1 / 23

Ethnic Diversity and Culture in EU : France

Ethnic Diversity and Culture in EU : France. รศ.ดร. กฤษณา ไวสำรวจ Krisana Vaisamruat. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ดินแดนแห่งผู้ลี้ภัย และการเพิ่มประชากร. ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นกรณีพิเศษในยุโรป ด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพ

noura
Download Presentation

Ethnic Diversity and Culture in EU : France

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. Ethnic Diversity and Culture in EU : France รศ.ดร. กฤษณา ไวสำรวจ Krisana Vaisamruat

  2. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ดินแดนแห่งผู้ลี้ภัย และการเพิ่มประชากร ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นกรณีพิเศษในยุโรป ด้านที่เกี่ยวข้องกับผู้อพยพ เป็นประเทศเดียวที่เป็นแหล่งหรือดินแดนที่ได้ฉายาว่า “ดินแดนแห่งผู้ลี้ ภัย” Terre d’asile,Terre d’acuail นับจากศตวรรษที่ 19 การอพยพของชาวต่างด้าวเข้าไปในฝรั่งเศส เกิดจากอัตราการลดลง ของประชากร ส่วนประเทศอื่นๆ เริ่มเปิดรับผู้อพยพในภายหลัง ประมาณปลายทศวรรษที่ 50 ฝรั่งเศสจึงเป็นประเทศที่ประกอบด้วย ประชากรหลากถิ่นและวัฒนธรรม หลอมรวมอยู่ในกรอบของรัฐ

  3. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ที่มาและการอพยพของผู้ใช้แรงงาน ( Immigration) • การอพยพจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการเคลื่อนย้ายของ ประชากรจากในยุโรปด้วยกัน • ต่อมาภายหลังรัฐบาลฝรั่งเศสได้เปิดรับผู้อพยพเพื่อตอบสนองผู้ขาดแคลนแรงงาน (ชาวโปรตุเกส สเปน อัลจีเรีย โมรอคโค ตูนีเซีย และชาวอาฟริกันผิวดำ ) นับจาก 1975 ฝรั่งเศสเปิดให้สิทธิกับผู้ใช้แรงงานต่างชาตินำครอบครัวมาพำนักอยู่ด้วย ก่อให้เกิดการไหลเทของประชากรโลกที่สาม • ตลอดทศวรรษที่ 70,80 และ 90 การอพยพทำให้องค์ประกอบชาวต่างชาติในฝรั่งเศสเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง โดยมีกลุ่มประชากรจากโลกที่สามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

  4. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส : ที่มา • ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 ประชากรผู้อพยพมีจำนวน 1.5 ล้าน เป็นชาวยุโรป จำนวน 1.4 ล้านจากอาฟริกาเหนือ และ 4 แสนจากเอเชีย โดยมีประชากรฝรั่งเศสทั้งหมด 52 ล้าน • นับจากช่วงนี้ไปจำนวนชาวอัลจีเรียที่อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นถึง 8 แสนคน และเป็นกลุ่มประชากรเชื้อสายต่างชาติที่สำคัญยิ่งในฝรั่งเศส ขณะเดียวกันประชากรชาวโมรอคโค ได้อพยพตามเข้าไปเป็นจำนวนประมาณ 6 แสนคน ตามการสำรวจประชากรในปี 1990

  5. ความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศสความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในฝรั่งเศส • ดังนั้น ประชากรผู้อพยพจึงเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศสในทศวรรษที่ 90 จึงเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากประชากรส่วนหนึ่งประกอบขึ้นด้วยผู้อพยพจากต่างถิ่น • จากการค้นคว้าโดย INED ในปี 1991 จึงกล่าวได้ว่า ประชากรของฝรั่งเศสประมาณ 20% มีบิดามารดาเชื้อสายต่างด้าว ทำให้ฝรั่งเศสเป็นชาติเดียวในยุโรป ที่มีการไหลเทของประชากรผู้อพยพ ในสัดส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่มา INED = Institut National des Etudes Démographiques (National Institute of Demographic Studies) M. Tribalat, Cents Ans d’immigration. Étrangers d’hier, Français d’aujourd’hui, Paris, PRU/INED, 1991, p. 13

  6. ผู้ใช้แรงงานจากอาฟริกาตอนเหนือ - Maghrebien • ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนประชากรชาวตูนีเซียน และจากอาฟริกาผิวดำ ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้สัดส่วนของผู้ใช้แรงงานที่พำนักอย่างถาวร ซึ่งมิใช่ชาวยุโรปเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง : โดยเพิ่มขึ้นจาก 3.7 ล้าน ในปี 1982 จนถึง 4.2 ล้านในปี 1990 คิดเป็นสัดส่วนเกินกว่า 7% ของจำนวนประชากรทั้งหมด • ในจำนวน 4.2 ล้านคนของผู้อพยพ รวมถึงประชาชนผู้ถือสัญชาติฝรั่งเศส 55% มาจากยุโรป 8% มาจากเอเชีย และ 34% มาจากอาฟริกัน (รวมไปถึงกลุ่มประชากรที่มาจากแถบ Maghreb) โดยมีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของประชากรผู้อพยพทั้งหมด (1999) ที่มาYvan Gastaut, « Des trente glorieuses à la crise des banlieues », L’Histoire, n° 229, fev. 99, p. 49

