180 likes | 298 Views
วิเคราะห์ และสร้างสรรค์สารสนเทศ ( Information Analysis and Creativity). หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สุชีรา พลราชม. บทที่ 10 การพัฒนาระบบงานสารสนเทศ ด้วยคอมพิวเตอร์. วงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศ.
E N D
วิเคราะห์และสร้างสรรค์สารสนเทศ (Information Analysis and Creativity) หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ สุชีรา พลราชม
บทที่ 10การพัฒนาระบบงานสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
วงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศวงจรในการพัฒนาระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศหมายถึง กิจกรรมต่างๆที่นักวิเคราะห์ ผู้ออกแบบและผู้ใช้ระบบกระทำร่วมกันเพื่อพัฒนาและติดตั้งระบบสารสนเทศ โดยจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้บริหารเห็นว่า องค์กรที่ปฏิบัติงานควรได้รับการปรับปรุงกิจกรรมที่กระทำสามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ ตามวิธีการศึกษาและการพัฒนาระบบดังนี้
1. การกำหนดปัญหา รวมถึงการกำหนดขอบเขตและสภาพแวดล้อมที่เกิดปัญหา 2. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ และการออกแบบสอบถาม เป็นต้น และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบปัญหาที่แท้จริง
3. การวิเคราะห์ทางเลือก โดยอาจเริ่มจากการใช้วิธีระดมความคิด เพื่อให้ทางเลือกหลายทางจากนั้นจึงค่อยๆจำกัดให้เหลือทางเลือกที่ดีที่สุด 3-4 ทางเลือก 4. การกำหนดการศึกษาความเหมาะสม หมายถึง การพัฒนาทางเลือกต่างๆที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 โดยจะต้องนำทางเลือกเหล่านั้นมาวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายจับต้องการได้และจับต้องการไม่ได้ รวมถึงทั้งพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทางเลือกเหล่านั้น
5. การนำเสนอโครงการ เพื่อให้ผู้ระบบและผู้บริหารเห็นชอบ 6. การออกแบบระบบ คือ การออกแบบรายละเอียดเกี่ยวกับระบบใหม่ซึ่งประกอบด้วย การออกแบบเชิงตรรกะ (logical design ระบบจะทำอะไร) และการออกแบบเชิงกายภาพ (physical design ระบบทำงานอย่างไร)
7. การศึกษานำร่อง คือ การทดสอบระบบที่ใช้สำหรับทดลองเพื่อพิจารณาว่าระบบที่เลือก ทำงานได้ดีหรือไม่เพียงไร 8. การอนุวัตระบบ คือ การติดตั้งระบบใหม่ตลอดจนการอบรมผู้ใช้ระบบและทำเอกสารประกอบการใช้และการบำรุงรักษาระบบ
9.การประเมินผล กระทำเพื่อให้ทราบว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนั้นตรงตามความต้องการของผู้ใช้หรือไม่อย่างไร ตลอดจนหาทางแก้ไขในส่วนที่ผู้ใช้ยังไม่พอใจ
Kraft and Boyce ได้ระบุกิจกรรมที่ทำในขั้นตอนการพัฒนาระบบเป็น 4 ขั้น (13 ขั้นตอน) ได้แก่
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ระบบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1. การกำหนดภาพรวมของระบบที่วิเคราะห์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของระบบที่วิเคราะห์
3. การกำหนดความต้องการและแนวทางต้องสามารถระบุหน้าที่ (Functions) กิจกรรม (Activities) และภารกิจ (Tasks) เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จที่วางไว้ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายของห้องสมุดวิทยาลัยแห่งหนึ่งคือ การทำให้ผู้ใช้ได้รับสารนิเทศใหม่ๆ ที่ตรงกับความสนใจอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริการที่จะจัดบริการเลือกสารนิเทศเพื่อเผยแพร่เฉพาะบุคคล
4. การกำหนดความต้องการในสภาพการทำงานปัจจุบันหมายถึง การพิจารณาหาแนวทางที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์และเป้าหมาย กิจกรรมในขั้นตอนนี้ถือเป็นหัวใจของการวิเคราะห์ นักวิเคราะห์จะต้องถามคำถามที่เกี่ยวกับใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และจำนวนเท่าใด
ขั้นที่ 2 การออกแบบ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 5. การระบุทางเลือกให้กับระบบงานที่วิเคราะห์ 6. การระบุข้อจำกัดต่างๆ หมายถึงสิ่งที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาให้ระบบประสบความสำเร็จได้แก่ งบประมาณ เวลา สถานที่ วิธีการทางเทคนิคต่าง ๆ กฎระเบียบ 7. การระบุทางเลือกที่เป็นไปได้
ขั้นที่ 3 ขั้นประเมินซึ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 8. การระบุเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมิน 9. การประเมินผลทางเลือกแต่ละทางเลือกที่ถูกนำมาประเมินผลตามเกณฑ์ที่ระบุในขั้นตอนที่ 8 อาจเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต 10. การเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด
ขั้นที่ 4 การอนุวัติ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 11. การรายงานการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์จะต้องแจ้งให้ผู้บริหารทราบถึงการประเมินทางเลือกและข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา 12. การตัดสินใจของผู้บริหาร การกระทำต่างๆ ที่ตามมาหลังจากผู้บริหารตัดสินใจเห็นชอบให้ดำเนินโครงการต่อไปตามที่นักวิเคราะห์เสนอ กิจกรรมที่กระทำได้แก่ การวางแผนการอนุวัต การอบรมบุคลากร การจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ การทดสอบและการแก้ไขเครื่องมือและโปรแกรมการพัฒนานำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ 13. การดูแลและควบคุมระบบ
ส่วน Senn ได้แบ่งขั้นตอนในการพัฒนาระบบออกเป็น 6 ขั้นตอนตามกิจกรรมที่กระทำ ดังนี้ 1.การศึกษาเบื้องต้น 2.การระบุความต้องการของระบบ 3.การออกแบบระบบ 4.การพัฒนาโปรแกรม 5.การทดสอบระบบ 6.การติดตั้งและการประเมินผล
ขั้นตอนที่ปรากฏในวงจรการพัฒนาระบบนั้นสามารถแบ่งได้อย่างกว้างๆ จนไปถึงการแบ่งอย่างละเอียด ขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะระบุรายละเอียดของกิจกรรมที่กระทำและการให้ความสำคัญกับกิจกรรมใดมากกว่ากัน กิจกรรมบางขั้นตอนอาจถูกกำหนดไว้ก่อนหลังต่างกัน ขึ้นอยู่กับแนวความคิดและประสบการณ์ของนักวิชาการแต่ละคน กิจกรรมที่กระทำในขั้นตอนบางขั้นตอน สามารถทำไปพร้อมกันได้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ลักษณะการดำเนินงานวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมของระบบที่ศึกษา