1 / 39

แผนพัฒนาตลาดทุนไทย

แผนพัฒนาตลาดทุนไทย. คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย. 4 พฤศจิกายน 2552. หัวข้อของการนำเสนอ. ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 – 2556 องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย

lucia
Download Presentation

แผนพัฒนาตลาดทุนไทย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. แผนพัฒนาตลาดทุนไทย คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย 4 พฤศจิกายน 2552

  2. หัวข้อของการนำเสนอ • ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ • ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 – 2556 • องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย • วิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย • ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี • แนวทางการติดตามและประเมินผล 1

  3. ความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจความสำคัญของตลาดทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ 2

  4. 1. ตลาดทุนที่กว้างและลึกจะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 1.1 ช่วยให้ธุรกิจสามารถเพิ่มส่วนทุนสำหรับการขยายธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยต้นทุนการเงินที่เหมาะสม 1.2 เป็นช่องทางการออมและการระดมทุนสำหรับภาคเอกชนเพิ่มเติมจากระบบธนาคารพาณิชย์ 1.3 เป็นแหล่งระดมทุนของภาครัฐสำหรับการชดเชยการขาดดุลงบประมาณและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 1.4 เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ venture capital 1.5 เป็นช่องทางในการระดมทุนจากต่างประเทศ 1.6 กระตุ้นให้เกิดระบบบรรษัทภิบาลที่ดี เนื่องจากธุรกิจที่ระดมทุนผ่านตลาดทุนต้องมีความโปร่งใส และการบริหารจัดการที่ดี 1.7 กระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะจะถูกเปรียบเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันในต่างประเทศ 3

  5. 2. ตลาดทุนเป็นแหล่งการออมระยะยาว เตรียมพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ • ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ สัดส่วนประชากรวัยแรงงานต่อผู้สูงอายุในปี 2552 อยู่ที่ 6 : 1 และจะลดลงเหลือเพียง 3 : 1 ในปี 2572 แนวโน้มประชากรไทยในปี 2552 - 2572 4 ที่มา : International Labour Organization

  6. มูลค่าการระดมทุนจากตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ และการเปลี่ยนแปลงยอดสินเชื่อคงค้าง ในช่วงปี 2537 – 2552* หน่วย: พันล้านบาท หน่วย: พันล้านบาท การระดมทุนผ่านตราสารทุน การเปลี่ยนแปลงยอดสินเชื่อคงค้าง การระดมทุนผ่านตราสารหนี้ 11,500 11,334 8,762 6,270 3,078 3. ตลาดทุนเป็นแหล่งระดมทุนที่สำคัญของประเทศ เมื่อเกิดวิกฤติ ระบบสถาบันการเงิน หมายเหตุ: * ตราสารทุน (25/09/52), สินเชื่อ (06/2552), ตราสารหนี้ (Q3/2552) ที่มา: ตลท., ธปท., ThaiBMA 5

  7. 4. ตลาดทุนช่วยเอื้อประโยชน์ต่อภาคส่วนต่างๆ ของสังคม 4.1 ช่วยสนับสนุนการขยายธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะเพิ่มการจ้างงานให้แก่ประเทศ 4.2 ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ตลาดทุนจะเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้ระบบธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น 4.3 เครื่องมือในตลาดทุนสามารถใช้เป็นกลไกในการบริหารความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่เกิดจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาสินค้าเกษตร และตัวแปรทางการเงินต่างๆ 4.4 บริษัทจดทะเบียนในตลาดทุนเป็นแหล่งรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สำคัญของรัฐบาล โดยบริษัทจดทะเบียน 525 บริษัท จ่ายภาษีถึงร้อยละ 35 ของภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2551 6

  8. ความท้าทายของตลาดทุนไทย และความจำเป็นของ การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 7

