1 / 40

Chapter 11

ANGKANA. Chapter 11. การบริหารจัดการระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ. ANGKANA. บทนำ.

valmai
Download Presentation

Chapter 11

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ANGKANA Chapter 11 การบริหารจัดการระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ

  2. ANGKANA บทนำ ความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในองค์กรหลายแห่งในปัจจุบันได้ทำให้องค์กรหันไปพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานในระดับระหว่างประเทศ (International Information System) นั่นคือการเพิ่มขีดความสามารถของระบบงานพื้นฐานในปัจจุบันให้สามารถทำงานร่วมกับระบบงานซึ่งอยู่ในประเทศอื่นได้ บทนี้อธิบายถึงวิธีการจัดโครงสร้าง การบริหาร และการควบคุมการพัฒนาระบบงานสารสนเทศระหว่างประเทศ

  3. ANGKANA หัวข้อการเรียนรู้  การเติบโตของระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ  การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ  การบริหารระบบงานที่ครอบคลุมทั่วโลก  เทคโนโลยีและโอกาสสำหรับห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าสินค้าระหว่างประเทศ

  4. ANGKANA การเจริญเติบโตของระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงในองค์กรระดับโลกสองรูปแบบที่ทำให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อเทคโนโลยีระบบสารสนเทศในปัจจุบันคือ การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจบนพื้นฐานการอุตสาหกรรมและสังคมเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจที่อาศัยความรู้และข่าวสาร และการผุดขึ้นของเศรษฐกิจโลก (Global economy) และการจัดระเบียบ โลกใหม่

  5. ANGKANA การเจริญเติบโตของระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การจัดระเบียบโลก (Global worlds order) จะทำให้องค์กรระดับชาติ การอุตสาหกรรมหลักของชาติ และระบบเศรษฐกิจของชาติที่ถูกควบคุมโดยนักการเมืองท้องถิ่น ถูกล้มล้างไปหมดสิ้น องค์กรท้องถิ่นจำนวนมากจะถูกทดแทนด้วยองค์กรที่มีความคล่องตัวในการบริหารงานและมีเครือข่ายกว้างขวางที่สามารถทำงานโดยไม่มีขอบเขตของประเทศใด ๆ มาขวางกั้น การเติบโตของการค้าระหว่างชาติได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชนิดถอนรากถอนโคนต่อระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นทั่วโลก

  6. ANGKANA การพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ Global Environment: Business Drivers and Challenges Corporate Global Strategies Organization Structure Management and BusinessProcesses Technology Platform

  7. ANGKANA การพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ ทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมของระบบการค้าเสรี (Global Environment) คือการทำความเข้าใจแรงผลักดันทั้งหลายในทางธุรกิจที่มีผลต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก แรงผลักดันทางธุรกิจ (Business driver) หมายถึงแรงผลักดันจากสิ่งแวดล้อมที่องค์กรธุรกิจจะต้องตอบสนองซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจนั้นในทำนองเดียวกันการทำความเข้าใจในสิ่งที่ ขัดขวางหรือองค์ประกอบในทางลบที่ท้าทายการ บริหารงานซึ่งเป็นองค์ประกอบที่อาจทำให้ระบบ การค้าเสรีล้มเหลวได้

  8. ANGKANA การพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การพัฒนากลยุทธ์องค์กร (Corporate Global Strategies) สำหรับการแข่งขันในสภาพแวดล้อมนั้น การตอบสนองขององค์กรอาจเกิดขึ้นได้ในหลายระดับ คือ การเพิกเฉยต่อตลาดโลกโดยมุ่งความสนใจในตลาดท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว หรือการขายสินค้าสู่ตลาดโลกผ่านการค้าในระดับท้องถิ่น หรือการพัฒนาสินค้าและการจัดจำหน่ายไปทั่วโลกขึ้นมาโดยตรง เป็นต้น โครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ในการทำให้บรรลุเป้าหมายทางกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ในเรื่องการบริหารฝ่ายบุคลากรสำหรับพนักงานที่อาจกระจายอยู่ทั่วโลก การวางที่ตั้งฝ่ายการผลิต การบริหาร การบัญชี การตลาด และทรัพยากรมนุษย์ และการกำหนดตัวผู้บริหารในฝ่ายต่าง ๆ

