1 / 27

โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2550). ความเป็นมา. ปี พ.ศ. 2549-2550 นโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางขับเคลื่อน.

Download Presentation

โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (ต่อเนื่องจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2550)

  2. ความเป็นมา • ปี พ.ศ. 2549-2550 นโยบายรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางขับเคลื่อน • การพัฒนาเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เป็นรูปแบบของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เป็นรูปธรรมและเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการทำการเกษตรให้พออยู่พอกิน • การถ่ายทอดองค์ความรู้โดยโดยปราชญ์ชาวบ้านเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ง่ายต่อความเข้าใจ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดสรรงบประมาณ 60 ล้านบาท ให้ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 40 ศูนย์ ใน 27 จังหวัดอบรมเกษตรกรทั้งสิ้น 22,943 คน • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขยายผลการเรียนรู้ตามโครงการฯ พร้อมกับสนับสนุนการพัฒนาปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน

  3. งบประมาณดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบประมาณทั้งสิ้น 324.0 ล้านบาท แบ่งเป็น งบเงินอุดหนุน 294.0 ล้านบาท งบรายจ่ายอื่น 30.0 ล้านบาท

  4. วัตถุประสงค์ของโครงการวัตถุประสงค์ของโครงการ • เพื่อขยายผลการเรียนรู้ของเกษตรกรโดยศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านให้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา • เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้านให้มีความพร้อม มีศักยภาพในการฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่เกษตรกร

  5. แผนการดำเนินงาน 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน) • กิจกรรมที่1 ฝึกอบรมความรู้แก่เกษตรกร จำนวน 75,000 รายโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 150 ศูนย์

  6. คุณสมบัติเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 • มีที่ดินเพื่อทำการเกษตร (ของตนเอง/เช่า/บุคคลอื่นให้ทำกิน) • มีอายุตั้งแต่ 15 ปี เป็นต้นไป • มีความเชื่อมั่นศรัทธาในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีอาชีพการเกษตร เป็นหลัก • สมัครใจ ตั้งใจจริง • สามารถเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์เครือข่ายฯ ได้ตลอดหลักสูตร • ไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ ในปีงบประมาณ 2550 มาก่อน • เกษตรกรสามารถเข้ารับการฝึกอบรม ณ ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ได้เพียง 1 ศูนย์ Company Logo

  7. แนวคิดการฝึกอบรมโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านแนวคิดการฝึกอบรมโดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน • ถ่ายทอดความรู้โดยการให้ชาวบ้านสอนชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรได้รับความรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงจากผู้ประสบความความสำเร็จในการประกอบอาชีพทางการเกษตร • ถ่ายทอดความรู้ วิธีคิด วิธีปฏิบัติ ประสบการณ์และกระบวนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละภูมินิเวศน์/ภูมิสังคม

  8. หลักสูตรการฝึกอบรม อย่างน้อยต้องประกอบด้วย • การปรับทัศนคติ/แนวคิด/พฤติกรรม ให้สามารถดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง • วิธีการผลิตโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติ/องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น • วิธีทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎี/ปฏิบัติ และศึกษาดูงาน • การจัดทำแผนการใช้ที่ดิน/แผนการจัดการชีวิตอย่างพอเพียง • การจัดทำบัญชีครัวเรือน จัดฝึกอบรมเกษตรกรได้ไม่เกิน 50 คน/รุ่น ยกเว้นแต่มีความพร้อม ให้จัดฝึกอบรมได้ไม่เกิน 100 คน/รุ่น โดยให้ กษ.จ. เป็นผู้พิจารณา

  9. การอบรมหลักสูตร 3 วัน 2 คืน เหมาจ่าย 2,100 บาท ต่อคน • การอบรมหลักสูตร 4 วัน 3 คืน เหมาจ่าย 2,550 บาท ต่อคน • การอบรมหลักสูตร 5 วัน 4 คืน เหมาจ่าย 3,000 บาท ต่อคน ค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายสำหรับการฝึกอบรม รวมค่าใช้จ่ายสำหรับ • ค่าพาหนะเดินทางไป-กลับ ของผู้เข้ารับการอบรม 500 บาท/คน • ค่าอาหารมื้อหลักสำหรับผู้เข้ารับการอบรมวันละ 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อ • ค่าที่พักตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม หากไม่มีให้หักค่าใช้จ่ายออก 200บาท/คน/วัน • ค่าวัสดุอุปกรณ์ เครื่องเขียนในการฝึกอบรม • ค่าตอบแทนและค่าพาหนะวิทยากร • ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม เป็นไปตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุน โครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551

  10. แผนการดำเนินงาน (ต่อ) • กิจกรรมที่2 ฝึกอบรมเกษตรกรอาสา จำนวน 1,000 ราย โดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (เฉพาะเกษตรกรและศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการเมื่อปี 2550 ต่อเนื่องถึงปี 2551) 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน)

