1 / 39

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ห้องประชุมองค์การบรà¸

การบรรยาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา. หัวข้อบรรยาย. วิสัยทัศน์จังหวัด แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ขั้นตอนการจัดทำแผน การบูร ณา การโครงการงบประมาณ แผน ปฎิบัติ ราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2556.

noleta
Download Presentation

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ห้องประชุมองค์การบรà¸

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การบรรยาย ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา

  2. หัวข้อบรรยาย • วิสัยทัศน์จังหวัด • แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา • ขั้นตอนการจัดทำแผน • การบูรณาการโครงการงบประมาณ แผนปฎิบัติราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2556 • ทำความเข้าใจกับ • กฎหมายที่เกี่ยวข้อง • บริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ • แนวคิดของการวางแผนยุทธศาสตร์จังหวัด • บูรณาการ (Integration) อะไร งานตามภารกิจ/งบประมาณ/บุคลากร

  3. แผนการบริหารราชการแผ่นดินแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 สรุป : ข้อกฎหมายเกี่ยวกับประสานแผนจังหวัดกับ อปท. • กำหนดให้ครม.ต้องจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อแสดงมาตรการและรายละเอียดของแนวทางในการปฏิบัติราชการในแต่ละปีของการบริหารราชการแผ่นดิน…[มาตรา 76] • กำหนดให้รัฐสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด [มาตรา 78 (2)] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 พรฎ. ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 • ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่ม จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี และคำของบประมาณ ตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กนจ.กำหนด และ ให้เสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ • ให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอตั้งงบประมาณได้… ในกรณีนี้ให้ถือว่าจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดเป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ (มาตรา 52 วรรค 3) • ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นในจังหวัด (มาตรา 53/1) 3

  4. พรฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดแกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 • ม.6 (2) การบริหารงานจังหวัดให้คำนึงถึงหลักการ การสร้างโอกาสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และประชาสังคม เพิ่มเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาที่ยั้งยืน • ม.14 (2) (3) (4) เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปตามหลักการตามที่กำหนดในมาตรา 6 ให้ผู้ว่าราชกรจังหวัดประสานและเชื่อมโยงกับหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวมถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคธุรกิจ และประชาสังคม เพื่อร่วมกันวางยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดให้เหมาะสมกับโอกาส ศักยภาพของจังหวัด โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยบูรณาการบริหารงบประมาณ เหื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนอปท.ให้มีความเข้มแข็งในการพัฒนาท้องถิ่น และให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชน • ม.18 ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดของ กบจ. ให้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น • ม.19 วรรคแรกและวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วน รวมถึงผู้บริหารของอปท.ทั้งหมดในจังหวัด เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัด ที่กบจ.จัดทำเพื่อนำมาปรับปรุงให้สมบูรณ์ • วรรคสาม การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของอปท.ต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัด

  5. ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548 • ข้อ 10 (1) คณะกรรมการท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ กำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นโดยพิจารณาจาก (1.3)ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ กลุ่มจังหวัดและจังหวัด โดยให้เน้นดำเนินการในยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และมีผลต่อประชาชนโดยตรง เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพย์ติด • ข้อ 24 ให้ผู้บริหารท้องถิ่นประกาศใช้แผนพัฒนาที่อนุมัติแล้ว และนำไปปฎิบัติ รวมทั้งแจ้ง กบจ. อำเภอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประกาศให้ประชาชนในท้องถิ่นทราบ

  6. หลักธรรมาภิบาลที่นำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์และวางแผนงาน/โครงการที่ต้องเสนอของบประมาณ 8 ประการ หลักความรับผิดรับชอบ (Public Accountability)หมายถึงความตระหนักในสิทธิหน้าที่และความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม หลักการสนองตอบรับ (Responsiveness)หมายถึงการมีเป้าหมาย และวิธีการดำเนินงานตอบสนองตรงกับความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมายและประชาชน หลักการมีส่วนร่วม (Public Participation)หมายถึงการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ร่วมคิดร่วมทำร่วมรับผิดชอบทั้งผู้ที่มีส่วนได้เสียและผู้ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ

