910 likes | 1.35k Views
การขึ้น ทะเบียนเกษตรกร ปี 2552. กำหนดรับขึ้นทะเบียน เกษตรกร. ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ถึงวันที่ 30 ก.ย. 25 52. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข. ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร ผู้ขอขึ้นทะเบียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1 ครัวเรือนขึ้นได้ 1 คน
E N D
การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ปี 2552
กำหนดรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรกำหนดรับขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.ถึงวันที่ 30 ก.ย. 2552
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข ผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร ผู้ขอขึ้นทะเบียนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1 ครัวเรือนขึ้นได้ 1 คน ขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น - สถานที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือ - สถานที่ประกอบการเกษตร ส่วนบุคคล นิติบุคคล
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน ส่วนบุคคล 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอขึ้นทะเบียน 2. ทะเบียนบ้านของผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือสำเนา 3. คำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามแบบ ทบก.01
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน นิติบุคคล 1. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนนิติบุคคล 2. ทะเบียนบ้านของผู้แทนนิติบุคคลหรือสำเนา 3. หนังสือรับรองนิติบุคคลหรือสำเนา 4. หนังสือมอบอำนาจให้ผู้มาขึ้นทะเบียนเกษตรกร 5. คำร้องขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามแบบ ทบก.01
นิยามศัพท์ • นายทะเบียน เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร • ผู้ช่วยนายทะเบียน เกษตรจังหวัดหรือผู้ได้รับการแต่งตั้ง ตามที่คณะกรรมการนโยบายฯแต่งตั้ง
นิยามศัพท์ • ผู้รับขึ้นทะเบียน - ข้าราชการหรือพนักงานราชการ หรือพนักรัฐวิสาหกิจ หรือลูกจ้างประจำสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียนหรือผู้ช่วยนายทะเบียน - เจ้าหน้าที่สำรวจข้อมูลทะเบียนเกษตรกร ที่กรมส่งเสริมการเกษตรจ้าง
ผู้ขอขึ้นทะเบียน หัวหน้าหรือสมาชิกของครัวเรือนที่เป็นผู้รับผิดชอบ หรือมีส่วนร่วมในการประกอบการเกษตรของครัวเรือน นิยามศัพท์
นิยามศัพท์ • ครัวเรือน บุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ในบริเวณผืนที่ดินเดียวกัน กินและใช้จ่ายร่วมกัน โดยไม่คำนึงถึงว่าจะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกันหรือแยกทะเบียนบ้านกันก็ตาม
นิยามศัพท์ • ครัวเรือนเกษตรกร - ประกอบการเกษตรของตนเอง - ไม่ใช่ผู้รับจ้างทำการเกษตร
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริโภคหรือจำหน่ายหรือใช้งาน ในฟาร์ม
