1 / 39

ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (Information System in Business)

ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (Information System in Business). อ.อัจฉรา สุมังเกษตร. สารสนเทศและการตัดสินใจ. ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงและประสบความสำเร็จในการบริหารงาน คือ ผู้บริหารที่สามารถใช้ทรัพยากร 4 ประการ ได้แก่ เงิน วัสดุและครุภัณฑ์ บุคลากร และสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

Download Presentation

ระบบสารสนเทศในธุรกิจ (Information System in Business)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบสารสนเทศในธุรกิจ(Information System in Business) อ.อัจฉรา สุมังเกษตร

  2. สารสนเทศและการตัดสินใจสารสนเทศและการตัดสินใจ • ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพสูงและประสบความสำเร็จในการบริหารงาน คือ ผู้บริหารที่สามารถใช้ทรัพยากร 4 ประการ ได้แก่ เงิน วัสดุและครุภัณฑ์ บุคลากร และสารสนเทศ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

  3. การใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กรการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจในองค์กร • แบ่งการทำงานได้เป็น 4 ระดับด้วยกัน คือ • การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง(Strategic-level managers) • การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง(Tactical-level managers) • การใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational-level managers) • การใช้สารสนเทศสำหรับงานประจำภายในองค์กร (Clerical-level)

  4. บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศบุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ • ระดับสูง หรือระดับวางแผนยุทธศาสตร์ :เน้นรายงานสรุป รายงานแบบ What-If และการวิเคราะห์แนวโน้มต่าง ๆ (trend analysis) • ระดับกลาง หรือระดับวางแผนบริหาร :มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลา และเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร • ระดับแผนปฏิบัติการ :ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการ ส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ • ระดับงานประจำภายในองค์กร :จะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน

  5. เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน • เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน จะประกอบด้วยระบบต่าง ๆ คือ • ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System หรือ Transaction Processing System : TPS) • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)

  6. เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบันเทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน 4. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) 5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) 6. ระบบปัญญาประดิษฐ์ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Artificial Intelligence : AI/Expert System : ES)

  7. 1. ระบบประมวลผลข้อมูล (Transaction Processing : TPS) • เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน เกือบทั้งหมดจะประมวลผลในลักษณะ On-Line โดยเน้นที่การประมวลผลรายการประจำวัน (transaction) และการเก็บรักษาข้อมูล

  8. ลักษณะเด่นของ TPS • คือ การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเช่น งานด้านธุรกิจบริการ สิ่งที่องค์กรจะได้รับเมื่อใช้ระบบนี้คือ • ลดจำนวนพนักงาน(เสมียน) ในกรณีนี้จะใช้พนักงานกรอกข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพียงคนเดียวเท่านั้น • องค์กรจะมีบริการที่สะดวกรวดเร็วแก่ผู้บริโภคมากขึ้น • ลูกค้ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากบริการที่ดี สะดวก และรวดเร็ว

  9. Summary reports ข้อมูลรายการ TPS MIS Exception reports 2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(Management Information System : MIS) • คือ ระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพแสดงการทำงานของระบบ MIS

  10. ลักษณะของระบบ MIS ที่ดีสามารถสรุปได้ดังนี้ • จะสนับสนุนการทำงานของระบบประมวลผลข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลรายวัน • จะใช้ฐานข้อมูลที่ถูกรวมเข้าด้วยกัน และสนับสนุนการทำงานของฝ่ายต่างๆ ในองค์การ • ช่วยให้ผู้บริหารระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง เรียกใช้ข้อมูลที่เป็นโครงสร้างได้ตามเวลาที่ต้องการ • มีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับความต้องการข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงไปขององค์กร • ต้องมีระบบรักษาความลับของข้อมูลและจำกัดการใช้งานของบุคคลเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

