1 / 23

รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555

ทีมสหวิชาชีพกับ ความรุนแรงในครอบครัว. รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555. ทีมสหวิชาชีพ คืออะไร. กลุ่มบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน (ความรู้ แนวคิด เครื่องมือ)

Download Presentation

รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ทีมสหวิชาชีพกับ ความรุนแรงในครอบครัว รองศาสตราจารย์บุญเสริม หุตะแพทย์ สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2555

  2. ทีมสหวิชาชีพคืออะไร • กลุ่มบุคคลที่ได้รับการฝึกอบรม มีความรู้ ทักษะ ความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างกันมาทำงานร่วมกัน (ความรู้ แนวคิด เครื่องมือ) • มุ่งแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและกระบวนการ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายเดียวกัน • มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิด ต่อเนื่อง เพื่อประเมินสภาพการณ์ของปัญหา (ภายใต้ขอบเขตของงานที่แต่ละฝ่ายมีอยู่) • มีความรับผิดชอบร่วมกันจนบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ความเป็นมา • เริ่มต้นโดยบุคลากรทางการแพทย์ กับนักสังคมสงเคราะห์ จัดตั้งองค์กรในโรงพยาบาลที่บอสตัน ปี ค.ศ. 1905 พ.ศ. 2448 • ใช้แนวคิดทฤษฏีแบบองค์รวม (Holistic)ในการบริการช่วยเหลือและบำบัด (Helping & Healing) • พัฒนาการในประเทศไทยมีขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และใน ปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมนักสังคมสงเคราะห์แห่งชาติเป็นครั้งแรก และ พ.ศ. 2495 มีการทำงานร่วมกันระหว่างแพทย์กับนักสังคมฯ

  4. แนวคิดที่ใช้ในงานสหวิชาชีพแนวคิดที่ใช้ในงานสหวิชาชีพ การทำงานเป็นทีม • การเปิดโอกาส การรู้จักตนเอง การเคารพผู้อื่น การประชุมพบปะกันอยู่เสมอ ความเข้าใจงานที่ได้รับมอบหมาย และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทฤษฏีบทบาท • การทำหน้าที่ตามตำแหน่ง สถานการณ์ ความคาดหวัง

  5. องค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพองค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพ

  6. รูปแบบการทำงานของทีมสหวิชาชีพรูปแบบการทำงานของทีมสหวิชาชีพ

  7. บทบาทของทีมสหวิชาชีพ รักษาพยาบาล เก็บวัตถุพยาน ประสาน ส่งต่อ ดำเนินคดี ให้คำปรึกษา ลงบันทึกประจำวัน ช่วยเหลือด้านกฎหมาย ประสาน ส่งต่อ ที่พัก/อาหาร/เด็ก ประสาน ส่งต่อ ประสาน ส่งต่อ แนะนำ ปรึกษา

  8. สัมมนากลุ่มย่อย • บอกวิธีการประสานส่งต่อในการบริการช่วยเหลือผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว(แสดงผังโครงสร้างด้วย) • บอกปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานของสหวิชาชีพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 • บอกบทบาทของทีมสหวิชาชีพในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว • เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวโดยใช้กลไกทีมสหวิชาชีพ • บอกองค์ประกอบของทีมสหวิชาชีพระดับจังหวัด (แสดงผังเครือข่าย)

  9. การประเมินปัญหาและความต้องการผู้ถูกกระทำการประเมินปัญหาและความต้องการผู้ถูกกระทำ ประชุมทีมสหวิชาชีพ

  10. ทีมสหวิชาชีพประเมินความเสี่ยงทีมสหวิชาชีพประเมินความเสี่ยง เสี่ยง ประสาน งานเพื่อร่วมกันให้ความช่วยเหลือ/สงเคราะห์/แจ้งศูนย์ปฏิบัติการ ไม่พร้อม