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร(ต่อ) หลักเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ 1) การทำนาหรือทำไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป 2) การปลูกผักหรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร(ต่อ) 3) การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ และมีจำนวนตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป 4) การปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น แบบสวนผสม บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ และมีจำนวนต้นอย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร(ต่อ) 5) การเลี้ยงแม่โคนม ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป 6) การเลี้ยงโค กระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป 7) การเลี้ยงสุกร แพะ แกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไป 8) การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร(ต่อ) 9) การเลี้ยงสัตว์น้ำหรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปี 10) ประกอบกิจกรรมการเกษตรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันแต่ไม่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดตาม ข้อ (1) ถึงข้อ (9) และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปี
นิยามศัพท์ • ประกอบการเกษตร(ต่อ) กรณีการเลี้ยงไหม ต้องเลี้ยงตั้งแต่ 1 แผ่นขึ้นไป กรณีการเลี้ยงผึ้ง ต้องเลี้ยงตั้งแต่ 5 รังขึ้นไป การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง การเพาะเลี้ยงในน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
การกรอกแบบคำร้อง (หน้าแรก) ข้อมูลทั่วไปของครัวเรือน
วิธีการกรอก • การขอขึ้นทะเบียน ให้เลือก ขอขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพียงอย่างเดียว • รหัสทะเบียนครัวเรือนเกษตรกร เว้นไว้สำหรับเจ้าหน้าที่กรอก • สถานที่ขึ้นทะเบียนระบุชื่อหมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดที่รับ • ขึ้นทะเบียน • วันที่ เดือน พ.ศ. ระบุตามวันที่รับขึ้นทะเบียน ด้วยเลข 2 หลัก
วิธีการกรอก ระบุชื่อผู้มาขอขึ้นทะเบียนพร้อมปีเกิด ตัวอย่าง การกรอกคำนำหน้าชื่อให้ทำเครื่องหมาย ใน นายนาง นางสาวชื่อเกษตร นามสกุล ชาวนา เกิด ปี พ.ศ. 2510
จุดประสงค์ • ใช้ในการอ้างอิงตัวบุคคลและการตรวจสอบ • ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบต่าง ๆ วิธีการกรอก ดูจากบัตรประจำตัวประชาชน หรือ ดูจากสำเนาทะเบียนบ้าน แล้วทำการกรอกเลขประจำตัวประชาชน ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข จำนวน 13 ตัว ลงในช่อง ที่กำหนดให้
8 0 5 3 8 0 1 6 0 0 3 9 7 ความหมายของหมายเลขบัตร ประเภทบุคคล รหัสตรวจสอบ สำนักทะเบียนอำเภอ จังหวัด ตัวอย่าง
จุดประสงค์ • ใช้ในการอ้างอิงและตรวจสอบ • ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบอื่น ๆ วิธีการกรอก • ดูจากทะเบียนบ้าน แล้วกรอกรหัสประจำบ้าน • ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข จำนวน 11 ตัว ตัวอย่าง 1005-117206-2
การกรอกจำนวนครัวเรือนทั้งหมดและจำนวนครัวเรือนประกอบการกรอกจำนวนครัวเรือนทั้งหมดและจำนวนครัวเรือนประกอบ การเกษตร จุดประสงค์ เพื่อทราบจำนวนครัวเรือนทั้งหมด และจำนวนครัวเรือนเกษตรที่อยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิต่าง ๆ 1 บ้านมีได้มากกว่า 1 ครัวเรือน