  11. ความแตกต่างของระบบ MIS และ TPS • การใช้งานระบบฐานข้อมูลร่วมกันของ MIS แทนการใช้ระบบแฟ้มข้อมูลแบบแยกกันของระบบ TPS ทำให้มีความยืดหยุ่นพอที่จะให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ • ระบบ MIS จะรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายทำงานต่าง ๆ ขณะที่ TPS มีการใช้งานแยกจากกันในแต่ละฝ่าย • ระบบ MIS จะให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารทุกระดับ ในขณะที่ระบบ TPS จะให้สารสนเทศสำหรับระดับปฏิบัติการเท่านั้น • สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ ส่วนมากจะได้รับการตอบสนองทันทีจากระบบ MIS ในขณะที่ระบบ TPS มักจะต้องรอให้ถึงสรุป (จากรายงาน)

  12. 3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support System :DSS) • เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง ระบบที่ประกอบข้อมูล เครื่องมือ และต้นแบบ (Model) ที่ช่วยในการตัดสินใจแบบกึ่งมีรูปแบบ (Semi - structured) DSS ใช้ข้อมูลที่มาจากภายในองค์กร คือ จาก TRS และ MIS และจากภายนอก เช่น ตลาดหุ่น คู่แข่ง อุตสาหกรรม เป็นต้น มาช่วยในการตัดสินใจ โดยอาศัยต้นแบบมาประมวลผลข้อมูลซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order) ระบบนี้มีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้สะดวก โดยจะช่วยผู้ตัดสินใจในการเลือกทางเลือก หรืออาจมีการจัดอันดับให้ทางเลือกต่าง ๆ ตามที่ผู้ตัดสินใจกำหนด

  13. ข้อมูลภายใน ทางเลือกต่างๆในการ แก้ปัญหา โดยใช้วิธี ของการวิเคราะห์แบบ What – if หรือ Goal - seeking โมเดลช่วย ตัดสินใจ ข้อมูลภายนอก ภาพแสดงการทำงานของระบบ DSS • เช่น ระบบสามารถตอบคำถามประเภท “What-if” เช่น ถ้าต้องการเพิ่มยอดขายสินค้าในเดือนธันวาคมขึ้นเป็น 2 เท่า ของยอดขายปกติแล้ว จะเกิดผลกระทบต่อตารางการผลิตสินค้าอย่างไร

  14. ลักษณะของระบบ DSS ที่ดี 1. จะต้องช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ 2. จะต้องถูกออกแบบมาให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอนได้ 3. จะต้องสามารถสนับสนุนผู้ตัดสินใจได้ในทุกระดับ แต่จะเน้นที่ระดับวางแผนบริหาร และวางแผนยุทธศาสตร์ 4. จะต้องมีรูปแบบการใช้งานอเนกประสงค์ มีความสามารถในการจำลองสถานการณ์ และมีเครื่องมือในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ทำการตัดสินใจ 5. ต้องเป็นระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ได้ ผู้บริหารต้องสามารถใช้งานโดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุดหรือไม่ต้องพึ่งเลย

  15. ลักษณะของระบบ DSS ที่ดี 6. ต้องสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการข่าวสารในสถานการณ์ต่าง ๆ 7. ต้องมีกลไกช่วยให้สามารถเรียกใช้ข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว 8. ต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้ 9. ต้องทำงานโดยไม่ขึ้นกับระบบการทำงานตามตารางขององค์กร 10. ต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะรองรับรูปแบบการบริหารแบบต่าง ๆ

  16. ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS • ระบบ MIS จะถูกออกแบบให้สามารถจัดการเฉพาะกับปัญหาที่มีโครงสร้างเท่านั้น ในขณะที่ระบบ DSS ถูกออกแบบให้สามารถจัดการกับปัญหากึ่งมีโครงสร้าง หรือแบบไม่มีโครงสร้างแน่นอน • ระบบ MIS จะถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนงานที่แน่นอน ในขณะที่ระบบ DSS เป็นชุดของเครื่องมือที่ช่วยในสนับสนุนการตัดสินใจ ที่สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์การตัดสินใจแบบต่าง ๆ ได้ • ระบบ MIS จะให้รายงานหรือสารสนเทศที่สรุปออกมากับผู้ใช้ ในขณะที่ระบบ DSS จะโต้ตอบกับผู้ใช้ทันที