  7. หลักความเสมอภาค (Equity) หมายถึง การให้ความยุติธรรม เสมอภาคของสังคม ไม่เลือกปฏิบัติ การกระจายผลประโยชน์ให้ทั่วถึงในทุกภาคส่วนที่เป็นเป้าหมาย หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง การสร้างความไว้วางใจ ข้อมูลตัดสินใจครบถ้วน ไม่ปิดบัง หลักคุณธรรม (Virtue) หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม สุจริตในหน้าที่ หลักนิติธรรม (Rules of Law) หมายถึง การนำยุทธศาสตร์ นโยบายไปปฏิบัติ บังคับใช้อย่างยุติธรรม เสมอภาค หลักความคุ้มค่า (Values for Money) หมายถึงการใช้ทรัพยากร กระบวนการ ให้ผลผลิต ผลลัพธ์ได้ประโยชน์สูงสูด มีคุณภาพ คุ้มค่ากับการใช้เงินลงทุน

  8. ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแผนฯ 11 และแผนปฏิบัติการระดับต่างๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนฯ 11) นโยบายรัฐบาล กรอบทิศทางการบริหารราชการแผ่นดิน จุดร่วม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรอบทิศทาง หลักการของนโยบายรัฐบาล วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์หลัก เป้าประสงค์ “สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน” ยุทธศาสตร์การพัฒนา (วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการพัฒนา) รายละเอียดแนวทางมาตรการ และแผนงานสำคัญๆ ความสอดคล้อง ตอบสนองวัตถุประสงค์ เป้าหมาย มิติ ระเบียบวาระพิเศษ วาระแห่งชาติในเรื่องสำคัญ ๆ มิติพื้นที่ แผนบริหารราชการแผ่นดิน • ภาค • จังหวัด แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี • กลุ่มจังหวัด บูรณาการ • ท้องถิ่น แผนปฏิบัติราชการประจำปี • ชุมชน

  9. บทบาทภาค เหนือ • เกษตรอินทรีย์ • แหล่งพลังงานทดแทน • ประตูสู่อินโดจีน • ฐานทรัพยากรธรรมชาติ • วัฒนธรรมล้านนา • เชื่อมโยงอนุภูมิภาคฯ อีสาน กลาง • ฐานอุตสาหกรรมหลัก • แหล่งผลิตอาหาร • พัฒนาคน • แหล่งอุตสาหกรรมใหม่ • ความมั่นคงจังหวัดชายแดน ใต้

  10. เงื่อนไขใหม่ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 รัฐธรรมนูญ ปี 2550 พรบ.ระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2550 พรฎ.ว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 • แนวนโยบายการบริหารราชการ • แผ่นดิน • มาตรา 78 • จัดระบบบริหารราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น • สนับสนุนจังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด • กระจายอำนาจให้ อปท.พึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่น • ม. 52 : กำหนดให้จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดยื่นคำขอจัดตั้งงบประมาณได้ และให้ถือว่าจังหวัด/ กลุ่ม จ. เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ • ม. 53/1 : กำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และแผนกลุ่มจังหวัด • กำหนดให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดจัดทำแผนพัฒนาและยื่นคำของบประมาณโดยตรง • เชื่อมโยงและบูรณาการแผนพัฒนา และงบประมาณในระดับจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของ • ประชาชน • มาตรา 87 • ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นมากขึ้น

  11. กลุ่มจังหวัด 18กลุ่ม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2551 กลุ่มจังหวัด 15. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน 16. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน 10. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย เลย 11. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 มุกดาหารสกลนคร นครพนม 17 . กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 พิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ 18 . กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 นครสวรรค์ อุทัยธานี กำแพงเพชร พิจิตร 12. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ 13. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อุบลราชธานีอำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร 14. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ 1. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สระบุรี 2. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 ลพบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อ่างทอง 3. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ นครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี 4. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม กาญจนบุรี 5. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร 9. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 6. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สุราษฎร์ธานี ชุมพรนครศรีธรรมราช พัทลุง 7. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง 8. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ปัตตานี ยะลา นราธิวาสสงขลา สตูล

