630 likes | 1.37k Views
Digestive System. Feed and Feeding. กระบวนการย่อยอาหาร ( digestion). แบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ การย่อยโดยวิธีกล ( mechanical digestion) ได แก การเคี้ยวอาหารในปาก การบดอาหารในส่วนของกระเพาะบด ( gizzard) ของสัตว์ปีก
E N D
Digestive System Feed and Feeding
กระบวนการย่อยอาหาร (digestion) แบ่งได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ • การย่อยโดยวิธีกล (mechanical digestion)ไดแก การเคี้ยวอาหารในปาก การบดอาหารในส่วนของกระเพาะบด (gizzard) ของสัตว์ปีก • การย่อยโดยวิธีเคมี (chemical digestion) เป็นการย่อยอาหารโดยอาศัยเอ็นไซม์จากส่วนต่างๆ ของอวัยวะย่อยอาหาร และอวัยวะที่เกี่ยวข้อง • การย่อยโดยจุลินทรีย์ (microbial digestion) โดยเอนไซม์จากจุลินทรียที่อาศัยอยู่ในส่วนของกระเพาะรูเมนและลำไส้ใหญ่
1. สัตว์กระเพาะเดี่ยว ไดแก สัตว์กินเนื้อ (carnivorous) เช่น เสือ สิงโต เป็นต้น สัตว์กินพืช (herbivorous) เช่น ช้าง กระต่าย เป็นต้น และสัตว์ที่กินเนื้อและเมล็ดธัญพืช (omnivorous) เช่น สุกร สัตว์ปีก เป็นต้น • 2. สัตว์กระเพาะรวม เป็นสัตว์ที่ท่อทางเดินอาหารมีการพัฒนามาก เพื่อให้เหมาะสมกับอาหารที่กินคืออาหารที่มีเยื่อใยสูง ไดแก โค กระบือ แพะ และ แกะ เป็นต้น
ท่อทางเดินอาหาร ท่อทางเดินอาหาร ในสัตว์แต่ละชนิดประกอบด้วย • ปาก (mouth) • คอหอย (pharynx) • หลอดอาหาร (esophagus) • กระเพาะอาหาร (stomach) • ลำไส้เล็ก (small intestine) • ลำไส้ใหญ่ (large intestine)
สัตว์ปีก (Avian) • 1. ปาก (Mouth) • 2. คอหอย (Pharynx) • 3. หลอดอาหาร (Esophagus) • 4. ถุงพักอาหาร (Crop) • 5. กระเพาะอาหาร (Proventiculus) • 6. กึ๋น (Gizzard) • 8. ลำไส้ใหญ่ (Colon) • 9. ทวาหนัก (Anus)
สัตว์เคี้ยวเอื้อง (Ruminants) • 1. ปาก (Mouth) • 2. คอหอย (Pharynx) • 3. หลอดอาหาร (Esophagus) • 4. รูเมน (rumen) • 5. เรติคูลัม (reticulum) • 6. โอมาซัม (omasum) • 7. กระเพาะจริง (abomasum) • 7. ลำไส้เล็ก (Intestine) ทำหน้าที่ย่อยทางเคมี และดูดซึมสารอาหาร • 8. ลำไส้ใหญ่ (Colon) ทำหน้าที่กำจัดกากอาหารออกนอกร่างกาย • 9. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดปลายสุดของลำไส้ใหญ่ ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหาร
ปาก (Mouth) • ปากประกอบด้วย • ริมฝีปาก (lips) • ลิ้น (tongue) • ฟน (teeth) • เพดานปาก • ตอมน้ำลาย (salivary glands)
ฟน (Teeth) • สัตว์ชั้นสูงส่วนใหญ่มีฟันอยู่ 2 ชุด คือฟันน้ำนม และ ฟันแท้ • 1.ฟันน้ำนม (deciduous teeth) หมายถึงฟันชุดที่งอกขึ้นมาตั้งแต่แรกเกิดมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะหลุดออกไปเมื่อมีฟันแท้ขึ้นมาแทนที่ • 2.ฟันแท้ (permanent teeth) หมายถึง ฟันชุดที่เจริญขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนมเมื่อสัตว์เจริญเติบโต มีทั้งหมด 32 ซี่ • โดยสัตว์ปีกจะไม่มีฟัน • โคจะไม่มีฟันหน้าบนและฟันเขี้ยว
ลิ้น (Tongue) • มีตุ่มรับรส และทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารในช่องปาก • ลิ้นสามารถรับรสได้ 4 รส • รสหวาน อยู่บริเวณปลายลิ้น • รสเค็ม อยู่บริเวณปลายลิ้นและข้างลิ้น • รสเปรี้ยว อยู่บริเวณข้างลิ้น • รสขม อยู่บริเวณโคนลิ้น โดยสัตว์ปีกจะไม่มีตุ่มรับรสบนลิ้น
