420 likes | 602 Views
Chapter 4. ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment System). วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce). อ เพียรทิพย์. วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. ปัจจุบันการชำระเงินที่นิยมคือการชำระผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกแก่ลูกค้าและผู้ค้า
E N D
Chapter 4 ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment System) วิชา การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) อ เพียรทิพย์
วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์วิธีการชำระเงินของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ • ปัจจุบันการชำระเงินที่นิยมคือการชำระผ่านบัตรเครดิตเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกแก่ลูกค้าและผู้ค้า • ผู้ซื้อสินค้าจำนวนมากยังไม่มีความแน่ใจในเรื่องของความปลอดภัยเนื่องจากกลัวการดักจับขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของมิจฉาชีพทางอินเทอร์เน็ต • ดังนั้นผู้ค้าจึงต้องเปิดช่องทางในระบบการชำระเงินให้หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ลูกค้า
องค์ประกอบหลักของระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์องค์ประกอบหลักของระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน ลูกค้า ร้านค้า ผู้กำหนดกฏระเบียบปฏิบัติมาตรฐาน เครือข่าย
1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • 1.3 ไปรษณีย์/พัสดุ เก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery) • 1.4 เพย์ แอท โพสท์ (Pay at Post)
1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ กระบวนการโอนเงินผ่านที่ทำการไปรษณีย์เริ่มจากผู้โอนซื้อธนาณัติจากที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศโดยมีข้อจำกัด - บุคคลธรรมดา วงเงินไม่เกิน 50,000 บาท - ธุรกิจ ไม่เกิน 9,000,000 บาท - ค่าธรรมเนียม - 5 บาท สำหรับยอดเงิน 1000 บาทแรก - 1 บาทต่อทุก 1000 บาทถัดไป
1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.1 บริการธนาณัติ • ผู้ส่งสามารถเลือกความเร็วในการส่งได้โดยเรียงจากช้าที่สุดไปจนเร็วที่สุด คือ • ลงทะเบียน • ด่วนพิเศษ (EMS) • ทางโทรเลข (เร็วที่สุด เพราะเป็นการส่งผ่านเครือข่ายของไปรษณีย์ ที่เรียกว่า Message switching Center (MSC)
1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • เหมาะกับส่งเงินจำนวนไม่มาก หรือหลีกเลี่ยงการพกเงินติดตัวในการเดินทางไกล • ผู้รับสามารถเอาตั๋วแลกเงินไปขอรับได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง
1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์1.ระบบโอนผ่านที่ทำการไปรษณีย์ • 1.2 ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ (Postal Order) • เหมาะกับส่งเงินจำนวนไม่มาก หรือหลีกเลี่ยงการพกเงินติดตัวในการเดินทางไกล • ผู้รับสามารถเอาตั๋วแลกเงินไปขอรับได้ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่ง • 1.3 ไปรษณีย์เก็บเงิน หรือ พัสดุเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery) • การส่งสิ่งของหรือจดหมายเรียกเก็บเงินจากผู้รับปลายทางหรือพัสดุเก็บเงินปลายทาง สามารถส่งได้ทั้งพัสดุเก็บเงิน และไปรษณีย์ด่วยพิเศษเก็บเงิน • 1.4 เพย์ แอท โพสท์ (PAY AT POST) เป็นบริการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ผ่านทุกที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็วแก่ประชาชน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ผ่านระบบออนไลน์ที่ไปรษณีย์