  17. ความแตกต่างของระบบ DSS และ MIS 4. ระบบ MIS ผู้ใช้ไม่สามารถขอให้ระบบสนับสนุนสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจที่ต้องการเป็นการเฉพาะ หรือในรูปแบบเฉพาะตัว แต่ในระบบ DSS ผู้ใช้สามารถกำหนดเองได้ 5.ระบบ MIS จะให้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดกับผู้บริหารระดับกลาง ในขณะที่ระบบ DSS จะให้สารสนเทศที่เหมาะกับทั้งผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง

  18. 4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) • เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุนสารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ กล่าวได้ว่า ระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริหารแก่ผู้บริหารระดับสูง และมีการนำเสนอโดยเป็นรูปแบบของเมนูและการประสานกับผู้ใช้กราฟ (Graphical User Interface)

  19. ความแตกต่างของระบบ EIS และ DSS • ระบบ DSS จะถูกออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางถึงระดับสูง แต่ระบบ EIS จะเน้นการให้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ • ระบบ DSS จะมีส่วนของการใช้งานที่ใช้ไม่ง่ายเท่ากับระบบ EIS เนื่องจากระบบ EIS เน้นให้ผู้บริหารระดับสูงใช้เท่านั้นเอง • ระบบ EIS สามารถสร้างขึ้นมาบนระบบ DSS เสมือนเป็นระบบซึ่ง ช่วยให้สอบถามและใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งระบบ EIS จะส่งต่อการสอบถามนั้นไปยังระบบ DSS และทำการสรุปข้อมูลที่ระบบ DSS ส่งมาให้อยู่ในรูปที่ผู้บริหารสามารถเข้าใจได้ง่าย

  20. 5. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) • เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน OAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ(Paperless System) ส่งข่าวสารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange) แทน

  21. 6. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES) • หมายถึง ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการณ์ ในสาขาใดสาขาหนึ่งคล้ายกับมนุษย์ เป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น และเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้(knowledge) มากกว่าสารสนเทศ โดยใช้หลักการการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

  22. คุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญคุณสมบัติของระบบผู้เชี่ยวชาญ • ช่วยในการเก็บความรู้ของผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่งไว้ ทำให้ไม่สูญเสียความรู้นั้น เมื่อผู้เชี่ยวชาญต้องออกจากองค์กรหรือไม่ปฏิบัติงานได้ • ช่วยขยายขีดความสามารถในการตัดสินใจให้กับผู้บริหารจำนวนมาก ๆ พร้อมๆ กัน • สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลให้กับผู้ทำการตัดสินใจได้เป็นอย่างมาก • จะทำการตัดสินใจในแต่ละครั้งมีความใกล้เคียงและไม่ขัดแย้งกัน • ช่วยลดการพึ่งพาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง • มีความเหมาะสมที่จะเป็นระบบในการฝึกสอนอย่างมาก

  23. การตอบสนองของระบบสารสนเทศกับผู้บริหารในองค์กรการตอบสนองของระบบสารสนเทศกับผู้บริหารในองค์กร ผู้บริหาร ระดับสูง EIS DSS MIS ผู้บริหารระดับกลาง ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ TPS พนักงานประจำภายในองค์กร