  9. ANGKANA การพัฒนาโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การพิจาณาด้านการบริหารในการสร้างสิ่งที่สนับสนุนกลยุทธ์ และทำให้แผนงานเกิดเป็นจริงขึ้นตามที่ต้องการ (Management and Business Processes) คือการออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ การพิจารณาเทคโนโลยีพื้นฐาน (Technology platform) ที่จะนำมาใช้ ผู้บริหารจะต้องพัฒนากลยุทธ์องค์กรและโครงสร้างองค์กรขึ้นมาให้ได้ก่อนที่ จะสามารถเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมได้

  10. ANGKANA สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ : แรงผลักดันและความท้าทายทางธุรกิจ แรงผลักดันทางธุรกิจโลกแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ องค์ประกอบเกี่ยวกับวัฒนธรรมทั่วไป และองค์ประกอบเฉพาะทางธุรกิจ องค์ประกอบทางวัฒนธรรมทั่วไป - เทคโนโลยีการสื่อสารและการขนส่งโลก- วัฒนธรรมโลก- บรรทัดฐานทางสังคมโลก- ความมั่นคงทางการเมือง- ฐานความรู้โลก องค์ประกอบเฉพาะทางธุรกิจ - ตลาดโลก- กระบวนการผลิต และการปฏิบัติงาน ระหว่างประเทศ- การให้ร่วมมือระหว่างสำนักงาน ในประเทศต่าง ๆ- แรงงานโลก- ขนาดของเศรษฐกิจโลก

  11. ANGKANA สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ : แรงผลักดันและความท้าทายทางธุรกิจ องค์ประกอบของวัฒนธรรมทั่วไปได้ทำให้เกิดผลในระดับนานาชาติคือ ทำให้เกิดเป็นองค์ประกอบเฉพาะทางธุรกิจที่มีผลต่ออุตสาหกรรมส่วนใหญ่ การเติบโตของเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีคุณภาพสูงและการรวมตัวกันของวัฒนธรรมต่าง ๆ ได้ทำให้เกิดเงื่อนไขสำหรับตลาดโลก (World markets) ขึ้นมา ซึ่งหมายถึงการที่ผู้บริโภคจากทั่ว โลกมีความต้องการบริโภคสินค้าที่มี ลักษณะไม่ขัดต่อวัฒนธรรม

  12. ANGKANA ความท้าทายทางธุรกิจ การพิจารณาด้านวัฒนธรรม ความเป็นเอกลักษณ์ (particularism) ทำให้มีการเลือกปฏิบัติและตัดสินความขึ้นอยู่กับตัวบุคคลหรือกลุ่มคนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของศาสนา ชาตินิยม เชื้อชาติ กลุ่มนิยม หรือภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็น พื้นฐานด้านวัฒนธรรมร่วมของระบบการค้าเสรี ความเป็นเอกลักษณ์ยังเป็นการปกป้องการขยาย ตลาดจากองค์กรภายนอกประเทศตามระบบ การค้าเสรี ความแตกต่างของวัฒนธรรมยังทำให้ เกิดความคาดหวังทางสังคมที่ แตกต่างกันด้วย

  13. ANGKANA ความท้าทายทางธุรกิจ ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและทางการเมืองก็มีส่วนทำให้มาตรฐานขั้นตอนการปฏิบัติงานแตกต่างกันออกไป ประเด็นที่สำคัญได้แก่ความเชื่อถือได้ของระบบงาน เช่น การมีระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่ไม่สามารถไว้วางใจได้ มีคลื่นแทรกซ้อนอยู่เสมอ และปัญหาการขาดแคลนที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญ เป็นต้น กฎหมายของแต่ละชาติและความคุ้นเคยก็อาจทำให้มีผลกระทบต่อระบบบัญชีได้ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการวิเคราะห์รายรับและรายจ่ายขององค์กรภาษายังคงเป็นตัวกลางที่ขวางกั้นความเข้าใจในหลาย ๆ ด้าน ความแตกต่างของสกุลเงินก็เป็นองค์ประกอบอีกอย่างหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าเสรี