  7. เปรียบเทียบสัดส่วนประชากรต่างชาติและผู้มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ จำแนกตามรายประเทศ Source : OECD, Trends in International Migration , 2000

  8. สัดส่วนประชากรเชื้อสายต่างด้าวในฝรั่งเศส ปี 2002 • · French population: 58.5 million • · Non-French national population: 3.2 million (5.4% of total) • · Population of African origin: 1.4 million • · Mainly originate from former French colonies including • Senegal, Mali, Algeria and Morocco.

  9. สถิติล่าสุดและถิ่นที่พักอาศัยของกลุ่มประชากรอพยพ • ปัจจุบัน สถิติล่าสุดของผู้อพยพต่างชาติ ที่พำนักอยู่ในฝรั่งเศส มี ประมาณ 4.9 ล้านคน • คิดเป็นสัดส่วน 8.1% ของจำนวนประชากร • มีเพิ่มขึ้นจากปี 1990 ถึง 760,000 คน • ผลจากการสำรวจประชากรระหว่างปี 2004-2005 • 4 ใน 5 พำนักอาศัยอยู่ในบริเวณ L’le – de – France • จำนวนน้อยอยู่ในเขตตะวันตกของประเทศ • น้อยกว่า 3 % ใน Bretagne, Normandy ตอนใต้และแถบ la Loire ที่มา : I’institut national de la statistique et des etudes economiques, L’Insee

  10. Etrangers et immigrés en France

  11. Les immigrés

  12. L’immigration clandestine en Franceผู้ลักลอบเข้าประเทศในฝรั่งเศส

  13. นโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศสนโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศส • 1850 – 1870 การอพยพมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของฝรั่งเศส เหตุผลสำคัญสุดมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและความต้องการแรงงาน เพื่อขยายความยิ่งใหญ่ • ดำเนินต่อเนื่องไปถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) เพื่อช่วยในการสงคราม • เป้าหมายทางด้านแรงงานยุติลงด้วยสาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 2 • ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รื้อฟื้นนโยบายรับผู้อพยพแรงงานขึ้นใหม่ • มีการเลือกสรร เน้นผู้อพยพที่มาจากผู้ใช้แรงงานในยุโรปมากกว่าจาก อาฟริกา เพื่อลดทอนอิทธิพลของผู้อพยพต่อสังคม • ประเด็นความต้องการแรงงาน ที่มาจากเศรษฐกิจ เปลี่ยนมาเป็นประเด็นทางการเมืองนับจาก 1960 เป็นต้นมา เมื่อผู้อพยพที่เข้ามาเป็นแรงงานมีถิ่นที่มาจากอาฟริกาตอนเหนือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  14. นโยบายการเปิดรับผู้อพยพของฝรั่งเศส (ต่อ) • นับจาก 1960 เป็นต้นมา ประชากรที่อพยพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นำปัญหาในเรื่องความแตกต่างระหว่างประชากรต่างเชื้อชาติในฝรั่งเศส • รัฐบาลฝรั่งเศสตระหนักในเรื่องนี้จึงเริ่มควบคุมการอพยพเข้ามาของผู้ใช้แรงงานที่มาจากอาฟริกา โดยการพยายามขัดขวางการอยู่รวมกันแบบครอบครัวของผู้อพยพ • ในช่วงทศวรรษ 1980 นโยบายค่อนข้างเข้มงวดต่อผู้อพยพ โดยเน้นไปที่การพยายามที่จะควบคุมค่านิยมทางวัฒนธรรมของชาวด่างด้าวในประเทศ French Citizenship Policy • ในปี 1998 นโยบายต่อผู้อพยพของฝรั่งเศสมุ่งไปที่บูรณาการชาวต่างด้าว ให้ยอมรับวัฒนธรรมฝรั่งเศส โดยมุ่งไปที่เจเนอเรชั่นใหม่ เปิดโอกาสให้เด็กที่มีพ่อแม่ต่างด้าว ได้รับสัญชาติฝรั่งเศส

  15. การเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากประเทศนอกกลุ่ม EU ระหว่างปี 1999- 2004 (1)

  16. การเดินทางเข้าประเทศของบุคคลจากประเทศนอกกลุ่ม EU ระหว่างปี 1999- 2004 (2)

  17. แหล่งที่มาของผู้อพยพ – แรงงาน และชาวต่างด้าวในฝรั่งเศส ซึ่งแสดงให้เห็นการขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