  11. แผนผังทีมสหวิชาชีพระดับท้องถิ่นถึงจังหวัดแผนผังทีมสหวิชาชีพระดับท้องถิ่นถึงจังหวัด ศูนย์ปฏิบัติการ ตาม พรบ. อบต./อสม. สาธารณสุข สวัสดิการ อพม.ศพค. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำสตรี ฯลฯ กระบวนการยุติธรรม การศึกษา

  12. ทีมวิชาชีพ-แกนนำชุมชน-เครือข่ายทีมวิชาชีพ-แกนนำชุมชน-เครือข่าย ประเมินสถานการณ์/ความเสี่ยงในเบื้องต้น เฝ้าระวังและป้องกันความรุนแรง ประสบเหตุ แจ้งเหตุ ประสานส่งต่อ ให้ความคุ้มครอง จัดบริการให้ความช่วยเหลือ ช่วยเหลือผู้อื่นได้ คืนสู่สังคม

  13. การทำงานของสหวิชาชีพ Karel Kurst-Swanger (2008), Multi-disciplinary working, in Domestic violence: A multi-professional approach for health care practitioners, June Keeling & Tom Mason (edn), McGraw Hill, Birkshire, England. • การให้บริการช่วยเหลือและการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัวจำเป็นต้องใช้แนวคิดสหวิชาชีพและจะต้องดำเนินการในทุกระดับทั้งระบบ ทั้งผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ผู้กระทำความรุนแรง ครอบครัวและชุมชน ซึ่งต้องอาศัยการช่วยเหลือจากนักวิชาชีพที่หลากหลาย เช่น ครู พยาบาล แพทย์ ตำรวจ นักกฏหมาย อัยการ ทนายความ นักบำบัด และนักสังคมสงเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งการทำงานของสหวิชาชีพถือเป็นบทบาทที่ท้าทายในการจัดการและการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

  14. ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ต่องานสหวิชาชีพข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ต่องานสหวิชาชีพ • แยกแยะช่องว่างการบริการ • แก้ไขปัญหาในประเด็นที่ยังปกคลุมในระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง ผู้กระทำและครอบครัว • ให้การสนับสนุนการปรับปรุงด้านกฏหมาย • สนับสนุนทุนสำหรับการจัดโปรแกรมที่สำคัญ/เป็นที่สนใจและการบริการ

  15. องค์ประกอบสำคัญของทีมสหวิชาชีพจำเป็นจะต้องมีผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในระดับที่มีอำนาจตัดสินใจเพื่อมุ่งการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองที่จำเป็นสำหรับผู้ถูกกระทำที่เป็นผู้หญิง เด็กและเยาวชน ที่ผ่านมาพบว่า ความสำเร็จของทีมสหวิชาชีพมักเป็นเจ้าหน้าที่ในระดับกลางแต่ในระดับบริหารก็ควรจะมีบทบาทสำคัญเนื่องจากเป็นผู้ที่อำนาจ/สามารถตัดสินใจดำเนินการระยะสั้นและระยะยาวเพื่อสร้างความสำเร็จในการปฏิบัติ

  16. ประโยชน์จากการทำงานของทีมสหวิชาชีพประโยชน์จากการทำงานของทีมสหวิชาชีพ • ลดช่องว่างของระบบการทำงานแบบแยกส่วน (system fragmentation) เนื่องจากแต่ละหน่วยงานต่างพยายามที่จะตอบสนองปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในส่วนที่หน่วยงานของตนเองเข้าไปเกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานด้านสุขภาพก็ให้บริการเฉพาะด้านสุขภาพกายและสุชภาพจิตตามบทบาทหน้าที่หลักของหน่วยงาน แต่การมีทีมสหวิชาชีพจะช่วยให้หลายหย่วยงานมีการจัดการและการประสานงานเพื่อนำไปสู่จุดหมายเดียวกัน