ให้กรอกจำนวนครัวเรือนทั้งหมดและครัวเรือนประกอบการเกษตรใน จำนวนครัวเรือนประกอบการเกษตรจะต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับจำนวนครัวเรือนทั้งหมด
ตัวอย่าง • ทะเบียนบ้าน 1 หลัง อยู่กัน 6 คน ลูกชายแต่งงานแล้ว และอยู่ในบ้านเดียวกันนี้ แต่ • - แยกกันใช้เครื่องอุปโภคบริโภค • -พ่อ-ลูกแยกกันทำนา • ต้องกรอกจำนวน 2 ครัวเรือน
จุดประสงค์ เพื่อทราบที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน วิธีการกรอก • คัดลอกจากสำเนาทะเบียนบ้าน • ใส่เลขหมู่ที่ในช่อง • ระบุชื่อบ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด • กรณีที่อยู่ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ให้กรอกหมู่ที่ - ในเขตเทศบาล 8 8 - ในเขตสุขาภิบาล 8 9
จุดประสงค์ เพื่อใช้ประโยชน์ในการติดต่อ วิธีการกรอก 1) กรณีที่สถานที่ติดต่อ ตามทะเบียนบ้านให้เลือก ตามทะเบียนบ้าน 2) กรณีที่สถานที่ติดต่อ อยู่คนละที่กับทะเบียนบ้านให้เลือก ตามบ้านเลขที่พร้อมระบุรายละเอียดให้ครบ
วิธีการกรอก ถ้าเป็นส่วนบุคคล ให้เลือก 1.1 ส่วนบุคคล (ส่วนตัว)
วิธีการกรอก ถ้าเป็นนิติบุคคล ให้เลือก 1.2 นิติบุคคล ต้องระบุประเภทนิติบุคคล และรายละเอียด
อาชีพหลัก หมายถึง อาชีพที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดำเนินกิจกรรมนั้นๆ อาชีพรอง หมายถึง อาชีพที่ผู้ขอขึ้นทะเบียนใช้เวลาดำเนินกิจกรรมรองจากอาชีพหลัก
รายได้หลัก หมายถึง รายได้ทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสดรวมกันแล้วมีมูลค่าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจได้มาจากการประกอบอาชีพหลักหรืออาชีพรองก็ได้ รายได้รอง หมายถึง รายได้ทั้งที่เป็นเงินสดและไม่เป็นเงินสดรวมกันน้อยกว่ารายได้หลัก
จุดประสงค์ ตรวจสอบความซ้ำซ้อนการขึ้นทะเบียน วิธีการกรอก - สมาชิกที่อยู่อาศัยติดต่อร่วมกันตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป - ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค.51 - กรอกข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนทุกคนพร้อมรายละเอียดดังนี้ เลขประจำตัวประชาชน เพศ ปีพ.ศ.เกิด การช่วยทำการเกษตร การเป็นสมาชิกองค์กร - สำหรับผู้ขอขึ้นทะเบียน ให้ระบุเฉพาะการเป็นสมาชิกองค์กร
จุดประสงค์ • จำแนกลักษณะการถือครอง • ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2551 วิธีการกรอก • รวมเนื้อที่ดินของสมาชิกทุกคนในครัวเรือน แยกตามลักษณะถือครองตนเอง/ เช่า/ อื่นๆ และแยกการถือครองออกเป็น เพื่อการเกษตรและนอกการเกษตร
การถือครองที่ดิน การคงในสิทธิของผลประโยชน์บนแปลงที่ดิน แยกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆดังนี้ 1. ของตนเอง การถือครองที่บุคคลในครัวเรือนที่มี เอกสารสิทธิตามกฎหมาย 2. เช่าที่ดินที่บุคคลในครัวเรือนเช่าจากผู้อื่นเพื่อประกอบ การเกษตรและจ่ายค่าตอบแทนตามตกลง
การถือครองที่ดิน (ต่อ) 3. อื่น ๆ ที่ดินที่บุคคลในครัวเรือนเข้าไปทำประโยชน์โดยไม่มีกรรมสิทธิ์ หรือโดยไม่ได้จ่ายค่าเช่า
10 2- 15 - 80 - - - - 1 30 ตัวอย่าง
กิจกรรมการเกษตร การกรอกแบบคำร้อง (หน้าหลัง)
