530 likes | 859 Views
บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555. อัญชลี ธรรมะวิธีกุล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 30 ตุลาคม 2554. หัวข้อบรรยาย. 1. การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา
E N D
บทบาทครูอาสาสมัคร กศน. ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ปี 2555 อัญชลี ธรรมะวิธีกุล ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ 30 ตุลาคม 2554
Page 2 หัวข้อบรรยาย 1.การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา 2.แนวทางการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
Page 3 การนิเทศ ติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษา
Page 4 การนิเทศ 1. ความหมาย นิเทศ ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึงชี้แจง แสดง • การนิเทศ(Supervision) มีผู้ให้ความหมายไว้หลายประการ ดังนี้ • สเปียร์ส (Spears) “การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะทำให้เกิดการปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนการสอนของครู โดยการทำงานร่วมกับครูและผู้เกี่ยวข้อง เป็นการกระตุ้นความเจริญก้าวหน้าของครู ช่วยเหลือครูให้ครูสามารถพัฒนาตนเองได้” • กูด(Good) “การนิเทศการศึกษา เป็นความพยายามของผู้ที่ทำหน้าที่นิเทศที่จะช่วยให้คำแนะนำครูหรือผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาให้สามารถปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ช่วยพัฒนาศักยภาพของครู และช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องเกิดความเจริญงอกงามในอาชีพ”
Page 5 • สรุปความหมายของการนิเทศการศึกษา • การนิเทศการศึกษา หมายถึง กระบวนการพัฒนาครู เพื่อให้ครูปรับปรุงและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ การนิเทศจึงเป็นกระบวนการในการแนะนำช่วยเหลือครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนิเทศนั้นอยู่บนหลักการของประชาธิปไตย คือการเคารพซึ่งกันและกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ
Page 6 2. ความจำเป็นในการนิเทศ • บริบทของ ชุมชน ประเทศไทยและของโลกมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้นการจัดการศึกษาจะต้องปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การนิเทศการศึกษาเป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ครูและผู้เกี่ยวข้องจัดการศึกษาได้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไป • ความรู้ในสาขาต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นใหม่ตลอดเวลา การนิเทศจะ ช่วยให้ครูมีความรู้ทันสมัยขึ้น
การแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำเป็นจะต้องได้รับคำแนะนำ คำปรึกษา จากผู้ชำนาญการโดยเฉพาะ จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหาได้สำเร็จลุล่วง การจัดการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาชาติ จะต้องมีการควบคุมคุณภาพ ด้วยระบบการนิเทศการศึกษา การจัดการศึกษาเป็นกิจกรรมที่มีความสลับซับซ้อน จำเป็นจะต้องมีการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนิเทศการศึกษาเป็นงานที่มีความจำเป็นต่อความเจริญงอกงามของครู แม้ครูจะได้รับการพัฒนามาแล้ว แต่ครูจำเป็นจะต้องปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอในขณะทำงานในสถานการณ์จริง Page 7
Page 8 3. ความมุ่งหมายการนิเทศการศึกษา • ดร.สงัด อุทรานันท์ (2530) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการนิเทศการศึกษาว่า มีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 4 ประการ • เพื่อพัฒนาคน • เพื่อพัฒนางาน • เพื่อประสานสัมพันธ์ • เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ
Page 9 ความมุ่งหมายการนิเทศการศึกษา • การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนาคนหมายถึง การนิเทศการศึกษาเป็นกระบวนการทำงานร่วมกันกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูและบุคลากร ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น • การนิเทศการศึกษาเพื่อพัฒนางานหมายถึง การนิเทศการศึกษา มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่คุณภาพของผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเหตุนี้การนิเทศที่จัดขึ้นจึงมีจุดมุ่งหมายที่จะ “พัฒนางาน” คือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีขึ้น
