1 / 45

291320 Business Information System

291320 Business Information System. บทที่ 7 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ( Enterprise Resource Planning). อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th. แนวคิดของระบบการ วางแผนทรัพยากรองค์กร ( Enterprise Resource Planning : ERP).

ciro
Download Presentation

291320 Business Information System

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. 291320Business Information System บทที่ 7 ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning) อ.ธารารัตน์ พวงสุวรรณ thararat@buu.ac.th

  2. แนวคิดของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร(Enterprise Resource Planning : ERP) • การนำระบบสารสนเทศต่าง ๆ มาใช้ในองค์กรนั้น อาจนำระบบมาใช้ในเวลาที่แตกต่างกันหรือนำแต่ละระบบมาใช้ในแต่ละส่วนงานขององค์กร • หากไม่มีการวางแผนการเชื่อมโยงระบบเหล่านี้เข้าด้วยกันแล้ว เมื่อมีความต้องการเรียกดูข้อมูลและติดตามผลการดำเนินงานในภาพรวมจากระบบต่าง ๆ อาจทำได้ยากและได้ข้อมูลล่าช้า • องค์กรจึงมองหาแนวทางในการเชื่อมโยงระบบงานสำคัญเหล่านี้เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้บริหารเข้าถึงข้อมูลและรับรู้สภาพหรือสถานการณ์ของงานต่าง ๆได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว

  3. ความหมายของการวางแผนทรัพยากรองค์กร(Enterprise Resource Planning : ERP) • ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กรหรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า ERP ซึ่งย่อมาจาก Enterprise Resource Planning • เป็นระบบสารสนเทศที่บูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์กร • เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ฯลฯ เข้าด้วยกัน • โดยเชื่อมโยงกันแบบเรียลไทม์ (Real Time) เพื่อตอบสนองความต้องการข้อมูลหรือสารสนเทศโดยภาพรวมและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที

  4. ความเป็นมาของ ERP • ระบบ ERP เดิมในวงการอุตสาหกรรม ประมาณช่วงทศวรรษ 1960 ได้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการผลิตด้านการคำนวณความต้องการของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หรือที่เรียกเป็นทางการว่าระบบ Material Requirement Planning (MRP) • จะใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการในส่วนของวัตถุดิบหรือ Material ที่ใช้ในการผลิตเท่านั้น

  5. ความเป็นมาของ ERP • ต่อมาในช่วงประมาณทศวรรษ 1970 ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น • จึงมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในส่วนของการผลิตด้านเครื่องจักร (Machine) และส่วนของเรื่องการเงิน (Money) • ซึ่งเราจะเรียกระบบงานเช่นนี้ว่า Manufacturing Resource Planning (MRP II)

  6. ความเป็นมาของ ERP • แต่การนำเอาระบบ MRP II เข้ามาช่วยในองค์กรนั้น ยังไม่สามารถที่จะ Support การทำงานทั้งหมดในองค์กรได้ • จึงได้รวมการจัดการทางด้านทรัพยากรบุคคลเข้ามาในระบบด้วย • ซึ่งก็คือรวมเอาส่วนของ Manpower เข้าไปไว้ในส่วนของระบบงาน จึงเป็นที่ระบบที่เรียกตัวเองว่า ERP • ระบบ ERP จึงเป็นระบบที่ใช้ในการบริหารงานทรัพยากรทั้งหมดในองค์กร(Enterprise Wide) • หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ ERP จะเป็นระบบที่ใช้ในการจัดการ 4 M ซึ่งจะประกอบไปด้วย Material, Machine, Money และ Manpower

  7. สภาพของระบบสารสนเทศ ก่อนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ขาดความสามารถด้าน Globalization ระบบสารสนเทศไม่ยืดหยุ่น ขาดการประสานรวมกันของระบบงาน ไม่สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว สภาพระบบสารสนเทศในองค์กร ข้อมูลซ้ำซ้อนและขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน องค์กรขาดความสามารถในการแข่งขัน

  8. จุดเด่นของ ERP • การบูรณาการระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP • การบูรณาการระบบงานต่างๆ เข้าด้วยกัน ตั้งแต่ การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน และการบริหารบุคคล • ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้านการไหลของวัตถุดิบสินค้า (material flow) และการไหลของข้อมูล (information flow) • จะทําให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด • พร้อมกับสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทําให้สามารถตัดสินใจแก ้ ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว

  9. จุดเด่นของ ERP • รวมระบบงานแบบ real time ของระบบ ERP • การรวมระบบงานต่างๆ ของระบบ ERP จะเกิดขึ้นในเวลาจริง (real time) อย่างทันที • เมื่อมีการใช้ระบบ ERP ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวัน เป็นรายวัน คำนวณ ต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน

