2.29k likes | 4.49k Views
การจัดทำ แผนพัฒน การศึกษา ของสถานศึกษา. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา แผนพัฒนาการศึกษาสามปี แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา. การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา.
E N D
การจัดทำแผนพัฒนการศึกษาของสถานศึกษาการจัดทำแผนพัฒนการศึกษาของสถานศึกษา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา • แผนพัฒนาการศึกษาสามปี • แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ • แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งแสดงถึงวิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาในอนาคต โดยสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผนดิน ยุทธศาสตร์ การพัฒนาจังหวัด อำเภอ และแผนชุมชน
ความหมายของแผนยุทธศาสตร์ความหมายของแผนยุทธศาสตร์ แผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) หมายถึง แผนหรือกรอบวิธีการดำเนินงานที่แสดงถึงภารกิจ เป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงาน ตลอดจนวิถีทางหรือข้อกำหนดที่องค์การควรปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ภายใต้ข้อจำกัด ของสภาพแวดล้อมภายนอก และขีดความสามารถขององค์การ
การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning) การวางแผนยุทธศาสตร์จะต้องตอบคำถามหลัก 3 ประการ คือ 1. องค์กรกำลังจะก้าวไปทางไหน (Where are you going ?) 2. สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร (What is the environment?) 3. องค์กรจะไปถึงจุดหมายได้อย่างไร(How do you get there ?)
กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์กระบวนการการวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning Processes) มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) 2) กำหนดพันธกิจ (Mission) 3) กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา (Goal) 4) กำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy) 5) กำหนดแนวทางการพัฒนา
การกำหนดวิสัยทัศน์(Vision)การกำหนดวิสัยทัศน์(Vision) วิสัยทัศน์(Vision) หมายถึง สภาพการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นในอนาคต (ต้องการเป็นอะไร) วิสัยทัศน์ที่ดี มีลักษณะ ดังนี้ 1. เป็นข้อความที่เข้าใจง่าย แสดงให้เห็นถึงจุดมุ่งหมายและทิศทาง 2. มีความเป็นไปได้ในการบรรลุถึง ภายในระยะเวลาที่กำหนด 3. สร้างแรงบันดาลใจ(ท้าทาย เร้าใจ ) 4. สอดคล้องกับขนมธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามของสังคม 5. วัดผลสำเร็จได้ 6. เป็นที่ยอมรับของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ในการสร้างหรือกำหนดวิสัยทัศน์ดังกล่าวข้างต้น จะต้องศึกษาวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ด้วย ดังนี้ 1.1 การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนา 1) วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค(SWOT analysis) - จุดแข็ง (Strength-S) - จุดอ่อน (Weakness-W) - โอกาส (Opportunity-O) - อุปสรรค (Threat-T)
การกำหนดพันธกิจ (Mission) พันธกิจ หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (ต้องทำอะไรถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์) โดยปกติพันธกิจสามารถเขียนจากประเด็นการพัฒนาชั้นที่ต่ำถัดจากวิสัยทัศน์ได้ ดังนี้ 1) พัฒนาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน 2) ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการดำรงชีวิตในท้องถิ่น 3) พัฒนาการคมนาคม ขนส่ง 4) ส่งเสริมอนามัยชุมชน
การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy) ยุทธศาสตร์ หมายถึง วิถีทางหรือข้อกำหนดที่องค์การควรปฏิบัติเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด ภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมภายนอก และขีดความสามารถขององค์การ (ทำอย่างไรถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์)
การกำหนดแนวทางการพัฒนาการกำหนดแนวทางการพัฒนา แนวทางการพัฒนา หมายถึง วิธีการของแต่ละยุทธศาสตร์ที่จะนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ (ทำโดยวิธีใด ถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์)
การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา(Goal)การกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา(Goal) จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา(Goal) หมายถึง การระบุสภาพที่ต้องการให้สำเร็จ (ทำเพื่อให้เกิดอะไร ถึงจะบรรลุวิสัยทัศน์)จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาจึงเป็นการระบุสภาพความสำเร็จของวิสัยทัศน์
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาจะต้องกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้วย ดังนั้น แต่ละจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาจึงมีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแต่ละจุดมุ่งหมายฯ ซึ่งในแต่ละจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาอาจมีตัวชี้วัดความสำเร็จมากกว่า 1 ตัวชี้วัดก็ได้
การกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicators) ตัวชี้วัดความสำเร็จของการปฏิบัติงาน (Key Performance Indicators หรือ KPI) หมายถึง สิ่งที่สะท้อนถึงความสำเร็จของการปฏิบัติงานซึ่งสังเกตได้/วัดได้/นับได้
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา หลังจากที่แผนยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกาศใช้แล้ว สถานศึกษาจะต้องดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และประกาศใช้โดยหัวหน้าสถานศึกษา เป็นผู้ลงนามในประกาศของสถานศึกษา โดยปกติการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของสถานศึกษา จะต้องแล้วเสร็จและประกาศใช้ก่อนกำหนดการที่สถานศึกษาจะต้องส่งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาสามปีของสถานศึกษาให้สำนัก/กอง/ส่วนการศึกษา(ซึ่งแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจแตกต่างกันไป) สำหรับเค้าโครงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย
บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงข้อมูลทั่วไปทางการศึกษา นโยบายการพัฒนาประเทศจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายการศึกษาของชาติ ยุทธศาสตร์นโยบายจังหวัด/อำเภอ มาตรฐานการศึกษาชาติ มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) มาตรฐานการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นโยบายการพัฒนาท้องถิ่น นโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ผลการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ผ่านมา ปัญหาและความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT Analysis) ซึ่งเป็นที่มาของ “วิสัยทัศน์”
บทที่ 2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ และจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา 2.1 วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น 2.2 พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น 2.3 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
รายละเอียดตัวชี้วัด • ตัวชี้วัด : ………………………………………………………………….......................................… • ขอบเขตความหมาย : .………………………………………………………………………………….. • หน่วยวัด : ……………………………….………………………………………………………………….. • เป้าหมาย/เกณฑ์ (ปี 2554-2558) : …..…………………………………………………………… • วิธีการคำนวณ : ………….……………………………………………………………………………….. • ข้อมูลปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน) : ………….………….……………………………………………… • แหล่งข้อมูล/วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : ……………………………………………………….... • ความถี่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล/รายงาน : …………………………………………………….
