720 likes | 824 Views
โครงการจังหวัดทดลอง แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา (คบพ.). โดย นายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท. วิวัฒนาการของระบบราชการไทย. สุโขทัย. ส่วนกลาง. - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บริหารราชการด้วยพระองค์เอง เป็นส่วนใหญ่ (ระบอบการปกครองเยี่ยงบิดาปกครองบุตร) - ไม่มีหลักฐานการแบ่งส่วนราชการ.
E N D
โครงการจังหวัดทดลอง แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา (คบพ.) โดย นายวิชัย ศรีขวัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท
วิวัฒนาการของระบบราชการไทยวิวัฒนาการของระบบราชการไทย สุโขทัย ส่วนกลาง - พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้บริหารราชการด้วยพระองค์เอง เป็นส่วนใหญ่ (ระบอบการปกครองเยี่ยงบิดาปกครองบุตร) - ไม่มีหลักฐานการแบ่งส่วนราชการ ส่วนภูมิภาค “ให้ฝูงท่วยลูกเจ้าลูกขุนฝูงท่วยถือบ้านถือเมืองกัน” (ศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง คำว่าลูกเจ้าน่าจะหมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ ลูกขุนน่าจะหมายถึงข้าราชการ เพราะเรียก พระมหากษัตริย์ว่า พ่อขุน) - มีหลักฐานการแบ่งเขตการปกครองเมือง ให้เจ้าเมืองมีอำนาจ ในการปกครอง ตำบล หมู่บ้าน
อยุธยา สมัยพระเจ้าอู่ทอง (พ.ศ.1893) และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พระมหากษัตริย์ การปกครองส่วนกลาง เสนาบดีจัตุสดมภ์ ขุนนา ขุนเวียง ขุนวัง ขุนคลัง การปกครองส่วนภูมิภาค หัวเมืองประเทศราช เมืองหน้าด่าน หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก
สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนกลาง พระมหากษัตริย์ อัครมหาเสนาบดี สมุหกลาโหม อัครมหาเสนาบดี สมุหนายก กองทัพใหญ่ ราชปลัดทูลฉลอง กองบัญชาการใหญ่ โกษาธิบดี (กรมคลัง) เกษตราธิการ (กรมนา) ธรรมาธิกรณ์ (กรมวัง) นครบาล (กรมเมือง) หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) หัวเมืองจัตวา ในราชธานี หัวเมือง ประเทศราช ส่วนภูมิภาค เมืองเอก เมืองตรี เมืองโท เจ้าเมือง 2. พนักงานฝ่ายสมุหนายก (มหาดไทย) 1. พนักงานฝ่ายสมุหกลาโหม (พล) โกษาธิบดี (คลัง) ธรรมาธิกรณ์ (วัง) นครบาล (เมือง) เกษตราธิการ (นา)
รัตนโกสินทร์ รัชการที่ 5 (ปฏิรูป 2435 – 2437) พระมหากษัตริย์ ส่วนกลาง เสนาบดี 12 กระทรวง 1. มหาดไทย 2. กลาโหม 3. การต่างประเทศ 4. วัง 5. นครบาล 6. เกษตรและพาณิชยการ 7. พระคลัง 8. ยุติธรรม 9. ยุทธนาธิการ 10. ธรรมการ 11. โยธาธิการ 12. มุรธาธร “หน้าที่ของสมุหเทศาภิบาลนั้น รวมทั้งธุระของผู้ว่าราชการเมืองและเสนาบดีเข้าด้วยกัน ต้องมีความรู้ความสามารถในแบบแผนวิธีปกครอง โดยมั่นคงและยังต้องมีไหวพริบตรวจตราคาดคะเนเหตุการณ์ และรู้จักที่จะผ่อนผันราชการที่มีอยู่ในมณฑลนั้น ทุกกระทรวง ทบวงการ อย่าไปเกี่ยงแย่งกัน ราชการทั้งปวงจึงจะดำเนินได้โดยเรียบร้อย ข้าพเจ้าตักเตือนผู้ที่เป็นสมุหเทศาภิบาลทุกท่านขอให้ถือว่าเป็นราชการขึ้นในกระทรวงเสนาบดีทุกกระทรวง ไม่ใช่ขึ้นแต่กระทรวงมหาดไทยกระทรวงเดียว ควรเอาใจใส่ในราชการของกระทรวงทั้งปวงเหมือนกันทั่วไป ควรสมาคมและไต่ถามให้ความรู้ความประสงค์ของเสนาบดีทุกๆ กระทรวง เมื่อเกิดติดขัดหรือสงสัยในราชการกระทรวงใดๆ ควรปรึกษาหารือขอคำสั่งเสนาบดีกระทรวงนั้นๆ และชี้แจงให้เสนาบดีเข้าใจความจริงในการทั้งปวงที่เป็นอยู่ในมณฑลนั้นๆ เมื่อเสนาบดีกระทรวงใดมีบัญชาให้จัดการอย่างใด ต้องถือเป็นหน้าที่ที่จะทำได้ดังบัญชานั้นโดยเต็มกำลัง” (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ : พระราชดำรัสในการประชุมสมุหเทศาภิบาล พ.ศ.2456) ส่วนภูมิภาค กระทรวงมหาดไทย มณฑลเทศาภิบาล (21 มณฑล) ข้าหลวงเทศาภิบาล – (ร.6) สมุหเทศาภิบาล เมือง – (ร.6) จังหวัด ผู้ว่าราชการเมือง – (ร.6) ผู้ว่าราชการจังหวัด แขวง – อำเภอ (นายอำเภอ) ตำบล (กำนัน) หมู่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน)
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม : สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ส่วนกลาง : จังหวัด อำเภอ ส่วนภูมิภาค : องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา) ส่วนท้องถิ่น
