450 likes | 1.41k Views
มโนภาพ ( Mental imagery ). โดย พระมหาเผื่อน กิตฺ ติ โสภโณ. ที่บ้านท่านมีหน้าต่างกี่บาน ในห้องนอนท่านมีเฟอร์นิเจอร์กี่ชิ้น ปูมีกี่ขา.
E N D
มโนภาพ(Mental imagery) โดย พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
ที่บ้านท่านมีหน้าต่างกี่บานที่บ้านท่านมีหน้าต่างกี่บาน • ในห้องนอนท่านมีเฟอร์นิเจอร์กี่ชิ้น • ปูมีกี่ขา
มโนภาพ(Mental imagery)คือ ความสามารถในการสร้างโลกแห่งประสาทสัมผัสใหม่อีกครั้งโดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าทางกายภาพ(Physical stimuli) คนเรามีความสามารถที่จะจินตนาการถึงประสบการณ์เกี่ยวกับรส กลิ่น และกายสัมผัส
ความเป็นมาของการศึกษามโนภาพความเป็นมาของการศึกษามโนภาพ • วิลเฮมแมกซ์วุนต์ตั้งสมมติฐานว่า ภาพ(images)เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการมีสติระลึกรู้(Consciousness) การสัมผัส(Sensation)และความรู้สึก(Feeling) วุนต์ยังกล่าวว่า ภาพเกี่ยวข้องกับความคิด การศึกษาภาพเป็นวิธีหนึ่งเป็นในการศึกษาความคิด แนวคิดนี้เชื่อมโยงกันระหว่างจินตนาการและความคิดซึ่งเกิดจากการอภิปรายเรื่องความคิดโดยปราศจากภาพกับนักจิตวิทยาบางคนที่ถือตามของอริสโตเติลที่กล่าวว่า “เป็นไปไม่ได้เลยที่ความคิดจะปราศจากภาพ” กับบางคนที่มองว่า ความคิดสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องมีภาพ • แนวคิดที่ว่า ภาพไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับความคิดคือการสังเกตของเซอร์ฟรานซิส กัลป์ตัน(1883)ที่สังเกตพบว่า คนมีปัญหาในการมองเห็นภาพก็ยังมีความสามารถในการคิด • เมื่อจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยมมีอิทธิพล ผู้นำกลุ่มอย่าง จอห์น วัตสันกล่าวว่าการศึกษาเรื่องมโนภาพเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้และเป็นเรื่องปรัมปรา
มโนภาพและวิวัฒนาการความคิด(Imagery and Cognitive revolution) • การศึกษาจิตวิทยาการรู้คิดและปัญญาที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1950-1960 เป็นที่รู้จักในชื่อ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ทางการรู้ คิด และปัญญา(Cognitive revolution) หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคืองานของอลัน พาอิวิโอ(Alan Paivio, 1963) ที่พบหาวิธีในการวัดพฤติกรรมที่สามารถนำไปใช้ในเพื่ออนุมานกระบวนการรู้ คิด ตัวอย่างหนึ่งคือการทดลองที่ค้นพบว่า การจดจำคำนามที่เป็นรูปธรรม เช่น รถ บ้าน ต้นไม้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถจินตนาการถึงไป สามารถทำได้ง่ายกว่า การจดจำคำนามที่เป็นนามธรรม เช่น ความจริง ความยุติธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากในการจินตนาการ วิธีการดังกล่าวนี้ เรียกว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเป็นคู่(Paired associate learning)
การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงกันเป็นคู่การเรียนรู้แบบเชื่อมโยงกันเป็นคู่ ในการทดลองการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงกันเป็นคู่ ผู้ถูกทดลองจะถูกให้มองคำศัพท์ที่ถูกนำเสนอเป็นคู่เช่น เรือ-ความเกลียด รถ-บ้าน จากนั้น ผู้ทดลองจะขานคำศัพท์คำแรกเช่น ซึ่งผู้ถูกทดลองต้องตอบคำศัพท์ที่เป็นคู่กันให้ถูกต้อง เช่น เมื่อผู้ทดสอบขานคำว่า เรือ ผู้ถูกทดลองต้องตอบว่า ความเกลียด
จากการทดลองพบว่า ผู้ถูกทดลองสามารถจดจำคู่คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่าคำศัพท์ที่เป็นนามธรรมทำให้พาอิวิโอสร้างสมมติฐานหมุดทางความคิด(Conceptual peg hypothesis) ซึ่งอธิบายว่า คำศัพท์ที่เป็นรูปธรรมเป็นจะสร้างภาพที่คำอื่นสามารถเชื่อมติดกันได้ • ปี 1971 โรเจอร์เชพเพิร์ตและเจ. เมตสเลอร์(Rogers Shapperd & J. Metzler) ได้อนุมานกระบวนการรู้ คิดและปัญญาโดยการใช้การวัดเวลาทางความคิด(Mental chronometry)เพื่อหาเวลาที่จำเป็นสำหรับการรองรับงานทางความคิด(Cognitive task) โดยผู้ถูกทดลองจะต้องดูภาพสองภาพที่รูปทรงแตกต่างกันและและตอบว่า ภาพทั้งสองภาพมีรูปทรงเดียวกันหรือไม่ ซึ่งผู้ถูกทดลองต้องใช้จินตนาการในการหมุนภาพเพื่อตรวจสอบว่ามีรูปทรงเดียวกันหรือไม่
การทดลองของเชพเพิร์ตและเมตสเลอร์พบว่า ยิ่งรูปทรงของภาพแตกต่างกันเท่าใด เวลาที่ใช้ในการตอบก็จะยิ่งนานขึ้น ซึ่งตีความได้ว่า ผู้ถูกทดลองต้องใช้เวลาในการหมุนภาพเพื่อเปรียบเทียบว่ารูปทรงของภาพทั้งสองตรงกันหรือไม่ งานวิจัยถือได้ว่าเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ใช้วิธีการทางปริมาณ(Quantitative method)เพื่อศึกษาจินตนาการและชี้ให้เห็นว่าจินตนาการและการรับรู้อาจใช้กลไกร่วมกัน
จากการทดลองหลายครั้ง สตีเฟนกอสส์ลิน(Stephen Kosslyn) ได้สร้างทฤษฎีว่า จินตนาการและการรับรู้มีความคล้ายคลึงกัน • ในการทดลองกอสลินได้ขอให้ผู้ถูกทดลองจดจำภาพ เช่น ภาพเรือ จากนั้น ให้สร้างมโนภาพของวัตถุในใจ จากนั้นให้เพ่งความสนใจไปยังส่วนต่างๆของวัตถุนั้น จากนั้น ผู้ทดลองจะถามว่า มีวัตถุต่างๆอยู่ตรงบริเวณนั้นหรือไม่ ถ้าผู้ถูกทดลองมองเห็นวัตถุนั้นในจินตนาการให้กดปุ่ม จริง ถ้ามองไม่เห็นให้กดปุ่ม ไม่จริง • กอสลินได้ให้คำอธิบายว่า ถ้าจินตนาการและวัตถุเหมือนกันในแง่เกี่ยวข้องกับพื้นที่(spatial) ผู้ถูกทดลองควรใช้เวลามากขึ้นหากวัตถุอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นออกไป ซึ่งในการทดลองกอสลินพบว่าเป็นเช่นนั้น • ต่อมา จี. ลี(G. Lee) ได้ให้คำอธิบายที่ต่างไปว่า ระหว่างที่สแกนหาวัตถุ ผู้ถูกทดลองอาจไขว้เขวเพราะพบกับวัตถุอื่นที่น่าสนใจทำให้ใช้เวลาในการค้นหานานขึ้น
เพื่อที่จำตอบปัญหาดังกล่าวกอสลินและคณะได้ทำการทดลองโดยให้ผู้ถูกทดลองจดจำภาพเกาะที่มีสถานที่ 7 แห่ง จากนั้นให้ผู้ถูกทดลองจินตนาการว่ากำลังเดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง การทดลองนี้ให้ผลเช่นเดียวกับการทดลองครั้งแรกคือหากสถานที่สองแห่งห่างกัน ผู้ถูกทดลองจะใช้เวลาในการสแกนหานานกว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้กัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ว่า มโนภาพนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับพื้นที่