  14. ANGKANA ความทันสมัย ในเรื่องของความทันสมัยนั้นมีความยุ่งยากเป็นอย่างมากในการพัฒนาโครงสร้างระบบงานระหว่างประเทศที่เหมาะสม ความยุ่งยากนี้เริ่มตั้งแต่การวางแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานนานาชาติอย่างเหมาะสม การจัดโครงสร้างของระบบงานและฝ่ายดำเนินธุรกิจ การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการพัฒนาระบบงาน และการ เลือกเทคโนโลยีพื้นฐานที่เหมาะสม

  15. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ องค์กรที่มุ่งหวังสู่ความเป็นองค์กรนานาชาติมีประเด็นหลักที่จะต้องพิจารณาอยู่ 3 ประเด็น คือ 1. การวางแผนกลยุทธ์ 2. การจัดโครงสร้างทางธุรกิจ 3. การจัดโครงสร้างระบบการบริหารงาน

  16. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การวางแผนกลยุทธ์ พื้นฐานโครงสร้างองค์กรเริ่มจากการวางกลยุทธ์สำหรับการดำเนินงานนานาชาติ (Global strategy) 4 ประการ ซึ่งเป้าหมายแต่ละอย่างจะต้องมีการดำเนินงานรองรับ เพื่อให้มีความชัดเจนในการอธิบายจึงกำหนดโครงสร้างองค์กรไว้เป็นสามแบบคือ โครงสร้างแบบรวมศูนย์ โครงสร้างแบบกระจายศูนย์ และโครงสร้างแบบร่วมมือกัน

  17. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์กรธุรกิจนานาชาติ

  18. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ domestic exporters มีลักษณะที่รวบรวมกิจกรรมทั้งหมดขององค์กรมาทำงานแบรวมศูนย์ที่สำนักงานใหญ่ซึ่งเป็นสถานที่เริ่มต้นการดำเนินงานขององค์กร

  19. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ multinational มีคุณลักษณะที่แยกการบริหารด้านการเงินและการควบคุมออกจากสำนักงานใหญ่ในประเทศแม่ กระบวนการผลิต การขาย และการตลาดก็ถูกตั้งขึ้นตามสถานที่ต่างกันเพื่อให้เกิดความได้เปรียบต่อองค์กรคู่แข่งมากที่สุด การผลิตและการบริการถูกจัดให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของตลาดท้องถิ่น องค์กรในประเทศแม่มีสถานะคล้ายเป็นเพียงผู้ร่วมงานที่อยู่ไกลออกไปรวมทั้งส่วนอื่นขององค์กรที่ตั้งกระจัดกระจายกันอยู่ทั่วโลก

  20. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ franchiser มีคุณลักษณะที่ผสมกันระหว่างระบบเก่าและระบบใหม่ ในด้านหนึ่งรับผิดชอบในการผลิตสินค้า การออกแบบการเงิน และเริ่มต้นการขายสินค้าหรือบริการในประเทศของตนเอง อย่างไรก็ตาม สินค้าและบริการบางอย่างอาจต้องถูก ผลิต วางแผนการตลาด และใช้ ทรัพยากรมนุษย์ในต่างประเทศ

  21. ANGKANA การจัดโครงสร้างระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ การวางแผนกลยุทธ์ กลยุทธ์แบบ Transnational เป็นองค์กรในยุคสมัยใหม่ที่มีลักษณะคล้ายกับองค์กรที่ไม่มีประเทศแม่ ซึ่งมีขอบเขตการบริหารงานกว้างไกลไปทั่วโลก องค์กรประกอบด้วยสาขาทีตั้งอยู่ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการ ตั้งสำนักงานใหญ่ (World headquarter) ในประเทศใดก็ได้ กลยุทธ์ในการบริหารงานจึงมุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไรและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่มีเขตแดนของประเทศใด ๆ มาขวางกั้นใช้ความได้เปรียบ ที่มีเหนือองค์กรท้องถิ่นในการทุ่มตลาดในทุกประเทศที่จะสามารถสร้าง ผลกำไรได้