  11. คุณสมบัติเกษตรกรอาสา ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตร ตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2551 ศูนย์ละ 5% จากเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมในปีงบประมาณ 2550 แต่ไม่เกิน 40 คน/ศูนย์ • มีอายุตั้งแต่ 20 ปี เป็นต้นไป • เป็นเกษตรกรที่เคยผ่านการฝึกอบรมของโครงการเมื่อปีงบประมาณ 2550 และเป็นผู้ที่นำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริง • ต้องเป็นเกษตรกรที่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นำ กล่าวคือ มีความเฉลียวฉลาด ขยัน อดทนตลอดจนความสามารถในการสร้างค่านิยมร่วม ก่อให้เกิดความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของกลุ่มคน • ต้องเป็นเกษตรกรที่ได้รับการคัดเลือกจากศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแบบเข้มข้น เพื่อเป็นผู้นำในการขยายผลการขับเคลื่อนการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ

  12. แผนการดำเนินงาน (ต่อ) • กิจกรรมที่3การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 1) แผนงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (ใช้งบเงินอุดหนุน)

  13. การพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน • ศูนย์จัดทำแผนพัฒนาและปรับปรุง เสนอให้คณะกรรมการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านพิจารณา อนุมัติ คณะกรรมการฯ ประกอบด้วย กษ.จ. ชลประทานจังหวัด เกษตรจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด ประมงจังหวัด และเจ้าหน้าที่ สนง.กษ.จ. มีอำนาจพิจารณาอนุมัติแผน และกำหนดวงเงินค่าใช้จ่าย ตามความจำเป็น เหมาะสมและประหยัด ศูนย์ฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง โดยแต่งตั้งวิทยากรหรือ ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ 3 คน เป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้างและตรวจรับ

  14. ศูนย์จัดทำแผนการติดตามผลการนำความรู้ไปปฏิบัติ ให้ กษ.จ. พิจารณาอนุมัติ ศูนย์ฯ ติดตามผลการนำความรู้ไปปฏิบัติ ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ร่วมแก้ไขปัญหาทางการเกษตรกับเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรม ณ ที่อยู่และหรือแปลงเกษตรกรรม ศูนย์รายงานผลการติดตามและให้ข้อเสนอแนะให้ กษ.จ. ทราบ ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายละไม่เกิน 100 บาท ต่อการติดตามเกษตรกรหนึ่งราย จ่ายเป็นงวด ๆ ตามผลงานที่ได้ติดตามพร้อมข้อเสนอแนะ (จ่ายหลังจากได้รับรายงาน) เป็นไปตามระเบียบสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนโครงการพัฒนาศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2551

  15. 2) แผนงานการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (งบรายจ่ายอื่น) ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม ดังนี้ • กิจกรรมการบริหารจัดการโครงการฯ โดย สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด

  16. กิจกรรมการบริหารงานโครงการ โดย กษ.จ. • คัดเลือกศูนย์ฯ และเกษตรกรเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์ที่กำหนด พร้อมจัดทำทะเบียนศูนย์ฯ และเกษตรกร • รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของแต่ละศูนย์ฯ • ติดตามและรายงานผลความก้าวหน้า ประสานการดำเนินงานโครงการ • ติดตามความก้าวหน้าผลการดำเนินกิจกรรมการรวมกลุ่มและ สร้างเครือข่ายจากการดำเนินงานปีที่ผ่านมา • เงินงบประมาณกิจกรรมการบริหารงานโครงการจะมาก/น้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนศูนย์ฯ ที่มีในแต่ละจังหวัด • ได้โอนให้ สนง.กษ.จ. ไปแล้ว 2 งวด

  17. 2) แผนงานการบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (งบรายจ่ายอื่น) • กิจกรรมการบริหารจัดการโครงการฯ โดยกองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรฯ

  18. กิจกรรมการบริหารงานโครงการ โดย กนท. • จัดทำประชาสัมพันธ์ การชี้แจงและทำความเข้าใจโครงการ ทั้งศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน และ เจ้าหน้าที่ กษ.จ. • ผลิตและเผยแพร่ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านผ่านสื่อโทรทัศน์/จัดทำบัญชีรับ-จ่าย/เอกสารองค์ความรู้ • กำกับดูแลและอำนวยการ การประสานงาน ติดตามความก้าวหน้า การรายงานผลตามตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการสรุปผลโครงการ (จัดสัมมนาในส่วนกลางและในระดับภูมิภาค) • ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ นำผลไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์ และข้อเสนอในเชิงนโยบาย