  10. จุดเด่นของ ERP • ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี • การที่ระบบ ERP สามารถรวมระบบงานต่าง ๆ เข้าเป็นระบบงานเดียวแบบ Real time ได้นั้น ก็เนื่องมาจากระบบ ERP มี database แบบสมุดลงบัญชี • ซึ่งมีจุดเด่น คือ คุณสมบัติของการเป็น 1 Fact 1 Place • ซึ่งต่างจากระบบแบบเดิมที่มีลักษณะ 1 Fact Several Places ทำให้ระบบซ้ำซ้อน ขาดประสิทธิภาพ เกิดความผิดพลาดและขัดแย้งของข้อมูลได้ง่าย

  11. จุดเด่นของ ERP • ระบบ ERP มีฐานข้อมูล(database) แบบสมุดลงบัญชี

  12. กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP • ระบบ ERP ช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ทั้งหมดในองค์กร • ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี กระบวนการขายและการตลาด กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่น ๆ • เพื่อให้กระบวนการทำงานภายในองค์กรเป็นไปโดยอัตโนมัติ รวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน และสามารถช่วยลดต้นทุนทั้งระบบได้

  13. กระบวนการทางธุรกิจที่สนับสนุนโดยระบบ ERP ภายในระบบ ERP ประกอบด้วยระบบงาน (Application) ต่าง ๆ หลายระบบเพื่อรองรับงานในแต่ละส่วนงานหรือแผนกในองค์กร

  14. ประโยชน์ของระบบ ERP • กระบวนการบริหาร • ระบบสามารถรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารได้อย่างเที่ยงตรงและเป็นปัจจุบัน • ช่วยให้ผู้บริหารรับทราบข้อมูลทางการเงินซึ่งอาจอยู่ในหลายรูปแบบให้เป็นหนึ่งเดียวกันโดยการใช้ระบบเดียวกัน • และสามารถตัดสินใจด้านการบริหารได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น • ระบบ ERP ช่วยให้กระบวนการทำงานขององค์กรเป็นไปในแนวทางเดียวกัน

  15. ประโยชน์ของระบบ ERP • เทคโนโลยีพื้นฐาน • ระบบ ERP ช่วยเชื่อมโยงระบบงานต่าง ๆ ที่กระจัดกระจายเข้าด้วยกันเสมือนเป็นระบบเดียวกันทั้งองค์กร • ข้อมูลจากส่วนต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่เก็บข้อมูลส่วนกลางรวมกันและมีมาตรฐานเดียวกัน • จะช่วยลดเวลาและจำนวนคนในการทำงาน ลดขั้นตอน และค่าใช้จ่าย

  16. ประโยชน์ของระบบ ERP • กระบวนการทำงานที่รวดเร็ว • การบูรณาการงานหลักต่าง ๆ ขององค์กรเข้าด้วยกันทำให้ประสานการทำงานได้ทั่วทั้งองค์กร • ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว • ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานสามารถติดตามความก้าวหน้าของงานได้ผ่านระบบเดียวกันทำให้การตัดสินใจในด้านต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  17. ความท้าทายของระบบ ERP • การนำเอาระบบ ERP ต้องใช้เวลาและเงินทุนสูงมาก เพื่อให้เข้ากับรูปแบบการทำงานขององค์กร • รวมถึงต้องใช้ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กร • ดังนั้น ความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นจากระบบ ERP มีดังนี้

  18. ความท้าทายของระบบ ERP • 1. การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กร • ความท้าทายก็คือการค้นหาว่าขั้นตอนการทำงานใดที่สมควรจะต้องได้รับการปรับเปลี่ยนและจะทำการเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับ ERP อย่างไร • การเปลี่ยนแปลงอาจก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ๆ ในองค์กร มีการรับเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ซึ่งจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมให้กับพนักงานให้ดีพอ

  19. ความท้าทายของระบบ ERP • การเปลี่ยนแปลงกระบวนการดำเนินธุรกิจและวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กร • การปรับเปลี่ยนใด ๆ ย่อมมีผลกระทบต่อการทำงาน อำนาจและบทบาทหน้าที่ของพนักงานในองค์กร • โดยเฉพาะจากพนักงานที่ยึดติดกับวิธีการทำงานแบบเดิม ๆ จึงต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดี • มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดการต่อต้านจากพนักงานไม่ยอมรับระบบซึ่งจะนำมาซึ่งความล้มเหลวของระบบได้