บทที่ 3 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา 3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น 3.2 แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
บทที่ 4 การติดตามและประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ 4.1 คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการนำแผน ยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่ การปฏิบัติ 4.2 วิธีการติดตามและประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่การ ปฏิบัติ 4.3 ห้วงเวลาในการติดตามและประเมินผลการนำแผนยุทธศาสตร์ฯ ไปสู่ การปฏิบัติ
การจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาสามปีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาสามปี หลังจากที่แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาประกาศใช้เสร็จเรียบร้อยแล้ว สถานศึกษาจะต้องดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาสามปีของสถานศึกษา (จะมีทั้งโครงการที่ใช้เงินและโครงการที่ไม่ใช้เงิน) เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และประกาศใช้โดยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในประกาศของสถานศึกษา
บทที่ 1 บทนำ 1.1 กล่าวสรุปโดยย่อเกี่ยวกับที่มาของ “วิสัยทัศน์” 1.2 วิสัยทัศน์ 1.3 พันธกิจ 1.4 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
บทที่ 2 ผลการจัดการศึกษาในปีงบประมาณที่ผ่านมา บทที่ 3 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา บทที่ 4 บัญชีโครงการ/กิจกรรม บทที่ 5 การติดตามและประเมินผลการนำแผนพัฒนา การศึกษาสามปีไปสู่การปฏิบัติ
แผนปฏิบัติการตามปีงบประมาณแผนปฏิบัติการตามปีงบประมาณ เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม - 30 กันยายน ของปีถัดไป เป็นแผนที่สำคัญมาก เพราะหากโครงการ/ กิจกรรม/ รายการได้ ไม่ปรากฏในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ จะไม่สามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างได้ ส่วนประกอบของแผน คือ
ส่วนที่ 1 คำแถลงประกอบแผนการปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. .......... • สถานการคลัง • การบริหารงบประมาณในปีที่ผ่านมาและปีปัจจุบัน • ♦ รายได้ • ♦ รายจ่ายตามยุทธศาสตร์ / แนวทางพัฒนา
ส่วนที่ 2 บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ....... • หลักการ • ♦ รายจ่ายทั้งสิ้น (แผนตามยุทธศาสตร์) • - เหตุผล
ส่วนที่ 3 ประมาณการรายได้ของสถานศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ....... • ประมาณการรายได้ • ♦ รายได้ที่จัดหาเอง • ♦ รายได้ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตั้งงบประมาณให้และเงินที่ได้จากเงินอุดหนุน
รายละเอียดรายจ่ายของสถานศึกษารายละเอียดรายจ่ายของสถานศึกษา ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ...... รายจ่ายตามยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์ ................................. แนวทางการพัฒนา ...................... • วัตถุประสงค์ • งานที่ทำ • หน่วยงานที่รับผิดชอบ
การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษา จะมีทั้งโครงการที่ใช้เงินและโครงการที่ไม่ใช้เงิน ปีการศึกษาจะเริ่มวันที่ 16 พฤษภาคม ถึงวันที่ 15 พฤษภาคมของปีถัดไป เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นำเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และประกาศใช้โดยหัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้ลงนามในประกาศของสถานศึกษา “แผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาจะต้องแล้วเสร็จและประกาศใช้ก่อนวันที่ 16 พฤษภาคมของทุกปี” สำหรับเค้าโครงแผนปฏิบัติการประจำปีการศึกษาของสถานศึกษา ประกอบด้วย บทที่ 1 บทนำ 1.1 กล่าวสรุปโดยย่อเกี่ยวกับที่มาของ “วิสัยทัศน์” 1.2 วิสัยทัศน์ 1.3 พันธกิจ 1.4 จุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนา
บทที่ 2 ผลการจัดการศึกษาในปีการศึกษาที่ผ่านมา บทที่ 3 ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา บทที่ 4 บัญชีโครงการ/กิจกรรม บทที่ 5 การติดตามและประเมินผลการนำแผนพัฒนา ปฏิบัติการศึกษาไปสู่การปฏิบัติ