  24. ความสำคัญของสารสนเทศต่อผู้บริหารความสำคัญของสารสนเทศต่อผู้บริหาร 1. สารสนเทศกับการตัดสินใจของผู้บริหาร ลักษณะของการตัดสินใจ ลักษณะของสารสนเทศ ใช้แหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์กร เป็นแบบเฉพาะกิจ ไม่มีกำหนดการที่แน่นอน เป็นแบบสรุป ใช้ขอบเขตกว้างๆ เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน เป็นแผนระยะยาว ผู้บริหาร ระดับกลยุทธ์ (ระดับสูง) เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เป็นแบบกึ่งโครงสร้างต้องกระทำทันทีทันใด ผู้บริหารระดับกลวิธี (ระดับกลาง) ใช้แหล่งข้อมูลจากภายในองค์กร สารสนเทศแบบพิเศษ มีกำหนดการที่แน่นอน ต้องแสดงรายละเอียด อยู่ในวงจำกัด เกิดขึ้นประจำ มีโครงสร้างที่แน่นอน ต้องกระทำอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารระดับปฏิบัติ (ระดับต้น)

  25. 2. สารสนเทศช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของผู้บริหาร • ช่วยให้ผู้บริหารมองเห็นปัญหาและโอกาสได้เร็วขึ้น • ช่วยให้ผู้บริหารมีเวลาสำหรับการวางแผนได้มากขึ้น • ช่วยให้ผู้บริหารใช้เวลาในการพิจารณาปัญหาที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น • ช่วยให้ผู้บริหารควบคุมการดำเนินงานได้ดีขึ้น

  26. 3. สิ่งที่ผู้บริหารควรรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศ • หลักการของระบบสารสนเทศ (Foundation Concepts of IS) • เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศ (Technology of IS) • การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ (Applications of IS) • การพัฒนาระบบสารสนเทศ (Development of IS) • การจัดการระบบสารสนเทศ (Management of IS)

  27. บทบาทของสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจบทบาทของสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ • สนับสนุนการปฏิบัติการของธุรกิจ (Support of Business Operations) • ระบบ POS • สนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารงาน (Support of Managerial • Decision Making) • สนับสนุนความได้เปรียบคู่แข่งขันในเชิงกลยุทธ์ (Support of Strategic • Advantage)

  28. ความสำคัญของสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจความสำคัญของสารสนเทศต่อการดำเนินธุรกิจ • 1. เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน • 2. เพิ่มคุณภาพในการให้บริการลูกค้า • 3. พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ • 4. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน • 5. ดึงดูดลูกค้าไว้และกีดกันคู่แข่ง (Client Lock-in Competitor Lock-out) • 6. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ • 7. เพิ่มรายได้ด้วยการนำผลผลิตทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ • ออกจำหน่าย

  29. หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศหน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ การบันทึก (Capture) การประมวลผล (Processing) การผลิตสารสนเทศ (Generation) การเก็บและการเรียกใช้ (Storage and Retrieval) การส่งผ่านสารสนเทศ (Transmission) การบันทึก การประ มวลผล การส่งผ่าน สารสนเทศ หน้าที่ เทคโนโลยี สารสนเทศ การผลิตสาร สนเทศ การเก็บและ การเรียกใช้

  30. ระบบสารสนเทศธุรกิจ • ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ • ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล • ระบบสารสนเทศในงานผลิต • ระบบสารสนเทศในงานจัดซื้อและสินค้าคงคลัง • ระบบสารสนเทศในงานขาย

  31. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้ผู้บริหาร ได้รับข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นต่อการตัดสินใจและการบริหารจัดการ องค์กร

  32. ผู้บริหาร ระบบสารสนเทศ เพื่อการจัดการ ข้อมูล การขาย ต้นทุน ต่อหน่วย ข้อมูลการ เปลี่ยนแปลง ผลิตภัณฑ์ ข้อมูล ค่าใช้จ่าย ระบบประมวลผล ใบสั่งซื้อ ระบบวางแผน การผลิต ระบบบัญชี แยกประเภท แฟ้มข้อมูล ใบสั่งซื้อ แฟ้มข้อมูล ผลิตภัณฑ์ แฟ้มข้อมูล บัญชี ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

  33. ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล เก็บบันทึกข้อมูลประวัติส่วนตัวของพนักงาน บันทึกการประเมินผลการ ทำงาน บันทึกการทำผิดวินัย จัดทำแผนการว่าจ้าง แผนการฝึกอบรม แสดงผลแบบออนไลน์