Page 10 • การนิเทศการศึกษาเพื่อสร้างการประสานสัมพันธ์หมายถึงการสร้างการประสานสัมพันธ์ ระหว่างผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศซึ่งเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกันมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน • การนิเทศการศึกษาเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจหมายถึงการนิเทศที่มุ่งให้กำลังใจแก่ครู และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการนิเทศ เนื่องจากขวัญและกำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้บุคคลมีความตั้งใจทำงาน
Page 11 4. ผู้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา • บุคคลที่ทำหน้าที่นิเทศการศึกษา ไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะศึกษานิเทศก์เท่านั้นแต่เป็นใครก็ได้ที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือแนะนำปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยเน้น ในเรื่องของกระบวนการเรียนการสอน ในปัจจุบันบุคคลผู้ทำหน้าที่นิเทศการศึกษาได้มีหลายกลุ่ม ดังนี้ • ศึกษานิเทศก์ คือบุคคลที่มีหน้าที่ในการนิเทศการศึกษาโดยตำแหน่ง • ผู้บริหารสถานศึกษา • ผู้บริหารการศึกษา • ผู้เชี่ยวชาญ คือบุคคลที่สถานศึกษาเชิญมาเป็นวิทยากร เพื่อช่วยเหลือแนะนำและให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ • ครู อาจให้ความช่วยเหลือแนะนำเกี่ยวกับการปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่เพื่อนครูด้วยกัน
Page 12 5. ประเภทของงานนิเทศการศึกษา • ประเภทการนิเทศการศึกษา แบ่งตามวิธีปฏิบัติงานเป็น4ประเภท • การนิเทศเพื่อการแก้ไข (Correction) เป็นการนิเทศที่เกิดจากการพบข้อผิดพลาดและบกพร่องแล้วหาทางช่วยแก้ไขโดยวิธีการต่าง ๆ • การนิเทศเพื่อป้องกัน (Preventive) เป็นการนิเทศที่พยายามหาวิธีการต่าง ๆ มาจัดดำเนินงานเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น • การนิเทศเพื่อก่อ (Construction) เป็นการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่นการนิเทศการเทียบระดับการศึกษา หรือการให้กำลังใจครูในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายและมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน • การนิเทศเพื่อการสร้างสรรค์ (Creation) เป็นการนิเทศที่พยายามจะคิดสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดมีขึ้นในสถานศึกษา
Page 13 6.หลักการนิเทศการศึกษา • เบอร์ตันและบรุคเนอร์ (Burton and Brueckner) ได้สรุปหลักการนิเทศการศึกษาไว้ 4 ประการ คือ • การนิเทศการศึกษาควรมีความถูกต้องตามหลักวิชา การนิเทศการศึกษาที่ดีควรจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่วางไว้ • การนิเทศการศึกษาควรเป็นวิทยาศาสตร์ ควรเป็นไปอย่างมีระเบียบมีการปรับปรุงและประเมินผล การนิเทศควรจะมาจากการรวบรวมข้อมูล และการสรุปผลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือได้ • การนิเทศการศึกษาควรเป็นประชาธิปไตย การนิเทศการศึกษาจะต้องเคารพในความแตกต่างของบุคคล เน้นความร่วมมือร่วมใจกันในการดำเนินงาน และใช้ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานเพื่อให้งานนั้นไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ • การนิเทศการศึกษาควรจะเป็นการสร้างสรรค์ การนิเทศการศึกษาควรเป็นการแสวงหาความสามารถพิเศษของบุคคล แล้วเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและพัฒนาความสามารถเหล่านั้นอย่างเต็มที่
Page 14 . 7. กระบวนการนิเทศ • กระบวนการนิเทศการศึกษา หมายถึงการดำเนินการในการนิเทศให้ได้รับความสำเร็จ • แฮริส (Harris) ได้กำหนดขั้นตอนของกระบวนการนิเทศการศึกษาไว้ดังนี้ • ขั้นวางแผน (Planning) ได้แก่ การคิด การตั้งวัตถุประสงค์ การคาดการณ์ล่วงหน้าการกำหนดตารางงานการค้นหาวิธีปฏิบัติงานและการวางโปรแกรมงาน • ขั้นการจัดโครงการ (Organizing) ได้แก่ การตั้งเกณฑ์มาตรฐาน การรวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งคนและวัสดุอุปกรณ์ความสัมพันธ์แต่ละขั้น การมอบหมายงานการประสานงานการกระจายอำนาจตามหน้าที่โครงสร้างขององค์การ และการพัฒนานโยบาย • ขั้นการนำเข้าสู่การปฏิบัติ (Leading) ได้แก่ การตัดสินใจ การเลือกสรรบุคคล การเร้าจูงใจให้มีกำลังใจคิดริเริ่มอะไรใหม่ ๆการสาธิตการจูงใจและให้คำแนะนำ การสื่อสารการกระตุ้นส่งเสริมกำลังใจการแนะนำนวัตกรรมใหม่ ๆ และให้ความสะดวกในการทำงาน
