1 / 77

Red data: plants

Red data: plants. วรดลต์ แจ่มจำรูญ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. ขั้นตอนในการสำรวจสถานภาพพืช. การกำหนดพื้นที่สำรวจ. อาศัยการจัดจำแนกพื้นที่โดยภาพถ่ายดาวเทียมตามแต่ละระบบนิเวศ กำหนดวิธีการสำรวจ แบบแปลงตัวอย่าง แบบแนวสำรวจ แบบสุ่ม กำหนดฤดูกาลที่สำรวจ กำหนดรูปแบบบันทึก

morley
Download Presentation

Red data: plants

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Red data: plants วรดลต์ แจ่มจำรูญ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

  2. ขั้นตอนในการสำรวจสถานภาพพืชขั้นตอนในการสำรวจสถานภาพพืช

  3. การกำหนดพื้นที่สำรวจ • อาศัยการจัดจำแนกพื้นที่โดยภาพถ่ายดาวเทียมตามแต่ละระบบนิเวศ • กำหนดวิธีการสำรวจ แบบแปลงตัวอย่าง แบบแนวสำรวจ แบบสุ่ม • กำหนดฤดูกาลที่สำรวจ • กำหนดรูปแบบบันทึก • การจัดการตัวอย่าง

  4. การกำหนดขนาดแปลงตัวอย่างต่ำสุดMinimal area justification • Mueller-Dombois and Ellenberg 1974 ป่าที่มีไม้ใหญ่เป็นเรือนยอดเด่น 200-500 ตร.ม. ไม้ชั้นพื้นป่า 50-200 ตร.ม. ทุ่งหญ้าในที่แห้งแล้ง 50-100 ตร.ม. ไม้พุ่มเตี้ย 10-25 ตร.ม. ทุ่งหญ้า 5-10 ตร.ม. มอส 1-4 ตร.ม. ตะไคร่ 0.1-1 ตร.ม. ป่าดงดิบเขตร้อน 625-10,000 ตร.ม.

  5. ขนาดแปลงที่เหมาะสม • Kent and Coker 1992 มอสและไลเคน 0.5x0.5 ม. ทุ่งหญ้าและพืชแคระแกรน 1x1-2x2 ม. หญ้าสูงและพืชแคระแกรนสูง ไม้พุ่มเตี้ย 2x2-4x4 ม. ไม้พุ่ม ไม้พุ่มผสมไม้ใหญ่เตี้ย 10x10 ม. ไม้ใหญ่ 20x20-50x50 ม.

  6. Plotless sampling • Point centered quarter method • Random pairs method • Nearest neighbor method • Closest individual method

  7. ข้อมูลที่ต้องการ • เพื่อนำมาใช้ประโยชน์อะไร • บัญชีรายชื่อ • ประเมินประชากร • การจัดสถานภาพ • แผนที่การกระจายพันธุ์

  8. เราประเมินสถานภาพพืชทำไมเราประเมินสถานภาพพืชทำไม • สามารถทราบสถานภาพของพืชพรรณในเชิงอนุรักษ์ • นำมาใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ • เพื่อใช้ในการออกแบบนโยบายและกฏระเบียบที่ใช้ในการอนุรักษ์

  9. FLORA OF THAILAND • Description of family, genera, species, subspecies & varietie • Taxonomic key to genera, species, subspecies & varieties • Number of genera, species, subspecies & varieties • Legitimate name of species (subspecies, varieties) and full synonyms • Relevant taxonomic references • Geographical distribution • Local distribution (in Thailand) • Ecological distribution • Uses and some other ethnobotanical • notes • Line drawing & some coloured plates • Status of plant species Status (endemic, rare, vulnerable, endangered, common, etc.)

  10. เกณฑ์ของการจำแนกสถานภาพพืชเกณฑ์ของการจำแนกสถานภาพพืช Rare plant Endemic plant

  11. พืชถิ่นเดียวหรือพืชเฉพาะถิ่น (endemic plants) • คือ พืชชนิดที่พบขึ้นและแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นพืชที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก มักจะพบพืชถิ่นเดียวบนพื้นที่ที่มีลักษณะจำกัดทางระบบนิเวศ เช่น บนเกาะ ยอดเขา หน้าผาของภูเขาหินปูน แอ่งพรุ ฯลฯถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเฉพาะที่ (microclimate) พืชถิ่นเดียวของไทยหลายชนิดพบขึ้นเฉพาะบนภูเขาหินปูนหรือดินที่สลายมาจากหินปูน เช่น ก่วมเชียงดาว (Acer chiangkaoense)  กันภัยมหิดล (Afgekia mahidolae  ) กาญจณิการ์ (Santisukia pagetii)เป็นต้น

