1 / 59

คลื่นแผ่นดินไหว ( Earthquake waves)

คลื่นแผ่นดินไหว ( Earthquake waves). แผ่นดินไหว (earthquake).

tevy
Download Presentation

คลื่นแผ่นดินไหว ( Earthquake waves)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. คลื่นแผ่นดินไหว(Earthquake waves)

  2. แผ่นดินไหว (earthquake) • แผ่นดินไหว (earthquake) เป็นการสั่นสะเทือนของโลกที่เกิดจากการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรวดเร็วภายใต้พื้นผิวโลก พลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาแหล่งกำเนิด ซึ่งเรียกตำแหน่งนี้ว่า โฟกัสหรือแหล่งกำเนิดคลื่น (focus หรือ hypocenter) นี้ คลื่นจะกระจายออกไปในทุกทิศทุกทางรอบจุดโฟกัสในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว

  3. กลไกที่ทำให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานออกมาอย่างรวดเร็วนี้ เกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลก การเคลื่อนที่เหล่านี้มักมีความสัมพันธ์กับรอยแตกขนาดใหญ่ของโลกที่เรียกว่า รอยเลื่อน (fault) ตามแนวขอบของเพลต (plate)

  4. การเคลื่อนที่ตามระนาบของรอยเลื่อนอธิบายได้โดยอาศัย ทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์ (plate tectonics theory) โดยอธิบายว่า เพลตต่างๆของโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ในบริเวณที่มีการเคลื่อนที่ผ่านกันของเพลต หรือการมุดตัวของเพลตหนึ่งใต้อีกเพลตหนึ่ง ทำให้เกิดแรงเค้น (strain) และการแปรสภาพของหินในบริเวณนั้น รอยเลื่อนที่มีความสัมพันธ์กับบริเวณเหล่านี้จะเป็นบริเวณที่ให้เกิดแผ่นดินไหวขึ้น

  5. การปรับตัวของหินหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ทำให้เกิดแผ่นดินไหวเล็กๆติดตามมาอีกหลายครั้งซึ่งเรียกว่า aftershocks ถึงแม้ว่า aftershock จะมีความรุนแรงน้อยกว่าการเกิดแผ่นดินไหวหลัก แต่ก็อาจทำให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างต่างๆได้

  6. นอกจากการเกิดแผ่นดินไหวหลักและ aftershock แล้ว ในบางครั้งอาจเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กๆที่เรียกว่า foreshocks ขึ้นก่อนที่จะเกิดแผ่นดินไหวหลัก ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนอยู่หลายวันก่อนที่เกิดแผ่นดินไหวหลัก การศึกษา foreshock อาจเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งที่ใช้ในการทำนายการเกิดแผ่นดินไหว

  7. คลื่นแผ่นดินไหวเป็นคลื่นยืดหยุ่นที่เดินทางออกจากแหล่งกำเนิดคลื่นในทุกทิศทุกทาง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ 1. คลื่นในตัวกลาง (body wave) ซึ่งเดินทางอยู่ภายในโลก 2. คลื่นผิวดิน (surface wave) ซึ่งเดินทางไปตามเปลือกโลกชั้นนอก

  8. ความเร็วของการเดินทางคลื่นในตัวกลาง ขึ้นอยู่กับสมบัติความยืดหยุ่นและความหนาแน่นของวัตถุ ความรู้จากการศึกษาคลื่นที่เดินทางอยู่ภายในโลก ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในโลกได้

  9. คลื่นในตัวกลางแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด โดยอาศัยลักษณะการเคลื่อนที่ของคลื่น ได้แก่ 1. คลื่นปฐมภูมิ (primary waves, P-wave) เป็นคลื่นชนิดแรกที่เดินทางมาถึงสถานีตรวจวัด เป็นคลื่นแบบบีบอัด (compression) ในขณะที่คลื่นเดินทางผ่านตัวกลาง จะทำให้ตัวกลางเกิดการบีบอัด (compress) และขยายตัว (dilate) ตามทิศทางที่คลื่นเดินทาง คลื่นปฐมภูมิจึงสามารถเดินทางได้ในตัวกลางทุกชนิด

  10. 2. คลื่นทุติยภูมิ (secondary waves, S-wave) เป็นคลื่นชนิดที่สองที่เดินทางถึงสถานีตรวจวัด เป็นคลื่นแบบเฉือน (shear) ในขณะที่คลื่นเดินทางผ่านตัวกลาง จะทำให้ตัวกลางเกิดการสั่นในทิศทางที่ตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ดังนั้นคลื่นทุติยภูมิจึงสามารถเดินทางได้เฉพาะในตัวกลางที่เป็นของแข็ง