  22. ANGKANA ระบบงานที่ครอบคลุมทั่วโลกที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ ระบบงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ 1. ระบบงานแบบรวมศูนย์ (Centralized Systems) หมายถึง ระบบงานที่มีขั้นตอนการพัฒนาและกระบวนการทำงานที่เกิดขึ้นภายในประเทศเท่านั้น 2. ระบบลอกแบบ (Duplicated Systems) หมายถึง ระบบที่มีการพัฒนาขึ้นมาภายในประเทศแต่กระบวนการทำงานถูกส่งต่อให้ดำเนินการอย่างอัตโนมัติในประเทศอื่น

  23. ANGKANA ระบบงานที่ครอบคลุมทั่วโลกที่เหมาะสมกับกลยุทธ์ ระบบงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ 3. ระบบกระจายศูนย์ (Decentralized Systems) คือระบบที่สำนักงานสาขาในต่างประเทศได้ทำการพัฒนาขึ้นใช้งานเอง 4. ระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย (Networked Systems) คือระบบที่ได้รับการ พัฒนาขึ้นมาและมีการดำเนินการในลักษณะของ การบูรณาการและร่วมมือกันทุกสาขาทั่วโลก

  24. ANGKANA การยอมรับการดำเนินธุรกิจ • จัดโครงสร้างกิจกรรมที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้ตามแนวทางที่ทำให้เกิดความได้เปรียบ • พัฒนาและควบคุมการปฏิบัติระบบงานในแต่ละระดับขององค์กร • จัดตั้งสำนักงาน World headquarter ให้มีความรับผิดชอบในการพัฒนาระบบงานระหว่างชาติทั่วทั้งโลกโดยมีผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดเป็น Chief Information Officer (CIO)

  25. ANGKANA การบริหาระบบงานที่ครอบคลุมทั่วโลก • ความท้าทายของผู้บริหาร • การตกลงในเรื่องความต้องการทั่วไปของผู้ใช้ • การนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่กระบวนการทางธุรกิจ • การประสานงานในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ • การประสานงานในการอนุญาตให้ใช้ซอฟต์แวร์ • การกระตุ้นในผู้ใช้ระดับท้องถิ่นให้การสนับสนุนระบบงานระหว่างประเทศ

  26. ANGKANA สภาพโดยทั่วไป : ความยุ่งยากของระบบงานระหว่างประเทศ ระบบการทำงานข้ามชาติจะกระจายฐานการผลิตและการตลาด และศูนย์การควบคุมระดับชาติ สู่ประเทศท้องถิ่นนั้น ๆ โดยที่ยังคงรักษา World Headquarter และการควบคุมกลยุทธ์ไว้ที่สำนักงานใหญ่ ที่ผ่านมาในอดีต สำนักงานใหญ่จะให้อำนาจแก่สำนักงานสาขาในการพัฒนาระบบงานของตนเองขึ้นมาใช้งานโดยยังคงส่วนที่เกี่ยวข้องทางด้านการเงินและการรายงานผลต่าง ๆ ไว้ที่สำนักงานใหญ่ เทคโนโลยีที่ใช้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีความแตกต่างกัน

  27. ANGKANA กลยุทธ์ : การแบ่งแยก การครอบครอง และการเอาใจ ขั้นตอนแรกของการกำหนดกลยุทธ์ คือ การแบ่งระบบงานออกเป็นส่วน ๆ (Divide) โดยให้เริ่มต้นด้วยการพิจารณาว่าระบบงานทุกระบบไม่สามารถนำไปใช้งานร่วมกับระบบ transnational ได้ซึ่งจะมีก็แต่เพียงระบบงานหลักบางระบบเท่านั้นที่มีคุณค่าเพียงพอในแง่มุมของค่าใช้จ่ายและความเป็นไปได้ ระบบงานหลัก (Core system) หมายถึงระบบที่สนับสนุนการทำงานวิกฤติขององค์กรซึ่งถ้ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นในระบบเหล่านี้อาจหมายถึงความล้มเหลวในการปฏิบัติงานขององค์กรระบบงานส่วนอื่นจะมีการทำงานร่วมกันเป็นครั้งคราวเนื่องจากมีการใช้งานข้อมูลสำคัญบางอย่างร่วมกันแต่ก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องมีความเหมือนกันใน ทุกระบบงาน

