190 likes | 719 Views
การจัดทำแผนการเรียนรู้ การใช้ปัญหาเป็นฐานการเรียนรู้ (PBL). การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้. หากอาจารย์จะต้องเตรียมตัวสอนในรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย จะมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร. คำอธิบายรายวิชา การกำหนดเนื้อหา มคอ.2 (จุดมุ่งหมายของรายวิชา) การแบ่งสัดส่วนคะแนน การกำหนดรูปแบบการสอน
E N D
การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ • หากอาจารย์จะต้องเตรียมตัวสอนในรายวิชาที่ได้รับมอบหมาย จะมีขั้นตอนการดำเนินงานอย่างไร
คำอธิบายรายวิชา • การกำหนดเนื้อหา • มคอ.2 (จุดมุ่งหมายของรายวิชา) • การแบ่งสัดส่วนคะแนน • การกำหนดรูปแบบการสอน • การกำหนดรูปแบบการประเมิน
(NUS ; National University of Singapore) NUS ได้มีการเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ ซึ่งแต่เดิม NUS ก็ใช่วิธีการเล็คเชอร์เหมือนที่อื่นๆ (มหาวิทยาลัยเมืองไทย) ให้กลายมาเป็นProblem-based Learning (การใช้ปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ หรือ PBL) “เขาไม่ได้เปลี่ยนหลักสูตร แต่เปลี่ยนวิธีการสอน ...เช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยขั้นนำของโลก …. สิ่งที่เป็นปัจจัยความสำเร็จของมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ใช่หลักสูตร ไม่ใช่ตึกเรียนทันสมัย แต่คือ วิธีการสอน” ทางฝ่ายผู้บริหาร NUS ก็ตอกย้ำว่า "ความรู้จากเล็คเชอร์นั้น นักศึกษาเรียนจบแล้วเอาไปใช้ได้แค่ 3 ปีถึง 5 ปี ความรู้นั้นก็ล้าสมัยแล้ว” เพราะมันคงทำให้ความรู้นั้น “ตาย” อย่างไม่เกิดประโยชน์ ซ้ำยังไม่เพิ่มทักษะการศึกษาค้นคว้าให้แก่บัณฑิตเมื่อเรียนจบกลับออกไปทำงาน
สอนเนื้อหาไปบางส่วนก่อน หลังจากจากนั้นก็ทดลองให้นักเรียนแก้ปัญหาเป็นกลุ่มย่อย ซึ่งเป็นวิธีสอนแบบแก้ปัญหา แต่เป็นการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem solving method) • หรือผู้สอนว่าไปตามทฤษฎี เนื้อหาที่สอนแล้วก็ยกกรณีศึกษาขึ้นมาให้นักเรียนถกกัน ก็ไม่ใช่วิธีการสอนแบบ PBL
หากแต่ PBL นั้นผู้สอน ต้องนำปัญหาที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์วิชาของผู้เรียนโดยตรงต้องมาก่อนแล้วใช้ปัญหาหรือกรณีศึกษานั้นเป็นโจทย์กระตุ้นเพื่อให้ผู้เรียนไปค้นคว้าหาความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเอง เพื่อจะได้ค้นพบคำตอบของปัญหาดังกล่าว โดยกระบวนการหาความรู้ด้วยตนเองนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา (Problem solving skill) ระหว่างการเรียนผู้สอนอาจจะแนะแนวทางการค้นหาคำตอบหากเห็นว่าจะไม่อยู่ในศาสตร์วิชาที่สอนนั้นได้
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ การเรียนรู้ที่ใช้ลักษณะการตั้งปัญหาเป็นประเด็นนำ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้มาเพื่อขบคิดแก้ไขปัญหา หรือเรียนรู้จากปัญหาอาจเป็นสถานการณ์จริง ได้ถูกนำมาใช้อย่างได้ผลในหลายระดับการศึกษา เป็นรูปแบบการเรียนอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และรู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีมของผู้เรียน โดยผู้สอนมีส่วนร่วมน้อยแต่ก็ท้าทายผู้สอนมากที่สุด
ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานประกอบด้วย • 1. ใช้ปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงเป็นตัวกระตุ้นหรือจุดเริ่มต้นในการแสวงหาความรู้ • 2. การบูรณาการเนื้อหาความรู้ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น • 3. เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ • 4. เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีครู หรือ ผู้สอนเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้น ผู้เรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม • 5. เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้
วัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่ • 1. ได้ความรู้ที่สอดคล้องกับบริบทจริงและสามารถนำไปใช้ได้ • 2. พัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ การให้เหตุผล และการนำไปสู่การ แก้ปัญหาที่มีประสิทธิผล • 3. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง • 4. ผู้เรียนสามารถทำงานและสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ • 5. เป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน • 6. ความคงอยู่ของความรู้จะนานขึ้น
ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL • 1. ความสำคัญของเนื้อหา ต้องเลือกเนื้อหาที่เป็นแกน หรือหลักการและสอดคล้องกับการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง • 2 คุณภาพของโจทย์ปัญหา ต้องเลือกปัญหาที่พบบ่อยในสถานการณ์จริงและสร้างปัญหาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ปัญหาที่ดีจะต้องน่าสนใจและกระตุ้นในผู้เรียนสามารถอภิปรายและเรียนลงไปในระดับลึกจนเข้าใจแนวคิดของปัญหามากกว่าการท่องจำสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมของผู้เรียนกับข้อมูลใหม่ • 3 กระบวนการกลุ่ม ทั้งครูและผู้เรียนต้องเข้าใจพลวัตรของกระบวนการกลุ่ม บทบาทของแต่ละคนในกลุ่ม กระบวนการกลุ่มที่ดีจะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อคุณภาพของการจัดการเรียนการสอนแบบ PBL • 4.บทบาท และทักษะของครู ครูหรือผู้สอนยังมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน แต่จะเปลี่ยนไปจากการสอนแบบบรรยาย ดังได้กล่าวมาแล้ว • 5. การพัฒนาทักษะต่างๆ ของทั้งครูและผู้เรียน ครูอาจไม่มั่นใจตนเองในการที่ต้องเป็นครูในวิชาที่ตนไม่ชำนาญ ครูจะต้องได้รับการพัฒนาและฝึกทักษะต่างๆ ของการเป็นครูประจำกลุ่ม จะช่วยให้การเรียนการสอนประสบความสำเร็จมากขึ้น ผู้เรียนก็จะต้องรับความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนแบบนี้ • 6.ทรัพยากรการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ที่สำคัญ การเตรียมและจัดหาแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่หลากหลาย พร้อมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องจึงมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน • 7.การบริหารจัดการ ความร่วมมือและประสานงานกันระหว่างภาควิชาหรือหน่วยงาน ตลอดจนการวางแผนงานที่เหมาะสมจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ
หากต้องการให้ ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียน ผู้สอนต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนก่อน