  11. การเคลื่อนที่ของคลื่นผิวดินมีความซับซ้อนกว่าคลื่นในตัวกลางมากมีความเร็วน้อยเมื่อเทียบกับคลื่นในตัวกลาง เนื่องจากคลื่นผิวดินเดินทางตามผิวดิน ทำให้วัตถุที่อยู่บนผิวดินเกิดการเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนที่ของคลื่นผิวดิน การเคลื่อนที่ขึ้นลงของคลื่นเป็นตัวทำลายสิ่งก่อสร้างต่างๆที่อยู่บนผิวดินได้มากว่าคลื่นในตัวกลาง

  12. บันทึกการเคลื่อนที่ของคลื่น แสดงให้เห็นว่า คลื่นปฐมภูมิเดินทางมาถึงเครื่องบันทึกก่อน และตามมาด้วยคลื่นปฐมภูมิ และสุดท้ายเป็นคลื่นผิวดิน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเร็วในการเคลื่อนที่ของคลื่นแต่ละชนิด โดยปกติในตัวกลางที่เป็นของแข็ง คลื่นปฐมภูมิเดินทางได้เร็วกว่าคลื่นทุติยภูมิประมาณ 1.7 เท่า และคลื่นผิวดินเดินทางได้เป็น 0.9 เท่าของคลื่นทุติยภูมิ

  13. เครื่องมือวัดคลื่นแผ่นดินไหว(Instrumental observations) • การศึกษาคลื่นแผ่นดินไหว ซึ่งเรียกว่า seismology เริ่มขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2000 ปีที่ผ่านมา นักปราชญ์ชาวจีน ชื่อ Chang Heng ได้สร้างเครื่องมือจากโอ่งขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร มีหัวมังกร 8 หัวอยู่รอบโอ่ง ซึ่งแต่ละหัวคาบลูกแก้วไว้ มีคางคก 8 ตัววางอยู่บนพื้นและอ้าปากหันหน้าเข้าหาหัวมังกร

  14. เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจะมีลูกแก้วหนึ่งลูกหลุดจากปากมังกรตกลงสู่ปากคางคกที่รอรับอยู่ด้านล่าง ทิศทางที่เกิดแผ่นดินไหวจะอยู่ในทิศตรงข้ามกับคางคกที่รับลูกแก้วที่ตกลงมา เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้บอกทิศทางของตำแหน่งของการเกิดแผ่นดินไหว จึงอาจเรียกเครื่องมือนี้ว่า seismoscope

  15. เครื่องมือที่ใช้วัดคลื่นแผ่นดินไหวในปัจจุบันเรียกว่า seismograph หลักการง่ายๆของเครื่องมือคือ แขวนมวลที่มีน้ำหนักไว้ด้วยเส้นลวดหรือสปริงซึ่งยึดอยู่กับกรอบที่วางอยู่บนพื้นที่แข็งแรง โดยในสภาวะปกติ มวลนี้จะไม่มีการเคลื่อนที่ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินก็เกิดการเคลื่อนที่ กรอบของเครื่องมือก็จะเคลื่อนที่ไปตามการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน แรงเฉื่อยที่เกิดขึ้นในมวล ทำให้มวลนั้นคงสภาพอยู่ในตำแหน่งเดิมได้เพื่อใช้เป็นจุดเปรียบเทียบกับการเคลื่อนที่ของแผ่นดิน

  16. seismogram เป็นข้อมูลที่แสดงถึงลักษณะของคลื่นแผ่นดินไหว จะใช้การเขียนเส้นบนกระดาษที่อยู่พันอยู่รอบแท่งทรงกระบอกที่หมุนรอบตัวเองแบบเกลียวด้วยอัตราเร็วคงที่ เพื่อให้การแสดงผลทำได้อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ปรากฏอยู่บนกระดาษจะเป็นเส้นที่วางตัวขนานกันไปตลอดในขณะที่ไม่เกิดแผ่นดินไหว แต่เมื่อมีการเคลื่อนที่ของพื้นดิน เส้นที่เขียนจะแสดงลักษณะและขนาดของการเคลื่อนที่ของ แผ่นดิน