การปฏิรูประบบราชการ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยี กระแสโลกาภิวัฒน์ แรงผลักดัน การปฏิรูป ระบบราชการ การเข้าสู่ สังคมเรียนรู้ วิกฤติ เศรษฐกิจ ความต้องการ มีส่วนร่วม ของประชาชน ความเข้มแข็ง ของภาคเอกชน รัฐธรรมนูญใหม่
การปฏิรูประบบราชการ สภาพปัญหาของ ระบบราชการ การทุจริต ประพฤติมิชอบ ความเก่า ล้าสมัย ของระบบ การทุจริต ประพฤติ มิชอบ ความไม่รับ ผิดชอบ กำลังคน ไม่มีคุณภาพ การบริหารแบบ รวมศูนย์อำนาจ ปัญหา ประสิทธิภาพ กฎระเบียบ เทคโนโลยี วิธีปฏิบัติงาน ไม่ทันสมัย ทัศนคติ ค่านิยม แบบดั้งเดิม ค่าตอบแทน สวัสดิการ ไม่เหมาะสม
ราชการยุคใหม่ ยึดประชาชนเป็นเป้าหมาย บริการมีคุณภาพสูง ประสิทธิภาพสูง ทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีเจ้าหน้าที่ คุณภาพสูง ทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม ทำเฉพาะ บทบาทที่จำเป็น มีองค์กรที่คล่องตัว กระทัดรัด มีระบบบริหาร บุคคลที่คล่องตัว ใช้อุปกรณ์ ที่ทันสมัย
ภารกิจหลักในการปฏิรูประบบราชการภารกิจหลักในการปฏิรูประบบราชการ 1 ปรับบทบาทภารกิจ และโครงสร้าง 2 ปรับปรุงวิธีการ บริหาร 4 ปฏิรูประบบ บุคคล 3 ปฏิรูปวิธีการ งบประมาณ 5 ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม และค่านิยมใหม่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
การปรับบทบาท ภารกิจ และโครงสร้าง การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนกลาง พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 1. ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ดังนี้ 1) สำนักนายกรัฐมนตรี 2) กลาโหม 3) การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4) การต่างประเทศ 5) การคลัง 6) ศึกษาธิการ 7) การท่องเที่ยวและกีฬา 8) คมนาคม 9) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10) เกษตรและสหกรณ์ 11) พลังงาน 12) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 13) พาณิชย์ 14) มหาดไทย 15) ยุติธรรม 16) แรงงาน 17) วัฒนธรรม 18) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 19) สาธารณสุข 20) อุตสาหกรรม 2. สาระสำคัญ 2.1 กำหนดโครงสร้าง และการบริหารงานใหม่เพื่อแยกภารกิจให้ชัดเจน 2.2 กำหนดความรับผิดชอบ และผู้รับผิดชอบต่อผลงานที่ชัดเจน 2.3 กำหนดกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการสร้างสมดุลในการกำกับดูแล
การปรับปรุงการบริหารราชการส่วนภูมิภาค “ให้การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลไกของรัฐในระดับพื้นที่ เป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพ โดยให้มีการใช้ทรัพยากรทางการบริหาร อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน” (ข้อสรุป การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อปฏิรูประบบราชการไทย เมื่อ 4 – 5 สิงหาคม 2544 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดย สำนักงาน ก.พ. และคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ)
โครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา โครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ความมุ่งหมาย แสวงหารูปแบบใหม่ของการทำงานในพื้นที่ที่เน้นประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก ของการพัฒนา เพื่อสนองต่อการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติให้บังเกิดผลสัมฤทธิ์ ในระดับพื้นที่ (หนังสือเลขาธิการ ก.พ. ที่ นร 0707.5.2/309 ลงวันที่ 17 กันยายน 2544)
แนวทางการดำเนินงาน ปรับความสัมพันธ์ในการบริหารราชการระหว่างราชการบริหารส่วนกลาง กับส่วนภูมิภาค ดังนี้ 1. ให้จังหวัดมีฐานะเสมือนหน่วยธุรกิจเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Business Unit : SBU) ที่สามารถวินิจฉัยข้อมูลปัญหา อุปสรรค กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา และดำเนินการให้เป็นไปตามที่ตัดสินใจได้อย่างครบวงจรภายในจังหวัด 2. เปลี่ยนบทบาท และอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดให้เป็นผู้บริหาร สูงสุดของจังหวัด (Chief Executive Officer – CEO) สามารถบังคับบัญชา สั่งการหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ภายในจังหวัดได้อย่างเบ็ดเสร็จโดยตรง เพื่อให้การดำเนินงานใดๆ ภายในจังหวัดเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ตรงตามนโยบายของผู้บริหารสูงสุด และสามารถตอบสนองต่อความต้องการ และข้อเท็จจริงของแต่ละจังหวัดได้โดยตรง (มติ ครม. 7 สิงหาคม 2544)