  28. ANGKANA การกำหนดระบบงานหลัก การกำหนดระบบงานหลัก (Core System) มีขั้นตอนดังนี้ ประการแรก คือ การกำหนดรายการกระบวนการหลักทางธุรกิจ กระบวนการธุรกิจ (Core Business Process) คือกระบวนการทำงานกลุ่มหนึ่งที่มีความเกี่ยวเนื่อง กัน วิธีการกำหนดกระบวนการหลักทางธุรกิจ คือ การทำการวิเคราะห์ทิศทางการทำงาน ลำดับ ต่อไปคือการวิเคราะห์หาส่วนที่สมบูรณ์หรือสิ่งที่ จะทำให้แสดงกระบวนการที่มีความสมบูรณ์ที่สุด

  29. ANGKANA การกำหนดระบบงานหลัก เมื่อมีความเข้าใจในกระบวนการทำงานจองธุรกิจแล้วจึงจะสามารถกำหนดระดับความสำคัญได้ จากนั้นก็จะสามารถตัดสินได้ว่ากระบวนการได้เป็นระบบงานหลัก กระบวนการใดที่ทำงานร่วมกันแบบเข้าสู่ศูนย์กลาง (Centralized Systems) กระบวนการใดมีการออกแบบและการพัฒนาขึ้นมาใช้งานในสำนักงานสาขาทั่วโลก หรือกระบวนการใดที่มีลักษณะเป็นแบบเฉพาะ ของท้องถิ่น ในเวลาเดียวกันการทำงานใน ขั้นตอนนี้เท่ากับเป็นการวิเคราะห์ทัศนะหรือ รูปแบบขององค์กรในอนาคต ซึ่งจะต้องทำในขั้นตอนต่อไป

  30. ANGKANA เทคโนโลยี และโอกาสสำหรับห่วงโซ่การเพิ่มมูลค่าสินค้าระหว่างประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานระหว่างประเทศ (Global system) และห่วงโซ่ในการเพิ่มพูนค่าสินค้าระดับนานาชาติ (Global Value Chains) องค์กรที่กำลัง พยายามนำระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ การธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในระดับนานาชาติ และมีการบูรณาการเข้ากับระบบงานของลูกค้า และบริษัทคู่ค้าจะต้องเผชิญกับความท้าทาย หลายประการ

  31. ANGKANA ความท้าทายทางด้านเทคโนโลยีหลัก ความท้าทายหลักทางด้านฮาร์ดแวร์ คือการสร้างมาตรฐานเพื่อให้บริษัทต่าง ๆ ผลิตอุปกรณ์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจะต้องพิจารณาเลือกสถานที่ตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ขององค์กรและเลือกบริษัทผู้สนับสนุนอุปกรณ์ต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ส่วนด้านซอฟต์แวร์คือการหาซอฟต์แวร์ที่มีลักษณะเป็นมิตรกับผู้ใช้และสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่คณะทำงานได้จริง ความท้าทายในด้านโทรคมนาคมคือการจัดให้การถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปได้อย่างราบรื่นผ่านระบบเครือข่ายต่าง ๆ ที่อาจใช้มาตรฐานการสื่อสารของแต่ละชาติที่แตกต่างกัน

  32. ANGKANA การบูรณาการฮาร์ดแวร์และระบบ วัตถุประสงค์นั้นคือการพัฒนาระบบงานที่กระจายกันอยู่ทั่วโลกและบูรณาการระบบงานทั้งหมดเข้าเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งมีปัญหาคล้ายคลึงกับระบบ domestic system ขนาดใหญ่เพียงแต่เป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนมากกว่าอันเนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมที่มีขอบเขตทั่วโลก