  12. แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด กรอบแนวคิด/หลักการ แผนพัฒนาจังหวัด เป็นแผนที่มีการกำหนดอนาคตและทิศทางของตำแหน่งการพัฒนาของจังหวัด มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ ได้แก่ นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค และแผนอื่นๆ รวมทั้งศักยภาพและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ มองการพัฒนาจังหวัดแบบองค์รวมที่มีความครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความมั่นคง

  13. กรอบแนวคิด (ต่อ) แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นแผนที่มีการกำหนดอนาคตและทิศทางของตำแหน่งการพัฒนาของกลุ่มจังหวัด มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ ได้แก่ นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค และแผนอื่นๆ รวมทั้งศักยภาพและความต้องการของประชาชนในพื้นที่และความเชื่อมโยงของจังหวัดภายในกลุ่มจังหวัด มุ่งเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มจังหวัด และนำไปสู่การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชนและสร้างรายได้ของกลุ่มจังหวัดยึดหลัก Project Base

  14. วิธีการจัดทำ ยึดตามมาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 แห่ง พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดย พรบ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติและความต้องการของประชาชน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันระหว่างหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหาร อปท. ทั้งหมด ผู้แทนภาคประชาสังคมและภาคธุรกิจเอกชน

  15. คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดคณะกรรมการบริหารงานจังหวัด แบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัด แบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี จังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปี กลุ่มจังหวัด ขั้นตอนการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายการบริหารงาน จังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.น.จ.) เวทีรับฟัง ความเห็น จังหวัด

  16. กลไกการจัดทำแผน/โครงการ และเสนองบประมาณจังหวัดฯ ครม. คณะอนุกรรมการด้านแผน และด้านงบประมาณ 5 คณะ มี รอง นรม. และ รมต. ประจำ นร. เป็นประธาน • ระดับชาติ รัฐสภา ก.น.จ. เสนอแผนพัฒนาฯ แผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ และคำขอตั้งงบประมาณฯ นรม. เป็นประธาน จัดทำร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ ปี 2554เสนอสภาฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติฯ คำขอตั้ง งบประมาณฯ สงป. พิจารณาคำขอ และจัดสรรงบประมาณ • ระดับพื้นที่ จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ก.บ.ก. จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ก.บ.จ. จัดทำคำของบประมาณจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 16

  17. ก.น.จ. คณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ก.บ.ก. ก.บ.จ. กลไกการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ คณะกรรมการนโยบายการบริหารงานจังหวัดและ กลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ ระดับชาติ นายกรัฐมนตรี ระดับกลุ่มจังหวัด หัวหน้ากลุ่มจังหวัด ระดับจังหวัด คณะกรรมการ บริหารงานจังหวัด แบบบูรณาการ ผู้ว่าราชการจังหวัด 17

  18. ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด สถานะ/สภาพ จังหวัด / กลุ่มจังหวัด SWOT ศักยภาพของพื้นที่และความต้องการ บริบทการเปลี่ยนแปลง วิเคราะห์สภาวะแวดล้อม นโยบายรัฐบาล/แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11และแผนอื่นๆ ประเด็น + ตำแหน่งการพัฒนา (Strategic Position) ยุทธศาสตร์ของกระทรวงที่ลงพื้นที่(FunctionBased) ยุทธศาสตร์ภาค (Area Based) ประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด/กลุ่มจังหวัด แผนงาน/โครงการ (Flagship Project)

  19. 1 สภาพทั่วไปของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด : กายภาพการปกครองและประชากร โครงสร้างพื้นฐาน สถานการณ์และแนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2 การวิเคราะห์บริบทการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านบวกและลบ และวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม (SWOT Analysis) : ประเมินจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภัยคุกคามแล้วกำหนดตำแหน่งการพัฒนา (Strategic Position) 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด : วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์รวม ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4 แนวคิดแผนงาน/โครงการทีมีลำดับความสำคัญ : กำหนดแผนงานโครงการสำคัญที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์แนวทางและมาตรการพัฒนา 5 เค้าโครงของแผนพัฒนาจังหวัดกลุ่ม/จังหวัด(2553 – 2556) ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