2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • 2.1 โอนเงินผ่านเค้าเตอร์ธนาคาร เป็นการชำระค่าบริการโดยโอนเงินเข้าบัญชีโดยผ่านหน้าเคาน์เตอร์ โดยผู้ขำระต้องเดินทางไปที่ธนาคารและทำการโอนเงินด้วยตัวเอง โดยบริการโอนสามารถแบ่งบ่อยได้อีกหลายประเภทเช่น • การโอนปกติ • การโอนเงินรายใหญ่ (Baht Net) เป็นการโอนเงินทีละจำนวนมาก • การโอนเงินรายย่อย ไม่เกิน 500,000 บาท • การโอนเงินระหว่างประเทศ
2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • โอนเงินระหว่างประเทศ • ระบบโอนเงินระหว่างประเทศ (SWIFT) เป็นการโอนเงินระหว่างประเทศโดยใช้เครือข่ายธนาคารที่มีอยู่ทั่วโลก • ธนาณัติ เวสต์เทิร์นยูเนี่ยน (Western Union) คือบริการเงินด่วนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านตัวแทนของเวสต์เทิร์นยูเนียน โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีของธนาคาร • ธนาณัติ มันนี่แกรม (MoneyGram) คล้ายกับเวิร์สเทิร์นยูเนี่ยน
2. บริการโอนเงินผ่านทางธนาคาร • 2.2 โอนเงินผ่านเครือ่งฝากเงินอัตโนมัติ (ATM) ถือว่าเป็นวิธีสะดวกที่สุดอีกวิธี สำหรับผู้ที่มีหมายเลขบัญชีธนาคารและบัตรเอทีเอ็ม • 2.3 ขำระผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (e-Banking) สามารถเปิดใช้บริการโดยกรอกแบบฟอร์มขอใช้บริการ และจะได้ login และ password ในการเข้าใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตของธนาคารนั้น ๆ และคิดค่าธรรมเนียมตามเงื่อนไขการให้บริการ
3.การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต3.การชำระเงินผ่านบัตรเครดิต • เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะมีระบบที่รองรับการชำระที่สมบูรณ์แบบและรวดเร็ว แต่ยังติดปัญหาเรื่องความกังวลในเรื่องความปลอดภัย • คุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการรับชำระผ่านบัตรเครดิต • จดทะเบียนเป็น บริษัท หรือ นิติบุคคล ไม่น้อยกว่า 1 ปี • ทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 1,000,000 บาท • วางเงินค้ำประกันตั้งแต่ 50,000-200,000 บาท • ไม่มีประวัติเสียหายด้านการเงิน • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว • ขายสินค้าไม่ผิดกฏหมาย • คุณสมบัติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับธนาคารระบุไว้
วิธีเริ่มต้นใช้บริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตกับธนาคารสำหรับร้านค้า e-Commerce • เปิดบัญชีกับธนาคารที่สมัครใช้บริการ • ทำการพัฒนาระบบของเว็บไซต์เพื่อเชื่อมต่อกับธนาคาร (แต่ละธนาคารจะมีขั้นตอนและวิธีต่างกันไป เรียก Payment Gateway) • ทดสอบระบบก่อนเปิดบริการเพื่อความั่นใจในเรื่องความปลอดภัยและใช้การได้โดยไม่หยุดกลางคันระหว่างการจ่ายเงิน
ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ตขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต • ลูกค้าเข้ามาที่เว็บไซต์เลือกซื้อสินค้าและทำการสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บไซต์ โดยกดชำระเงิน • เว็บไซต์ของร้านค้าจะทำการลิงค์และส่งลูกค้าไปยังเว็บไซต์ของธนาคาร เพื่อกรอกข้อมูลบัตรเครดิต • ข้อมูลบัตรเครดิตจะวิ่งผ่านเครือข่ายธนาคารไปตรวจสอบข้อมูลเพื่อและระบุตัวตนกับธนาคารผู้ออกบัตร (Issues Bank) ว่าบัตรเครดิตนั้นเป็นบัตรที่มีเลขที่ถูกต้องหรือไม่ มีวงเงินพอหรือไม่ • ถ้ามีเงินพอ ธนาคารของลูกค้าจะตัดเงินออกจากวงเงินลูกค้าคนนั้น และแจ้งกลับมายังธนาคารของร้านค้าว่า อนุมัติ และรายการทำสำเร็จแล้ว
ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต(ต่อ)ขั้นตอนของระบบการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตผ่านอินเตอร์เน็ต(ต่อ) • ธนาคารของร้านค้าส่งข้อมูลแจ้งกลับไปยังหน้าจอลูกค้าว่าเงินได้ถูกชำระและได้ตัดเงินไปแล้ว หากวงเงินไม่พอหรือบัตรผิด ธนาคารจะขึ้นหน้าจอแสดงว่าไม่สามารถตัดเงินได้ • หลังจากตัดเงินจากบัตรเครดิตลูกค้ามาแล้ว ธนาคารจะโอนเงินเข้าบัญชีของร้านค้าทันที • เมื่อสิ้นเดือน ลูกค้าจะได้รับใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิตที่ได้ไปชำระเงินในเว็บไซต์ร้านค้า • ลูกค้าชำระเงินค่าสินค้าตามใบเรียกเก็บเงินของบัตรเครดิต กลับมายังธนาคารเจ้าของบัตรเครดิต
ลุกค้ากรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้ออนไลน์ เลือกการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสด้วยวิธี SSL หรือ SET ไปยังเว็บไซต์ของผู้ขาย 1 ลูกค้ากำลังดูเว็บไซต์ผู้ขาย เว็บไซต์ของผู้ขาย 2 ข้อมูลบัตรเครดิตถูกส่ง มายังธนาคารผู้ขาย ผ่าน เพย์เม้นท์ เกตเวย์ ลูกค้าจะได้รับการยืนยันคำสั่งซื้อว่าสำเร็จแล้ว 7 Payment Gateway 3 ธนาคารลูกค้าจัดส่งเงินไปยังบัญชีผู้ขาย 6 6 ธนาคารของลูกค้า Payment Gateway 4 5 ธนาคารของผู้ขาย ธนาคารของลูกค้ารับรองการใช้บัตรเครดิต ธนาคารผู้ขายส่งข้อมูลบัตรเครดิตไปยัง ธนาคารของลูกค้าผ่าน เพย์เม้นท์ เกตเวย์
รูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตรูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต • ใช้ e-mail ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่จริงได้ เช่น hotmail.com, yahoo.com เพื่อหลีกเลี่ยงในการระบุข้อมูลของผู้ใช้ • ใช้ซื้อสินค้าที่มีราคาแพง เพราะเมื่อซื้อมาได้แล้ว ก็จะสามารถนำไปขายต่อได้ เช่นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นต้น • ซื้อสินค้าทีละมาก ๆ จนดูผิดปกติจากรูปแบบการซื้อสินค้าทั่วไป เช่น การสั่งซื้อโทรศัพท์มือถือครั้งเดียวทีละมาก ๆ • ที่อยู่ที่ส่งสินค้าเป็นที่อยู่คนละที่กับที่อยู่บนบัตรเครดิต โดยยิ่งหากเป็นคนละประเทศยิ่งจะมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นบัตรเครดิตปลอม
รูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตรูปแบบพฤติกรรมของผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ต • ให้ระวังหากมีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศที่อยู่ในเครือข่ายน่าสงสัย อันได้แก่ • ประเทศโรมาเนีย • มาซิโดเนีย • ปากีสถาน • รัสเซีย • ลิทัวเนีย • อิยิปต์ • ไนจีเรีย • โคลัมเบีย • มาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าว ถูกระบุว่ามีอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมสูง
วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • ข้อมูลของผู้สั่งซื้อต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ • เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามา ผู้ซื้อจะต้องให้ข้อมูลที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อและยืนยันการสั่งซื้อได้ • ไม่รับการสั่งซื้อจากผู้ใช้ที่ใช้ e-mail ฟรี หรือ e-mail Forwarding • ผู้ซื้อจะต้องใช้ e-mail จาก ISP หรือ Domain ที่สามารถตรวจสอบถึงที่อยู่ได้จริง • โทรตรวจสอบกลับไปยังที่อยู่ของผู้ที่ถือบัตรเพื่อยืนยันการสั่งซื้อ • หากโทรตรวจสอบไปยังเจ้าของบัตรแล้วพบว่า เจ้าของบัตรไม่ได้ทำการสั่งซื้อสินค้ารีบแจ้งกับธนาคารที่ออกบัตรเพื่อระงับทันที
วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • การตรวจสอบแหล่งที่มาของบัตรเครดิต • เมื่อมีผู้สั่งซื้อสินค้าเข้า และหากพบว่าเป็นจำนวนเงินมากจนน่าผิดสังเกต ให้ธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ช่วยตรวจสอบ เช่นตรวจสอบว่าบัตรนั้นเป็นบัตรจากผู้สั่งซื้อมาจากประเทศไทย แต่ตัวบัตรมาจากประเทศแถบแอฟริกาใต้ ก็น่าจะระบุได้ว่าผู้ซื้อได้ใช้เลขที่บัตรเครดิตคนอื่นมาชำระเงิน • แฟกซ์สำเนาบัตรยืนยันการสั่งซื้อ • ผู้ซื้อจะต้องแฟกซ์สำเนาบัตรเครดิตใบดังกล่าวพร้อมลายเซ็นต์ โดยหากมีการชำระเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่ตั้งเอาไว้ เช่น หากเกิน 10000 บาทให้เจ้าของบัตรจะต้องแฟกซ์ สำเนาบัตรเครดิตเพื่อยืนยันอีกครั้ง
วิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้าวิธีป้องกันการใช้บัตรเครดิตชำระเงินผ่านอินเตอร์เน็ตสำหรับร้านค้า • การตรวจสอบแหล่งที่มาของบัตรเครดิต • เมื่อมีผู้สั่งซื้อสินค้าเข้า และหากพบว่าเป็นจำนวนเงินมากจนน่าผิดสังเกต ให้ธนาคารที่ท่านใช้บริการอยู่ช่วยตรวจสอบ เช่นตรวจสอบว่าบัตรนั้นเป็นบัตรจากผู้สั่งซื้อมาจากประเทศไทย แต่ตัวบัตรมาจากประเทศแถบแอฟริกาใต้ ก็น่าจะระบุได้ว่าผู้ซื้อได้ใช้เลขที่บัตรเครดิตคนอื่นมาชำระเงิน • แฟกซ์สำเนาบัตรยืนยันการสั่งซื้อ • ผู้ซื้อจะต้องแฟกซ์สำเนาบัตรเครดิตใบดังกล่าวพร้อมลายเซ็นต์ โดยหากมีการชำระเงินเกินกว่าจำนวนเงินที่ตั้งเอาไว้ เช่น หากเกิน 10000 บาทให้เจ้าของบัตรจะต้องแฟกซ์ สำเนาบัตรเครดิตเพื่อยืนยันอีกครั้ง
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 1.PayPal (www.PayPal.com) • Paypal คือธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ใช้สำหรับทำธุรกรรมทางอินเตอร์เนตการสมัครต้องมี • อีเมล์ • ระบบทางการเงินผ่านบัตรเครดิต • บัญชีธนาคาร • การสมัครสมาชิกไม่เสียค่าใช้จ่าย • การโอนเงินจะระบุอีเมล์ของผู้รับเงินและการแจ้งสถานะต่าง ๆ จะแจ้งผ่านอีเมล์ • อัตราค่าธรรมเนียมการโอนระหว่างสมาชิกไม่เสีย ถ้าไม่ใช่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น จุดเด่น ของ PayPal • เป็นช่องทางในการโอนเงินระหว่างบุคคลที่สะดวกที่สุด • ค่าธรรมเนียมในการใช้บริการถูก • มีสมาชิกมากขึ้นเรื่อย ๆ และกำลังขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย • มาหลายสาขากระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ • รองรับการทำธุรกรรมด้วยเงินหลายสกุล • สร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยให้แก่ลูกค้าและร้านค้าได้เป็นอย่างดี
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • เป็นการชำระเงินด้วยระบบ e-Wallet หรือ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ • ผู้ใช้เติมเงินโดยจากบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต เข้ามายังบัญชี PaysBuyที่ได้สมัครไว้ • การสมัครไม่เสียค่าใช้จ่ายอะไรทั้งสิ้น • เหมาะกับธุรกิจ e-Commerce ที่ต้องการเปิดรับชำระเงินออนไลน์ที่ไม่ต้องติดต่อกับธนาคาร • มีความปลอดภัยสูงโดยใช้เทคโนโลยี SSL 128 bits และอื่น ๆ
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • การสมัครต้องระบุอีเมล์เพื่อใช้เป็น ID ในการสมัคร • การเติมเงินเข้าบัญชี PaysBuy • ผู้ใช้บริการหรือผู้ซื้อสามารถใช้บัตร Visa หรือ MasterCard มาผูกกับ Paypalเพื่อชำระเงิน โดยต้องผ่านการตรวจสอบเพื่อป้องกันการทุจริต จากนั้นก็สามารถดึงเงินจากบัตรเครดิตมาใช้ได้ • ATM online, ตู้ ATM, Phone Banking, Internet Banking ของบัญชีในธนาคารที่ร่วมสัญญา • เมื่อมีเงินในบัญชี PaysBuyแล้วสามารถซื้อสินค้าได้ในเว็บไซต์ที่มีเครื่องหมาย PayNowหรือส่งเงินให้คนอื่นโดยระบุอีเมล์ผู้รับและจำนวนเงิน
