1 / 44

คำอธิบายรายวิชา

00237422/0230637 E-COMMERCE MANAGEMENT IN INTERNATIONAL BUSINESS 3(3-0-6) อาจารย์อารียา ศรีประเสริฐ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ e-mail: khunareeya@hotmail.com. คำอธิบายรายวิชา.

mikel
Download Presentation

คำอธิบายรายวิชา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 00237422/0230637 E-COMMERCE MANAGEMENT IN INTERNATIONAL BUSINESS 3(3-0-6)อาจารย์อารียา ศรีประเสริฐสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศe-mail: khunareeya@hotmail.com

  2. คำอธิบายรายวิชา • ความรู้เบื้องต้น แนวโน้ม และเทคนิคต่าง ๆ ทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปัจจัยพื้นฐานทางด้านโครงสร้าง เทคนิคทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบดั้งเดิม ได้แก่ อีดีไอ • การใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • แบบจำลองทางด้านธุรกิจสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบบธุรกิจสู่ธุรกิจและแบบธุรกิจสู่ผู้บริโภค • การตลาดบนระบบอินเทอร์เน็ต • ระบบการปฏิบัติตามสัญญาและการชำระเงิน • ปัจจัยเกี่ยวกับกฎข้อบังคับและการรักษาความปลอดภัยทางด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  3. จุดมุ่งหมายของวิชา • เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจหลักการพื้นฐาน ของพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงระบบการรักษาความปลอดภัยในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ • เพื่อให้ผู้เรียนรู้ถึงกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์

  4. ลักษณะการเรียนการสอน • การบรรยาย • สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง • ต้องอ่านหนังสือก่อนเข้าเรียน • กรุณาตรงต่อเวลา • ช้า 15 นาที : สาย • ช้า 30 นาที : ขาด • ขาดเรียนเกิน 80%: หมดสิทธิ์สอบ • สามารถ download เอกสารได้ที่ http://course.eau.ac.th

  5. เอกสารประกอบการเรียน กิตติ ภักดีวัฒนะกุล, คัมภีร์การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce), กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์,2547 ฉันทวุฒิ พืชผล, เปิดโลกการค้าอิเล็กทรอนิคส์, กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น 2541 ซีย์โบลด์, แพตริเซีย บี., Customers.com กลยุทธ์สร้างผลกำไรในธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ, กรุงเทพฯ : ซายน์ซอฟต์ คอร์ปอเรชั่น,2543 เอกปิยะ อดุลวุฒิกรชัย, กลยุทธ์การบุกเบิกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับ SME,กรุงเทพฯ : สามย่าน.com ,2544

  6. การส่งงาน • ต้องตรงต่อเวลา • เวลาเรียนไม่ครบ 80% ไม่มีสิทธิ์สอบ • ส่งช้าหักวันละ 10 %

  7. เกณฑ์การให้คะแนน • คะแนนเก็บตลอดภาค 20 % • จิตพิสัย 3% • แบบฝึกหัด 17 % • รายงาน (และการนำเสนอรายงาน) 10% • สอบย่อย 20 % • สอบปลายภาค50 % • รวม100%

  8. การประเมินผล ประเมินผลแบบอิงเกณฑ์

  9. บทที่ 1แนะนำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

  10. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ECRC Thailand, 1999) • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO,1998)

  11. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร?พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร? • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และครอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร แคตะล็อกอิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร” (ESCAP, 1998)

  12. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของการประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

  13. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์คืออะไร • “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งขึ้นอยู่กับการประมวลและการส่งข้อมูลที่มีข้อความ เสียง และภาพ ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงการขายสินค้าและบริการด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การขนส่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาข้อมูลแบบดิจิทัลในระบบออนไลน์ม การโอนเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ การจำหน่ายหุ้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ใบตราส่ง การประมูล การออกแบบและวิศวกรรมร่วมกันการจั้ดซื้อจ้ดจ้างของภาครัฐ การขายตรง การให้บริการหลังการขาย ทั้งนี้ใช้กับสินค้า (เช่น สินค้าบริโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์) และบริการ (เช่น บริการขายข้อมูล บริการด้านการเงิน, บริการด้านกฎหมาย) รวมทั้งกิจการทั่วไป (เช่น สาธารณสุข การศึกษา ศูนย์การค้าเสมือน (Virtual Mall)) ” (European Union, 1997)