ความเห็น และข้อเสนอของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1. สำนักงาน ก.พ. 1.1 กระทรวง หรือทบวง กรม จะต้องมอบอำนาจให้กับส่วนภูมิภาค และให้งานสิ้นสุดที่จังหวัด 1.2 ผู้ว่าราชการจังหวัดจะทำหน้าที่เป็นแกนประสานการพัฒนาระหว่างส่วนกลาง และส่วนท้องถิ่น เพื่อแปลงนโยบายของรัฐบาลสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 มีการจัดสรรทรัพยากรภาครัฐให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของแต่ละ พื้นที่ และการจัดโครงสร้างของหน่วยงานแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหา (หนังสือเลขาธิการ ก.พ. ที่ นร 0707.5.2/309 ลงวันที่ 17 กันยายน 2544)
2.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ2.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อ การพัฒนา สอดคล้องกับแนวทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ซึ่งเน้นกระบวนการพัฒนาแบบบูรณาการ โดยมีส่วนร่วมจากทุกภาคีการพัฒนา (หนังสือเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ นร 1034/133 ลงวันที่ 16 กันยายน 2544)
แนวคิดหลักของการจัดระบบบริหารราชการจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อ การพัฒนา 1. ความหมาย การปรับระบบบริหารราชการของจังหวัดจากเดิมเป็นหน่วยงานที่เน้นการปฏิบัติตามการสั่งการของส่วนกลาง ให้เป็นหน่วยงานเชิงยุทธศาสตร์ภาครัฐ (Strategic Government Unit) - มีสมรรถภาพการปฏิบัติขั้นสูง (High Performance Organization) - ใช้ระบบบริหารราชการแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา (Holistic Administration) 2.เป้าหมาย - การลดภาระที่รัฐบาลหรือราชการบริหารส่วนกลางจะต้องแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่หรือจังหวัด - มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน (Result based Management) - มีเป้าหมาย หรือศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน (Customer center / Citizen center)
3. แนวทางการดำเนินงาน 3.1 การบริหารจัดการ 1. ประสานความร่วมมือในแนวราบ (Horizontal Management) เพื่อระดมทรัพยากรทางการบริหารของหน่วยงานภาครัฐ (ราชการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน และประชาชน 2. ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน หรือปรับการบริหารให้มีช่องทาง และบรรยากาศการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในลักษณะ “พื้นที่ - พันธกิจ - การมีส่วนร่วม”(Area - Functional - Participation หรือ A - F - P) - ความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) หรือการทำงานเป็นทีม (Team Work) - การทำงานในลักษณะเครือข่าย (Networking)
3. การจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนา หรือแก้ไขปัญหา และกลยุทธ์การนำไปสู่การ ปฏิบัติที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม โดยพิจารณากำหนดวาระของพื้นที่ (Area Agenda) จาก 3.1 วาระแห่งชาติ (National Agenda) ได้แก่ นโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล (ปัจจุบัน ได้แก่ การเอาชนะ 3 สงคราม คือ ความยากจน ยาเสพติด และ การทุจริตและประพฤติ มิชอบในวงราชการ) 3.2 ความริเริ่มของพื้นที่ (Area Initiative) ได้แก่ นโยบายที่เกิดจากความจำเป็น หรือความต้องการของพื้นที่4. การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงาน 5. การบริหารจัดการภายใต้กรอบของบทบัญญัติและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินในปัจจุบัน รวมทั้งระเบียบ และแนวทางที่กำหนดไว้ (เช่น หลักธรรมาภิบาล) 6. มีการสนับสนุนทรัพยากรทางการบริหารที่จำเป็น และการมอบอำนาจจากราชการบริหารส่วนกลาง เช่น การบริหารงานบุคคล การบริหารงบประมาณ และการวินิจฉัย สั่งการตามกฎหมาย