  9. Market capitalization Nominal GDP Market cap to - GDP Country Country Domestic debt outstanding Debt outstanding-to-GDP 2,059 953% Hong Kong US Japan 225% Korea 85% UK Singapore 244% Korea Malaysia 118% Malaysia Thailand Indonesia 39% Singapore 63% Thailand Hong Kong ตลาดทุนไทยมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ตลาดตราสารทุน ตลาดตราสารหนี้ Domestic debt outstanding and Debt outstanding-to-GDP ratio Market capitalization, Nominal GDP, and Market cap-to-GDP ratio ข้อมูล ณ ธ.ค. 2551; หน่วย: พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา, ร้อยละ ข้อมูล Market capitalization ณ ก.ย 2552, ข้อมูล Nominal GDP ปี 2551; หน่วย : พันล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา, ร้อยละ 8 ที่มา: IFS และ BIS ที่มา: WFE และ IMF

  10. 2552 2548 Philippines & Indonesia 3% Philippines & Indonesia 3% ตลาดทุนไทยกำลังถูกลดบทบาท (marginalized) และมีขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่องในเวทีตลาดทุนโลก Weight in MSCI Asia ex Japan index หน่วย: ร้อยละ ; ข้อมูล ณ สิงหาคม 2552 ที่มา: Morgan Stanley Capital International (MSCI) 9

  11. ประกันชีวิต กบข. ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนรวม นักลงทุนสถาบันมีจำกัดและลงทุนในหุ้นเป็นสัดส่วนน้อย สัดส่วนการถือครองหุ้นของสถาบันในประเทศของไทย สัดส่วนการลงทุนในหุ้นของกองทุนรวมเปรียบเทียบกับต่างประเทศ หน่วย: ร้อยละของมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร; ข้อมูล ณ มิถุนายน 2552 หน่วย: ร้อยละของมูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร; ข้อมูล ณ ปี 2551 ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย ออสเตรเลีย ไทย ที่มา: รวบรวมโดย UBS- ฮ่องกง, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ออสเตรเลีย AIMC – ไทย (2 ต.ค. 52) ที่มา: คปภ., กบข., สำนักงานประกันสังคม, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนรวม (2 ต.ค. 52) 10

  12. ตลาดทุนไทยมีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆตลาดทุนไทยมีต้นทุนในการระดมทุนที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ Forward P/E ratio หน่วย : เท่า; ข้อมูล ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2552 Forward P/E ที่มา :Bloomberg Forward P/E Ratio : อัตราส่วนระหว่างราคาหลักทรัพย์ ณ เวลาปัจจุบัน และ มูลค่าผลตอบแทนต่อหุ้นคาดการณ์ของปี 2552 ของทุกหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ 11

  13. การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุนใช้เวลานาน การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุนใช้เวลานาน • พรบ. หลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดบทลงโทษไว้เฉพาะการลงโทษทางอาญาเท่านั้น ซึ่งการลงโทษต้องเป็นไปตามมาตรฐานการพิสูจน์จนสิ้นสงสัย • ใช้ระยะเวลานานในการดำเนินการกับคดีที่เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม ได้แก่ การปั่นหุ้น แพร่ข่าวเท็จ การใช้ข้อมูลภายใน ทุจริต ตกแต่งบัญชี และการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เถื่อน • เฉลี่ย 2 ปี ตั้งแต่ ก.ล.ต. ตั้งเรื่องจนถึงเปรียบเทียบปรับหรือกล่าวโทษ • เฉลี่ย 5 ปี 7 เดือนตั้งแต่ ก.ล.ต. กล่าวโทษจนถึงคดีสิ้นสุดที่ศาลชั้นต้น 12

  14. ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) ของไทยมีขนาดเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และ Securities Commission, Malaysia หมายเหตุ : * ช่วงปี 2543 – 2548 (ไทย :SET; มาเลเซีย :MESDAQ) 13