แม้กอสลินจะสรุปว่า งานวิจัยของเขาชี้ว่า การจินตนาการเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวแทนของพื้นที่(Spatial representation) แต่พิลิชิน(Pylyshyn, 1973)เห็นแย้งว่า การที่จินตนาการเกี่ยวข้องกับพื้นที่ ไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่เป็นตัวแทนทั้งหมดเกี่ยวกับพื้นที่ นอกจากนี้งานวิจัยทางด้านจิตวิทยาการรู้คิดและปัญญาส่วนใหญ่ชี้ว่า เราไม่ได้ระลึกรู้(aware)ตลอดเวลาว่ามีอะไรเกิดขึ้นในใจของเรา พิลิชินเรียก จินตนาการที่เกี่ยวกับพื้นที่ว่า epiphenomenon ซึ่งหมายถึง บางสิ่งที่เกี่ยวข้องกับกลไกการเกิดจินตนาการ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกลไกนั้น
ตัวอย่างของอิพิเฟนอมินอน เช่น ไฟที่เคสคอมพิวเตอร์ที่กระพริบถี่ๆเวลาที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงานอย่างหนัก แม้ไฟกระพริบดังกล่าวจะเป็นตัวบอกว่าคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่างานที่ทำอยู่นั้นคืออะไร และแม้ว่าจะเอาไฟกระพริบดังกล่าวออก คอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้อยู่ดี • พิลิชินได้เสนอว่า กลไกที่จำเป็นต่อการจินตนาการคือสิ่งที่เรียกว่า การสร้างตัวแทนในรูปของประพจน์(Propositional representation) ซึ่งหมายถึง ความสัมพันธ์ที่ถูกทำให้เป็นตัวแทนด้วยสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรม อย่างเช่น สมการ หรือคำพูด เช่น “แมวอยู่ใต้โต๊ะ” • ตรงกันข้าม Spatial representation เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงร่างด้านพื้นที่(spatial layout) ซึ่งเป็นสร้างวัตถุขึ้นมาในจินตนาการ ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่า Depictive representation
ตามทัศนะของพิลิชินจินตนาการคือการสร้างตัวแทนที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างวัตถุเข้าด้วยกันไม่ใช้การสร้างภาพวัตถุที่มีขนาดพื้นที่ • อย่างไรก็ตาม แนวคิดของพิลิชินถือว่าได้ว่าเป็นเสียงส่วนน้อย เนื่องจากนักจิตวิทยาส่วนใหญ่เชื่อว่า การจินตนาการเป็นแบบ Spatial representation
การเปรียบเทียบจินตนาการและการรับรู้การเปรียบเทียบจินตนาการและการรับรู้ • เพื่อที่จะศึกษาขนาดของวัตถุและพื้นที่ในจินตนาการ กอสลิน(1978) ได้ให้ผู้ถูกทดลองจินตนาการถึงวัตถุ 2 สิ่ง เช่น ช้างกับกระต่าย อยู่ใกล้ๆกัน จากนั้น ถามว่า เห็นหนวดของกระต่ายหรือไม่ และส่วนอื่นๆ โดยสลับไปเรื่อยๆโดยผู้ถูกทดลองต้องตอบคำถามให้เร็วที่สุด • ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่า ส่วนต่างๆที่ผู้ถูกทดลองถูกขอให้จินตนาการถึงจะชัดเจนเมื่อถูกขยายเต็มพื้นที่การมอง • นอกจากนี้กอสลินยังให้ผู้รับการทดลองจินตนาการว่า หากเดินเข้าหาวัตถุ(Mental walk task) ต้องใช้ระยะห่างแค่ไหนภาพจึงเต็มพื้นที่การมองผลการทดลองพบว่า ระยะห่าง 1 ฟุตหากเป็นหนู และ 11 ฟุตหากเป็นช้าง