  14. สรุป จากนิยามทั้งหมดข้างต้น สรุปได้ว่า • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การซื้อ การขาย หรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และข้อมูลข่าวสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Kalakota and Whinston (1997) ในที่นี้หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ • แสดงให้เห็นว่าพาณิชย์มีขอบเขตที่กว้างขวางอย่างยิ่ง ทั้งในเชิงเทคโนโลยีที่มีการใช้อุปกรณ์พื้นฐานจำพวกโทรศัพท์ โทรสาร บาร์โค้ด บัตรแถบแม่เหล็ก บัตรอัจฉริยะ (Smart Card) ตลอดจนระบบที่มีขนาดและความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ระบบอีดีไอ ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ • เทคโนโลยีที่มีผลต่อการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แก่ “เครือข่ายอินเทอร์เน็ต” ที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อถึงผู้บริโภค ทั่วโลกได้ตั้งแต่การโฆษณาสินค้า สั่งซื้อ ชำระเงิน จัดการระบบขนส่งสินค้า ตลอดจนบริการหลังการขาย

  15. ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • การสั่งพิซซ่าทางโทรศัพท์ • การของบัตรชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ • การส่งข้อมูลใบขนสินค้าให้กรมศุลกากรผ่านระบบ EDI • การซื้อหนังสือจากเว็บไซต์ Amazon.com

  16. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)ผ่านทางอินเทอร์เน็ต • การค้า E-Commerce เป็นการซื้อ-ขายผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันทั่วโลกโดยใช้เว็บไซด์(Web Site)เป็นที่ตั้งของบริษัท มีโดเมนเนมเป็นชื่อร้านค้า และเว็บเพจ (Web page)เป็นสื่อกลางในการแสดงรายละเอียดของสินค้าและบริการ พร้อมราคา ตลอดจนถึงวิธีการขนส่ง และการชำระเงิน • ดังนั้นจำนวนผู้เล่นอินเทอร์เน็ตและ เว็บไซด์ที่มีคนรู้จักมาก จะมีผลต่อความสำเร็จในการค้าแบบE-Commerce • ปัจจุบัน E-Commerce ในไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

  17. ตัวอย่าง E-Commerce

  18. ความหมาย e-Commerce ความหมายของ E-Commerceในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ • การสื่อสารและคมนาคม E-Commerce คือ การขนส่ง หรือส่งมอบสินค้า บริการ ข้อมูลข่าวสาร หรือ การชำระเงินผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ • การบริหารธุรกิจ E-Commerce คือ การนำเทคโนโลยีไปใช้ในกระบวนการ และ ขั้นตอนการทำงานของธุรกิจ • การบริการE-Commerce คือ เครื่องมือที่จำเป็นขององค์กร ใช้ในการจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพิ่มคุณภาพสินค้า และเพิ่มความเร็วของการให้บริการแก่ลูกค้า

  19. ความหมาย e-Commerce (ต่อ) • การ Online E-Commerceคือ ความสามารถ ในการซื้อ การขายสินค้า และข้อมูลข่าวสาร บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่าย Online อื่น ๆ • สังคมชุมชนE-Commerceคือ สถานที่พบปะ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และร่วมมือกันของสมาชิก • องค์กรความร่วมมือE-Commerceคือ กรอบของความร่วมมือขององค์กรในประเทศ และต่างประเทศ

  20. ความหมาย e-Business • ความหมายของคำว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ซึ่งหมายถึงการซื้อขายระหว่างผู้ซื้อ กับ ผู้ขาย อาจจะเป็นความหมายที่ค่อนข้างแคบ และถือเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า e-Businessซึ่งความหมายจะครอบคลุมถึงการบริการลูกค้า การร่วมมือระหว่างบริษัท-บริษัทคู่ค้า โดยดำเนินการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์