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น 2.Paysbuy (www.Paysbuy.com) • ผู้รับ • มีบัญชี PaySbuyแล้ว คลิก ลิงค์รับเงินได้เลย • ไม่มีบัญชี PaySbuyสมัครตามลิงค์ที่ส่งเข้าเมล์ เมื่อเสร็จแล้วยอดเงินจะเข้ามายังบัญชีที่ PaySbuyทันที • ในการถอนเงินจาก PaySbuyเข้าบัญชีธนาคารสามารถทำได้โดยสะดวก
4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น4.การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการรับชำระรูปแบบอื่น • จุดเด่นของ PaySbuy • 1.เปิดบัญชี PaysBuy ฟรี สามารถทำได้ง่ายทั้งผู้ส่งเงิน และผู้รับเงิน ผ่านเว็บไซต์ www.paysbuy.com • 2. สามารถใช้บัญชี PaySbuy รับชำระเงินได้ทันที และถอนเงินจาก PaysBuy เข้าบัญชีธนาคารของเราเมื่อไหร่ก็ได้ • 3. ค่าธรรมเนียมการรับชำระเงินที่ 3.5% (ไม่รวม VAT) • 4. ผู้ใช้สามารถบริหารเงินในบัญชี PaysBuy ได้สะดวก สามารถเติมเงินจากแหล่งอื่นได้ • 5. ผู้ไม่มีบัตรเครดิตสามารถสั่งซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ได้
ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • จัดเตรียมสินค้าให้พร้อมส่งตามสัญญา เช่น สัญญาว่าจะต้องส่งสินค้าภายใน 7 วัน ก็ต้องทำตามนั้น • ระวังสินค้าที่มีราคาสูง ต้องมีระบบการรับชำระเงินที่มีความปลอดภัยสูง • หากมียอดเงินในการสั่งซื้อรายใดสูงผิดปกติหรือต้องสงสัย ควรตรวจสอบโดยแจ้งไปที่ธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตนั้น เพื่อสอบถามว่าผู้ถือบัตรเขาได้ซื้อสินค้านั้น ๆ หรือไม่
ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • ต้องเขียนนโยบายการคืนสินค้าและสิ่งที่เราไม่รับผิดชอบให้ชัดเจน(Disclaimer) • ควรเก็บหลักฐานใบส่งสินค้า และการตอบรับจากผู้ซื้อว่าได้รับสินค้าแล้วไว้ให้ดี • กรณีที่ไม่มีสินค้าตรงตามสเป็ก หรือมีรูปร่างผิดเพี้ยนไปจากที่ลงโมษณาไว้บนเว็ปไซต์ ต้องแจ้งให้ผู้ซื้อทราบเสียก่อน หรือควรทำหมายเหตุบอกไว้ทันที • กรณีที่ลูกค้าขอคืนเงินผ่านบัตรเครดิต ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของธนาคารผู้ให้บริการ
ข้อควรระวังในการรับชำระเงินข้อควรระวังในการรับชำระเงิน • เมื่อส่งมอบสินค้าไปถึงผู้รับแล้ว ควรขอใบรับของหรือการยืนยันจากบริษัทขนส่งทุกครั้ง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป หลักฐานในอีเมล์ใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลไม่ได้ • ควรมีระบบ tracking หรือให้ผู้ซื้อสามารถติดตามความเคลื่อนไหว หรือความคืบหน้าของคำสั่งซื้อของเขาได้ ว่าอยู่ในขั้นตอนใด แล้วจะส่งถึงมือผู้รับเมื่อใด
การเขียน Disclaimer • Disclaimer คือ แถลงการณ์ หรือคำบรรยาย ถึง “สิ่งที่เราไม่รับผิดชอบ” หรือ “สิ่งที่ลูกค้าไม่สามารถเรียกร้องความเสียหายได้” • เพื่อป้องกันความเสียหาย และป้องกันการยกเลิกคำสั่งซื้อแบบไม่เป็นธรรม • โดยประกาศให้รู้ กติกา มารยาท โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันที่ยังไม่มีกฎหมายทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่ให้ความคุ้มครองโดยตรง
ตัวอย่างของ Disclaimer • เช่น การไม่รับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงราคา หรือ • Price is subject to change without notice. • และควรต้องปรึกษาทนายความที่รู้กฎหมายสากล เพื่อความถูกต้อง
ประเด็นสำคัญในDisclaimer • ความไม่รับผิดชอบในผลที่เกิดจากการใช้งานสินค้านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานที่ผิดประเภทหรือผิดวัตถุประสงค์หลัก รวมทั้งความเสียหายอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง แต่ก็ต้องติด “คำเตือน” ของการใช้ผลิตภัณฑ์นั้นด้วย • ไม่รับผิดชอบกรณีผิดเงื่อนไขในการส่งคืนสินค้า เช่น หากไม่แจ้ง claimทันหรือ หรือ อาจจะภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันรับมอบสินค้า เป็นต้น