ความเกี่ยวข้องกันระหว่างมโนภาพกับการรับรู้ความเกี่ยวข้องกันระหว่างมโนภาพกับการรับรู้ • ปี 1910 คีเวสเพอร์กี้(ChevesPerky) ได้ทำการลองเพื่ออธิบายความเกี่ยวข้องกันระหว่างมโนภาพกับการรับรู้ โดยมีแนวคิดว่า หากมโนภาพและการรับรู้มีอิทธิพลต่อกันและกันแสดงว่าใช้กลไกเดียวกัน ในการทดลองเพอกี้ได้ให้ผู้ถูกทดลองมองภาพสร้างมโนภาพวัตถุต่างๆ เช่น กล้วย บนจอ ขณะเดียวกันเพอกี้ก็ได้ฉายแสงทึมของภาพนั้นเช่นกัน • ที่น่าสนใจคือ คำอธิบายเกี่ยวกับวัตถุในมโนภาพของผู้รับการทดลองตรงกับภาพแสงทึมๆที่เพ้อกี้ฉาย เช่น อยู่ในแนวตั้งเหมือนกัน ที่น่าสนใจยิ่งไปกว่าคือผู้ถูกทดลองทั้ง 24 คนไม่มีใครทราบเลยว่า มีการฉายภาพวัตถุที่เขาถูกขอให้จินตนาการถึง ทุกคนต่างเข้าใจว่า ภาพบนจอนั้นเป็นภาพจินตนาการของเขาเอง
งานวิจัยของมาธาฟารา(Matha Farah,1983) ได้แสดงให้เห็นถึงการมีอิทธิพลต่อกันระหว่างการรับรู้และมโนภาพ โดยฟาราได้ขอให้ผู้รับการทดลองสร้างมโนภาพตัวอักษร H หรือ T บนจอ เมื่อจินตนาการชัดเจนแล้วให้กดปุ่มซึ่งจะสร้างแสงแฟรชเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสสองอัน หนึ่งในเส้นฉากประกอบด้วยอักษรเป้าหมายซึ่งเป็นได้ทั้ง H หรือ T หน้าที่ของผู้รับการทดลองอยู่ในแสงแฟรชครั้งที่ 1 หรือครั้งที่ 2 • ผลการทดลองพบว่า ถูกตรวจจับได้ถูกต้องมากกว่าเมื่อผู้รับการทดลองจินตนาการตัวอักษรเดียวกัน มากกว่าตัวอักษรอื่น
นิวรอนที่เกี่ยวกับมโนภาพและสมองนิวรอนที่เกี่ยวกับมโนภาพและสมอง • การศึกษาของเกเบรียล เครย์แมน(GrabialKreiman)ที่ทำในผู้ป่วยโรคลมชักที่ฝังอิเลคโทรดเพื่อหาแหล่งที่เป็นสาเหตุของโรค พบว่า นิวรอนหลายๆตัวตอบสนองต่อวัตถุบางอย่างแต่ไม่ตอบสนองต่อวัตถุบางอย่าง เช่น นิวรอนบางตัวตอบสนองต่อภาพลูกเบสบอล แต่ไม่ต่อสนองต่อภาพหน้าคน แม้ในยามหลับตาก็ตาม เครย์แมนเรียกนิวรอนเหล่านี้ว่า นิวรอนเกี่ยวกับมโนภาพ(Imagery neuron)
การสร้างภาพสมอง(Brain imaging) • ตั้งแต่ต้นปี 1990 เป็นต้นมา มีงานวิจัยมากมายที่ทำการทดลองโดยสร้างภาพการทำงานของสมองโดยใช้เครื่อง PET scan(Positron emission tomography) หรือ fMRI(Functional magnetic resonance imaging) เช่นงานวิจัยของเลบิฮันและคณะ(LeBihan and coworkers (1993)ที่พบว่า การทำงานบริเวณสมองส่วนcortex เพิ่มมากขึ้นเมื่อผู้ถูกทดลองคิดหรือจินตนาการ
แม้การสร้างภาพการทำงานของสมองจะบอกเราว่า การรับรู้และมโนภาพมีใช้กลไกการทำงานเดียวกัน แต่ก็อาจเป็นเพียง epiphenomenon ตามแนวคิดของพิลิชินคือบอกได้ว่า มีกิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นเท่านั้น แต่ไม่อาจระบุได้อย่างชัดเจนว่า มโนภาพเป็นผลมาจาการทำงานของสมองส่วนดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ สตีเฟนกอสลินและคณะ(1999)จึงได้ทำการทดลองโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า transcranial magnetic stimulation (TMS) ซึ่งเป็นการส่งสนามแม่เหล็กรบกวนสมองส่วนต่างๆเพื่อดูกระทบ การทดลองพบว่า การรบกวนสมองส่วนvisual cortex ส่งผลให้การทำงานช้าลงทั่งในด้านรับรู้และการสร้างมโนภาพ นอกจากยังสนับสนุนว่า สมองส่วนดังกล่าวทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้และการสร้างมโนภาพจริงไม่ใช้เป็นเพียง epiphenomenon