  21. ความหมาย e-Business (ต่อ) • e-Business : หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยี ด้านอิเล็กทรอนิกส์ หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งในส่วนของหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office)รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วย อาทิเช่น กับธนาคารโดยใช้ระบบ e-Banking หรือกับ Suppliers โดยผ่านระบบ e-Supply Chain ทั้งนี้โดยอาศัยสื่อ ทั้งในรูปของ Internet,Intranet และ Extranet Electronic Commerce

  22. ความหมาย e-Business (ต่อ) • e-Businessหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเกี่ยวกับเวลา ความเร็ว โอกาส ที่จะทำให้มีโอกาสได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างองค์กรเพื่อสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน (IBM’ s CEO)

  23. สรุป E-Commerce กับ E-Business เหมือนกันหรือแตกต่างอย่างไร มีคนจำนวนมากเข้าใจว่า E-Business ก็คือ E-Commerce ซึ่งในความจริงแล้วมีความหมายไม่เหมือนกัน โดยที่ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Business ซึ่งมีความหมายที่กว้างกว่า ความหมาย E-Businessการทำกิจกรรมทั้งหมดเกี่ยวกับการขาย การตลาด การผลิต การเงิน การบริหารบุคคล การสั่งซื้อวัตถุดิบ และกิจกรรมในการดำเนินธุรกิจทั้งหมด โดยใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้าไปประยุกต์และเป็นตัวเชื่อมต่อในทุกกิจกรรมหรือขั้นตอนของธุรกิจ ในขณะที่ E-Commerce มีความหมายในส่วนของการซื้อ-ขาย สินค้าและบริการ เท่านั้น

  24. Communication and Collaboration e-Business Internal Business System Telecommunication Networks e-Business ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โครงข่ายโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบธุรกิจภายในองค์กร

  25. เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) • ปัจจุบันเรากำลังก้าวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจใหม่ หรือที่เรียกว่า “เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) “ ที่ระบบการค้าและการเงินของโลกจะเข้าสู่ระบบที่ใช้วิธีการโอนถ่ายข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มากกว่าจะใช้กระดาษแบบเก่า • การเข้ามาของ E-commerce ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เป็นการนำเราเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ (New Economy) อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นระบบการค้าที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมที่ทรัพย์สินจับต้องไม่ได้ (Intangible Asset) มากกว่าทรัพย์สินที่จับต้องได้ (Tangible Asset) หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจแบบเก่า นั่นคือ ที่ดิน เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุน Electronic Commerce

  26. เศรษฐกิจแบบดิจิทัล (Digital Economy) (ต่อ) E-commerce E-Business Digital Economy Electronic Commerce

  27. Pure E-commerce and Partial E-commerce • Pure E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerce ในรูปแบบดิจิตอล Digital ทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนที่เริ่มจาก • การสั่งซื้อสินค้า หรือ บริการ • กระบวนการชำระเงิน • การส่งมอบ • ตัวอย่างเช่น การซื้อขาย โปรแกรม เพลง หรือ เกมส์ ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต Electronic Commerce

  28. Pure E-commerce and Partial E-commerce (ต่อ) • Brick and Mortar Organization คือ องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบทั่วไปขององค์กรธุรกิจ (Pure Physical) เช่น การซื้อสินค้าด้วยตนเอง หรือสั่งซื้อผ่านพนักงาน (Sales) • Click and Mortar Organizationคือ องค์กรที่มีกระบวนการซื้อขายสินค้าแบบ EC ในบางขั้นตอน หรือ บางส่วนของกระบวนการทั้งหมด • Partial E-commerceคือ การทำธุรกรรม E-commerceที่บางขั้นตอนยังอยู่ในรูปแบบกายภาพ (Physical) เช่น การสั่งซื้อตำรา ต้องมีการขนส่งผ่านระบบขนส่งปกติทั่วไป หรือ การชำระเงินโดยใช้วิธีโอนผ่านธนาคาร หรือ ATM เป็นต้น Electronic Commerce