  15. การจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ปี 2552 - 2556 14

  16. องค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยองค์ประกอบของคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย • นายกรัฐมนตรีลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2552โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน • แผนพัฒนาตลาดทุนไทยจัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง • ภาคเอกชน • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ • สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย • สมาคมบริษัทจัดการลงทุน • สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย • มูลนิธิกองทุนพัฒนาระบบตลาดทุน • ภาครัฐ • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ • กรมพัฒนาธุรกิจการค้า • กรมสรรพากร • สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ • หน่วยงานกำกับดูแล • คณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย • ธนาคารแห่งประเทศไทย • สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย 15

  17. วิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยวิสัยทัศน์และพันธกิจของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 16

  18. วิสัยทัศน์ (VISION) ตลาดทุนไทยเป็นกลไกหลักในการรวบรวม จัดสรร และติดตามดูแลการใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 17

  19. พันธกิจ (MISSION) 1. ให้ผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนสามารถเข้าถึงตลาดได้โดยง่ายและทั่วถึง 2. พัฒนาคุณภาพและความหลากหลายของสินค้าและบริการ 3. ลดต้นทุนทางการเงิน (cost of fund) และต้นทุนการทำธุรกรรม (intermediary and transaction cost) ให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันได้ 4. สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านกฎหมาย ระเบียบ บัญชีภาษี ข้อมูล เทคโนโลยี และการกำกับดูแล 5. ให้ผู้ลงทุนมีความรู้และได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม 6. ส่งเสริมการแข่งขันในตลาดทุนไทย และความเชื่อมโยงกับตลาดทุนโลก 18

  20. 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย 19

  21. ยกเลิกการผูกขาดและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) การเปิดเสรีและการเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) การสร้างวัฒนธรรมการลงทุนผ่านการออมระยะยาวให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ 8 มาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทย 20

  22. ยกเลิกการผูกขาดและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) • สิ่งที่คาดหวัง • ตลท. มีโครงสร้างการถือหุ้นและการกำกับดูแลที่ชัดเจนในรูปแบบขององค์กรธุรกิจ ซึ่งจะเอื้อต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถเปิดสิทธิการซื้อขายให้แก่ผู้ร่วมตลาดที่มิใช่สมาชิก (open access) และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ร่วมตลาดกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ • ตลท. แข่งขันได้กับตลาดหลักทรัพย์คู่แข่งและธุรกิจหลักทรัพย์รูปแบบใหม่ๆ ภายใต้สภาวะที่การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรี • มีกองทุนเพื่อการพัฒนาตลาดทุน (Capital Market Development Fund :CMDF) ที่รับผิดชอบงานการพัฒนาตลาดทุนโดยตรง มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ การปฏิรูป ตลท. และปรับเปลี่ยนสถานะ ตลท. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด (Q2/2554) นำ บมจ. ตลาดหลักทรัพย์ไทยเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (Q3/2554) 21

  23. 2. การเปิดเสรีและการเพิ่มประสิทธิภาพของสถาบันตัวกลาง • สิ่งที่คาดหวัง • สถาบันตัวกลางสามารถทำธุรกิจได้ครบวงจร และให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ • กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ รวมทั้งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำธุรกรรมข้ามประเทศ และการนำผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่าย • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • ให้บริษัทหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน สามารถทำธุรกิจหลักทรัพย์ได้เต็มรูปแบบ โดยสามารถจัดโครงสร้างธุรกิจได้ตามต้องการ (มีผลบังคับใช้แล้วสำหรับผู้มีใบอนุญาตประเภทนายหน้า กรณีอื่นๆ สามารถขอใบอนุญาตใหม่ ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2555) • เปิดเสรีใบอนุญาตหลักทรัพย์ (เริ่ม 1 ม.ค. 2555) • เปิดเสรีค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ • - มูลค่าซื้อขาย >20 ล้านบาท (เริ่ม 1 ม.ค. 2553) • - เปิดเสรีทุกกรณี (เริ่ม 1 ม.ค. 2555) • ดำเนินการด้าน mutual recognition เพื่อรองรับการทำธุรกรรมข้ามประเทศ (Q1/2553) 22