3.2 บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานผู้บริหารสูงสุดของจังหวัด (Chief Executive Officer หรือ CEO) 1. เป็นผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Leadership) - ชี้นำในการกำหนดวาระของพื้นที่จากวาระแห่งชาติ และ ความริเริ่มของพื้นที่ รวมทั้งกลยุทธการนำไปสู่การปฏิบัติที่มีตัวชี้วัดความสำเร็จที่ชัดเจน 2. เป็นผู้ประสานงานเชิงกลยุทธ และผู้สนับสนุน (Strategic Coordinator and Facilitator) - ระดมทรัพยากรทางการบริหารภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมทั้งการสร้างช่องทาง และบรรยากาศการมีส่วนร่วม เช่น การมอบอำนาจการตัดสินใจ การสร้างทีมงาน และเครือข่ายการปฏิบัติงาน สร้างความรับผิดชอบและการยอมรับ หรือความผูกพันต่อความสำเร็จของงาน (เจ้าภาพ) - อำนวยการและประสานการปฏิบัติของทุกฝ่ายให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ รวมทั้ง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ตลอดจนการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และสนับสนุนทรัพยากรทางการบริหารที่จำเป็น - รายงานผลการดำเนินงานต่อราชการบริหารส่วนกลาง ชี้แจงผู้ร่วมปฏิบัติงาน และ ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ
3. เป็นผู้ปฏิบัติ (Implementator) - ปรับปรุงและเสริมสร้างระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ในการปฏิบัติงานรวมทั้งการกำกับ ดูแล การดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบบริหารจัดการดังกล่าว - พัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่จำเป็นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในด้านต่างๆ - เสริมสร้างแรงจูงใจ หรือขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน
การดำเนินการทดลอง 1. ทดลองในจังหวัดนำร่อง 5 จังหวัด และให้มีจังหวัดเทียบเคียง ดังนี้ ลำปาง - พิษณุโลก : ขนาดกลาง ศรีสะเกษ - สุรินทร์ : ยากจน ชัยนาท - อ่างทอง : เกษตรกรรม ภูเก็ต - พังงา : ท่องเที่ยว นราธิวาส - ปัตตานี : ชายแดน 2. ระยะเวลาการทดลอง 1 ปี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2545
3. การควบคุม ติดตาม ประเมินผล 3.1 คณะกรรมการเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการในการมอบอำนาจหน้าที่ และวิธีปฏิบัติงานในเรื่องการบริหารงาน การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานบุคคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดย รมว.มท. เป็นประธาน รอง ปมท.ฝ่ายนโยบายและแผน เป็นเลขานุการ (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 15/2545 ลว. 21 มกราคม 2545) 3.2 คณะกรรมการควบคุม ติดตาม ประเมินผล และเสนอแนะระบบบริหารงานตาม โครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา โดย รอง ปมท. ฝ่ายนโยบายและแผน เป็นประธาน ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย ฝ่ายนโยบายและแผน เป็นเลขานุการ (คำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 6/2545 ลงวันที่ 9 มกราคม 2545)
3.3 การวิจัยประเมินผลโครงการจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา มีสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดที่เป็นเป้าหมาย หรือพื้นที่ใกล้เคียงดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ดังนี้ ลำปาง และพิษณุโลก - มหาวิทยาลัยนเรศวร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ - สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ชัยนาท และอ่างทอง - สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต และพังงา - สถาบันราชภัฏภูเก็ต นราธิวาส และปัตตานี - มหาวิทยาลัยสงขลาฯ วิทยาเขตปัตตานี ระยะเวลาการประเมิน3 ระยะ 1. ก่อนมีการทดลอง : 30 กันยายน 2544 2. การดำเนินงานระยะ 6 เดือน : 31 มีนาคม 2545 3. การดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดโครงการหรือระยะ 12 เดือน : 30 กันยายน 2545
