170 likes | 629 Views
บทบาทการพัฒนาเด็ก ออทิสติก ในด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ. โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จ.นครราชสีมา. หน่วยงานหลักของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเด็กออทิสติก.
E N D
บทบาทการพัฒนาเด็กออทิสติกในด้านการแพทย์ การศึกษา สังคม และอาชีพ โดย นางสาวฐาปณีย์ โลพันดุง ตำแหน่ง ครู / นักกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จ.นครราชสีมา
หน่วยงานหลักของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง กับการพัฒนาเด็กออทิสติก กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการศึกษาและการฝึกอาชีพสำหรับคนพิการ กระทรวงแรงงาน รับผิดชอบดูแลด้านการประกอบอาชีพ การจ้างงานคนพิการ การส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนพิการ รวมทั้งกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ เพื่อมิให้คนพิการถูกเอารัดเอาเปรียบและเลือกปฏิบัติ
กระทรวงสาธารณสุข มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และการรักษาโรค กระทรวงมหาดไทย การจัดสรรเบี้ยยังชีพคนพิการ เดือนละ 500 บาท
การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการแพทย์การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการแพทย์ • ทีมสหวิทยาการ /สหวิชาชีพ (Multidisciplinary Team Approach) ประกอบด้วยแพทย์หรือจิตแพทย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา นักจิตวิทยา/นักจิตวิทยาคลินิก นักกิจกรรมบำบัด นักแก้ไขการพูด พยาบาลพัฒนาการเด็ก พยาบาลจิตเวช นักกายภาพบำบัด(ในรายที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่วมด้วย) เป็นต้น
การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy) • การรักษาด้วยยาไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อรักษาให้หายขาดจากโรคออทิสติกโดยตรง แต่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการบางอย่างที่เกิดร่วมด้วย เด็กไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยยาทุกคน • เมื่อทานยาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องทานต่อเนื่องไปตลอดชีวิต แพทย์จะพิจารณาปรับขนาดยาหรือหยุดยา เมื่ออาการเป้าหมายทุเลาลงแล้ว • ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามียาตัวใดที่ช่วยแก้ไขความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสาร ซึ่งเป็นปัญหาหลักได้ ส่วนยาที่นำมาใช้พบว่ามีประโยชน์ในการลดพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง (Hyperactivity) หุนหันพลันแล่น (Impulsivity) ไม่มีสมาธิ (Inattention) ก้าวร้าวรุนแรง (Aggression) และหมกมุ่นมากเกิน (Obsessive Preoccupation) • ยาที่นำมาใช้รักษามีหลายชนิด ได้แก่ กลุ่มยารักษาอาการทางจิต (Neuroleptics) ยากลุ่ม SSRI (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) และยาเพิ่มสมาธิ (Psychostimulant) เป็นต้น
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับเด็กออทิสติก • การแก้ไขการพูด (Speech Therapy)ผู้ปกครองสามารถกระตุ้นให้มีการพูดได้โดยผ่านการเล่นได้ นอกจากนี้ควรนำเทคนิควิธีการฝึก ซึ่งได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ มาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องที่บ้าน และเทคนิคอื่นๆ เพื่อทดแทนการพูดในกรณีที่ยังไม่สามารถพูดได้ เช่น การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC) กลวิธีการรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies) โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS) เครื่องโอภา (Communication Devices) และโปรแกรมปราศรัย เป็นต้น
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) • เป็นการประยุกต์กิจวัตร หรือกิจกรรม มาใช้ในการตรวจประเมิน วินิจฉัย ส่งเสริม บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ให้สามารถกลับไปดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยเสริมสร้างสมาธิ ทักษะการคิด พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ โดยนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) รวมถึงการนำทฤษฎีการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก (Sensory Integrative Theory) มาประยุกต์ใช้เพื่อกระตุ้นระบบการรับความรู้สึกของเด็กให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น