  24. 3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน3.การปฏิรูปกฎหมายสำหรับการพัฒนาตลาดทุน • สิ่งที่คาดหวัง • มีกฎหมายที่สนับสนุนการควบรวมกิจการเพื่อส่งเสริมให้ธุรกิจไทยมีความแข็งแกร่งและมีขนาดใหญ่ขึ้น • มีกระบวนการบังคับใช้กฎหมายสำหรับความผิดเกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ดำเนินการได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • 1. ออกกฎหมายเพื่อส่งเสริมการควบรวมกิจการและการปรับโครงสร้างของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ให้มีความสะดวกมากขึ้น (Q4/2553) • 2. เพิ่มมาตรการบังคับทางกฎหมายสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ที่ผิดกฎหมายได้แก่ มาตรการทางแพ่งและมาตรการบังคับทางปกครอง (Q4/2553) • 3. ผลักดันร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) (Q4/2552) 23

  25. 4.การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน4.การปรับปรุงระบบภาษีสำหรับการพัฒนาตลาดทุน • สิ่งที่คาดหวัง • ลดอุปสรรคทางภาษีที่ขัดขวางการทำธุรกรรมต่างๆ ในตลาดทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ • ระบบการจัดเก็บภาษีมีความเป็นกลาง และมีความทัดเทียมกันระหว่างผู้ลงทุนและผู้ระดมทุนกลุ่มต่างๆ • ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเป็นแรงจูงใจสนับสนุนธุรกรรมตลาดทุนบางประเภทให้เกิดขึ้น มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ เสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในด้านต่างๆ ดังนี้ - การควบรวมกิจการ (Q4/2553) - การลงทุนในตราสารหนี้ (Q4/2552) - การลงทุนผ่านตัวกลาง (Q1/2553) - การขจัดภาระภาษีที่ซ้ำซ้อนสำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลในระดับนิติบุคคล (Q1/2553) - การโอนย้ายเงินออมในระบบการออมระยะยาว สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Q4/2552) - กองทุนการออมแห่งชาติ (Q1/2553) - การลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Q1/2553) - การลงทุนในตราสารการเงินที่ออกเพื่อระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม (Q4/2552) - การส่งเสริมธุรกรรมการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (Q4/2552) - การส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Q1/2553) 24

  26. 5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (1/2) • สิ่งที่คาดหวัง • ตลาดทุนไทยมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีความลึกและความหลากหลาย และมีเครื่องมือบริหารความเสี่ยงครบถ้วน • ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือการออมที่หลากหลายมากขึ้น • ช่วยลดภาระการระดมทุนของภาครัฐ มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ จัดทำโครงการการระดมทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) (Q1/2553) ส่งเสริมการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity product) เพื่อเพิ่มทางเลือกรูปแบบการออมเงินระยะยาว (Q4/2552) เปิดให้ซื้อขายตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย/พันธบัตรรัฐบาล (interest rate futures) เพื่อเพิ่มเครื่องมือบริหารความเสี่ยงด้านการเงิน (Q4/2553) ออกกฎเกณฑ์เพื่อรองรับการระดมทุนที่สอดคล้องกับหลักศาสนาอิสลาม (Sukuk) (Q4/2552) ส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) (Q1/2553) นำหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่ในบริษัทจดทะเบียนกระจายในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (increase free float of listed SOEs) (Q4/2553) เริ่มกระบวนการนำบริษัทลูกหรือหน่วยธุรกิจใหม่ของรัฐวิสาหกิจเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of SOEs/business units) (Q1/2553) 25