ต่อมน้ำลาย (Salivary glands) • - Parotid gland เป็นต่อมน้ำลายข้างกกหู ซึ่งมีขนาดใหญ่สุด • - Submaxillary gland พบอยู่ใต้ต่อมน้ำลายข้างกกหู • - Sublingual gland พบอยู่ใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายขนาดเล็กสุด • - ในน้ำลายมีเอนไซม์ไทยาลินเปน ส่วนประกอบ ช่วยในการ่อยอาหารประเภทแปง
คอหอย หรือ หลอดคอ (Pharynx) • คอหอยเป็นท่อเปิดร่วมระหว่างทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร • มีส่วนของ epiglottis ทำหน้าที่ปิดส่วนของระบบหายใจ (หลอดลม) • เมื่อสัตว์หายใจ epiglottis จะปิดช่องระหว่างลำคอกับหลอดอาหารทำให้อากาศที่หายใจผ่านช่องจมูกเข้าสู่หลอดลมไดสะดวก
หลอดอาหาร (Esophagus) • เป็นท่อทางเดินอาหารที่เชื่อมต่อระหว่างคอหอยกับกระเพาะอาหาร ส่วนต้น (cardiac) • บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะมีกล้ามเนื้อหูรูด (cardiac sphincter) ทำหน้าที่ควบคุมการเขาออกของอาหารสูกระเพาะ
กระเพาะอาหาร (Stomach) • กระเพาะอาหารของสัตว์กระเพาะเดี่ยว
กระเพาะอาหารสัตวกระเพาะเดี่ยวกระเพาะอาหารสัตวกระเพาะเดี่ยว • จะรับอาหารจากหลอดอาหาร และคลุกเคล้ากับน้ำย่อยจากกระเพาะให้เป็นของเหลวเรียกว่า chyme ก่อนที่เคลื่อนลงสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น • สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สวน คือ • Cardiac Region • Fundus • Pylorus
กระเพาะอาหารของสัตวเคี้ยวเอื้องกระเพาะอาหารของสัตวเคี้ยวเอื้อง แบ่งออกเป็น 4 สวน • กระเพาะรูเมน หรือ กระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen) • กระเพาะรังผึ้ง (reticulum) • กระเพาะส่วนสามสิบกลีบ (omasum) • กระเพาะแท้ (abomasum)
Rumen • มีความจุประมาณ 80%ของกระเพาะทั้งหมด • อยู่ติดกับผนังด้านซ้ายของช่องท้อง • ผนังภายในประกอบด้วยแผ่นเล็กๆเรียกว่า Papillae • ทำหน้าที่คลุกเคล้าอาหารและดูดซึม VFA
Reticulum • เป็นถุงขนาดเล็ก ผนังภายในมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง • มีความจุประมาณ 5%ของกระเพาะทั้งหมด • อยู่ติดกับส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน โดยมีผนังกันrumino-reticular fold ซึ่งปิดไม่สนิท
Omasum • กระเพาะส่วนนี้อยู่ติดกับผิวบนส่วนหน้าของกระเพาะรูเมน • มีลักษณะเป็นรูปกลมและมีปริมาตรความจุประมาณ7-8%ของกระเพาะทั้งหมด • ลักษณะภายในมีลักษณะเป็นแผ่นซึ่งเรียกว่า laminae ซึ่งบนผิวของแผ่นเหล่านี้มีปุ่มอยู่ทั่วทั้งแผ่น • กระเพาะส่วนนี้ทำหน้าที่ดูดเอาของเหลวในอาหารกลับ
Abomasum • กระเพาะจริงอยู่ติดด้านขวาของกระเพาะรูเมนและอยู่ติดกับพื้นล่างของช่องท้อง • ทางเปิดเชื่อมต่อจากกระเพาะ omasum • ภายในมีต่อมที่สามารถผลิตน้ำย่อยกระจายอยู่ตามเนื้อเยื่อเมือก • ส่วนปลายของกระเพาะเปิดเข้าสู่ลำไส้เล็กมีกล้ามเนื้อหูรูด (pyloric-orifice)
ขบวนการเคี้ยวเอื้อง • Regurgitation= การขยอกอาหารจากกระเพาะหมักกลับไปที่ปาก • Swallowing = การกลืนกลับของเหลวลงที่ท้อง • Remastication = การเคี้ยวอาหารที่ขยอกออกมาให้ละเอียด • Reinsalivation= การเคี้ยวและการขับหลั่งน้ำลาย • Reswallowing = การกลืนอาหารกลับลงสู่กระเพาะหมัก