พฤติกรรมบำบัด (Behavior Therapy) • การทำพฤติกรรมบำบัด ตั้งแต่อายุน้อยๆ และทำอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่สำคัญจะช่วยเสริมสร้างทักษะด้านภาษา ด้านสังคม และทักษะอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยลดระดับความเครียดของผู้ปกครองด้วย • เทคนิคที่ใช้มีพื้นฐานมาจากหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้ เทคนิคที่ใช้ได้ผลดีคือ การให้แรงเสริม เมื่อมีพฤติกรรมที่ต้องการ แรงเสริมมีทั้งสิ่งที่จับต้องได้ เช่น ขนม ของเล่น สติกเกอร์ และสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น คำชมเชย ตบมือ ยิ้มให้ กอด เป็นต้น
การบำบัดทางเลือก (Alternative Therapy) • ในปัจจุบันมีแนวทางการบำบัดทางเลือกที่หลากหลาย สามารถเลือกใช้ควบคู่กับแนวทางหลัก ตามความเหมาะสมกับสภาพปัญหา และผลการตอบสนองที่ได้รับของเด็กแต่ละคน • สิ่งสำคัญที่ควรทำความเข้าใจคือ การบำบัดทางเลือกใช้เสริมแนวทางหลักให้มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ไม่ใช่การนำมาใช้โดดๆ เพียงอย่างเดียวแล้วได้ผล การบำบัดทางเลือกดังกล่าวประกอบด้วย • 1. การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication; AAC) • 2. ศิลปะบำบัด (Art Therapy) • 3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
4. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)เป็นเครื่องมือตรวจวัดการปรับเปลี่ยนกระแสการไหลเวียนของเลือดที่ผิวสมอง เพื่อทำการตรวจสอบการอิ่มตัวของออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยที่ผิวสมอง โดยแสงนี้สามารถส่องผ่านเข้าไปบริเวณผิวสมองและสะท้อนกลับมาที่หนังศีรษะ ตรวจวัดได้โดย photoelectric cells ซึ่งส่งไปวิเคราะห์ข้อมูลที่เครื่อง Biocomp เพื่อแปลผลข้อมูล และป้อนกลับไปให้ผู้ฝึกมองเห็นและเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรมทางจอคอมพิวเตอร์ • 5. การฝังเข็ม (Acupuncture) • 6. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy) เช่น อาชาบำบัด (hippo therapy) Dog therapy เป็นต้น
การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการศึกษาการพัฒนาเด็กออทิสติกด้านการศึกษา • การศึกษา มีบทบาทสำคัญในการเพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิดแก่เด็กออทิสติก ซึ่งทำให้เกิดผลดีในระยะยาว โดยเนื้อหาหลักสูตรจะเน้นการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ได้ แทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการเท่านั้น • การศึกษาในระบบ : การเรียนร่วม / เรียนรวม / ห้องคู่ขนาน • การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย : การช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) การศึกษานอกระบบ การฝึกอาชีพ การฝึกทักษะการดำรงชีวิต ฯลฯ
การพัฒนาเด็กออทิสติกด้านอาชีพการพัฒนาเด็กออทิสติกด้านอาชีพ • แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ ในปัจจุบันเปลี่ยนจากการให้ทำงานในสถานพยาบาล หรือโรงงานในอารักษ์ มาสู่ตลาดแรงงานจริง หรือการประกอบอาชีพส่วนตัว ภายใต้การชี้แนะ การฝึกอาชีพ การจัดหางาน และการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ • เพื่อไปสู่เป้าหมายให้บุคคลออทิสติกสามารถทำงาน มีรายได้ และดำรงชีวิตโดยอิสระ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมทักษะที่จำเป็นในการทำงาน เช่น การตรงต่อเวลา การปรับตัวเข้ากับหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน ความปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น และฝึกทักษะพื้นฐานเฉพาะทางอาชีพ ควบคู่กันไป
ในการทำงานจะมีผู้ฝึกสอนงาน (Job Coach) ฝึกให้ ณ ที่ทำงานจริง คอยช่วยเหลือแนะนำในเรื่องเทคนิคการทำงาน และทักษะสังคม ให้คำปรึกษา ประเมินผล และพัฒนาในจุดที่ยังบกพร่องอยู่ • บุคคลออทิสติกสามารถประกอบอาชีพได้ปกติ ตามความถนัดของแต่ละคน ถ้ามีการเตรียมความพร้อมอย่างเหมาะสม และสังคมมีความเข้าใจ เปิดโอกาสให้ ในกลุ่มออทิสติก ที่ระดับความสามารถสูง และได้รับการเตรียมความพร้อมมาตั้งแต่เด็ก ทั้งในทักษะพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้ด้านต่างๆ และทักษะสังคม สามารถประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนบุคคลทั่วไป เพียงแต่ในเรื่องการปรับตัว หรือกรณีที่มีสถานการณ์ยุ่งยากซับซ้อน จะเป็นกระบวนการให้คำปรึกษาเป็นกรณีไป LOGO
“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” LOGO
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม ศูนย์วิชาการเพื่อการพัฒนาเด็กและวัยรุ่นhttp://www.happyhomeclinic.com/academy.html • สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม(ไทย) :http://www.autisticthai.net/ • โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข : http://www.yuwaprasart.com/ • มูลนิธิออทิสติกไทย : http://www.autisticthai.com/index.php