  27. 5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (2/2) • กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure fund) • กรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ (annuity product) • ตราสารอิสลาม (Sukuk) • ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตรา ดอกเบี้ย/พันธบัตรรัฐบาล (interest rate / bond futures) • นำหุ้นที่กระทรวงการคลังถืออยู่กระจายในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น (increase free float from SOE listed share) • นำบริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยธุรกิจใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of SOEs/business unit) • ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงอัตราแลกเปลี่ยน (currency (THB) futures) • นำบริษัทที่จะขอขยายสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจาก BOI เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (listing of company with extended BOI privileges) • นำบริษัทที่ได้รับสัมปทาน หรือได้รับใบอนุญาตจากภาครัฐเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์(listing of concessionaire) • พันธบัตรที่มีการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยตามอัตราเงินเฟ้ออ้างอิง (inflation-linked bond) • ตราสารการเงินที่หนุนหลังโดย หลักทรัพย์หรือสินค้าโภคภัณฑ์ (securities / commodity based instrument) • ดึงบริษัทที่ทำธุรกิจในอินโดจีน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ (foreign listing)) • กรมธรรม์ประกันชีวิตควบการ ลงทุน (unit-linked product) • กองทุนคาร์บอนเครติด (carbon credit fund) มาตรการที่ 5 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน • ส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน (venture capital) 26

  28. 6. การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) • สิ่งที่คาดหวัง • ประชาชนทั่วประเทศจะมีความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณมากขึ้น • สร้างระบบการออมระยะยาวให้แก่ประเทศ • ตลาดทุนไทยได้รับประโยชน์จากปริมาณเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้น มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) เพื่อสร้างหลักประกันให้กับประชากรในวัยเกษียณ (Q4/2553) 27

  29. 7. การสร้างวัฒนธรรมการลงทุนผ่านการออมระยะยาวให้เกิดขึ้น อย่างกว้างขวาง • สิ่งที่คาดหวัง • สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมีโอกาสเลือกแผนการลงทุนที่สอดคล้องกับความต้องการลงทุนของตนเองในแต่ละช่วงอายุ • เพิ่มองค์ความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจลงทุนในตลาดทุนให้แก่สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • ผลักดันให้นายจ้างรายใหม่จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และนายจ้างเก่าที่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว จัดให้มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งแบบ (employee choice) เพื่อให้สมาชิกมีโอกาสเลือกแผนการลงทุน (Q4/2552) • ผลักดันให้ กบข. จัดให้มีนโยบายการลงทุนมากกว่าหนึ่งแบบสำหรับสมาชิก (Q4/2552) 28

  30. 8. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ • สิ่งที่คาดหวัง • รัฐบาลมีช่องทางในการบริหารจัดการเงินคงคลังมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการเงินของรัฐบาล และสามารถกำหนดแผนการออกพันธบัตรได้ชัดเจนมากขึ้น • ตลาดตราสารหนี้มีการพัฒนาในเชิงลึก มีเครื่องมือในการบริหารสภาพคล่องที่มีประสิทธิภาพ • มาตรการสำคัญที่จะดำเนินการ • แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินคงคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเงินคงคลัง (Q4/2555) • ธปท. เป็นแกนนำในการพัฒนา private repo และ ธุรกรรม SBL (securities borrowing and lending) เพื่อเพิ่มการบริหารสภาพคล่องของระบบการเงิน (Q4/2552) 29

  31. มาตรการพัฒนาตลาดทุนไทยอื่นๆ นอกจากมาตรการปฏิรูปตลาดทุนไทยทั้ง 8 มาตรการข้างต้น แผนพัฒนาตลาดทุนไทยยังมีมาตรการเพื่อพัฒนาตลาดทุนอื่นๆ อีก 34 มาตรการ ที่จำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไป 30

  32. ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี 31

  33. ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (1/2) ระยะเวลาที่คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ร่างกฎหมายในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย • ร่างแก้ไข พ.ร.บ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 (การปฏิรูป ตลท. และการยกเลิกการผูกขาดธุรกิจตลาดหลักทรัพย์) • ร่างแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ  เรื่องมาตรการบังคับทาง กม. (มาตรการลงโทษทางแพ่งและมาตรการบังคับทางปกครอง) • ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการควบรวมกิจการ • ร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พ.ศ. .... (ฉบับที่ ...) ที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม (class action) • โครงการตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructurefund) ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 3/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 32