  18. ต้นเหตุปัญหาต่างๆ ของความรุนแรง FRENCH IMMIGRATION BILL proposed by Sarkozy * การเสนอกฎหมายเกี่ยวกับผู้อพยพใหม่เสนอโดย นายSarkozy • ผู้มีคุณสมบัติได้สิทธิในการพำนักอาศัย ต้องเป็นพวก มีทักษะ และ ความสามารถพิเศษ สำหรับพำนัก • ชาวต่างด้าวจะได้รับสิทธิในการทำงานเท่านั้น แต่ไม่ได้รับสวัสดิการของรัฐในกรณีว่างงาน • คู่สมรสของชาวต่างด้าวต้องใช้เวลานานกว่าเดิมเพื่อรับใบอนุญาตเพื่อพำนักอาศัย • ชาวด่างด้าวอพยพต้องยินยอมเรียนภาษาฝรั่งเศส • ต่างด้าวต้องลงนามในสัญญายินยอมรับวิถีชีวิตแบบฝรั่งเศส • ยกเลิกกฎหมายให้ผู้ใช้แรงงานสามารถเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศสหลังพำนักอยู่ในประเทศเกิน 10 ปี *ปัจจุบันข้อเสนอกฎหมายฉบับนี้ถูกตีตกไปแล้ว

  19. ต้นตอปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประชากรต่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม • นโยบายการผสมกลมกลืนตามที่กฎหมายได้เปิดช่อง ไม่สามารถแก้ความรู้สึกแบ่งแยกในสังคมฝรั่งเศสที่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างจากตนเอง • ความยากจนของกลุ่มประชาชน ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ใช้แรงงานเชื้อสาย Maghrebien และจากอาฟริกาตะวันตก • การถดถอยในการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมและการสูญเสียทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ ของชนชั้นผู้ใช้แรงงาน • ปัญหาสืบเนื่องที่เกิดจากประชากรที่เป็นเยาวชนวัยหนุ่มสาวที่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพรุ่นแรก ซึ่งได้รับการเรียกขานว่าเป็น Les Jeunes du Banlieu • ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของรุ่นพ่อแม่ กับวัยรุ่นปัจจุบัน

  20. ความรู้สึกแบ่งแยกมีสูงขึ้นเกิดจาก : • ประชากรฝรั่งเศสเริ่มมีความรู้สึกว่า กลุ่มประชากรเชื้อสายอาหรับกำลังพยายามยัดเยียดค่านิยมต่างชาติเข้ามาวัฒนธรรมของประเทศ • ประชากรกลุ่มน้อยถูกผลักไสให้ไปอยู่ในพื้นที่ต่างหาก แยกจากศูนย์กลางตัวเมืองMarginalization (Urban culture)ก่อให้เกิดวัฒนธรรมรองในตัวเมือง(street culture) • ประชากรฝรั่งเศสต่างเชื้อสายไม่ค่อยมีสัดส่วนในการเป็นตัวแทนในพื้นที่ทางการเมือง หรือเป็นpressure groupที่มีบทบาทเหมือนในสหรัฐอเมริกา • ลักษณะครอบครัวที่มีผู้ปกครองเดี่ยว

  21. ความรู้สึกแบ่งแยกมีสูงขึ้นเกิดจาก(ต่อ) : • เป็นปัญหาที่สืบทอดมาจากความแตกต่างทางด้านศาสนาหรือจากอิทธิพลของขบวนการ islamicที่นิยมใช้ความรุนแรง • อาจตีความได้ว่าเป็นเพียงการต่อต้านนโยบายต้านผู้อพยพของ Sarkozyเมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีมหาดไทย • Voyous, Musulmans Faux Francais petit caidsมีการใช้คำเรียกที่เหยียดหยามกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่ เพื่อสื่อความรุนแรงของกลุ่มที่ไร้การอบรมมารยาท • การกีดกันในที่ทำงานต่อหนุ่มสาวฝรั่งเศสเชื้อสายจากผู้อพยพหลังอาณานิคม

  22. ความเกี่ยวพันระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจกับความรุนแรงความเกี่ยวพันระหว่างสภาพทางเศรษฐกิจกับความรุนแรง • เป็นกลุ่มที่ถูกทอดทิ้งและไม่มีงานทำหรือว่างงานและไม่ได้รับการเอาใจใส่จากสังคม • การประท้วงต่อต้านที่ประทุขึ้นถึงใช้ความรุนแรง ซึ่งต่อมาได้ขยายตัวไปทั่วประเทศเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2000

  23. ทางออกและการแก้ปัญหา • เพิ่มความเอาใจใส่ในปัญหาการว่างงานของเยาวชนฝรั่งเศสที่มีบิดามารดา เชื้อสายต่างด้าว • เปิดประตูให้กับการจ้างงานของชนกลุ่มน้อยสัญชาติฝรั่งเศสเชื้อสายต่างด้าวในระดับที่สูงขึ้นแทนที่จะคงอยู่ในภาคก่อสร้างและในโรงงาน • ใช้นโยบาย Affirmative Actionคือเปิดโอกาสให้สิทธิกับการว่าจ้างบุคลากรหลากหลายเชื้อชาติ • มีการยกเลิกการระบุเชื้อชาติแม้แต่ชื่อในประวัติของบุคคลผู้ประสงค์จะสมัครเข้าทำงาน

More Related