การเพาะปลูกพืชในครัวเรือนการเพาะปลูกพืชในครัวเรือน • หัวข้อ 5 สำหรับการเพาะปลูกข้าว พืชไร่ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ สมุนไพร เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพด กระชาย • หัวข้อ 6 สำหรับการปลูกพืชไม้ผลและไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน เงาะ ลองกอง ไผ่ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา
จุดประสงค์ • เพื่อทราบรายละเอียดกิจกรรมด้านข้าวพืชไร่ช่วงเวลา • วันที่ 1 พ.ค.2551 ถึงวันที่ 30 เม.ย. 2552 • เพื่อทราบรายละเอียดกิจกรรมด้านพืชผัก ไม้ดอก • ไม้ประดับและสมุนไพร ช่วงเวลาวันที่ 1 ม.ค. 2551 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2551
วิธีการกรอกข้อ 5 • ชื่อพืชให้กรอกชื่อและระบุรุ่นให้ชัดเจน • เนื้อที่เพาะปลูก ให้กรอกเนื้อที่เพาะปลูกของพืชนั้น ๆ ตามคาบเวลาที่กำหนด • เนื้อที่เก็บเกี่ยว ให้กรอกเนื้อที่เก็บเกี่ยวของพืชนั้น ๆ ตามคาบเวลาที่กำหนด
วิธีการกรอกข้อ 5 • ผลผลิตรวม ให้กรอกข้อมูลปริมาณผลผลิตทั้งหมดที่ได้รับจากการเก็บเกี่ยวในเนื้อที่ปลูกของพืชนั้น ๆหรือคาดว่าจะได้รับ กรณีที่ยังเก็บเกี่ยวไม่แล้วเสร็จ • พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ สมุนไพร ให้สอบถามเนื้อที่เพาะและเนื้อที่เก็บเกี่ยวในแปลงที่ปลูกมากที่สุดในรอบปี • โดยไม่ต้องสอบถามผลผลิต
วิธีการกรอกข้อ 5 • สถานที่ตั้งผืนที่ทำการเพาะปลูก ให้กรอก - เลขหมู่ที่ หรือ - ในเขตเทศบาล ให้กรอก 8 8 - ในเขตสุขาภิบาล ให้กรอก 89 - ชื่อตำบล - ชื่ออำเภอ - ชื่อจังหวัด
วิธีการกรอกข้อ 5 การปลูกพืชชนิดเดียวกันหลายแปลง - ให้รวมเนื้อที่ ผลผลิต ทุกแปลงในหมู่เดียวกัน - ถ้าการถือครองหรือแหล่งน้ำแตกต่างกันต้องแยกแปลง ลักษณะการถือครอง 1 = ของตนเอง 2 = เช่า 3 = อื่นๆ
วิธีการกรอกข้อ 5 แหล่งน้ำ ชลประทาน หมายถึง การชลประทานขนาดใหญ่ และขนาดกลาง เท่านั้น จำแนกเป็น 1 = ชลประทาน 2 = อื่น ๆ 47
ข้อ 6. ไม้ผลไม้ยืนต้น จุดประสงค์ • เพื่อทราบรายละเอียดกิจกรรมด้านไม้ผลไม้ยืนต้น ช่วงเวลาวันที่ 1 ม.ค.2551 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2551
วิธีการกรอกข้อ 6 • ชื่อพืช ให้กรอกชื่อพืชให้ชัดเจน • ประเภทสวน • - สวนเดี่ยว ปลูกเพียงชนิดเดียว รหัสเท่ากับ 1 • - สวนแซม ปลูกตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปชนิดใดชนิดหนึ่ง • มีจำนวนต้นเกินร้อยละ 50 รหัสเท่ากับ 2 • - สวนผสม ปลูกตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมีจำนวนต้นแต่ละชนิดต่ำกว่าร้อยละ 50 รหัสเท่ากับ 3
วิธีการกรอกข้อ 6 • จำนวนต้น ให้กรอกจำนวนต้นไม้ผลไม้ยืนต้นที่ยืนต้นอยู่ ณ วันที่ 1 ม.ค.51 • เนื้อที่ยืนต้น ให้กรอกจำนวนเนื้อที่ยืนต้นของไม้ผลไม้ยืนต้นชนิดนั้น ๆ ณ วันที่ 1 ม.ค.51 • ผลผลิตรวมให้กรอกปริมาณผลผลิตรวมจากการเก็บเกี่ยวในรอบปี ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค.51ถึงวันที่ 31 ธ.ค.51 ยกเว้น การปลูกไม้เศรษฐกิจหรือสวนป่า ไม่ต้องกรอก ข้อมูลผลผลิต
วิธีการกรอกข้อ 6 สถานที่ตั้งผืนที่ดิน ให้กรอกเช่นเดียวกับข้อ 5 การปลูกพืชชนิดเดียวกันหลายแปลง - ให้รวมเนื้อที่ ผลผลิต ทุกแปลงในหมู่เดียวกัน - ถ้าการถือครองหรือแหล่งน้ำแตกต่างกันต้องแยกแปลง ลักษณะการถือครอง 1 = ของตนเอง 2 = เช่า 3 = อื่นๆ