ขั้นการควบคุม (Controlling) ได้แก่ การสั่งการ การให้รางวัล การลงโทษ การให้โอกาส การตำหนิการไล่ออกและการบังคับให้กระทำตาม ขั้นประเมินผล (Appraising) ได้แก่ การตัดสินการปฏิบัติงาน การวิจัย และการวัดผลการปฏิบัติงานกิจกรรมที่สำคัญ คือพิจารณาผลงานในเชิงปฏิบัติว่าได้ผลมากน้อยเพียงใด และวัดผลด้วยการประเมินอย่างมีแบบแผนมีความเที่ยงตรงทั้งนี้ควรจะมีการวิจัยด้วย จะเห็นว่า กระบวนการนิเทศการศึกษาเป็นการทำงานอย่างมีแบบแผน โดยเริ่มจากการวิเคราะห์งานการเรียนการสอนของครูเพื่อจะได้ทราบปัญหาระบุปัญหาที่จะต้องรีบแก้ไขปรับปรุงก่อนหลังแล้วจึงวางแผนที่จะดำเนินการโดยหาทางเลือกที่จะแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ต่อจากนั้นก็ดำเนินการตามแนวขั้นตอนตามลำดับจนถึงขั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้วจึงนำผลการปฏิบัติไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป Page 15
Page 16 8. ลักษณะงานนิเทศการศึกษา • งานนิเทศที่ปฏิบัติกันอยู่มีดังนี้ • งานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร (Developing Curriculums) ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การประเมินหลักสูตร การประกันคุณภาพหลักสูตร การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การจัดกระบวนการเรียนการสอน (Organizing for Instruction) เป็นการจัดระบบการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการนำหลักสูตรไปใช้ เช่น การจัดกลุ่มผู้เรียน การจัดทำแผนการพบกลุ่ม การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ • การคัดเลือกบุคลากร (Staffing) โดยเลือกสรรให้เหมาะสมกับงาน มีการสรรหา
Page 17 • การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก (Providing Facility) เช่นการออกแบบและจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอน รวมถึงการจัดวางแผนอาคารเรียนที่ถูกต้อง • จัดหาวัสดุอุปกรณ์การสอน (Providing Materials) ตรวจและเลือกวัสดุอุปกรณ์การสอนที่จะนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อการสอน • จัดอบรมครู (Arranging for In-Service Education) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่ครู อันจะส่งผลให้ครูมีความก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพทางด้านวิชาการยิ่งขึ้น • งานประเมินผล (Evaluation) จัดให้มีการประเมินผลทางการเรียนการสอน เพื่อหาจุดอ่อนเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการวางแผน การสร้างเครื่องมือ การจัดดำเนินการ เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปรผล และการตัดสินใจ เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
Page 18 • จัดปฐมนิเทศครูใหม่ (Orienting New Staff Members) เพื่อให้ได้ทราบข้อมูลต่าง ๆ ให้รู้และเข้าใจในสิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เป็นการลดอุปสรรคในการปฏิบัติงาน อันจะทำให้งานประสบสำเร็จมากขึ้น • การสร้างเสริมความสัมพันธ์กับชุมชน (Developing Public Relation) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน การแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวทางการศึกษาให้ชุมชนทราบ แสวงหาความช่วยเหลือจากชุมชน ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
Page 19 . 9. เทคนิคการนิเทศการศึกษาโดยทั่วไป • ก่อ สวัสดิพานิชย์ ได้เสนอเทคนิคการนิเทศการศึกษาทั่วไป แบ่งได้เป็น 7 แบบดังนี้ • การนิเทศโดยตรง ได้แก่การไปเยี่ยมสถานศึกษา ศึกษาปัญหาที่สถานศึกษาและให้ข้อคิดเห็น • การนิเทศโดยการอบรม • การจัดวัสดุและข่าวสารให้แก่ครู • การสาธิตการสอน • จัดประชุมปฏิบัติการ • จัดให้ไปศึกษา ดูงาน • การแสดงตัวอย่าง จัดนิทรรศการ
Page 20 10. เทคนิคการนิเทศแบ่งตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย • การนิเทศเพื่อการพัฒนาผู้รับการนิเทศเป็นกลุ่ม ได้แก่ • การจัดประชุมสัมมนา • การจัดประชุมปฏิบัติการ • การฝึกงาน • การศึกษากรณีตัวอย่าง