  12. พืชหายาก Rare plant • พืชหายาก (rare plants)คือพืชชนิดที่มีประชากรขนาดเล็กซึ่งยังไม่อยู่ในสถานภาพใกล้จะสูญพันธุ์ (endangered) แต่มีความเสี่ยงที่จะเป็นพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ได้ พืชหายากเป็นพืชที่เราทราบจำนวนประชากรที่มีอยู่ตามแหล่งต่างๆ และส่วนใหญ่มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ พืชถิ่นเดียว ที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นพืชหายาก ยกเว้นพืชถิ่นเดียวเพียงไม่กี่ชนิดที่มีจำนวนประชากรขึ้นแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น ถั่วแปบช้าง (Afgekia sericea)กาญจณิการ์ (Santisukia pagetii) และ อรพิม (Bauhinia winitii)เป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทย แต่ไม่อยู่ในสถานภาพพืชหายาก เนื่องจากในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติอันจำกัดนั้นมีจำนวนต้นหนาแน่นทั่วพื้นที่พืชถิ่นเดียวบางชนิดเคยอยู่ในสถานภาพพืชหายากมาก่อน แต่ต่อมามีผู้นำไปขยายพันธุ์ปลูกเป็นการค้าทั่วไปจึงหมดสภาพพืชหายาก พืชที่สำรวจพบว่าหายากปัจจุบัน อาจมีแนวโน้มที่จะกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางขึ้นได้ในอนาคต หรือพืชที่มีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวางในปัจจุบัน อาจจะเป็นพืชหายากต่อไปในกาลข้างหน้า พืชชนิดหนึ่งอาจเป็นพืชหายากในท้องถิ่นหนึ่ง แต่อีกท้องถิ่นหนึ่งกลับมีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางก็เป็นได้

  13. Criteria for assigning conservation priorities to threatened species ( Given, 1984 )

  14. Dacrydium elatum (Podocarpaceae), a member of gymnosperms in the coniferous forest, Phu Luang Wildlife Sanctuary.

  15. Cephalotaxus mannii (Cephalotaxaceae), Phu Luang Wildlife Sanctuary

  16. Podocarpus polystachyus (Podocarpaceae) in the coniferous forest, Phu Luang WS. Nageia wallichiana (Podocarpaceae) in the coniferous forest, Phu Luang WS.

  17. Endemism • เป็นสภาวะทางนิเวศที่แสดงถึงความมีลักษณะเฉพาะของถิ่นที่อยู่อาศัย เนื่องจากสิ่งมีชีวิตจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่พบเฉพาะถิ่น ไม่พบโดยทั่วไป ถิ่นที่อยู่อาศัยมักจะเป็นพื้นที่ที่มีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่จำกัด เช่น เกาะ ประเภทของถิ่นที่อยู่ ประเทศ เขตภูมิศาสตร์

  18. โดยทั่วไปมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ paleoendemism และ neoendemism. Paleoendemism มักจะใช้กับสิ่งมีชีวิตที่เคยมีการกระจายกว้างแต่ปัจจุบันจำกัดเหลือในพื้นที่เล็กๆ ส่วน Neoendemism มักจะใช้กับสิ่งมีชีวิตที่มีการปรับเปลี่ยนสถานะ เช่น สิ่งมีชีวิตที่มีการแยกกลุ่มออกมาจนเกิดสภาวะ reproductively isolated หรือ สิ่งมีชีวิตที่เกิดขบวนการ hybridization และจัดแยกเป็นชนิดใหม่โดยพบบ่อยในพืช โดยเฉพาะพืชที่เป็นpolyploidy.

  19. ตัวอย่างการเปรียบเทียบ endemism

  20. ประเทศไทยพบพืชมีท่อลำเลียง ประมาณ 10,000 ชนิด • จัดเป็นพืชหายากประมาณ 20% หรือ 2,000 ชนิด และมีพืชถิ่นเดียวของไทยประมาณ 800 ชนิด • ประเทศไทยอยู่ระหว่างเขตภูมิศาสตร์พืชพรรณ 3 เขต คือ อินโด-พม่า อินโด-จีน และมาเลเซีย

  21. เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง • ตรีภพ ทิพยศักดิ์และคณะ. 2550. สถานภาพและการกระจายของพืชถิ่นเดียว หายาก หรือใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประจำปี 2550. • นิรัตน์ จินตนาและคณะ. 2550. สถานภาพและการกระจายของชนิดพันธุ์พืชเฉพาะถิ่นหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุงและสงขลา. รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้และสัตว์ป่าแบบบูรณาการ ประจำปี 2550.