  34. ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล ฐานข้อมูล พนักงาน รายงานต่างๆ ระบบสารสนเทศ ทรัพยากรบุคคล บันทึกข้อมูลพนักงาน แสดงผลแบบออนไลน์

  35. ระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคล • ในระดับกลยุทธ์ช่วยในการวางแผนกำหนดความต้องการด้าน • กำลังคนในระยะยาว • 2 . ในระดับกลวิธีช่วยให้ผู้บริหารสามารถตรวจสอบและวิเคราะห์การว่าจ้างบุคลากร การจัดสรรตำแหน่งงาน และการชดเชยค่าจ้างแก่บุคลากรได้ • 3. ในระดับปฏิบัติการช่วยติดตามความก้าวหน้าในการว่าจ้าง การฝึกอบรม และการโอนย้ายหรือเลื่อนของบุคลากรในองค์กร

  36. ระบบสารสนเทศในงานผลิตระบบสารสนเทศในงานผลิต 1. ในระดับกลยุทธ์ช่วยในการวางแผนกำหนดความต้องการด้านกำลังคนในระยะยาว เช่น จะตั้งโรงงานใหม่หรือจะลงทุนใช้เทคโนโลยีอะไรใหม่ 2. ในระดับกลวิธี ช่วยในการวางแผนทรัพยากรการผลิต 3.ในระดับปฏิบัติการ ช่วยในการสนับสนุนการทำงานในการ ผลิต เช่น ในการควบคุมการผลิต การบำรุงรักษาเครื่องมืออุปกรณ์

  37. ระบบสารสนเทศในงานจัดซื้อและสินค้าคงคลังระบบสารสนเทศในงานจัดซื้อและสินค้าคงคลัง • ในระดับกลยุทธ์ช่วยตอบคำถามเกี่ยวกับทิศทางและแนวโน้มด้านราคาและความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี • 2. ในระดับกลวิธีช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งวัตถุดิบ ตลอดจน • ราคาและคุณภาพ • ในระดับปฏิบัติการช่วยข้อมูลการจัดซื้อชิ้นส่วนและวัตถุดิบ • ติดตามผลการสั่งซื้อ และการตรวจรับ

  38. ระบบสารสนเทศในงานขาย • ในระดับกลยุทธ์มุ่งที่ติดตามดูทิศทาง แนวโน้มโอกาสทางการขาย ที่มีผลต่อการสินค้าและบริการใหม่ ๆ สนับสนุนการวางแผนทางการตลาดและบริการ • 2. ในระดับกลวิธีสนับสนุนการวิจัยทางการตลาด การโฆษณาและส่งเสริม • การขาย การตัดสินใจเรื่องการกำหนดราคาของสินค้า • 3. ในระดับปฏิบัติการช่วยในการค้นหาแหล่งและช่องทางในการติดต่อกับ • ลูกค้าการติดตามการขาย การประมวลผลใบสั่งซื้อสินค้า และการบริการ • ลูกค้า

  39. ระบบสารสนเทศในงานบัญชีระบบสารสนเทศในงานบัญชี • ในระดับกลยุทธ์ช่วยกำหนดวัตถุประสงค์ของการลงทุนในระยะยาว • และการพยากรณ์สถานภาพทางการเงินในระยะยาวขององค์กร • 2. ในระดับกลวิธีช่วยเหลือผู้จัดการให้สามารถตรวจสอบและควบคุมทรัพยากรทางการเงินขององค์กรได้อย่างทั่วถึง และช่วยวิเคราะห์และประเมินทางการเงิน • 3. ในระดับปฏิบัติการคอยติดตามการใช้จ่ายเงินภายในองค์กรผ่านทางรายการต่างๆ เช่น การสั่งจ่ายเช็ค การจ่ายเงินค่าสิ้นค้าและการรับเงิน

More Related