  34. ร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตลาดทุนที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (2/2) ร่างกฎหมายในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ระยะเวลาที่คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา 6. การปรับปุรงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการด้านภาษีเพื่อสนับสนุน - การควบรวมกิจการ - การขจัดภาระภาษีซ้ำซ้อนสำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลในระดับนิติบุคคล - การลงทุนผ่านตัวกลาง - การโอนย้ายเงินออมในระบบการออมระยะยาวสำหรับผู้ที่เป็นสมาชิก ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ - กองทุนการออมแห่งชาติ - การลงทุนในกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ - การลงทุนในตราสารการเงินที่ออกเพื่อระดมทุนตามหลักศาสนาอิสลาม - ตลาดพันธบัตร - การส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุน 7. การปรับปรุงแก้ไข พรบ. เงินคงคลัง ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 4/2552 ไตรมาส 1/2553 ไตรมาส 3/2554 33

  35. ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทยตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย 34

  36. ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย1-3ตัวชี้วัดที่สำคัญของแผนพัฒนาตลาดทุนไทย1-3 1 การกำหนดเป้าหมายของตัวชี้วัดอยู่บนสมมติฐานที่ว่า GDP ของไทยในช่วงปี 2552 – 2556 จะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4 – 5 ต่อปี 2 แผนพัฒนาตลาดทุนไทยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 20 ตัว แบ่งเป็นตัวชี้วัดระดับภาพรวม 1 ตัว และตัวชี้วัดระดับพันธกิจ 19 ตัว 3 นิยามของตัวแปรต่างๆ ปรากฎในแผนพัฒนาตลาดทุนไทย หน้า 57 - 63 35

  37. แนวทางการติดตามและประเมินผลแนวทางการติดตามและประเมินผล 36

  38. แนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นไปตามกำหนด (1/2) • หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ปรับบทบาทคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นคณะอนุกรรมการกำกับ/ติดตามผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย เพื่อให้การดำเนินงานตามแผนฯ มีความต่อเนื่อง • แนวทางการประเมินผล • 2.1 ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบตามแผนงานที่ระบุไว้ในแผนฯ (action plan) • 2.2 ประเมินผลความสำเร็จจากเกณฑ์ตัวชี้วัดทั้งในระดับภาพรวม และระดับพันธกิจ (KPIs) 37

  39. 3.1 จัดประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามผลฯ เพื่อติดตามความคืบหน้า อุปสรรคและข้อจำกัดของการดำเนินงาน 3.2 จัดประชุมรายงานความคืบหน้าแก่คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย 3.3 การรายงานความคืบหน้าแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยว ข้องกับมาตรการต่างๆ ได้แก่ - จัดประชุมและ/หรือจัดทำรายงานผลความคืบหน้าแก่ ผู้มีส่วนได้เสีย 3.4 ประเมินผลสำเร็จตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ -ฝ่ายเลขานุการของคณะอนุกรรมการกำกับและติดตามผลฯ ทบทวนผลสำเร็จตามเกณฑ์ตัวชี้วัด และนำเสนอแก่ที่ประชุม คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทย แนวทางการกำกับดูแลเพื่อให้การดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทยเป็นไปตามกำหนด (2/2) ระยะเวลา 3. แนวทางการกำกับและติดตามผล ไตรมาสละ 1 ครั้ง (และเปิดเผยลงwebsiteทุกไตรมาส) ปีละ 2 ครั้ง 2 ครั้งต่อปี (รอบ 6 เดือน) ปีละ 1 ครั้ง (สิ้นปี หรือไตรมาส ที่ 1 ของปีถัดไป) 38

More Related