  17. เพื่อที่จะสามารถบันทึกการเคลื่อนที่ที่เกิดขึ้นได้ทุกทิศทาง จำเป็นต้องใช้ seismograph3 อัน เพื่อบันทึกการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและการเคลื่อนที่ในแนวราบสองทิศทางที่ตั้งฉากกัน (ทิศเหนือ-ใต้และทิศตะวันออก-ตะวันตก)

  18. ตำแหน่งของแผ่นดินไหว(Location of earthquake) • โฟกัสเป็นตำแหน่งที่อยู่ภายในโลกที่เกิดแผ่นดินไหว ส่วนตำแหน่งที่อยู่บนผิวโลกที่อยู่เหนือโฟกัสเรียกว่า epicenter ความแตกต่างของ เวลาที่ใช้ในการเดิน ทางจากโฟกัสมาถึงเครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวระหว่างคลื่นปฐมภูมิและคลื่นทุติยภูมิทำให้สามารถหาตำแหน่งของ epicenter ได้

  19. ข้อมูลระยะทางจากจุดโฟกัสถึงเครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหวอย่างน้อย 3 สถานี จะทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งที่แน่นอนของ epicenter ได้จากจุดตัดของ วงกลมที่แทนถึงระยะทางจากจุดโฟกัสถึงเครื่องบันทึกคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละสถานีตรวจวัดคลื่นแผ่นดินไหว

  20. ความลึกของจุดโฟกัสสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1. จุดโฟกัสระดับตื้น มีความลึกจากผิวดินลงไปไม่เกิน 60 กิโลเมตร 2. จุดโฟกัสระดับปานกลาง อยู่ที่ระดับความลึกระหว่าง 60 ถึง 300 กิโลเมตร 3. จุดโฟกัสระดับลึก อยู่ที่ระดับความลึกระหว่าง 300 ถึง 700 กิโลเมตร

  21. ประมาณ 85 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของการเกิดแผ่นดินไหว มีจุดโฟกัสอยู่ที่ระดับตื้น และโดยทั่วไปจะมีความไม่เกิน 8 กิโลเมตร

  22. ประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากจุดที่เกิดแผ่นดินไหว พบว่ามีความสัมพันธ์กับบริเวณแคบๆที่วนอยู่รอบโลก บริเวณที่มีการปลดปล่อยพลังงานมากที่สุด พบอยู่ตามขอบของมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเรียกว่า circum-Pacific belt ผ่านประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ชิลี และตามแนวของหมู่เกาะต่างๆ

  23. อีกบริเวณหนึ่งที่มีความหนาแน่นของการเกิดแผ่นดินไหวคือบริเวณเทือกเขารอบทะเลเมดิเตอเรเนียน ผ่านประเทศอิหร่านเข้าไปจนถึงเทือกเขาหิมาลัย (Mediterranean-Himalayan belt) • นอกจากสองบริเวณดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกบริเวณหนึ่งซึ่งอยู่ในมหาสมุทรต่างๆของโลกในบริเวณที่เป็น oceanic ridge system

  24. นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้ว อาจพบได้เป็นจุดๆ ซึ่งมักมีความสัมพันธ์กับบริเวณที่เป็นภูเขาไฟแบบ basaltic เช่น บริเวณหมู่เกาะ Hawaii

  25. ความรุนแรงและขนาดของแผ่นดินไหว(Earthquake intensity and magnitude) • ขนาดของความรุนแรงของแผ่นดินไหว กำหนดถึงควานรุนแรงและความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากแผ่นดินไหว ในปี 1902Giuseppe Mercalli ได้กำหนดขนาดของความรุนแรงขึ้นโดยอาศัยความเสียหายที่เกิดกับสิ่งต่างๆ และได้ถูกปรับปรุงโดย U.S. Coast and Geodetic Survey โดยแบ่งความรุนแรงของแผ่นดินไหวออกเป็น 12 ขั้น ขั้นที่มีค่าสูงแสดงถึงความรุนแรงที่มาก

  26. ความรุนแรงของแผ่นดินไหวเป็นการวัดผลของแผ่นดินไหวในแต่ละบริเวณ ความรุนแรงของแผ่นดินไหวไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับแรงของแผ่นดินไหวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วย เช่นระยะห่างจาก epicenter ธรรมชาติของวัตถุบนผิวดิน หรือการออกแบบสิ่งก่อสร้าง

  27. ในปี 1935Charles Richter จาก California Institute of Technology ได้เสนอหลักการในการกำหนดขนาดของแผ่นดินไหว โดยการวัดพลังงานที่ปลดปล่อยออกมาจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งในปัจจุบันได้แบ่งขนาดของแผ่นดินไหวตาม Richtermagnitude scale โดยที่ขนาดของแผ่นดินไหววัดจาก amplitude ที่สูงที่สุดของคลื่นแผ่นดินไหวที่บันทึกได้ใน seismogram ที่ระยะห่าง 100 กิโลเมตรจากจุด epicenter