ลําไสเล็ก (small intestine) ผนังของลำไส้เล็กจะมี microvilli ทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมโภชนะ ซึ่งลำไส้เล็กแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ • ลำไส้เล็กส่วนต้น (duodenum) • เจจูนัม (Jejunum) • ไอเลียม (Ileum)
ลำไส้ใหญ่ • ทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและแรธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย • ถ้ามีเชื้อโรคเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะทำให้ลำไส้ใหญ่ดูดน้ำกลับสู่เลือดไม่ได้ ทำให้เกิดโรคท้องเดิน (Diarrhea) • และถ้ากากอาหารอยู่ในลำไส้ใหญ่นานเกินไป จะถูกลำไส้ใหญ่ดูดน้ำออกมามาก ทำให้เกิดโรคท้องผูก (Constipation) • ลำไส้ใหญ่มีความยาวประมาณ 1.5 เมตร แบ่งได้เป็น 3 สวนคือ • สวนไสติ่ง( caecum) • โคลอน (Colon) • ไส้ตรง (Rectum)
อวัยวะที่ชวยในการยอยอาหารอวัยวะที่ชวยในการยอยอาหาร ตับ (liver) • ผลิตน้ำดีเพื่อช่วยในการย่อยไขมันในส่วนลำไส้เล็ก • เกี่ยวข้องกับขบวนการเมตาโบลิซึมของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน • ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย (detoxification) เช่น การเปลี่ยนรูปของแอลกอฮอล์ให้เป็นน้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ • ทำหน้าที่สร้างเกลือของกรดน้ำดี (bile salt)
ตับออน (pancreas) ทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยสำหรับย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต หรือ ไขมัน โดยมีท่อเปิด (pancreatic duct) เข้าสู่ลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งสารและเอนไซม์ที่สำคัญ ไดแก • โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (NaHCO3) • เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) • เอนไซม์ไลเพส (pancreatic lipase) ทำงานได้ดีที่ pH 8.0
สารและเอนไซม์จากตับอ่อนสารและเอนไซม์จากตับอ่อน • - ทริปซิโนเจน (Trypsinogen) เป็นสารเคมีที่ไม่พร้อมจะทำงาน ต้องอาศัยเอนไซม์เอนเทอโรไคเนส (Enterokinase) จากลำไส้เล็ก • - ไคโมทริปซิโนเจน (Cyhmotrypsinogen) • - โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส (Procarboxypeptiddase) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนตรงปลายสุดด้านหมู่คาร์บอกซิลเท่านั้น
ฮอร์โมนจากระบบทางเดินอาหารฮอร์โมนจากระบบทางเดินอาหาร • แกสตริน (Gastrin) • ซีครีติน (Secretin) • โคเลซีสโตไคนิน (Cholecystokinin;CCK) • เอนเทอโรแกสโตรน (Enterogastron)
การย่อยอาหารในปาก • ในสัตว์กระเพาะเดี่ยวการย่อยอาหารในปากเกิดจากการย่อยโดยวิธีกลและวิธีเคมี • เมื่ออาหารถูกนำเขาปากอาหารจะถูกเคี้ยวทำให้มีขนาดเล็กลงมีการคลุกเคล้าอาหารผสมกับน้ำลายเพื่อให้ชิ้นอาหารอ่อนนุ่มและสะดวกในการกลืน • ในสัตว์บางชนิด เช่น สุกร สุนัข และม้า น้ำลายมี เอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ในการย่อยคาร์โบไฮเดรตในอาหารได้บางส่วน • ในสัตว์กระเพาะรวมน้ำลายจะไมมีเอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต • ลูกสัตว์จะมีเอนไซม์ที่ใช่ย่อยไขมันในอาหาร คือ เอนไซม์ pregastric lipase ทำหน้าที่ย่อยไขมันในกลุ่มบิวทีริก ซึ่งเอนไซม์นี้จะหมดไปเมื่อลูกสัตว์หย่านม
การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร • Cephalic Phase เป็นระยะรับกลิ่น รส หรือนึกถึงอาหาร เส้นประสาท Vagus จากสมองจะกระตุ้นให้กระเพาะเคลื่อนที่และการหลั่งสาร • Gastric Phase เป็นระยะที่ก้อนอาหาร (Bolus) เข้าสู่กระเพาะอาหาร และหลั่งฮอร์โมน Gastrin ไปกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่ง HCl ออกมารวมกับ Pepsinogen • Intestinal Phase เป็นระยะที่อาหาร (Chyme) ออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็ก
การย่อยอาหารในลำไสเล็กการย่อยอาหารในลำไสเล็ก • เป็นการย่อยโดยวิธีกลจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้เล็ก • เป็นการย่อยโดยวิธีเคมีที่เกิดจากเอนไซม์ที่ผลิตจากเซลล์เยื่อบุของลำไส้เล็กและเอนไซม์จากตับอ่อน • โภชนะที่ถูกย่อยในลำไสเล็ก ไดแก โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไวตามิน และแรธาตุ
เอนไซม์ในลําไสเล็ก • - Enterokinase ช่วยเปลี่ยน trypsinogen และ procarboxypeptidase ที่หลั่งจากตับอ่อนให้เป็น trypsin และ carboxypeptidase • - เอนไซม์ย่อยคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ Amylase, Maltase, Sucrase, Lactase • - Peptidase มีหลายชนิด เช่น Aminopeptidase, Dipeptidase • - เอนไซม์ไลเพส ช่วยย่อยไขมันให้เป็นกรดไขมัน และกลีเซอรอล
การดูดซึมโภชนะ • การดูดซึมแบบไม่ใช้พลังงาน (passive transport) ไดแก • osmosis • diffusion (การแพร) • facilitated diffusion (การแพรแบบมีตัวพา) • การดูดซึมแบบใช้พลังงาน (active transport) • pinocytosis • phagocytosis • active transport
Endocytosis • มี 2 ชนิด คือ • Pinocytosis เป็นกลไกการขนส่งสารเข้าสู่เซลล์โดยการทำให้เยื่อหุ้มเซลล์เว้าเข้าไปในไซโตพลาสซึมจนกระทั่งโมเลกุลของสารนั้นหลุดเข้าไปในเซลล์ในลักษณะถุงเล็กๆ (vesicle) • Phagocytosisเป็นกลไกการขนส่งสารที่เป็นเซลล์ขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์โดยการสร้างเท้าเทียมไปโอบหุ้ม จนกระทั่งโมเลกุลของสารนั้นหลุดเข้าไปในเซลล์ในลักษณะถุงเล็กๆ (vesicle)
Osmosis • เป็นการดูดซึมโภชนะโดย โภชนะเคลื่อนที่ไปพรอมกับโมเลกุลของน้ำที่ละลายตัวอยู่ • โดยโภชนะเคลื่อนที่ผ่านผนังเซลล์เมมเบรนของเยื่อบุผิวของระบบทางเดินอาหาร ทางรูผนังเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร (membrane pore) • เป็นการดูดซึมโดยไม่ใช้ATP
Diffusion • Passive diffusion (การแพร) เป็นการดูดซึมสารโดยการเคลื่อนตัวจะเคลื่อนจากที่ๆมีความเข้มข้นสูงไปสูความเข้มข้นต่ำกว่า • Facilitated diffusion เป็นการขนส่งโภชนะโดยอาศัยตัวพาหรือตัวช่วยขนส่งสาร (carrier) เช่น โคเอนไซม์ต่าง ๆ (coenzyme)
Active transport • เป็นขบวนการผ่านของโภชนะที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ที่ผนังเซลล์เมเบรนโดยใช้ ATP และตัวพา (carrier) • นอกจากนี้จะต้องใช้เอนไซมATPase ดวย • เป็นการขนส่งสารจากที่มีความเข้มข้นต่ำไปยังที่มีความเข้มข้นสูงกว่า • เช่น การดูดซึมน้ำตาลที่ผนังเยื่อบุลำไสเล็ก การดูดซึมกรดอะมิโน และการขนส่ง Na+ ออกจากเซลล์
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรตการดูดซึมคาร์โบไฮเดรต