  33. ANGKANA การบูรณาการฮาร์ดแวร์และระบบ ภายหลังจากที่สามารถเลือกฮาร์ดแวร์ได้แล้ว ขั้นต่อไปก็คือการเลือกมาตรฐานที่จะนำมาใช้ การใช้ฮาร์ดแวร์ที่เหมือนกันไม่รับประกันว่าระบบคอมพิวเตอร์ของทุกสาขาจะสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันและบูรณาการเข้าด้วยกันได้โดยอัตโนมัติ ผู้มีอำนาจในส่วนกลางขององค์กรจะต้องจัดตั้งมาตรฐานสำหรับข้อมูลและสิ่งที่เกี่ยวข้องทางด้านเทคนิคทั้งหมด

  34. ANGKANA ปัญหาของระบบเครือข่ายนานาชาติ • ปัญหาที่เกิดขึ้น • ค่าใช้จ่ายและการเก็บภาษี • การบริหารเครือข่าย • การให้บริการที่มีมาตรฐานต่ำ • เงื่อนไขของกฎหมาย • การเปลี่ยนแปลงความต้องการผู้ใช้ • ใช้มาตรฐานหลายแบบ • ความจุของระบบเครือข่าย

  35. ANGKANA การเชื่อมโยง ปัญหาที่เป็นหัวใจของระบบงานนานาชาติคือเรื่องระบบโทรคมนาคม นั่นคือการเชื่อมต่อระบบงานต่าง ๆ และบุคลากรทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียวเหมือนกับการเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายโทรศัพท์ทั่วโลกที่สามารถติดต่อถึงกันได้

  36. ANGKANA ซอฟต์แวร์ การพัฒนาระบบงานหลักเป็นส่วนที่ทำให้การเลือกใช้ซอฟต์แวร์มีความยากลำบากคือ จะต้องทำให้ซอฟต์แวร์ในระบบงานเก่าที่ยังคงมีการใช้งานอยู่นั้นสามารถสื่อสารกับซอฟต์แวร์ในระบบงานใหม่ได้ ส่วนติดต่อดังกล่าวอาจจะต้องได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ทั้งหมดและจะต้องได้รับการทดสอบอย่างรอบคอบ การทำงานนี้อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากและเป็นงานที่มีความยุ่งยากมาก องค์กรระหว่างชาติมักจะให้ความสำคัญกับซอฟต์แวร์สำหรับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) และซอฟต์แวร์สำหรับประมวลผลรายการธุรกรรมพื้นฐาน

  37. ANGKANA บทสรุปผู้บริหาร ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดแบ่งโครงสร้างองค์กรและเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการทำธุรกิจระหว่างชาติ การตกลงใจในการบริหารที่สำคัญ 4 ประการคือ การเลือกกลยุทธ์สำหรับธุรกิจโลก การกำหนดกระบวนการธุรกิจหลัก การจัดองค์กรให้ดำเนินธุรกิจในระดับนานาชาติ และการเลือกโครงสร้างระบบสารสนเทศสำหรับการใช้งานทั่วโลก

  38. ANGKANA บทสรุปผู้บริหาร วัฒนธรรม การเมือง และความหลากหลายของภาษา เป็นองค์ประกอบที่ช่วยเพิ่มความแตกต่างด้านวัฒนธรรมองค์กรและขั้นตอนพื้นฐานของการปฏิบัติงานเมื่อนำมาใช้งานในระดับนานาชาติ ความแตกต่าง เหล่านี้ได้สร้างกำแพงเสมือนขึ้นมากั้นระหว่าง ความพยายาม กับการพัฒนาระบบสารสนเทศ นานาชาติ

  39. ANGKANA บทสรุปผู้บริหาร การตัดสินใจหลักเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้สร้างระบบงานนานาชาตินั้นคือการค้นหามาตรฐานกลุ่มหนึ่งที่นำมาใช้กับฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบเครือข่าย สำหรับระบบสารสนเทศนานาชาติขององค์กร ระบบอินเทอร์เน็ตและระบบอินทราเน็ตถูกนำมาใช้งานมากยิ่งขึ้นในการเชื่อมต่อการสื่อสารทั่วโลกเข้าด้วยกันและให้บริการในระดับพื้นฐานของ ระบบงานนานาชาติ แต่องค์กรบางส่วนก็ยังคง ต้องใช้ระบบงานเฉพาะสำหรับฟังก์ชันบางอย่าง และใช้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติด้วย

  40. ANGKANA The End

More Related