ประเด็นสำคัญในDisclaimer • ไม่รับผิดชอบต่อค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งมอบ เช่น ภาษีหรือค่าธรรมเนียมเขาเข้าในประเทศของลูกค้า เป็นต้น • ไม่รับผิดชอบกรณีที่เราจะเปลี่ยนแปลงราคาขายสินค้าได้ทุกเมื่อ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า • ไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากการกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลที่สาม เช่น บริษัทขนส่ง กรมศุลกากร เช่น แกะสินค้าออกมาตรวจแล้วทำให้สินค้านั้นเสียหาย
ประเด็นสำคัญในDisclaimer • นโยบายเหล่านี้ ทางผู้ประกอบการจะต้องเขียนให้รัดกุม และชัดเจน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบการชำระเงินปัจจัยแห่งความสำเร็จของระบบการชำระเงิน • ความเป็นอิสระ (Independence) • ความปลอดภัย (Security) • การไม่ระบุตัวตน (Anonymity) • ความง่ายต่อการใช้ (Ease of Use) • ค่าธรรมเนียม (Transaction Fees) • ปรากฏการณ์เครือข่าย (Network Effect)
ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • การพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศตามแนวนโยบาย โดยการพัฒนาระบบการโอนเงินรายย่อยทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการโอนเงินรายใหญ่ ระบบการหักบัญชีเช็ค เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น • จากการติดตามและศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อชำระเงินประเภทต่าง ๆ พบว่า ยังไม่เป็นไปตามจุดประสงค์ของการพัฒนาระบบ ดังนี้
ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ความนิยมในการถือเงินสดของประชาชนยังมิได้ลดลง โดยมีอัตราส่วนเงินสดในมือประชาชนต่อปริมาณเงิน สูงกว่าร้อยละ 70 • และในช่วงเศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตสูง ปริมาณธนบัตรออกใช้ มีอัตราเพิ่มเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10 ต่อปี • แต่การจัดการเกี่ยวกับเงินสดมีต้นทุนค่อนข้างสูง ทั้งในการผลิต เก็บรักษา ขนย้าย และทำลาย • นอกจากนั้น ยังมีขีดจำกัดในการผลิตและนำออกใช้ และมีความเสี่ยงต่อการสูญหาย และการปลอมแปลง
ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ผู้ให้บริการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในรูปบัตรพลาสติก เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต ยังขาดการร่วมมือกันในการใช้เครื่องอ่านร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนหนึ่งเป็นปัญหาจากการแข่งขัน และผลประโยชน์ต่อเนื่องจากการใช้บัตร รวมทั้งมีปัญหาด้านมาตรฐานทางเทคนิคที่ยังมีความแตกต่างกันสูง
ปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบันปัญหาและอุปสรรคในระบบการชำระเงินในปัจจุบัน • ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทางการเงินก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว • แต่การปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลามาก • จึงอาจเกิดความเสี่ยงและความไม่เป็นธรรมกับผู้เกี่ยวข้องได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา • ศึกษาและพัฒนาสื่อการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้สื่ออื่น ๆ ทดแทนการใช้เงินสด ให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยคำนึงถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการซึ่งไม่สูงจนเกินไป