280 likes | 389 Views
โฮมเพจ( Home page ). จัดทำโดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ห้อง ข 1. นางสาว สุประภา คณาภิบาล เลขที่ 41 2. นางสาว หนึ่งฤทัย ปิ่นตบแต่ง เลขที่ 49 3. นางสาว อรุณกมล แพวิเศษ เลขที่ 59. โฮมเพจ คืออะไร ???. - โฮมเพจ ( Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลัก
E N D
จัดทำโดย นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ห้อง ข 1.นางสาว สุประภา คณาภิบาล เลขที่ 41 2.นางสาว หนึ่งฤทัย ปิ่นตบแต่ง เลขที่ 49 3.นางสาว อรุณกมล แพวิเศษ เลขที่ 59
-โฮมเพจ (Home Page) คือเว็บเพจหน้าแรกซึ่งเป็นทางเข้าหลัก ของเว็บไซท์
โดยทั่วไปแล้วในแต่ละเว็บไซต์จะมีโฮมเพจ (Home page) หรือหน้าต้อนรับ (welcome page) ซึ่งจะปรากฏเป็นหน้าแรก โดยเป็นทางเข้าหลักของเว็บไซต์ เมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมา โฮมเพจ (Home page) ก็จะเปรียบเสมือนกับเป็นสารบัญและคำนำที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตน • นอกจากนี้ ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารหรือข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นๆได้อีก ซึ่งโฮมเพจ สามารถเชื่อมโยงกับเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆได้อีกเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่างโฮมเพจ ตัวอย่าง โฮมเพจของวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
ตัวอย่างโฮมเพจ ตัวอย่าง โฮมเพจของ www.google.co.th
การแบ่งพื้นที่การใช้งานในหน้าโฮมเพจการแบ่งพื้นที่การใช้งานในหน้าโฮมเพจ เนื่องจากรูปแบบการใช้งานของหน้าโฮมเพจในปัจจุบันนั้นค่อนข้างมีรูปแบบที่หลากหลาย จึงขอจัดรูปแบบสำคัญๆ เป็น 3 รูปแบบดังนี้ 1.)แบบ 1 ส่วนการใช้งานหรือแบบอิสระ
2.) แบบ 2 ส่วนการใช้งาน 3.) แบบ 3 ส่วนการใช้งาน
ส่วนประกอบสำคัญของโฮมเพจส่วนประกอบสำคัญของโฮมเพจ • หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับแสดงผลมีขนาดตั้งแต่ 14 นิ้ว , 15 นิ้ว , 17 นิ้ว และ 21 นิ้ว การออกแบบหน้าจอโฮมเพจจะต้องกำหนดขนาดความกว้างให้สัมพันธ์กันกับการแสดงหน้าโฮมเพจ ขนาดที่นิยมใช้กันมี 3 ขนาดคือ 1) 640 x 480 pixel 2) 800 x 600 pixel 3) 1024 x 768 pixel แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดคือขนาด 800 x 600 pixel
- ในการออกแบบหน้าโฮมเพจของเว็บไซต์ ควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ • 1.โลโก้ (logo) สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เข้าชมสามารถจดจำเว็บไซต์ของเราได้ก็คือ “โลโก้” นอกจากนี้แล้วโลโก้ยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูมีเอกลักษณ์อีกด้วย โดยเรานิยมวางตำแหน่งโลโก้ไว้มุมบนซ้ายเพราะเป็นจุดที่สามารถสังเกต
2. เมนูหลัก (link menu) เป็นจุดที่เชื่อมโยงข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งรวบรวมไว้ในรูปแบบของปุ่มเมนู หรือข้อความที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์สามารถรับรู้เรื่องราวที่น่าสนใจของเว็บไซต์ได้ ควรมีข่าวใหม่ๆ เนื้อหาใหม่ๆมาตลอด www.kapook.com
3. โฆษณา (Banner) เป็นส่วนที่สำคัญอีกเช่นเดียวกัน เพราะเว็บไซต์ที่มีโฆษณาจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และช่วยกระตุ้นความสนใจเพราะมักใช้ภาพเคลื่อนไหว (Gif Animation) ประกอบซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของเราดูตื่นตาตื่นใจมากขึ้น จากการวิจัยพบว่าภาพเคลื่อนไหวยังช่วยให้เว็บไซต์ของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้นถึง 30% แต่ไม่ควรมีโฆษณามากเกินไปและควรจัดวางตำแหน่งให้เหมาะสมอีกด้วย
4. ภาพประกอบและเนื้อหา (content) เป็นส่วนที่ให้สาระความรู้กับผู้เข้าชม ซึ่งเนื้อหาที่ให้จะต้องมีขนาดพอเหมาะไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป ควรมีการปรับเนื้อหาให้ใหม่ทันกับปัจจุบันอยู่ตลอดเวลา จัดวางเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ที่เข้ามาชมเนื้อหา และการมีภาพที่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ยิ่งจะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5. การใช้สีให้เหมาะสมกับหน้าโฮมเพจ (color) สีบนหน้าโฮมเพจจะมีผลต่อการนำเสนอของเว็บไซต์ได้ ซึ่งสีแต่ละสีจะให้ความรู้สึกที่มีผลด้านอารมณ์กับผู้เข้าชมในลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้ สีฟ้า เป็นสีของท้องฟ้าจึงช่วยให้รู้สึกปลอดโปร่งโล่งสบาย ดูแล้วสบายตา http://www.theloft.com.sg