  20. หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  20

  21. หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556  21 21

  22. หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ) 22 22

  23. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 คงเดิม และเพิ่มเติม เฉพาะข้อ 1 ขอบเขตของแผนพัฒนาจังหวัดและ แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด หลักการ • 1. กรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด • และกลุ่มจังหวัด • นโยบายของรัฐบาล แผนการบริหารราชการแผ่นดิน • แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค • ยุทธศาสตร์รายสาขา • ผลการศึกษาของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง • แผนงานด้านความมั่นคง 2. มุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกัน ทุกภาคส่วนโดยคำนึงถึงความพร้อมของ ทุกภาคส่วน 3. รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่น ในจังหวัด 4. ให้ความสำคัญกับแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มากขึ้น 23

  24. หลักเกณฑ์และแนวทางในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด คงเดิม  แนวทางการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ความสอดคล้องเชื่อมโยง • กับกรอบหลักในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด อาทิ นโยบายรัฐบาล แผนชาติ • กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ฯลฯ • กับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ คุณภาพของแผน • ผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย • มีความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องเชื่อมโยงตั้งแต่วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ • ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ และแผนงาน/โครงการ (Logical Framework) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ก. มีการกำหนดประเด็นปัญหาและโอกาสการพัฒนาชัดเจน ทั้งในเชิงของขนาด และพื้นที่ พร้อมทั้งจัดลำดับ ความสำคัญของปัญหาและโอกาสการพัฒนานั้นๆ ข. มีวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในเชิงปริมาณและคุณภาพที่ชัดเจน ค. มีประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา และการแก้ไขปัญหาที่ตอบสนองกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ของแผน โดยในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์จะต้องมีการหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อยืนยันประเด็นยุทธศาสตร์ นั้น ๆ และเป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน ง. มีการจัดลำดับความสำคัญของประเด็นยุทธศาสตร์ จ. มีแผนงาน/โครงการ ตอบสนองกับแนวทางพัฒนานั้นๆ และมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ 24

  25. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ) คงเดิม แนวทางการจัดทำโครงการที่จะนำมาจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 2 3 4 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ 1 ความจำเป็น ของโครงการ ความคุ้มค่า • ผลลัพธ์หรือ • ประโยชน์ของ • โครงการที่ • คาดว่าจะ • ได้รับ • ช่วยพัฒนาหรือ • แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น • หรือหากไม่ดำเนินการ • จะเกิดความเสียหาย • เพิ่มขีดความสามารถ • ในการแข่งขัน และ • สร้างรายได้ให้ • จังหวัด/กลุ่มจังหวัด เป็นโครงการที่ต้อง สอดคล้องและ เชื่อมโยงกับประเด็น ยุทธศาสตร์ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด • ด้านเทคนิค • (วิธีการหรือรูปแบบดำเนินการ) • ด้านกายภาพ (ความพร้อมของพื้นที่ บุคลากร การบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ (วงเงิน กับประโยชน์ที่ได้ • ด้านระยะเวลา (เสร็จภายในปีงบประมาณ ,มีการวิเคราะห์ผลกระทบทางลบ) 25

  26. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ) คงเดิม โดยปรับข้อ 1 และ 4 ให้สมบูรณ์ขึ้น ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณจังหวัด โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด และนำไปสู่การแก้ปัญหาของจังหวัด และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เช่น 1. การดำเนินเศรษฐกิจชุมชนหรือการพัฒนาพื้นที่ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ โครงการที่สนับสนุนและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพในการประกอบอาชีพ การเพิ่มรายได้และสร้างโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน การพัฒนาสินค้า OTOP 2. การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ 3. การฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด 4. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเช่น การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม หรือปัญหาภัยแล้ง การป้องกันภัยที่เกิดจากไฟป่า ดินถล่ม สึนามิ แผ่นดินไหว ฯลฯ เป็นต้น 5. การยกระดับคุณภาพชีวิต 6. มิติความมั่นคง 26