ขอบเขตการประเมิน 1. ประสิทธิภาพการบริหารและผลงาน 1.1 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.2 การแก้ไขปัญหาความยากจน 1.3 การแก้ไขปัญหาทุจริต คอรัปชั่น 1.4 การแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้อง 2. ความพึงพอใจของประชาชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ข้าราชการที่มีต่อการบริหารงาน 2.1 การแก้ไขปัญหายาเสพติด 2.2 การแก้ไขปัญหาความยากจน 2.3 การแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 2.4 การให้บริการของรัฐ 2.5 ภาวะผู้นำของผู้ว่าราชการจังหวัด
เงื่อนไขการทดลอง {ตามมติ ครม. 7 สิงหาคม 2544 (ข้อ 1) และ 12 พฤศจิกายน 2544 (ข้อ 2, 3, 4 และ 5)} 1. ตัวบุคคลที่จะแต่งตั้งไปรับตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุด ให้กระทรวง มหาดไทยพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสม มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นที่จะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้สำเร็จ (Can do attitude) ไปดำรงตำแหน่ง ผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการอื่นๆ ในจังหวัดก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คัดเลือกบุคคลในทำนองเดียวกัน
2. การมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป โดยในชั้นต้นจะยังไม่มอบทั้งหมดแบบเบ็ดเสร็จ แต่ให้แต่ละกระทรวงไปพิจารณา 2.1 การวินิจฉัยสั่งการตามกฎหมาย - ตามที่กระทรวง หรือทบวง กรม พิจารณามอบ หรือเมื่อเห็นชอบตามที่จังหวัดเสนอ 2.2 การบริหารงบประมาณ - ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ - การโอนงบประมาณระหว่างงาน โครงการ และหมวดรายจ่าย - การเปลี่ยนแปลงแบบรูปรายการก่อสร้าง 2.3 การบริหารบุคคล (ข้าราชการ และลูกจ้าง) - การแต่งตั้ง (ย้าย) - การเลื่อนขั้นเงินเดือน - การดำเนินการทางวินัย
3. ให้มีคณะผู้บริหารจังหวัด เพื่อกำหนดทิศทางของจังหวัดเหมือนคณะรัฐมนตรี ซึ่งกำหนดทิศทางของประเทศ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด CEO เป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร ทำหน้าที่เหมือนนายกรัฐมนตรี และมีตัวแทนหัวหน้าส่วนราชการของแต่ละกระทรวงในจังหวัดตามที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงละ 1 คน เป็นกรรมการ ทำหน้าที่เหมือนรัฐมนตรี โดยให้ถือว่าทุกหน่วยมีสิทธิเท่ากัน คณะผู้บริหารจังหวัดต้องจัดทำยุทธศาสตร์ในการพัฒนาจังหวัดร่วมกัน โดยมองปัญหาเป็นองค์รวม กระจายอำนาจหน้าที่แต่ละหน่วยงานอย่างเหมาะสม ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเรื่อง เป็นการรวมพลังเพื่อขับเคลื่อนงานให้เดินไปข้างหน้า
4. ใช้ทรัพยากรบุคคล และทางการเงิน (งบประมาณ) ที่ได้รับจัดสรรไว้แล้วตามปกติโดยไม่มีการขอสิทธิพิเศษใด ๆ แต่เป็นการแข่งขันในระบบ มิใช่ตัวผู้ว่าราชการจังหวัด 5. เมื่อดำเนินการไประยะหนึ่ง อาจต้องพิจารณากำหนดคุณลักษณะของผู้ว่า ราชการจังหวัด CEO เพื่อกำหนดเป็นบรรทัดฐาน เช่น การมีภาวะผู้นำ มีแนวคิด สร้างสรรค์ มีความเป็นกลาง เข้าถึงประชาชน มีความโปร่งใส รวมทั้งกำหนดเป้าหมาย ความสำเร็จของผลงาน (Output) ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด CEO ต้องรับผิดชอบดำเนินการ เช่น การปฏิบัติภารกิจสำคัญของจังหวัด การนำนโยบายสำคัญของรัฐบาลไปดำเนินการให้บังเกิดผล เพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบและประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลสัมฤทธิ์ของการนำเอาระบบนี้มาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน
จ. ชัยนาท จ.สุพรรณบุรี การทดลองบริหารจังหวัดชัยนาทแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
ข้อมูลจังหวัดชัยนาท • การปกครอง • จังหวัดชัยนาทตั้งอยู่ภาคกลางตอนบนห่างจากกรุงเทพมหานคร 194 กิโลเมตร • แบ่งเขตการปกครองเป็น 6 อำเภอ2 กิ่งอำเภอ 51 ตำบล 498 หมู่บ้าน • 9 เทศบาล 51 อบต. 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด • ส่วนราชการ ราชการบริหารส่วนกลาง 38 หน่วย • ราชการบริหารส่วนภูมิภาค 33 หน่วย • รัฐวิสาหกิจ 11 หน่วย ประชากร 351,579 คน - ชาย 170,699 คน - หญิง 180,880 คน เศรษฐกิจ จังหวัดชัยนาทมีมูลค่าผลิตภัณฑ์จังหวัด 17,220 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี 40,169 บาท1เป็นลำดับที่ 41 ของประเทศ รายได้หลักของชาวชัยนาทมาจากสาขาการผลิตภาคเกษตรกรรม โดยมีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว (1,802,398 ไร่) มันสัมปะหลัง (84,020 ไร่ ) อ้อย (57,139 ไร่) และส้มโอ (4,430 ไร่)21สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2542 2 สมุดรายงานสถิติจังหวัด 2544