  20. ความท้าทายของระบบ ERP • 2. การบริหารโครงการระบบสารสนเทศขนาดใหญ่และค่าใช้จ่ายในตอนเริ่มต้นที่สูง • การพัฒนาระบบ ERP จะมีค่าใช้จ่ายสูงในตอนเริ่มต้น • แต่อาจจะยังไม่ได้รับหรือประเมินประโยชน์ได้อย่างชัดเจน จนกว่าจะมีการนำระบบไปใช้ • ซึ่งประโยชน์จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเมื่อบุคลากรสามารถใช้ระบบและมีความชำนาญมากขึ้น

  21. ความท้าทายของระบบ ERP • 3. ความไม่ยืดหยุ่นในการปรับซอฟต์แวร์ • ถึงแม้ว่าผู้ขายซอฟต์แวร์ (Vendors) จะสร้างสินค้าให้มีความยืดหยุ่นบ้างแต่องค์กรก็จะต้องดำเนินการให้อยู่ในกรอบที่สามารถปรับได้ • หลายองค์กรพบว่ามีความยุ่งยากเนื่องจาก ERP เป็นการบูรณาการของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน การจะปรับเปลี่ยนส่วนใดส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์อาจกระทบกับส่วนอื่น ๆ ได้ • หรืออาจจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงซอฟต์แวร์ทั้งหมด ดังนั้นก่อนนำระบบมาใช้งานจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ

  22. ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การศึกษาและวางแนวคิด การวางแผนนำระบบมาใช้ การพัฒนาระบบ การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ • 1. การศึกษาและวางแนวคิด • ต้องทำการศึกษาถึงสภาพปัจจุบันขององค์กรว่ามีความจำเป็นต้องนำ ERP มาใช้หรือไม่ อย่างไร • ต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจถึงรูปแบบทางธุรกิจ (Business Scenario), กระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ปัญหาขององค์กรและสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีอยู่ในปัจจุบัน • และจากสภาพปัจจุบันนี้ต้องพิจารณาถึงในอนาคตว่าต้องการให้องค์กรมีสภาพเป็นอย่างไร

  23. ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร • 2. การวางแผนนำระบบมาใช้ • เมื่อผู้บริหารอนุมัติให้มีการนำเอาระบบ ERP มาใช้ในองค์กร ควรมีการจัดตั้งคณะกรรมการในการกำกับดูแลให้การคัดเลือกระบบ ERP เป็นไปในทิศทางที่ต้องการและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร • คณะกรรมการและคณะทำงานจะดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดลำดับขั้นตอนของกระบวนการทางธุรกิจใหม่ กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายและขอบข่ายในการนำ ERP มาใช้ รวมถึงวิธีการของการนำระบบมาใช้

  24. ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร • 3. การพัฒนาระบบ • เป็นขั้นตอนที่ลงในรายละเอียดของการพัฒนาระบบที่เหมาะสมกับองค์กร • ประกอบไปด้วยการจัดทำแผนโครงการพัฒนาโดยละเอียด กำหนดงานที่จะต้องทำพร้อมทั้งระบุเวลาและเป้าหมายที่จะได้รับ • สำรวจระบบงานปัจจุบันว่าจะต้องปรับปรุง ลดขั้นตอน หรือเปลี่ยนแปลงงานอย่างไร สรุปความต้องการจากส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรว่ามีความต้องการซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถอะไรบ้าง • แล้วกำหนดรูปแบบทางธุรกิจและกระบวนการทางธุรกิจที่น่าจะเป็นและนำกระบวนการนี้มาเปรียบเทียบกับกระบวนการทางธุรกิจที่มีให้เลือกจากซอฟต์แวร์ ERP

  25. ขั้นตอนการนำระบบ ERP มาใช้ในองค์กร • 4. การใช้งานและปรับเพิ่มความสามารถ • การใช้ระบบ ERP จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและให้การสนับสนุนบุคลากรในการใช้ระบบ • เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจขั้นตอนการทำงานและช่วยให้สามารถใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ • หลังจากมีการติดตั้งและใช้ระบบแล้วจะต้องมีการประเมินผลจากการนำระบบ ERP มาใช้เป็นระยะ และนำผลการประเมินนั้นมาปรับปรุงระบบต่อไป