  27. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ) คงเดิม ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณกลุ่มจังหวัด โครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของกลุ่มจังหวัด ต้องเป็นโครงการที่สอดคล้องและเชื่อมโยงกับประเด็นยุทธศาสตร์ของกลุ่มจังหวัด และเป็นโครงการที่แสดงถึงการบูรณาการและได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มจังหวัด เช่น 1. การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) อาทิ การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า OTOP 2. การพัฒนาคุณภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตร 3. การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/พื้นที่พิเศษ อาทิ กลุ่มการค้าชายแดน กลุ่มธุรกิจและสินค้าฮาลาล 4. การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนเพื่อเพิ่มการจ้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชน 5. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 27

  28. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ต่อ) คงเดิม โดยปรับข้อ 6 ให้สมบูรณ์ขึ้น ลักษณะโครงการที่ไม่ควรเสนอขอเป็นคำของบประมาณจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 1. พื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ หรือที่สาธารณะ เว้นแต่ได้รับอนุญาตหรือเห็นชอบจากหน่วยงาน ที่รับผิดชอบ 2. ไม่ควรก่อสร้างถนนที่เป็นการก่อสร้างเส้นทางใหม่ เว้นแต่เป็นการสร้างทาง ที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์ ของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัดบรรลุผลได้อย่างแท้จริง 3. เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง ยกเว้นในกรณีของครุภัณฑ์ที่จัดซื้อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายใต้โครงการที่สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด 4. มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน (เว้นแต่ฝึกอบรมด้านอาชีพ และวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ หรือการทำแผนแม่บทซึ่ง มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้จากสถาบันการศึกษา) 5. เป็นโครงการในลักษณะของกิจกรรมย่อย (ควรมีการบูรณาการภารกิจหรือกิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเป็นโครงการ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการอย่างมีประสิทธิผล) 6. เป็นโครงการบริการสาธารณะ หรือบริการประชาชนซึ่งเป็นภารกิจประจำของ หน่วยงานราชการต่างๆ หรือ อปท. อยู่แล้ว เว้นแต่หน่วยงานนั้นไม่มีแผนดำเนินการและเป็นโครงการที่จะทำให้ประเด็นยุทธศาสตร์บรรลุผลอย่างแท้จริง 28

  29. หลักเกณฑ์และแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556(ต่อ) เพิ่มใหม่ ตามข้อเสนอ ของ สงป. ข้อมูลรายละเอียดโครงการในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

  30. ขั้นตอนในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด และการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 (ก.ย. 54) (พ.ค. – 18 ส.ค. 54) ขั้นตอนที่ 2 ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนที่ 3 3.1 อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ พิจารณา กลั่นกรองแผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด และให้ข้อสังเกต เพื่อนำไปจัดทำรายละเอียดของ แผนปฏิบัติราชการประจำปีของ จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ต่อไป ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. จัดส่งให้ ก.น.จ. ดังนี้ 1) แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่ผ่านการทบทวน 2) รายละเอียดโครงการตามแผน พัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดที่จะ ขอรับการสนับสนุนจากส่วนราชการ ในปี งปม. พ.ศ. 2556 (จัดส่ง ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องด้วย) จังหวัด/กลุ่มจังหวัดทบทวนสถานการณ์แผนพัฒนาจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด 3.2จัดประชุมร่วมระหว่างจังหวัด/ กลุ่มจังหวัด (Area) กับส่วนราชการ (Function) เพื่อบูรณาการโครงการ ที่จังหวัด กลุ่มจังหวัดขอรับการ สนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการ ประจำปี งปม. พ.ศ. 2556 (ต.ค. – 17 พ.ย. 54) (21 พ.ย. – 30 ธ.ค. 54) (ม.ค. 55) ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนที่ 4 ขั้นตอนที่ 6 ก.บ.จ. และ ก.บ.ก. จัดทำ รายละเอียดแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ประจำปี งปม. พ.ศ. 2556 ตาม ข้อสังเกตของ อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ และส่งให้ ก.น.จ. พิจารณา ก.น.จ./ครม. อนุมัติแผน และ ก.น.จ. จัดส่งแผนฯ ให้ สงป. โดยถือเป็น คำขอ งปม.จังหวัด/ กลุ่มจังหวัด อ.ก.น.จ. ด้านแผนฯ พิจารณา กลั่นกรองแผนปฏิบัติราชการประจำปีฯ ประจำปี งปม. พ.ศ. 2556 โดยให้จังหวัด/ กลุ่มจังหวัดเข้าร่วมชี้แจง

  31. เปรียบเทียบระยะเวลาการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปีเปรียบเทียบระยะเวลาการจัดทำแผนพัฒนาและแผนปฏิบัติราชการประจำปี ของจังหวัด/กลุ่มจังหวัดในแต่ละปีงบประมาณ

  32. Vision วิสัยทัศน์ อยากเป็นอะไร Strategic Issue ประเด็นยุทธศาสตร์ เรื่องใหญ่ ๆ ที่ต้องทำ Goal เป้าประสงค์ ต้องทำถึงไหน ตัวชี้วัด/เป้าหมาย KPI/ Target ทำถึงไหน/ทำเท่าไร Strategy กลยุทธ์ ทำอย่างไร Initiative โครงการริเริ่ม มีโครงการใหม่ๆ อะไรบ้าง การกำหนดกลยุทธ์/ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategy Formulation)

  33. คำถามในการแปลงวิสัยทัศน์สู่ภาคปฏิบัติ (Strategy Formulation) วัดได้อย่างไรว่า Goal บรรลุแล้ว ต้องทำถึงไหนที่จะทำให้ ประเด็นยุทธศาสตร์ บรรลุผล ทำอะไรบ้างเพื่อให้ ตัวชี้วัดบรรลุผล ต้องทำอะไรใหญ่ ๆ เพื่อให้วิสัยทัศน์บรรลุผล มีโครงการอะไรใหม่ ๆ เพื่อให้ยุทธศาสตร์บรรลุผล อยากเป็นอะไร Vision Strategic Issue Goal KPI/Target Strategy Initiative

  34. การแปลงยุทธศาสตร์ของจังหวัดไปสู่การปฏิบัติการแปลงยุทธศาสตร์ของจังหวัดไปสู่การปฏิบัติ พิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการแปลงยุทธศาสตร์สู่การ ปฏิบัติ อาทิ บุคลากร ระบบ ข้อมูล วัฒนธรรม โครงการ การแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์และโครงการ การทำให้ยุทธศาสตร์สัมฤทธิผลผ่านทางโครงการต่างๆ การจัดทำข้อเสนอโครงการ เพื่อให้การคิดโครงการต่างๆ เป็นไปอย่างละเอียด ถี่ถ้วน รอบคอบ การคัดเลือกโครงการ (Proj. Screening) เพื่อคัดเลือกโครงการที่ส่งผลกระทบต่อยุทธศาสตร์โดยตรง การติดตามโครงการ (Proj. Monitoring) เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินตามโครงการ เพื่อให้สามารถปรับตัวและแก้ไขปัญหาได้ทันต่อเหตุการณ์ การประเมินผลโครงการ (Proj. Evaluation) เพื่อประเมินว่าโครงการนำไปสู่ Output / Outcome ที่ต้องการและบรรลุผลตามยุทธศาสตร์หรือไม่ รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สิงหาคม 2548

  35. แนวทางการจัดทำโครงการ แนวทางการจัดทำโครงการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของจังหวัด

  36. แนวทางจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแนวทางจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด แนวทางการจัดทำโครงการ ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด คุณภาพของแผน ความสอดคล้องเชื่อมโยง • ผ่านกระบวนการเห็นชอบร่วมกันของทุกฝ่าย • มึความชัดเจน เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้อง • เชื่อมโยงตั้งแต่ • กับกรอบหลักในการจัดทำ • แผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • อาทิ นโยบายรัฐบาล แผนชาติ • กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค ลฯ • กับศักยภาพ โอกาส สภาพปัญหา • และความต้องการของประชาชน • ในพื้นที่ วิสัยทัศน์  ประเด็นยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์  ตัวชี้วัด  ค่าเป้าหมาย  กลยุทธ์  แผนงาน/โครงการ

  37. แนวทางจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแนวทางจัดทำแผนและโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • การกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างโอกาส เพิ่มรายได้ • ลดภาระค่าครองชีพ • ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ เกษตรทฤษฎีใหม่ • การพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ • (Creative Economy)อาทิ การใช้ภูมิปัญญา • ท้องถิ่นมาสร้างมูลค่าเพิ่ม การพัฒนาและ • ฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม • การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อ • สร้างรายได้ • การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เฉพาะ/ • พื้นที่พิเศษ อาทิ การค้าชายแดน อาหารฮาลาล • การพัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ • เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของแผน และนโยบายของรัฐบาล ที่เน้นหนักเกี่ยวกับ

  38. หลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดหลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำโครงการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ลักษณะโครงการที่จะจัดทำเป็นคำของบประมาณของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด • ช่วยพัฒนาหรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น • หากไม่ดำเนินการจะเกิดความเสียหาย • เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ • การกระตุ้นให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน • และสร้างรายได้ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัด ความจำเป็นของโครงการ • ด้านเทคนิค(วิธีการหรือรูปแบบที่ใช้ในการดำเนินการ) • ด้านกายภาพ(ความพร้อมของพื้นที่ บุคลากร • การบริหารความเสี่ยง การบริหารจัดการ) • ด้านงบประมาณ(ความสมเหตุสมผลของวงเงิน • กับประโยชน์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ) • ด้านระยะเวลา(เสร็จภายในปีงบประมาณ ,มีการวิเคราะห์ • ผลกระทบทางลบ) ความเหมาะสมและ ความเป็นไปได้ ของโครงการ • ผลลัพธ์หรือประโยชน์ของโครงการ • ที่คาดว่าจะได้รับ ความคุ้มค่า

  39. ข้อเน้นย้ำในการบูรณาการการจัดทำแผนข้อเน้นย้ำในการบูรณาการการจัดทำแผน • ควรมีการบูรณาการเชื่อมโยงแผนพัฒนาจังหวัดกับแผนพัฒนาอำเภอ แผนชุมชน/อปท. และภาคประชาสังคม รวมถึงแผนของกระทรวง ทบวง กรม (Function) • กรณีที่ส่วนราชการมีความจำเป็นที่จะต้องเสนอของบของ Function ในงบของพื้นที่อาจจะแยกสัดส่วนงบประมาณเสนอเข้าช่องงบประมาณที่สอดคล้องกับเป้าหมายประเด็นยุทธศาสตร์แต่ละงบ • การจัดทำโครงการงบประมาณควรจะยึดข้อมูลจากแผนชุมชน แผนพัฒนาอำเภอ โดยมีการประสานแผนกับ อปท. ในพื้นที่ เพื่อมิให้มีการซ้ำซ้อนในการเสนอของบประมาณและการดำเนินการโครงการ • การบูรณาการแผนของ อปท. และภาคเอกชน เข้ามาในแผนปฏิบัติราชการ 2556 ขอให้ อบจ. พิจารณากรอบ แนวทาง การเสนอโครงการ/งบประมาณ ให้สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัด ซึ่งกำหนดเงื่อนไขว่า โครงการที่จัดซื้อวัสดุ และอบรม ไม่สามารถเสนอขอในงบของแผนปฏิบัติราชการจังหวัดได้ ทั้งนี้ กนจ. มีแนวทางที่ต้องการให้จังหวัด มีการบูรณาการแผนของท้องถิ่น และภาคเอกชน เข้ามาอยู่ในภาพรวมของแผนปฏิบัติราชการจังหวัด ปี 2556 ให้ชัดเจนด้วย

More Related