  22. เกณฑ์ของ IUCN • สูญพันธุ์ Extinct (EX) • สูญพันธุ์ในธรรมชาติ Extinct in the wild (EW) • พืชถูกคุกคาม Threatened plant • ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง Critically Endangered (CR) • ใกล้สูญพันธุ์ Endangered (EN) • มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ Vulnerable (VU) • ใกล้ถูกคุกคาม Near Threatened (NT) • กลุ่มที่เป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern (LC) • ข้อมูลไม่เพียงพอ Data Deficient (DD) • ไม่ได้รับการประเมิน Not Evaluated (NE)

  23. EX • พืชที่สูญพันธุ์ (extinct plants) หมายถึง พืชที่ได้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นอาศัยตามธรรม ชาติของโลก หลังจากที่ได้มีการค้นหาซ้ำหลายครั้ง จากแหล่งที่ระบุว่ามีพืชชนิดนี้อยู่ พืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น จากการศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ (fossils) ของพืชทางภาคเหนือของประเทศไทย โดย ดร. Seido Endo ชาวญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1962 โดยศึกษาจากซากดึกดำบรรพ์ บริเวณอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน พบพืชที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งปัจจุบันไม่พบในไทยแล้วหลายชนิด ดังเช่น Alnus thaiensis (Betulaoeae), Sparganium thaiensis (Sparganiaceas) เป็นต้น พืช 2 ชนิดนี้ เป็นพืชในเขตอบอุ่น ซึ่งมีภูมิอากาศแตกต่างจากเขตร้อนอย่างสิ้นเชิง  เมื่อสภาพภูมิอากาศ เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างฉับพลัน ก็ย่อมทำให้พืชล้มหายตายจากสูญพันธุ์ไปได้

  24. EW • พืชที่สูญพันธุ์ในธรรมชาติ (extinct in wild) หมายถึง พืชที่ได้สูญพันธุ์ไปจากถิ่นอาศัยตามธรรม ชาติของโลก หลังจากที่ได้มีการค้นหาซ้ำหลายครั้ง จากแหล่งที่ระบุว่ามีพืชชนิดนี้อยู่ พืชที่สูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังมีการเพาะเลี้ยงอยู่ในสภาพอื่นๆ • เช่น ฟ้ามุ่ยน้อย (Vanda coerulescens Griff.) วงศ์ Orchidaceae และโศกระย้า (Amherstia nobilis Wall.) วงศ์ Leguminosae-Caesalpinioideae

  25. CR • ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (critically endangered -)ชนิดพันธุ์ใดถูกจัดว่ามีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง ต่อเมื่อมีความเสี่ยงสูงอย่างยิ่งที่ชนิดพันธุ์นั้น จะสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติในอนาคตอันใกล้ ตามที่กำหนดไว้ในเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง

  26. EN • พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered plants) หมายถึง พืชที่กำลังอยู่ในภาวะอันตรายที่ใกล้จะสูญพันธุ์ุ์ไปจากโลก หรือสูญพันธุ์ไปจากแหล่งที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ หรือพืชที่ไม่น่าจะมีชีวิตอยู่ได้ถ้าอิทธิพลต่างๆ ที่เป็นสาเหตุให้พืชสูญพันธุ์ยังคงดำเนินต่อไป นอกจากนี้ยังรวมถึงพืชที่ลดจำนวนลงถึงขั้นวิกฤตหรือพืชที่แหล่งที่อยู่ ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป อย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะเป็นเหตุทำให้พืชนั้นสูญพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว เช่น พลับพลึงธาร Crinum thaianum (Amaryllidaceae) เป็นพืชน้ำที่ขึ้นได้เฉพาะน้ำไหลและใสสะอาด มีหัวอยู่ในดินใต้น้ำ ดอกสีขาว ชูพ้นน้ำขึ้นมาเล็กน้อย พบที่คลองนาคา และคุระบุรี จ.ระนอง เนื่องจากมีการลักลอบตัดไม้ เป็นการทำลายต้นน้ำลำธาร สภาพที่น้ำที่เคยใสซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่เดิมเปลี่ยนเป็นตะกอนโคลนตม เป็นการทำลายสภาพนิเวศน์เดิม ซึ่งน่าเป็นห่วงว่า จะสูญพันธุ์ไปในเวลาอันรวดเร็ว