สีเขียว เป็นสีของต้นไม้ใบหญ้าทำให้เรารู้สึกสดชื่นเย็นสบาย http://www.midori-japan.co.jp
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกถึงความจริงจัง มั่นคง สงบและปลอดภัย www.oknation.net/blog/nisarat12
สีเทา ให้ความรู้สึกสุภาพ สุขุม สงบและมั่นคง โศกเศร้า หม่นหมอง http://www.networksolutions.com
สีขาว ให้ความรู้สึกเรียบง่าย สะอาดสะอ้านโล่งสบายและบริสุทธิ์ http://www.williamssonoma.com
สีเหลืองและสีส้ม ให้อารมณ์ของความสดใสและดึงดูดสายตาแต่บางครั้งอาจทำให้รู้สึกเหนื่อย http://www.nothing.ch/home/index.html
การสร้างโฮมเพจ ปัจจุบันการสร้างโฮมเพจมีอยู่หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละบุคคล การสร้างโฮมเพจสามารถทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ • 1. ใช้โปรแกรม Web Hosting Web Hosting คือ เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่ให้บริการจัดเก็บข้อมูล โดยบางเว็บไซต์ให้บริการในการสร้างโฮมเพจสำเร็จรูปกับผู้ต้องการในการมีโฮมเพจ ซึ่งจะมีรูปแบบของโฮมเพจให้เลือกได้ตามที่ต้องการ หรือต้องการให้ออกแบบตามความประสงค์ของผู้ใช้บริการก็ได้
การสร้างโฮมเพจ • 2. ใช้โปรแกรมสร้างเว็บเพจ เป็นการสร้างโฮมเพจโดยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้าง ทำให้สามารถสร้างตาราง จัดวางตำแหน่งข้อความหรือรูปภาพได้สะดวก ตลอดจนการปรับแต่งแก้ไขจะทำได้ง่าย ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่โปรแกรม Dreamweaver, FrontPage, Go Live หรือ Home Site เป็นต้น
การสร้างโฮมเพจ • 3.โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript การสร้างโฮมเพจโดยใช้โปรแกรมภาษา HTML และ JavaScript นั้น ผู้สร้างโฮมเพจจะต้องมีความสามารถและความชำนาญในการเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากการสร้างโฮมเพจด้วยวิธีนี้ เป็นการพิมพ์คำสั่งและข้อมูลที่ต้องการแสดงบนโฮมเพจพร้อมกัน
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจ • 1.วัตถุประสงค์หลัก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจ คือ “เราจะสร้างโฮมเพจขึ้นมาเพื่ออะไร” ตัวอย่างเช่น สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นหน้ากระดานแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ใช้นำเสนอเรื่องราวน่าสนใจต่าง ๆ หรือใช้รับสมัครงาน เป็นต้น ซึ่งเราจะต้องตอบคำถามข้างต้นให้ได้ เพื่อมาใช้ประกอบการออกแบบโฮมเพจให้ตรงกับจุดประสงค์มากที่สุด
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจ • 2.กลุ่มผู้เข้าชมโฮมเพจ โฮมเพจที่นำเสนอจะต้องพิจารณาถึงจุดประสงค์ที่จัดทำขึ้น เพื่อนำเสนอกับกลุ่มผู้เข้าชมกลุ่มใด ๆ ที่จะทำให้โฮมเพจเป็นที่นิยมของผู้เข้าชมกลุ่มเป้าหมายหลัก หรือกลุ่มเป้าหมายรองได้
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการสร้างโฮมเพจ • 3. ออกแบบฟังก์ชันการใช้งานให้เหมาะสม ฟังก์ชันที่ใช้ในโฮมเพจค่อนข้างมีประโยชน์เป็นอย่างมาก แต่บางครั้งการใช้งานอาจจะยุ่งยากสำหรับผู้เข้าชม ทำให้เกิดความสับสนในการใช้งาน เช่นการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จะต้องออกแบบวิธีการสั่งซื้อที่มีขั้นตอนอย่างรวดเร็ว เข้าใจง่ายไม่ยุ่งยาก
บรรณานุกรม • http://mtbkzone.exteen.com/20090815/entry • http://www.oknation.net/blog/print.php?id=185069 • http://www.krujongrak.com/knowledge/k15_1.pdf • http://www.kradandum.com/thesis/thesis-02-5.htm • http://www.songwoot.utc.ac.th/3128-2017/unit01_6.htm • http://www.apw.ac.th/e-learning/e-comgraph/image/les3new/ • http://www.oknation.net/blog/print.php?id=185253