  28. แผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตาม Richter magnitude scale เท่ากับ 8.6 ซึ่งมีความรุนแรงใกล้เคียงกับการระเบิดของ TNT ประมาณ 1 พันล้านตัน ค่า 8.6 นี้ ถือว่าเป็นค่าสูงสุดด้วย แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมากกว่า 9 พบได้ยากมาก ส่วนแผ่นดินไหวที่มีขนาดน้อยกว่า 2.0 ตาม Richter magnitude scale มนุษย์ไม่สามารถรู้สึกได้

  29. เนื่องจาก Richter magnitude scale มีลักษณะเป็น logarithmic ขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหวจึงเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าในแต่ละขั้นของมาตรา และพลังงานเพิ่มขึ้นประมาณ 30 เท่าในแต่ละขั้นของมาตรา

  30. ความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว(Earthquake destruction) • มีปัจจัยหลายประการที่ใช้เป็นตัวกำหนดความเสียหายที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินไหว แต่ปัจจัยที่มีผลอย่างมากได้แก่ ขนาดของแผ่นดิน ไหว และระยะทางจากจุดกำเนิดแผ่นดินไหวถึงบริเวณที่มีประชาชนอาศัยอยู่

  31. ความเสียหายที่เกิดจากแรงสั่นสะเทือน(Destruction caused by seismic vibrations) • การเกิดแผ่นดินไหว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของพื้นดิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆที่อยู่บนพื้นดินก็เกิดการสั่นไปด้วยเช่นกัน แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงน้อย อาจทำให้หน้าต่างหรือฝาผนังเกิดรอยร้าวแตกหัก แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมาก อาจสามารถสังเกตเห็นการเคลื่อน ที่ของแผ่นดินได้

  32. ความรุนแรงของความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนมีปัจจัยหลายประการ ประกอบด้วย 1. ความรุนแรงและระยะเวลาของการสั่นสะเทือน 2. ธรรมชาติของวัตถุที่รองรับโครงสร้างนั้น 3. การออกแบบโครงสร้าง

  33. คลื่นซูนามิ(Tsunamis) • คลื่นซูนามิ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากภาษาญี่ปุ่น หรืออาจเรียกว่า seismic sea waves เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของท้องมหาสมุทรระหว่างที่มีการเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงสูง (มากกว่า 8) หรือเกิดจากการลื่นไถลของพื้นมหาสมุทร หรือการระเบิด ของภูเขาไฟใต้มหาสมุทร ความเร็วของคลื่นอยู่ระหว่าง 500 ถึง 950 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  34. บริเวณทะเลลึกขณะที่เกิดคลื่นซูนามิ จะสังเกตเห็นได้ยาก เนื่องจากความสูงของคลื่นน้อยมาก อาจน้อยกว่า 1 เมตร และระยะห่างระหว่างยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดคลื่นหนึ่งอยู่ระหว่าง 100 ถึง 700 กิโลเมตรแต่เมื่อคลื่นซูนามิเดินทางเข้าใกล้ชายฝั่ง ความเร็วของคลื่นจะเริ่มลดลงและมีความสูงมากขึ้น อาจสูงได้ถึง 30 เมตรและเมื่อยอดคลื่นมาถึงชายฝั่งจะทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและผิวน้ำจะเกิดความปั่นป่วน

  35. สิ่งบอกเหตุที่สามารถสังเกตเห็นได้ว่าเกิดคลื่นซูนามิคือการลดลงของระดับน้ำทะเลอย่างรวดเร็วตามชายหาด ภายใน 5 ถึง 30 นาทีหลังจากการลดลงของระดับน้ำทะเล จะมีน้ำทะเลปริมาณมหาศาลไหลทะลักเข้ามายังแผ่นดิน ซึ่งอาจมีระยะทางหลายร้อยเมตรจากชายฝั่ง หลังจากนั้นน้ำทะเลก็จะไหลกลับคืนสู่ทะเลอีก ระยะห่างของเวลาของคลื่นแต่ละลูกที่วิ่งเข้ามายังแผ่นดิน อยู่ระหว่าง 10 ถึง 60 นาที จนกว่าพลังงานทั้งหมดจะหายไป

More Related