  27. พลับพลึงธาร

  28. คลองตำหนัง และคลองตาผุด

  29. VU • พืชที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (vulnerable plants) หมายถึง พืชที่จะเข้าสู่สภาวะใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ในอนาคตอันใกล้ ถ้าอิทธิพลต่างๆ ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้พืชสูญพันธุ์ยังคงดำเนินอยู่ พืชนี้จะสูญพันธุ์ไปจากโลกหรือ สูญพันธุ์ไปจากแหล่งการกระจายพันธุ์ รวมถึงพืชที่จำนวนประชากร ลดลงเนื่องจากเหตุต่างๆ เช่น การนำมาใช้ประโยชน์ อย่างมากมายมหาศาล      การทำลายแหล่งที่อยู่ของมันอย่างรุนแรงหรือจากอิทธิพลทางธรรมชาติอื่นๆ โดยพืชพวกนี้ ยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อการอนุรักษ์อย่างจริงจัง ได้แก่ กล้วยไม้หลายชนิด (Orchidaceae) ที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง ของไทย เช่น รองเท้านารีดอกขาว Paphiopedilum niveum, รองเท้านารีปีกแมลงปอ P.sukhakuluil, เอื้องฟ้ามุ่ย Vanda coerulea, เอื้องสามปอยดง V. denisoniana, เอื้องแซะหลวง Dendrobium scabrilingue, เอื้องไม้ตึง D. tortile เป็นต้น

  30. กล้วยไม้เหล่านี้และยังมีอีกหลายชนิดที่พร้อมจะ เข้าสู่ภาวะ endangered species ได้ทุกเวลา เนื่องจากได้มีการเก็บ กล้วยไม้เพื่อการค้ากันอย่างมากมาย นอกจากนี้ยังมีการลักลอบส่งเป็นสินค้าออก เพราะกล้วยไม้ไทยนี้ได้ชื่อในเรื่องของ ความสวยงาม อีกทั้งกล้วยไม้ส่วนใหญ่จะเป็นพืชอาศัยบนไม้ใหญ่ เมื่อมีการตัดฟันไม้เพื่อใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะถูกต้อง ตามกฎหมายหรือเป็นการลักลอบก็ตามย่อมเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่ของพืช ซึ่งถ้าไม่มีการวางแผน อนุรักษ์ แล้วเชื่อว่า กล้วยไม้เหล่านี้จะเข้าสู่สภาวะการเป็น endangered species ได้ในอนาคตอันใกล้

  31. NT • พืชใกล้ถูกคุกคาม Near threatened พืชที่มีคุณสมบัติเข้าอยู่ในจำพวกมีแนวโน้มที่ถูกคุกคามในอนาคตอันใกล้

  32. LC • พืชที่เป็นกังวลน้อยที่สุด Least Concern พืชที่ไม่อยู่ในภาวะถูกคุกคาม

  33. DD • พืชที่มีข้อมูลไม่เพียงพอ Data Deficient พืชที่มีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะวิเคราะห์ถึงความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์โดยตรง หรือโดยอ้อม พืชในกลุ่มนี้มีความจำเป็นต่อการจัดหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมจากการวิจัยในอนาคต

  34. The structure of the IUCN Red List Categoriesat national level

  35. 1994 IUCN Red List categories (version 2.3), used for species which have not been reassessed since 2001.

  36. เกณฑ์ของบัญชีแดง • 1) ประชากรลดลง (อดีต ปัจจุบัน และ/หรือที่คาดการณ์ไว้) • 2) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ การแบ่งแยกเป็นพื้นที่เล็กพื้นที่น้อย (fragmentation) ลดลงหรือเพิ่มๆ ลดๆ • 3) ขนาดของประชากรน้อย และแบ่งแยกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ลดลงหรือเพิ่มๆ ลดๆ • 4) ขนาดของประชากรน้อยมาก หรือมีการกระจายตัวอย่างจำกัดเป็นอย่างมาก • 5) การวิเคราะห์เชิงปริมาณเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (ตัวอย่าง เช่นการวิเคราะห์ความอยู่รอดของประชากร)

More Related