แผนปฏิบัติการทดลอง 1. การสร้างความเข้าใจ ความพร้อม ความร่วมมือ และช่องทาง การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 2. การปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานของจังหวัด 3. การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนา จังหวัดแบบบูรณาการ พร้อมทั้งกลยุทธ์การนำไปสู่การปฏิบัติ 4. การติดตามและประเมินผล
1. การสร้างความเข้าใจ ความพร้อม ความร่วมมือ และช่องทาง การมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 1.1 การประชุม ปรึกษาหารือ 1.1.1 ระดับจังหวัด (1) การจัดประชุมชี้แจงนโยบายและการดำเนินงานโครงการจังหวัดทดลอง (สัปดาห์แรก) (2) การตรวจเยี่ยม และประชุมหัวหน้าหน่วยงานและเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงาน เป็นรายกระทรวง (สองสัปดาห์แรก) (3) การประชุมคณะผู้บริหารจังหวัด (ทุกวันพฤหัสบดี) (4) การประชุมจังหวัด (ทุกเดือน) (5) การปรึกษาหารือแบบไม่เป็นทางราชการ (ทุกเช้าวันพฤหัสบดีก่อนเวลา ราชการ)
1.1.2 ระดับอำเภอ กิ่งอำเภอ (1) การตรวจเยี่ยม และประชุมชี้แจงนโยบาย และการดำเนินงานโครงการ จังหวัดทดลองแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหาร และสมาชิกสภาท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนภาคเอกชน และราษฎรผู้นำกลุ่ม ชมรม สมาคมต่าง ๆ (เดือนแรก) (2) การประชุมอำเภอสัญจร (ประชุมนายอำเภอหมุนเวียนไปตามอำเภอ กิ่งอำเภอต่าง ๆ ทุกเดือน) 1.1.3 ระดับตำบล (1) โครงการประชุม อบต.สัญจร (ประชุมประธานกรรมการบริหาร อบต. ปลัด อบต. หมุนเวียนไปตามตำบลต่าง ๆ ของแต่ละอำเภอ (ทุกเดือน) (2) โครงการเยี่ยมบ้านยามเย็น โดยจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ของจังหวัด และอำเภอ ไปเยี่ยมให้บริการและประชุมกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหาร และสมาชิก อบต. และประชาชน เป็นรายตำบล (ทุกวันจันทร์ เวลา 17.30 – 20.00 น.)
1.1.4 ระดับกลุ่ม หรือคณะบุคคล(1) โครงการเยี่ยมชุมชนยามเช้า คณะผู้บริหารจังหวัดร่วมกับนายอำเภอ เยี่ยมผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น และประชาชน เป็นรายเทศบาล (ทุกวันศุกร์ เวลา 06.30 - 08.00 น.) (2) โครงการร่วมทำบุญกับประชาชน คณะผู้บริหารจังหวัด ร่วมกับ นายอำเภอ และหัวหน้าหน่วยงานในอำเภอไปร่วมทำบุญ และพบปะ คณะสงฆ์และประชาชนที่มาทำบุญตามวัดเป็นรายอำเภอ (วันธรรมสวณะ) (3) โครงการเยี่ยมผู้ประกอบการโรงงาน คณะผู้บริหารจังหวัด และ หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนายอำเภอท้องที่ พบปะ ผู้บริหารโรงงาน และชมกิจการ (เดือนละ 1 แห่ง) (4) การเสริมแทรกความรู้ ความเข้าใจ ในการประชุม สัมมนา ฝึกอบรม ชุมนุม หรืองานประเพณีท้องถิ่น - คณะกรรมการ คณะทำงานที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี - มูลนิธิ สมาคม ชมรม กลุ่มอาสาสมัคร และ กลุ่มอาชีพ - สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา
1.2 การเผยแพร่ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ 1.2.1 รายการวิทยุ “ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาทพบประชาชน” สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดชัยนาท ทุกวันพุธ เวลา 08.00 – 09.00 น. ผู้ฟังสามารถโทรศัพท์มาสอบถาม หรือเสนอแนะได้ และบันทึกเทป ออกอากาศอีกครั้งในวันพฤหัสบดี เวลา 05.00 – 06.00 น. 1.2.2 รายการ “สื่อมวลชนท้องถิ่นพบผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท” เดือนละ 1 ครั้ง และเมื่อมีข่าวสารหรือเหตุการณ์สำคัญ 1.2.3 การจัดทำบทความ ข่าวสาร หรือคำชี้แจงเผยแพร่ ต่อสื่อมวลชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เสียงตามสายของเทศบาล การประชุมอบรม 1.2.4 การจัดนิทรรศการในโอกาสต่าง ๆ 1.2.5 การเผยแพร่ทาง Website ของจังหวัดชัยนาท (www.chainat.go.th)
1.3 การพัฒนาบุคลากรเพื่อความพร้อมในการปฏิบัติงานแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา (การประชุม สัมมนา ฝึกอบรม หรือดูงาน)