  26. ซอฟต์แวร์ ERP • คือ ซอฟท์แวร์ ที่เข้าไปช่วยบริหารทรัพยากรทั้งองค์กรรวมทั้งระบบบัญชี (Accounting) การเงิน(Financial) การจัดส่ง (Logistic) จัดซื้อ (Purchasing) การขาย (Sales Processing) การผลิต(Manufacturing) บุคคล (Payroll) และ ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resources) • แต่ ในปัจจุบันซอฟท์แวร์บางตัว ไม่มีระบบบริหารการผลิต ไม่มีระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ ก็ เรียกตัวเองว่าเป็น ERP Software แล้ว • ดังนั้นความหมาย ERP ที่กล่าวนี้อาจจะหมายถึง ซอฟท์แวร์ที่ครอบคลุมถึงระบบ Financial Account และ Distribution เป็นอย่างน้อย

  27. ERP Package • เป็นApplication Software Package ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทผู้จำหน่าย โดยรวมระบบงานทุกอย่างไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จุดเด่นของ ERP Package • เป็น Application Software ที่รวบรวมงานหลักอันเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร • สามารถเสนอ Business scenario และ Business Process ซึ่งถูกสร้างเป็น Pattern ไว้ได้ • สามารถจัดทำและเสนอรูปแบบ Business Process ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรได้

  28. Function ของ ERP Package • ระบบบัญชี • - บัญชีการเงิน • - บัญชีการบริการ • ระบบการผลิต • - ควบคุมการผลิต • - ควบคุมการคงคลัง • - การออกแบบ • - การจัดซื้อ • - ควบคุมโครงการ • ระบบริหารการขาย • Logistics • ระบบบำรุงรักษา • ระบบบริหารบุคคล

  29. ชนิดของ ERP Package • ERP ที่ใช้กับธุรกิจหรือเฉพาะทางธุรกิจ • ERP package โดยทั่วไปส่วนมากถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับงานแทบทุกประเภทธุรกิจ   • แต่งานหลักของธุรกิจซึ่งได้แก่ การผลิต การขาย Logistics ฯลฯ มักจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ • ดังนั้นจึงมี ERP package ประเภทที่เจาะจงเฉพาะบางธุรกิจอยู่ในตลาดด้วย • เช่น ERP package สำหรับอุตสาหกรรมเคมี   อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมยา เป็นต้น

  30. ชนิดของ ERP Package • 2. ERP สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่หรือสำหรับ SMEs • คือ ERP package ที่ออกแบบโดยเน้นสำหรับการใช้งานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะ • แต่เดิมนั้น ERP package ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแพร่หลาย    • ต่อมาตลาดเริ่มอิ่มตัว ผู้ผลิตจึงได้เริ่มหันเป้ามาสู่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม มากขึ้นเรื่อยๆ • ระบบและเนื้อหาของระบบงานหลักต่างๆจะไม่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ในธุรกิจขนาดใหญ่จะมีปริมาณของเนื้องานมากขึ้น  

  31. ชนิดของ ERP Package 2. ERP สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่หรือสำหรับ SMEs เช่น • - Oracle Application/Oracle • - People Soft- SAP • - CONTROL • - IFS Application • MFG/PRO- J.D. Edwards • Formular ERP

  32. ตัวอย่าง ERP Package • SAP ตัวอย่างหน้าจอ SAP Material Management

  33. ตัวอย่าง ERP Package • PeopleSoft

  34. ตัวอย่าง ERP Package • J.D. Edwards ตัวอย่างหน้าจอ JD Edwards EnterpriseOne Version 9.0.

  35. โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP • ซอฟต์แวร์โมดูล (Business Application Software Module) • ได้แก่ โมดูลที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กร นอกจากจะทำงานเฉพาะแล้วยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกันได้

  36. โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP • ฐานข้อมูลรวม (Integrated Database) • ซอฟต์แวร์โมดูลทุกโมดูลสามารถเข้าถึง (Access) ฐานข้อมูลรวมได้โดยตรงและสามารถใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลรวมนี้ร่วมกันได้ • ข้อมูลในเรื่องเดียวกันที่ได้จากการประมวลผลของซอฟต์แวร์โมดูลต่าง ๆ จะถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานและนำมาเก็บไว้ที่เดียวกัน • ทำให้ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล โดยการบริหารจัดการข้อมูลนั้นจะมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่าระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ซอฟต์แวร์โมดูลในการใช้งานข้อมูล

  37. โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP • ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ (System Administration Utility) • เป็นส่วนที่สนับสนุนการบริหารจัดการระบบ เช่น การคัดลอกสำเนา การลงทะเบียนและกำหนดสิทธิผู้ใช้งาน การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล การบริหารเครือข่าย รวมถึงการสำรอง (Backup) ฐานข้อมูล เป็นต้น