  19. ผลการดำเนินงาน • คัดเลือกศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน พร้อมเกษตรกรผู้เข้ารับการอบรมในโครงการได้ครบทั้ง 75 จังหวัด ทั่วประเทศ • ปรับหลักสูตรการฝึกอบรมได้ครบถ้วน ตามที่กำหนดในระเบียบฯ • ศูนย์ฯ เริ่มดำเนินการจัดฝึกอบรมเกษตรกรตามแผนที่นำเสนอ • รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แล้ว คิดเป็น 95% • โอนเงินให้ศูนย์ฯไปแล้ว 128 ศูนย์ ใน 68 จังหวัด 2 งวด รวมทั้งสิ้น 177,156,750 บาท • ตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ เพื่อรับฟังปัญหา/ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน

  20. ปัญหา/อุปสรรค • หนังสือสั่งการที่กำหนดไว้ก่อนหน้าที่ระเบียบฯ จะมีผลบังคับใช้ • การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่ไม่ได้ทำการเกษตรเป็นหลัก • การปรับแผนการฝึกอบรมของศูนย์ฯ เพื่อให้เบิกจ่ายเงินได้รายละ 3,000 บาท • การปรับปรุงศูนย์ฯ ที่ต้องมีการก่อสร้าง ต่อเติม เช่น ห้องน้ำ เป็นต้น

  21. การดำเนินงานในขั้นต่อไปการดำเนินงานในขั้นต่อไป • จัดสรรงบให้ศูนย์ฯ เดิมที่เข้าร่วมโครงการในปี 50 ที่ยังจัดสรรไปไม่เต็มวงเงิน และโอนเงินสำหรับศูนย์ที่ได้รับคัดเลือกเพิ่มเติม • จัดสรรงบให้ศูนย์ สำหรับการฝึกอบรมเกษตรกรอาสา 1,000 คน จำนวน 3,000,000 บาท • จัดสรรงบตามแผนการติดตามเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้ว 7,500,000 บาท • จัดสรรงบเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน

  22. การบูรณาการงาน/โครงการ ระดับส่วนกลาง • คณะกรรมการบูรณาการงาน/โครงการกิจกรรมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจ พอเพียงชุมชน และกิจกรรมการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ ภายใต้แผนงบประมาณขจัดความยากจนและพัฒนาชนบท(ผตร.สิงห์ทอง ชินวรรังสี:ประธานกรรมการ ผอ.ส่วนเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สผง.:กรรมการและเลขานุการ) ทำหน้าที่: พิจารณาบูรณาการงาน/โครงการและงบประมาณ จัดทำกรอบแผนงาน/โครงการและงบประมาณที่เชื่อมโยงงาน/โครงการและงบประมาณ จัดทำหลักสูตรชี้แจงข้าราชการพร้อมจัดทำคู่มือประกอบการปฏิบัติงาน

  23. การบูรณาการงาน/โครงการ ระดับจังหวัด • การแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ 444/2550 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 • ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นที่ปรึกษา เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เป็นประธานกรรมการ พร้อมหัวหน้าส่วนในสังกัดกระทรวง ที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนศูนย์ปราชญ์ ฯ • มีหน้าที่กำกับ ดูแล และบริหารจัดการแผนงาน/โครงการในลักษณะบูรณาการให้ได้อย่างมีประสิทธิผล

  24. ศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชน Node : ปศุสัตว์ Node : พัฒนาที่ดิน Node : ประมง Node : พืช การเชื่อมโยงกิจกรรมศูนย์เรียนรู้ของรัฐและศูนย์ปราชญ์ ศูนย์เครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน

  25. การบูรณาการงาน/โครงการ • การจัดหาเกษตรกรเข้าเรียนรู้ร่วมกัน ทำงานในพื้นที่จังหวัดแบบ มีส่วนร่วม ดังนี้ ศูนย์เรียนรู้ฯ ส่งเกษตรกรเข้ารับการอบรมในศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตามเป้าหมาย 22,000 คน • ศูนย์ปราชญ์ ฯ เสนอแนะให้เกษตรกรที่ประสงค์เข้าอบรมที่ศูนย์เรียนรู้ ฯ ได้ • การตรวจสอบ/กำกับ การดำเนินงานโครงการ ยกเลิก/ระงับ การดำเนินงานของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านได้

  26. โครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 • ขยายผลการฝึกอบรมเกษตรกร เกษตรกรอาสาและพัฒนาปรับปรุงศูนย์ฯ โดยศูนย์เครือข่ายปราชญ์ 150 ศูนย์ทั้งศูนย์เดิมฯและศูนย์ฯ ใหม่ ขึ้นอยู่กับการประเมินผลสัมฤทธิ์การดำเนินโครงการในปี 2551 ทั้งนี้ หากศูนย์ใดไม่มีศักยภาพเพียงพอจะไม่สามารถเข้าร่วมโครงการต่อเนื่องในปี 2552 ได้ • วงเงินงบประมาณ 350 ล้านบาท

  27. ขอขอบคุณ กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทรศัพท์ 0-2629-8973, 0-2282-9217 โทรสาร 0-2281-3958, 0-2281-6599

More Related