิจัย - 2. การนำข้อมูลไปใช้ในฐานหลัก (ต่อ) (2) ปัญหาการลงรายการทางบรรณารักษศาสตร์ (2.1) ความผิดพลาดในการลงรายการ (2.2) ความผิดพลาดในการวิเคราะห์และจัดทำหัวเรื่อง และคู่มือต่างกัน (2.3) การลงรายการเอกสารรายงานการประชุม สัมมนา ต่างกัน (2.4) การลงรายการเอกสารรายงานประจำปี และเอกสารต่อเนื่อง ต่างกัน (2.5) การลงรายการเอกสารรายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ ต่างกัน

  29. เช่น 650 เกษตรอินทรีย์ 650 เกษตรกรรมชีวภาพ (ทั้งสองคำคือ Organic farming เหมือนกัน) เช่น 650 เกษตรกรรม ^x การบริหาร (ต้องลงเป็น 650 การบริหารการเกษตร) เช่น 110กรมวิชาการเกษตร (ต้องลงเป็น 710) 245 คู่มือการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

  30. เช่น 650 ^a เกษตรกรรม ^z ไทย ^z เชียงใหม่ ^zเชียงดาว 650 ^a เกษตรกรรม ^z เชียงดาว 650 ^a เกษตรกรรม ^z เชียงใหม่ ^z เชียงดาว 650 ^a เกษตรกรรม ^z เชียงใหม่. เชียงดาว เช่น 245 ^a รายงานการวิจัย เรื่อง เกษตรเคมีกับ... 245 ^a รายงานการวิจัยเรื่องเกษตรเคมีกับ ... 245 ^a เกษตรเคมีกับ… :^b รายงานการวิจัย 245 ^a โครงการวิจัยเกษตรเคมีกับ...

  31. สรุปผลการวิจัย 3. ประเมินการจัดหาทรัพยากรของแม่โจ้ การประเมินทรัพยากรสารสนเทศรายชื่อใหม่ ห้องสมุด มจ. เทียบกับ มก. (1) สัดส่วนหนังสือใหม่ที่จัดหาใน 1 ปี แม่โจ้ จัดหาได้ เท่ากับร้อยละ 76.27 ของห้องสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดหาได้(ฐาน 100%)

  32. (2) สัดส่วนหนังสือซ้ำรายการ ห้องสมุด มจ. จัดหาใน 1 ปี (+ที่มีอยู่เดิม) เท่ากับร้อยละ 15.08 ของ มก. ตามรายชื่อที่ มก.จัดหาใน 1 ปีนั้น (ฐาน 100%)

  33. (3) สัดสวนหนังสือหาได้เฉพาะแห่ง หนังสือใหม่ที่มีในห้องสมุด มจ. แต่ไม่มีใน มก. เทียบกับ หนังสือใหม่ที่มีในห้องสมุด มก. แต่ไม่มีใน มจ. เท่ากับ 1:3

  34. สรุปผลการวิจัย 3.2 ประเมินทรัพยากรในภาพรวม การประเมินทรัพยากรสารสนเทศใหม่ๆ ของห้องสมุดต่างๆ ในภาพรวม (1) จำนวนหนังสือใหม่จากห้องสมุดต่างๆ 14 แห่ง ในช่วง 4 เดือน (ก.ย.-ธ.ค. 2555) มี 983 รายชื่อ ห้องสมุด 3 ลำดับแรกคือ 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 22.58 % 2. มหาวิทยาลัยมหิดล 18.41 % 3. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 16.48 %

  35. ข้อสังเกต บางมหาวิทยาลัยไม่มีชื่อเสียงรู้จักว่าเกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น มหิดล ศิลปากร เทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง ธรรมศาสตร์ มีหนังสือสาขานี้จำนวนมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการวิจัยครั้งนี้นิยามสาขาการเกษตรว่าครอบคลุมสาขาใกล้เคียงหรือเกี่ยวข้องไว้ด้วย รวมทั้งมหาวิทยาลัยดังกล่าวอาจมีการเรียนการสอนสาขานี้โดยที่บุคคลทั่วไปไม่ทราบ เช่น สัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร วิศวกรรมการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร ฯลฯ

  36. สรุปผลการวิจัย 3.2 ประเมินทรัพยากรในภาพรวม (ต่อ) (2) รายชื่อหนังสือใหม่จากห้องสมุดต่างๆ 907 รายชื่อ เมื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลห้องสมุดมหาวิทยาลัยแม่โจ้พบว่า ไม่มีในฐาน 579 รายชื่อ (ร้อยละ 63.83) เมื่อพิจารณารายชื่อดังกล่าวพบว่ามีหลายรายการเป็นหนังสือที่มีคุณค่า - เนื้อหาเชิงอ้างอิง สถิติ แผนและนโยบาย - เอกสารคู่มือ - หนังสือที่มีเนื้อหาแปลกใหม่หรือไม่ค่อยมีการเขียนเผยแพร่ - ผลงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ที่ให้ข้อมูลในภาพรวมหรือเชิงลึก

  37. สรุปผลการวิจัย 3.2 ประเมินทรัพยากรในภาพรวม (ต่อ) (3) การกระจายของหนังสือใหม่สาขาการเกษตรในห้องสมุดต่างๆ หนังสือที่พบในห้องสมุดเพียง 1 แห่ง 75.99 % หนังสือพบในห้องสมุด 2-3 แห่ง 19.93 % หนังสือพบในห้องสมุด 4-5 แห่ง 3.86 % อย่างไรก็ตาม ค่าสถิตินี้มีข้อจำกัด เพราะ - ระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลค่อนข้างน้อย - ไม่ได้ตรวจสอบว่าหนังสือมีอยู่ก่อนหน้าระยะเก็บข้อมูลวิจัย - ห้องสมุดต่างๆ อาจจัดหาหนังสือดังกล่าวในอนาคต ซึ่งสถิติจะสูงขึ้น

  38. สรุปผลการวิจัย 3.2 ประเมินทรัพยากรในภาพรวม (ต่อ) (4) ปีพิมพ์ของหนังสือ หนังสือปี 2554 27.06 % หนังสือปี 2555 20.75 % ฯลฯ สัดส่วนปีพิมพ์ 2550-2555 รวมกัน 81.27 %

  39. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย (1) ห้องสมุดแต่ละแห่งควรจัดบริการรายชื่อหนังสือใหม่ประจำเดือนบริการ

  40. (2) การทำงานให้รองรับมาตรฐานข้อมูลรายการบรรณานุกรม เช่น AACR2, MARC format, ISO-2709 ช่วยให้การถ่ายโอนและแลกเปลี่ยนข้อมูลกระทำได้สะดวก เช่น 245 ^a รายงานการวิจัย เรื่อง เกษตรเคมีกับ... 245 ^a รายงานการวิจัยเรื่องเกษตรเคมีกับ ... 245 ^a เกษตรเคมีกับ… :^b รายงานการวิจัย 245 ^a โครงการวิจัยเกษตรเคมีกับ...

  41. (3) การทำรายการเอกสารของห้องสมุดต่างๆ ควรลงรายการทางบรรณานุกรมที่ละเอียดขึ้น มีมาตรฐาน มีการจัดทำคู่มือ และฝึกอบรมบุคลากรให้มีคุณภาพ

  42. (4).ฐานข้อมูลกลาง สหบรรณานุกรม หรือฐานข้อมูลที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ควรมีการพัฒนาให้มีข้อมูลที่มีคุณภาพ เป็นแหล่งบริการข้อมูลได้

  43. จบ ขอขอบพระคุณ

More Related