  17. สร้างสรรค์แนวทางการแก้ไขปัญหา ความแตกต่างระหว่างวิชาชีพจากหลายภาคส่วนในชุมชนสามารถสร้างประสิทธิผลและคิดแก้ไขปัญหาด้วยถกเถียงและหาทางออกในการแก้ไขปัญหาอย่างมีศักยภาพร่วมกันตามความถนัดของแต่ละวิชาชีพ และยังช่วยสร้างสรรค์ระบบการทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพ

  18. ปรับระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/องค์กร การแบ่งแยกการทำงานตามวิชาชีพที่มีความแตกต่างทางอุดมการณ์ กระบวนทัศน์ และหลักการ ส่งผลให้ทำงานไม่บรรลุผล แต่หากทีมสหวิชาชีพมีการปรับปรุงระบบการสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างหน่วยงาน/องค์กร ระหว่างวิชาชีพจะช่วยทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะและความชำนาญเฉพาะด้าน เป็นการลดข้อจำกัดที่กีดขวางการทำงานระหว่างกัน ลดช่องว่าง และสร้างโอกาสการทำงานที่มีประสิทธิภาพด้วยการตั้งเป้าหมายในการยุติความรุนแรงร่วมกัน

  19. สร้างความเข้มแข็งให้บุคลากรของทีมงานด้วยการให้ความรู้ การพัฒนาทีมสหวิชาชีพให้ทำงานร่วมกันด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างวิชาชีพ การฝึกอบรมทั้งในทักษะเฉพาะและทักษะการทำงานร่วมกัน ซึ่งต้องมีการเรียนรู้ปัจจัยแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทเฉพาะที่มีต่อผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรง หรือผู้กระทำ

  20. ลดการบริการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถคลี่คลายปัญหาได้ด้วยตัวเอง ในบางชุมชนได้ให้การสนับสนุนการลดปัญหาและป้องกันการใช้ความรุนแรงในครอบครัวด้วยการจัดบริการช่วยเหลือด้วยวิธีต่าง ๆ แต่วิธีที่บรรลุเป้าหมายที่ทำได้ดีคือการสนับสนุนให้ผู้ถูกกระทำมีความเข้มแข็ง (การเสริมพลัง)

  21. จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุน ทีมสหวิชาชีพสามารถอำนวยความสะดวกด้วยการระดมทรัพยากรและมอบให้เพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

  22. ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้หรือไม่ท่านเห็นด้วยกับข้อเสนอนี้หรือไม่ • ลดช่องว่างของระบบการทำงานแบบแยกส่วน • สร้างสรรค์แนวทางการแก้ไขปัญหา • ปรับระบบการสื่อสารระหว่างหน่วยงาน/องค์กร • สร้างความเข้มแข็งให้บุคลากรของทีมงานด้วยการให้ความรู้ • ลดการบริการให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงสามารถคลี่คลายปัญหาได้ด้วยตัวเอง • จัดเตรียมทรัพยากรสนับสนุน ก. เห็นด้วย เพราะอะไร ท่านมีการปฏิบัติอย่างไร ข. ไม่เห็นด้วย ท่านคิดว่าควรเป็นอย่างไรจึงจะเหมาะสม

  23. การจัดการทีมสหวิชาชีพการจัดการทีมสหวิชาชีพ • ค้นหาความสามารถในการอำนวยความสะดวก การดำเนินงานของทีมสหวิชาชีพจะต้องมีผู้มีความสามารถในการอำนวยความสะดวกในการจัดประชุม ทักษะในการจัดการความขัดแย้ง • กำหนดกฏพื้นฐาน • ถอดบทเรียนการทำงานของสหวิชาชีพ • ทำความเข้าใจกระบวนการความร่วมมือ • จัดการความขัดแย้งด้วยความเปิดเผยและซื่อสัตย์ • ชื่นชมความสำเร็จ/การบรรลุเป้าหมาย • กระตุ้นให้เกิดการฝึกอบรมร่วมกัน

More Related