  29. The Dimensions of EC Source: Choi et al. (1997), p. 18.

  30. Internet vs. Non-Internet EC • การค้าแบบ E-commerce ส่วนมากใช้สื่ออินเทอร์เน็ต • บางระบบใช้เครือข่าย VAN (Value Added Network : เป็นเครือข่ายเสริมคุณค่าสำหรับธุรกิจ ที่มีผู้ดูแลโดยเฉพาะ มักจะใช้ในระบบ EDI ระหว่างบริษัทคู่ค้า) • หรือ LANs (Local Area Network : เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะใกล้) • หรือ เครื่องแมชชีนแบบ Stand Alone ยกตัวอย่างเช่น การซื้ออาหาร หรือ เครื่องดื่มผ่านเครื่องตู้แมชชีนเฉพาะ โดยชำระเงินด้วยบัตรสมาร์ดการ์ด Electronic Commerce

  31. กรอบการทำงาน (e-Commerce Framework)

  32. กรอบการทำงาน ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้ ส่วนที่ 3 การสนับสนุน ส่วนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่ 4 การจัดการ

  33. กรอบการทำงาน ส่วนที่ 2 โครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่ 1 การประยุกต์ใช้ Network System Communication Channel Security and Payment System e- Retailing e- Advertising e-Auction e-Service e-Government m-Commerce ส่วนที่ 3 การสนับสนุน e-Commerce Application Development Strategic Planning for e-Commerce e-Commerce Law Domain Name Registration Web Site Promotion ส่วนที่ 4 การจัดการ Business Model

  34. การประยุกต์ใช้(e-Commerce application)

  35. การประยุกต์ใช้ • ด้านการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (e-Retailing) • ด้านการโฆษณาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Advertisement) • ด้านการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) • ด้านการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) • ด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) • ด้านโมบายคอมเมิร์ช (M-Commerce)

  36. โครงสร้างพื้นฐาน(e-Commerce infrastructure)

  37. โครงสร้างพื้นฐาน • องค์ประกอบหลักด้านเทคโนโลยีที่จะนำมาพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ระบบเครือข่าย (Network) • ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) • การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา (Format and Content Publishing) • ระบบรักษาความปลอดภัย (Security) Electronic Commerce

  38. การสนับสนุน • สนับสนุนการประยุกต์ใช้ e-Commerce ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • การพัฒนาระบบงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Application Development) • การวางแผนกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Strategy) • กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Law) • การจดทะเบียนชื่อโดเมนเนม (Domain Name Registration) • การโปรโมทเว็บไซต์ (Web Site Promotion)

  39. ประเภทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(classification of e-commerce)

  40. ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถจัดประเภทของการดำเนินธุรกิจออกได้เป็นหลายรูปแบบคือแยกตามคู่ค้า • กลุ่มธุรกิจค้ากำไร (Profits) • กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profits)

  41. กลุ่มธุรกิจค้ากำไร (Profits) • Business-to-Business (B2B) • Business-to-Consumer (B2C) • Consumer-to-Consumer (C2C) • Consumer -to-Business (C2B) Business Consumer B2B C2B Business B2C C2C Consumer

  42. กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profits) • Intrabusiness (Organization) e-Commerce • Business-to-Employee (B2E) • Government-to-Citizen (G2C) • Collaborative Commerce (C-Commerce) • Exchange-to-Exchange (E2E)

  43. Q & A

  44. Assignment • เลือกบริษัท dot com (ต่างประเทศ) 1 บริษัท บริษัทไทย 1 บริษัท • จัดทำเป็นรายงาน 2 หน้ากระดาษ A 4 โดยมีหัวข้อต่อไปนี้ 1. รายละเอียดเกี่ยวกับ Domain ได้แก่ • ชื่อ Domain • ปีที่เริ่มจดทะเบียน และสิ้นสุด • ผู้ที่เป็นเจ้าของ • ที่อยู่ของบริษัท • หน้า Homepage 2. สินค้าหรือบริการที่นำเสนอ 3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมายโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ 4. รูปแบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น แบบ B2C C2C หรือ B2B หรือผสม

More Related