560 likes | 1.32k Views
ลักษณะภูมิประเทศของโลก. รายวิชา ส 32105 สังคมศึกษา 3 มัธยมศึกษาปีที่ 5. กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. ผู้สอน นางรวีวรรณ กาปา. สารบัญ. คำแนะนำในการศึกษา. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้. เนื้อหาบทเรียน. แบบทดสอบหลังเรียน.
E N D
ลักษณะภูมิประเทศของโลกลักษณะภูมิประเทศของโลก รายวิชา ส 32105 สังคมศึกษา 3 มัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ผู้สอน นางรวีวรรณ กาปา
สารบัญ คำแนะนำในการศึกษา มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาบทเรียน แบบทดสอบหลังเรียน
คำแนะนำในการศึกษา วิธีการใช้ปุ่มต่างๆ ดังนี้ กลับเมนูหลัก ทบทวน ออกจากระบบ หน้าถัดไป
มาตรฐานการเรียนรู้ • มาตรฐาน ส 5.1 เข้าใจลักษณะของโลกทางกายภาพ และความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกัน ในระบบของธรรมชาติ ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการค้นหา วิเคราะห์ สรุป และใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด • ม.4-6/3วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทยและทวีปต่าง ๆ
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดประสงค์การเรียนรู้ • 1. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกได้อย่างถูกต้อง • 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิประเทศกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อมได้อย่างถูกต้อง
เนื้อหาบทเรียน 1. ภูมิประเทศของโลก 2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ • 3. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิประเทศกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อม
ภูมิประเทศของโลก เปลือกโลกมีลักษณะรูปแบบต่างๆ กันเช่น
บางบริเวณมีลักษณะไม่ราบเรียบ สูงๆ ต่ำๆ บางบริเวณเป็นที่ราบลุ่มที่มีน้ำท่วมถึง บางบริเวณเป็นที่สูงเป็นกรวดเป็นทรายกว้างขวาง บางบริเวณเป็นภูเขาสูงสลับกับหุบเขาลึก ซึ่งเราสามารถแบ่งลักษณะภูมิประเทศ ตามสภาพสูงต่ำของเปลือกโลกได้3รูปแบบได้แก่
1. ที่ราบ (Plain) 1. ที่ราบ (plain)หมายถึง พื้นผิวโลกที่เป็นที่ราบเรียบหรือขรุขระก็ได้ โดยมีความต่างระดับในท้องถิ่น ( local relief) ไม่เกิน 150 เมตร และโดยปกติจะอยู่สูงกว่าระดับทะเลไม่เกิน100เมตร โครงสร้างของหินที่รองรับจะวางตัวอยู่ในแนวราบหรือ เกือบราบลักษณะที่ราบจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.1ที่ราบแม่น้ำ (river plains) หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (alluvial plains) ส่งผลให้ประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปาก เพราะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วยเช่น
- ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains) เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำลักษณะของพื้นที่ที่ตื้นเขินจะคล้ายสามเหลี่ยม
- ลานตะพักลำน้ำ (river terrace) เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลกและนำตะกอนมาทับถมไว้ เมื่อแม่น้ำกัดเซาะจนพื้นผิวโลกมีระดับลึกลงไป จะกลายเป็นที่ราบลานตะพักลำน้ำไว้
- ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains) เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำจะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน ซึ่งที่ราบแบบนี้ จะเป็นลักษณะภูมิประเทศที่เกิดขึ้นในระยะวัยหนุ่มและวัยชรา ของวิวัฒนาการของแม่น้ำ
1.2ที่ราบชายฝั่ง (coastal plains) เป็นที่ราบที่เกิดบริเวณชายฝั่งทะเลโดยคลื่นและกระแสลมจะพัดพาเอาโคลนทรายและตะกอนต่างๆ มาทับถมไว้ที่ชายฝั่ง
1.3ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา1.3ที่ราบดินตะกอนเชิงเขา (piedmont alluvial plains) เป็นที่ราบที่เกิดจากน้ำและลมพัดพาดินตะกอนจากภูเขามาทับถมไว้บริเวณเชิงเขาซึ่งจะกระจายแผ่ออกเป็นลักษณะดินตะกอนรูปพัด
1.4ที่ราบธารน้ำแข็ง พบในพื้นที่ที่เป็นเขตหนาวและเขตอบอุ่น เกิดจากธารน้ำแข็งจะมีร่องรอยของการขูดครูด ทำให้เกิดทะเลสาบหรือแอ่งน้ำกระจายอยู่ทั่วไป เช่นรัฐมินนิโซตาในสหรัฐอเมริกา มีทะเลสาบเล็กๆ เป็นจำนวนมาก
1.5ที่ราบภายในทวีป เป็นที่ราบที่เกิดขึ้นจากการยกตัวของผืนทวีปหรือเปลือกโลก ทำให้ท้องทะเลบางแห่งภายในผืนทวีปตื้นเขิน กลายเป็นที่ราบซึ่งจะมีพื้นที่กว้างขวางมาก ได้แก่เกรตเพลนส์ (great plains) ในทวีปอเมริกาเหนือ