กรณีศึกษาทางประสาทจิตวิทยากรณีศึกษาทางประสาทจิตวิทยา • คนไข้หญิงชื่อ M.G.S. ได้รับการผ่าตัดเอาส่วนหนึ่งของสมองส่วน occipital lope ด้านขวาออกเพื่อรักษาโรคลมชักอย่างขั้นรุนแรง หลังการผ่าตัดพบว่าระยะการมองเห็นวัตถุเต็มตัวเปลี่ยนแปลงในมโนภาพของเธอเปลี่ยนแปลงจาก 15ฟุต เป็น 35 ฟุต
ปัญหาด้านการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการสร้างมโนภาพปัญหาด้านการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านการสร้างมโนภาพ • งานวิจัยจำนวนมากพบว่า คนไข้ที่สมองเสียหายมักจะมีปัญหาด้านการรับรู้และการสร้างมโนภาพ ตัวอย่างเช่นคนที่สูญเสียความสามารถในการมองเห็นสีเกิดเพราะสมองเสียหายจะสูญเสียความสามารถในการสร้างมโนภาพเป็นสีเช่นเดียวกัน • คนไข้ที่สมองส่วนparietal lope เสียหายจะสูญเสียความสามารถในการมองเห็นอีกครึ่งหนึ่งของภาพที่มองเห็นที่เรียกว่า Unilateral neglect • E. Bisiachand G. Luzzatti (1978) ได้ศึกษาการสร้างมโนภาพของคนที่มีอาการ neglect พบว่าเขาสูญเสียความสามารถในการจินตนาการด้านของภาพที่เขามองไม่เห็นเดียวกัน ซึ่งเป็นการยืนยันว่า การรับรู้และการสร้างมโนภาพเกิดจาการทำงานของสมองส่วนเดียวกัน
ความไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างการรับรู้และการสร้างมโนภาพความไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างการรับรู้และการสร้างมโนภาพ • คนไข้ชื่อ R.M. ซึ่งสมองส่วน occipital และ parietal lope เสียหายถือได้ว่าเป็นกรณีตัวอย่างของการรับรู้ปกติแต่มโนภาพเสื่อมถอย โดย R.M. สามารถรู้จักวัตถุที่อยู่ต่อหน้าและเขียนภาพได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่สามารถเขียนภาพวัตถุจากความทรงจำหรือมโนภาพได้ นอกจากนี้ยังประสบปัญหาที่ในการตอบคำถามที่ต้องมโนภาพเช่น “องุ่นกับส้ม อันไหนลูกใหญ่กว่ากัน” • กรณีตรงกันข้าม เช่น คนไข้ชื่อ C.K. เป็นนักศึกษาปริญญาโทที่ถูกรถชนขณะวิ่งออกกำลังกาย มีปัญหา visual agnosiaคือ บอกไม่ได้ว่าวัตถุที่อยู่ต่อหน้าเขาคืออะไร แต่เขาสามารถวาดภาพจากจินตนาการได้อย่างถูกต้อง
การใช้มโนภาพในการเพิ่มความสามารถในการจำการใช้มโนภาพในการเพิ่มความสามารถในการจำ
Method of Loci • วิธีการดังกล่าวนี้เกิดจากตำนานกรีกเมื่อ 2,500ปีก่อนว่า ซิโมนิเดส(Simonides) กวีชาวกรีกได้รับเชิญให้ไปทานอาหารค่ำและเกิดอุบัติเหตุหลังคาพังลงมาทับแขกที่ร่วมงานเสียชีวิตมายทำให้ยากลำบากในการแยกแยะว่าผู้ตายเป็นใคร ซิโมนิเดสได้ใช้วิธีการจำแนกว่าผู้ตายเป็นใครจากการสร้างมโนภาพเกี่ยวกับตำแหน่งที่นั่งรอบโต๊ะอาหารที่ผู้ตายนั่ง เป็นที่ของเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการจำโดยสร้างมโนภาพสถานที่ที่เราคุ้นเคยเช่น บ้าน ที่ทำงาน จากนั้นให้วางภาพสิ่งที่เราต้องการจำไว้ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่ง่ายต่อการจำ
เทคนิคภาพกับคำ(Pegword technique) • เทคนิคนี้คล้ายกับ Method of Loci เพียงแต่เปลี่ยนจากการจับคู่ภาพกับสถานที่เป็นจับคู่กับคำที่เป็นรูปธรรมแทน เช่น หนึ่ง-ผึ้ง สอง-กล้อง สาม-ย่าม สี่-ชี ห้า-ป้า หก-นก เจ็ด-เป็ด จากนั้นก็สร้างจินตนาการวัตถุดังกล่าวกับสิงที่ต้องการจำ