Page 21 • การสาธิต • การอภิปราย • การสนทนา • การจัดบรรยายหรือฟังปาฐกถา • ทัศนศึกษา • การร่วมปฏิบัติงานในคณะทำงาน คณะกรรมการ
Page 22 • การนิเทศเพื่อการพัฒนาเป็นรายบุคคล ได้แก่ • การฝึกงาน • การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ • การเลือกวิชาเรียนในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย • การเข้ารับการฝึกอบรม • การศึกษาต่อ • การเป็นสมาชิกของสมาคม
Page 24 10. การติดตาม • การติดตาม เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้แล้ว เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ แก้ไข ปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผน หรือวิธีการดำเนินการที่กำหนดไว้ให้เกิดผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น จุดเน้นที่สำคัญของการติดตาม คือ การปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อการตรวจสอบ ควบคุม กำกับ การปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด
Page 25 แผนภูมิการติดตาม(Monitoring)
Page 26 • จากแผนภูมินี้จะแสดงให้เห็นว่าการติดตามมีจุดเน้นสำคัญที่ปัจจัยดำเนินการ กิจกรรมการดำเนินงานและผลงานหรือผลผลิตว่าแต่ละด้านเป็นอย่างไร ได้มีการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ถ้าไม่มีการดำเนินงานตามที่กำหนดไว้ ผลของการปฏิบัติจริงเป็นอย่างไร แตกต่างจากที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพ เวลา และลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้นจะเป็นการประมวลข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ไม่อาจปฏิบัติงานได้ตามที่วางแผนไว้
Page 27 การประเมินผล(Evaluation) 1. การประเมิน เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และนำผลมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการดำเนินการ 2. การประเมินจะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ นับตั้งแต่ก่อนตัดสินใจจัดทำแผนดำเนินการ ในขณะดำเนินการในช่วงระยะต่าง ๆ และเมื่อการดำเนินการเสร็จแล้ว หรือประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ
Page 28 3. การประเมิน บางมิตินำมาใช้ในการประเมินความสำเร็จของการดำเนินการว่าบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการดำเนินการที่ตั้งไว้หรือไม่ มีปัญหา อุปสรรคอะไรบ้าง
Page 29 ความแตกต่าง “การติดตาม”และ “การประเมิน” การติดตาม (Monitoring) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า ได้มีการปฏิบัติในขั้นตอนต่าง ๆ ของการดำเนินงานที่กำหนดไว้ได้อย่างไร ข้อมูลที่ได้จะนำมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการ ควบคุม กำกับ การดำเนินงานในขณะปฏิบัติงาน ทั้งในด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Output) การประเมินผล (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง
Page 30 การประเมิน (Evaluation) มีขอบข่ายกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการประเมินว่าจะประเมินในขั้นตอนใดของการดำเนินการ เช่น ก่อนเริ่มดำเนินการ ขณะดำเนินการซึ่งอาจประเมินการดำเนินการเป็นช่วง เป็นระยะต่าง ๆ เช่น ทุกเดือน ทุกไตรมาส ทุกสองไตรมาสเป็นต้นหรือเป็นการประเมินผลเมื่อการดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
Page 31 สรุปความสัมพันธ์ระหว่างการติดตาม และการประเมินผล
Page 34 แนวทางการนิเทติดตามและประเมินผล การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ
Page 35 หน้าที่ความรับผิดชอบของครูอาสาสมัคร กศน. • 1.ภารกิจหลัก จัดการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ตามภารกิจเฉพาะกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ • 2. ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน • ข้อ 7 นิเทศ ติดตาม ประเมินผลในการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียนทุกรูปแบบ ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