2. ที่ราบสูง (plateau) หมายถึงบริเวณพื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าบริเวณที่อยู่โดยรอบ โดยมีขอบชันหรือผาชัน (escarpment) หรือมีทิวเขากั้นเป็นขอบอยู่ด้านใดด้านหนึ่ง เช่น ภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา ส่งผลทำให้ประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบาง เพราะไม่เหมาะสมต่อการสร้างที่อยู่อ่าศัย
ลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี3รูปแบบลักษณะภูมิประเทศที่เป็นที่ราบสูงถ้าแบ่งตามเกณฑ์ลักษณะที่ตั้งมี3รูปแบบ ที่ราบสูงเชิงเขา ที่ราบสูงระหว่างภูเขา ที่ราบสูงทวีป
3. ภูเขาและเนินเขา (mountains and hills) หมายถึงบริเวณพื้นที่ที่มีความสูงจากบริเวณรอบๆ ทั้งภูเขาและเนินเขา มีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไปเหมือนกันแตกต่างอยู่ที่ความต่างระดับและความลาดชัน (slope)
ภูเขาจะมีความต่างระดับซึ่งเป็นที่สูงเกิน500เมตร ส่วนเนินเขาเป็นพื้นที่ที่มีความสูงน้อย กว่า (ประมาณ150-500 เมตร)ความไม่ราบเรียบของภูเขาและเนินเขาขึ้นอยู่กับการวางตัวของหิน ทำให้แบ่งลักษณะภูเขาและเนินเขาออกเป็น4รูปแบบคือ
3.1ภูเขาโก่ง (folded Mountains)หรือ fold ภูเขาประเภทนี้มีมากที่สุดและเป็นภูเขาที่สำคัญ เกิดจากการโก่งตัวของเปลือกโลกเนื่องจากได้รับแรงกดและแรงบีบ
3.2ภูเขาบล็อก (fault-block mountains) เกิดจากการเลื่อนตัวของเปลือกโลก ในลักษณะของรอยเลื่อนหรือรอยเหลื่อม (faulting) คือ เกิดแนวแตกของเปลือกโลกซีกหนึ่งจมยุบลง และดันให้อีกซีกหนึ่งยกตัวขึ้นสูงเป็นภูเขา
3.3ภูเขาโดม (dome mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) หรือหินหนืด (magma) ภายในโลก พยายามแทรกเปลือกโลกแต่ไม่สามารถดันออกมาภายนอกจึงแข็งตัวภายใต้เปลือกโลก
3.4ภูเขาไฟ (Volcanic Mountains) เกิดจากการดันตัวของหินละลาย (lava) และหินหนืด (magma)ที่ขับออกมาตามรอยแตกของเปลือกโลกคือออกมาภายนอกโลกได้
2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ 1. พลังงานภายในเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกผันแปร บีบอัดให้ยกตัวสูงขึ้น กลายเป็นภูเขาที่ราบสูง หรือทรุดต่ำลง เช่น เหว แอ่งที่ราบ
2. ตัวกระทำทางธรรมชาติภายนอกเปลือกโลก ทำให้เปลือกโลกเกิดการสึกกร่อนพังทลายหรือ ทับถม ได้แก่ ลม กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง
3. การกระทำของมนุษย์ เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อการชลประทาน การตัดถนนเข้าไปในป่า ทำให้ลักษณะภูมิประเทศของพื้นที่นั้นๆเปลี่ยนไปจากเดิม
3. ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะภูมิประเทศ • กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์และสภาพแวดล้อม ลักษณะภูมิประเทศแต่ละแบบต่างมีความสำคัญต่อชีวิต ความเป็นอยู่ของประชากรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้น ก่อให้เกิดอาชีพสำคัญต่างๆกัน
เช่นบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบริมฝั่งแม่น้ำเช่นบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ มักมีประชากรอาศัย อยู่หนาแน่น มีอาชีพทำการประมง
แบบทดสอบ หลังเรียน แบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศ
คำชี้แจง เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว 1. ข้อใดคือลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอฟริกา ก. แอ่งที่ราบ ข. ที่ราบน้ำท่วมถึง ค. ที่ราบสูง ง. ที่ราบดินลมหอบ
2. สาเหตุข้อใดสำคัญที่สุด ที่ทำให้มีประชากรอาศัยอยู่อย่างเบาบางบริเวณที่ราบสูง ก. ไม่มีน้ำใช้ในการบริโภคได้เพียงพอ ข. ไม่สะดวกในการคมนาคมขนส่ง ค. ไม่เหมาะสมต่อการสร้างที่อยู่อาศัย ง. ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ที่จะเหมาะแก่ การเพาะปลูกข้าว
3. การประกอบอาชีพของมนุษย์สัมพันธ์กับสิ่งใดมากที่สุด ก. การตั้งถิ่นฐาน ข. ลักษณะภูมิประเทศ-ภูมิอากาศ ค. พืชพรรณธรรมชาติ ง.แหล่งน้ำจากธรรมชาติ
4. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาของประเทศที่ตั้งอยู่ในลักษณะภูมิประเทศที่ไม่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ก. อินโดนีเซีย เน้นประกอบอาชีพอุตสาหกรรม ข. เกาหลีใต้ เน้นอาชีพค้าขายและบริการ ค. ญี่ปุ่น เน้นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ง. เยอรมันเน้นการผลิตอาหารทะเล
5. ภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ทำให้มีป่าไม้ชนิดใด • ก. ป่าเบญจพรรณหรือป่าโปร่ง • ข. ป่าดงดิบหรือป่าดิบชื้น • ค. ป่าสนหรือสนภูเขา • ง. ป่าชานเลนหรือป่าโกงกาง
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศ ทำคะแนนได้เท่าไหร่ อย่าลืมบันทึกด้วยนะ ค. ค. ข. ค. ข.