2. การปรับปรุงโครงสร้าง และระบบการบริหารงานของจังหวัด 2.1 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารเพื่อสร้างเครือข่าย และช่องทาง การมีส่วนร่วมในการฏิบัติงานของทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน 2.1.1 การแต่งตั้งคณะผู้บริหารจังหวัด (ตามมติ ครม. 12 พฤศจิกายน 2544) มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหาร และตัวแทนหัวหน้าส่วนราชการแต่ละ กระทรวงในจังหวัด กระทรวงละ 1 คน เป็นกรรมการ สำนักงานจังหวัด ทำหน้าที่สำนักงานเลขาธิการคณะผู้บริหารจังหวัด 2.1.2 การแต่งตั้งที่ปรึกษา และคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการตาม ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและการพัฒนาจังหวัด - ที่ปรึกษา เป็นภาคเอกชน และประชาชน ได้แก่ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัด ตัวแทนกลุ่มหรือคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง นักวิชาการสาขาต่าง ๆ
- คณะกรรมการอำนวยการ เป็นผู้บริหารระดับจังหวัด ทั้งสังกัดราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ และหัวหน้าฝ่ายแผน และโครงการ - คณะทำงานฝ่ายเลขานุการ เป็นหัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ ตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง2.1.3 การมอบอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ให้แก่ - รองผู้ว่าราชการจังหวัด - หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็น หัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
2.2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ 2.2.1 การจัดตั้งศูนย์บริการข้อมูล - จัดตั้งศูนย์ข้อมูลจังหวัด - การเชื่อมโยงระบบข้อมูล 2.2.2 การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ - ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหาร - ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ 2.2.3 การพัฒนาบุคลากร - การใช้โปรแกรมต่าง ๆ (Internet , Access 2000 ฯลฯ) - การเขียนเว็บเพจ - ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
2.3 การปรับปรุงกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับการบริหารแบบ บูรณาการ 2.3.1 การพัฒนาการบริหาร (1) การประชุม (2) การฝึกอบรม (3) การรายงาน 2.3.2 การบริหารการพัฒนา (1) การอนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม (2) การพัฒนาเมือง และชุมชน
3. การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อการแก้ไขปัญหา และพัฒนา จังหวัดแบบบูรณาการ พร้อมทั้งกลยุทธ์การนำไปสู่การปฏิบัติ 1. กำหนดตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล 1.1 การแก้ไขปัญหาความยากจน 1.2 การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 1.3 การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ 2. กำหนดตามสภาพปัญหา ความจำเป็นความต้องการ หรือความริเริ่ม ของพื้นที่ 2.1 การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน และการบริการประชาชน 2.2 การป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยและสาธารณภัย 2.3 การส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
แนวทาง และมาตรการสำคัญของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ 1. การแก้ไขปัญหาความยากจน เป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคง แนวทางและมาตรการ 1. การพัฒนาอาชีพ และรายได้ของครอบครัวและชุมชน 1.1 การส่งเสริมกิจกรรม และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 1.2 การติดตาม เร่งรัด โครงการแก้ปัญหาความยากจนตามนโยบายเร่งด่วน ของรัฐบาล 1.3 การระดมทรัพยากรเร่งรัดแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านที่ล้าหลัง ตามเกณฑ์ตัวชี้วัด หมวดรายได้จากข้อมูล กชช. 2 ค
2. การส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางเศรษฐกิจของจังหวัด เช่น การสนับสนุน การประกอบการเชิงธุรกิจด้านการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม รวมทั้งการท่องเที่ยว 3. การสงเคราะห์และดูแลผู้ยากไร้ พิการ หรือด้อยโอกาสในจังหวัดอย่างเหมาะสม 4. ส่งเสริมชุมชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา
2. การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป้าหมาย เพื่อลดการแพร่ระบาดของยาเสพติดในจังหวัด แนวทางและมาตรการ1. จำแนกข้อมูลบุคคลที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยวิทยากรกระบวนการ และวิทยากรประจำตำบล ดำเนินการประชุมประชาคม และออกเสียงโดยวิธีลงคะแนนลับ 1.1 ประชุมประชาคมจำแนกบุคคล รายหมู่บ้าน (ชนบท) และชุมชน (ในเมือง) 1.2 ตรวจสอบ ทบทวนข้อมูล ดังนี้ - ประชุมประชาคมรายหมู่บ้าน และชุมชน ซ้ำเดือนละครั้ง - ประชุมประชาคมในสถานประกอบการ (รวมทั้งสถานที่ราชการ) โรงงาน สถานศึกษา - เปรียบเทียบจากฐานข้อมูลเดิม 1.3 บันทึกข้อมูลพื้นที่ และบุคคลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เชื่อมข้อมูลกับทะเบียนราษฎร ของกรมการปกครอง เพื่อการติดตามและดำเนินการต่อบุคคลเป้าหมาย 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้สนับสนุน (2) กลุ่มผู้เสพย์ (3) กลุ่มเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
2. ดำเนินการตามแนวทางยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน โดยผนึกกำลังภาครัฐและภาคประชาชนในการบริหารจัดการ • 2.1 การป้องกัน: บุคคลเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มมิให้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน • 2.1.1 การลดปัจจัยเอื้อ • - การควบคุมแหล่งบันเทิง หรือสถานที่มั่วสุมอื่น ๆ • - การสร้างภูมิคุ้มกันโดยการให้ความรู้ และสร้างจิตสำนึกแก่กลุ่มเสี่ยง ที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง • 2.1.2 การลดอุปสงค์ • - การส่งเสริมกิจกรรมของหมู่บ้าน ชุมชน สถานประกอบการ โรงงาน สถานศึกษา เช่น กิจกรรมทางศาสนา ประเพณีท้องถิ่น กีฬา หรือดนตรี • - สร้างครอบครัว และชุมชนให้อบอุ่นและน่าอยู่ เช่น กิจกรรมเสริมสร้าง • ความสัมพันธ์ที่ดี การมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สวนสาธารณะ หรือความสะอาดและ • ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชน
2.2 การปราบปราม : บุคคลเป้าหมายที่เป็นผู้ค้า ผู้ผลิต และผู้สนับสนุน 2.2.1 การแสดงพลังฝ่ายต่อต้าน - การจัดชุมนุมพลังมวลชน และแสดงประสิทธิภาพของกองกำลังร่วม ฝ่ายปราบปราม - การจัดตั้งกลุ่ม หรือคณะผู้เฝ้าระวังในหมู่บ้าน ชุมชน สถานประกอบการ โรงงาน สถานศึกษา 2.2.2 การปราบปรามตามกฎหมาย - การประกาศ รณรงค์ให้ผู้เกี่ยวข้องไปแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อแสดงเจตนาจะยุติ - สืบสวน ตรวจค้น สกัดกั้น จับกุม และทำลายเครือข่าย - ดำเนินการด้านการข่าว และสถานการณ์ความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
2.3 การบำบัด ฟื้นฟู : บุคคลเป้าหมายที่เป็นผู้เสพย์ 2.3.1 การบำบัด (1) กลุ่มเสพไม่ติด - วัด / ศาสนสถาน (2) กลุ่มเสพติด - โรงพยาบาล / ชุมชน (3) กลุ่มมีอาการทางจิต - โรงพยาบาลจิตเวช 2.3.2 การฟื้นฟู (1) จิตใจ - วัด / ศาสนสถาน - จิตสังคมธรรมะบำบัด (บรรพชาสามเณร หรือ ชี) (2) อาชีพ รายได้ - ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรภาคเอกชน ๏ ฝึกอาชีพ ๏ จัดหางาน ๏ การสงเคราะห์ 2.3.3 การติดตามผล (1) การตรวจร่างกาย - เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (2) การประเมินพฤติกรรม - ครอบครัว หมู่บ้าน ชุมชน สถานประกอบการ โรงงาน สถานศึกษา
3. การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ เป้าหมาย เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต แนวทาง และมาตรการ 1. ขจัดเหตุแห่งการทุจริตและประพฤติมิชอบ - การจัดซื้อ จัดจ้าง - การให้บริการ และการใช้อำนาจตามกฎหมาย 2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน - แจ้งข้อมูลการทุจริต - ต่อต้านไม่เข้าไปมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนการทุจริต และประพฤติมิชอบ
3. พัฒนาจิตสำนึก ค่านิยม จรรยาบรรณ และมาตรฐานทางคุณธรรม จริยธรรม ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมทั้งการปลูกฝังแบบอย่างที่ดี แก่เด็ก และเยาวชน 4. สืบสวน ตรวจสอบ และดำเนินการทางกฎหมาย วินัย แก่ผู้กระทำการทุจริต และประพฤติมิชอบโดยเคร่งครัด