กระบวนการนิเทศ(PIDRE)ติดตาม การจัดการศึกษาอาชีพ ขั้นที่ 1วางแผนการนิเทศ (Planning-P) เป็นขั้นที่ ผอ.อำเภอ ครูอาสาสมัคร กศน. และครู/วิทยากร ประชุม เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการ ความจำเป็นที่จะต้องมีการนิเทศ รวมทั้งการวางแผนขั้นตอนต่าง ๆในการปฏิบัติงานนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ขั้นที่ 2ให้ความรู้ ครู/วิทยากร(Informing-I) เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน เช่น หลักสูตร แผนการสอน วิธีสอนรูปแบบต่าง ๆ สื่อ การแนะแนว การวัดผลประเมินผล Page 36
Page 37 กระบวนการนิเทศ PIDRE (ต่อ) • ขั้นที่ 3 การปฏิบัติงาน (Doing -D) ประกอบด้วยงานใน 3 ลักษณะคือ • การปฏิบัติงานของครู/วิทยากร ลงมือปฏิบัติงานตามความรู้ที่ได้รับมาจากดำเนินการในขั้นที่ 2 • ครูอาสาสมัคร กศน. ผู้ให้การนิเทศ จะทำการนิเทศและควบคุมคุณภาพให้การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดและมีคุณภาพสูง • ผอ. กศน.อำเภอ ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนการนิเทศ จะต้องให้การสนับสนุนในเรื่อง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้การนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Page 38 กระบวนการนิเทศ PIDRE (ต่อ) • ขั้นที่ 4 การสร้างขวัญและกำลังใจ (Reinforcing-R) ขั้นนี้เป็นขั้นของการเสริมกำลังใจของ ผอ. กศน.อำเภอ/ครูอาสาสมัคร กศน.ให้แก่ ครู/วิทยากร และผู้เกี่ยวข้องมีขวัญ กำลังใจและมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน • ขั้นที่ 5 ประเมินผลผลิตของการดำเนินงาน (Evaluating-E) เป็นขั้นที่ ครูอาสาสมัคร กศน. ทำการประเมินผลการดำเนินการการนิเทศ ซึ่งผ่านไปแล้วว่าเป็นอย่างไร หากพบว่ามีปัญหาที่ทำให้การจัดการเรียนการสอนอาชีพ ไม่ได้ผลก็จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขซึ่งการปรับปรุงแก้ไขอาจจะทำได้โดยการให้ความรู้แก่ครู/วิทยากร ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
Page 39 แนวทางในการการนิเทศ การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 1.การวางแผนการนิเทศ • ศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการศึกษาอาชีพ ของ กศน. ตำบลที่ผ่านมา • วิเคราะห์นโยบาย จุดเน้น การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำของสำนักงาน กศน./กศน.จังหวัด ปีงบประมาณ 2555 • ศึกษาความต้องการของผู้ครู/วิทยากรในการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • กำหนด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัดความสำเร็จของการนิเทศ • จัดทำแผนงาน/โครงการนิเทศ ปีงบประมาณ 2555
Page 40 แนวทางในการการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 2.ครูอาสามัคร กศน.พัฒนาตนเอง เพื่อทำหน้าที่นิเทศ • ศึกษา รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความรู้และทักษะที่สำคัญ ในการปฏิบัติการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ เช่น • การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ • การจัดทำแผนการเรียนรู้ • การจัดทำสื่อ
Page 41 แนวทางในการการนิเทศการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • รูปแบบการจัดการศึกษาอาชีพ • การแนะแนวและการให้คำปรึกษา • การเทียบโอนผลการเรียน • การวัดผลประเมินผล • กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ
Page 42 แนวทางในการการนิเทศ การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 3.เตรียมความพร้อมการนิเทศ • ตั้งคณะกรรมการนิเทศ ของ กศน.อำเภอ • งบประมาณเพื่อการนิเทศ • ยานพาหนะในการนิเทศ • สื่อ/เครื่องมือนิเทศ • ประสานแผนนิเทศ กับครู/วิทยากร
Page 43 แนวทางในการการนิเทศติดตาม การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ • 4. การปฏิบัติการนิเทศตามแผนที่กำหนด • สร้างความรู้ความเข้าใจในการการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำแก่ครู/วิทยากร (Informing-I) • ลงมือปฏิบัติงาน (Doing-D)นิเทศและควบคุมคุณภาพให้การจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ ให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดและมีคุณภาพสูง • สร้างเสริมกำลังใจ แก่ครู/วิทยากร(Reinforcing-R)
Page 44 5. การประเมินผลการนิเทศ ช่วงระยะเวลาในการประเมินผลการนิเทศ • ประเมินก่อนนิเทศ • ประเมินระหว่างการนิเทศ • ประเมินหลังการนิเทศ
Page 45 กรอบในการประเมินผลการนิเทศ
Page 46 สวัสดี