  38. โครงสร้างของซอฟต์แวร์ ERP • ระบบสนับสนุนการพัฒนาและการปรับเปลี่ยน (Development and Customization Utility) • เป็นส่วนที่สนับสนุนการพัฒนาหรือการปรับเปลี่ยนบางงานให้เข้ากับการทำงานขององค์กร • ความยาก/ง่ายในการปรับเปลี่ยนขึ้นอยู่กับแต่ละซอฟต์แวร์ ERP (ERP Package)

  39. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • การพิจารณาว่าจะใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปหรือไม่ • องค์กรจำนวนมากที่เลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพราะการพัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาเองนั้นจะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาและบำรุงรักษาสูง • ควบคุมงบประมาณค่อนข้างยาก ใช้เวลานาน • บุคลากรด้านสารสนเทศขององค์กรเองที่รับผิดชอบในการพัฒนาระบบมักขาดมุมมองด้านธุรกิจและประสบการณ์ • รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญน้อยกว่าบุคลากรของบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ซึ่งมีการพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่ตลอดเวลาทำให้เป็นมืออาชีพมากกว่า

  40. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 2. ฟังก์ชันของ ERP สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และความต้องการในการนำมาใช้งานขององค์กร • หากพิจารณาไม่รอบคอบพอเมื่อซื้อหรือนำซอฟต์แวร์มาใช้แล้วพบว่าความสามารถของซอฟต์แวร์ไม่ตรงกับความเข้าใจในบางประเด็น • หรือมีข้อจำกัดบางอย่างซึ่งอาจทำให้เกิดความยุ่งยากกับผู้ขายโดยเฉพาะในกรณีที่มีการชำระเงินหมดหรือเกือบหมดแล้ว

  41. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 3. ความยืดหยุ่นในการปรับแก้ซอฟต์แวร์ (Customization) • ระบบ ERP จะต้องมีความยืดหยุ่นและสามารถปรับแต่ง (Customization) ได้เพื่อให้ตรงกับความต้องการขององค์กร • หรือเมื่อความต้องการขององค์กรเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ • อย่างไรก็ตามการปรับซอฟต์แวร์ที่มากเกินไปจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลาเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้ได้รับประโยชน์จากข้อได้เปรียบจากวิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) ของ ERP ลดน้อยลงไป

  42. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 4. ต้นทุนในการเป็นเจ้าของระบบ ERP (Cost of Ownership) • องค์กรควรคำนึงถึงความเหมาะสมและเปรียบเทียบผลประโยชน์ที่ได้รับกับต้นทุนทั้งหมดทั้งที่เป็นต้นทุนในระยะสั้น และระยะยาว • โดยต้นทุนจะประกอบด้วยต้นทุนของซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ต้นทุนการนำระบบไปปฏิบัติ ต้นทุนการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ไปในการอบรมและพัฒนาบุคลากร ค่าที่ปรึกษา • รวมถึงค่าใช้จ่ายในการย้ายและแปลงข้อมูลจากระบบเก่าไปสู่ระบบ ERP

  43. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 5. การบำรุงรักษาระบบ • เมื่อการพัฒนาระบบ ERP เสร็จสิ้นและเริ่มมีการใช้งานจริง จะต้องมีการบำรุงรักษาระบบอย่างต่อเนื่อง • ผู้บริหารควรจะต้องสร้างบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาระบบให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ • กรณีบุคลากรขององค์กรไม่สามารถบำรุงรักษาระบบได้เอง และจำเป็นต้องให้บุคคลหรือหน่วยงานภายนอกดำเนินการ • ควรพิจารณาปัจจัยด้านประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ

  44. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 6. รองรับการทำงานหรือเทคโนโลยีในอนาคต • กระแสของธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) ประกอบกับความต้องการในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าหรือคู่ค้ามากขึ้น • จึงควรพิจารณาซอฟต์แวร์ที่มีการเตรียมการสำหรับการเชื่อมต่อกับระบบภายนอกได้ง่าย

  45. ปัจจัยในการพิจารณาตัดสินใจเลือกซอฟต์แวร์ ERP • 7. ความสามารถของผู้ขาย (Vendor) ซอฟต์แวร์ • องค์กรจะต้องประเมินความสามารถ และศักยภาพของผู้ขาย • โดยครอบคลุมด้านบริการหลังการขาย สถานะการเงินและความเชื่อถือได้ของผลงาน • ผู้ขายหรือตัวแทนขายจะต้องได้รับสิทธิในการแก้ไขซอฟต์แวร์ และมีซอสโค้ด (Source Code) ด้วย • เพราะหากไม่ได้รับสิทธินี้การขอปรับแต่งซอฟต์แวร์อาจเป็นเรื่องยุ่งยากจนเกิดเป็นประเด็นข้อพิพาทกับผู้ขายได้

More Related