1 / 28

ศธ 610 จุลเศรษฐศาสตร์(3 หน่วยกิต)

ศธ 610 จุลเศรษฐศาสตร์(3 หน่วยกิต). ผู้สอน: ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ ห้องทำงาน: 412 /อาคาร 6 โทรศัพท์ : 02-727-3187 เวลาปรึกษา : ตามเวลาที่ประกาศหรือโดยการนัดหมาย email: thiraphongv@yahoo.com. Course Outline. Download from http://www.nida.ac.th Click คณะ Click คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ

wan
Download Presentation

ศธ 610 จุลเศรษฐศาสตร์(3 หน่วยกิต)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศธ 610 จุลเศรษฐศาสตร์(3 หน่วยกิต) • ผู้สอน: ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐ • ห้องทำงาน: 412/อาคาร 6 • โทรศัพท์: 02-727-3187 • เวลาปรึกษา: ตามเวลาที่ประกาศหรือโดยการนัดหมาย • email: thiraphongv@yahoo.com

  2. Course Outline • Download from • http://www.nida.ac.th • Click คณะ • Click คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ • Clickคณาจารย์/เจ้าหน้าที่ • Click อาจารย์ประจำ • Click Thiraphong Vikitset • Click Course Outline

  3. วัตถุประสงค์ของวิชา ศธ. 610 • ให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีจุลเศรษฐศาสตร์และประยุกต์ใช้ได้ • ต่อยอดวิชาได้ด้วยตนเอง • เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อวิชาอื่น

  4. การเตรียมตัวและการมีส่วนร่วมของนักศึกษาการเตรียมตัวและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา • อ่านหนังสือก่อนเข้าห้องเรียน • ทำแบบฝึกหัดตามที่ได้รับมอบหมาย • ควรทำก่อนที่จะดูการเฉลย • ดูจาก Elearning ของ NIDA ที่ http://lms.nida.ac.th/moodle/ • ถามคำถามเมื่อไม่เข้าใจ • มีส่วนร่วมในการอภิปราย • นักศึกษาสามารถ down load power point ที่ใช้ในการบรรยายได้ในลักษณะเดียวกับ course outline

  5. แนวทางในการบรรยาย • เน้นความเข้าใจในตรรก(logic)ของเศรษฐศาสตร์ • สื่อในการทำความเข้าใจ • กราฟ • คณิตศาสตร์ • คณิตศาสตร์เป็นเป็นหน่วยสนับสนุน ตรรกเป็นตัวนำ • การใช้คณิตศาสตร์อยู่ในระดับพีชคณิตและแคลคูลัสเบื้องต้น • บรรยายเฉพาะหัวข้อหลัก • นักศึกษาต้องเก็บรายละเอียดจากการอ่านหนังสือ • แบบฝึกหัดในหนังสือ • เพื่อฝึกทักษะในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์

  6. แนวทางในการบรรยาย(ต่อ)แนวทางในการบรรยาย(ต่อ) • หนังสือหลักในวิชานี้ • ธีระพงษ์ วิกิตเศรษฐจุลเศรษฐศาสตร์: ทฤษฎีและการประยุกต์ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3โครงการส่งเสริมเอกสารวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ กรุงเทพ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2549 • Pindyck, Robert S. and Rubinfeld, Microeconomics, Sixth Edition, New Jersey: Pearson Prentice Hall, 2005

  7. การทดสอบ • สอบกลางภาค • สอบปลายภาค • การคิดน้ำหนักการสอบทั้งสองครั้งจะให้น้ำหนักกับนักศึกษาที่มีการพัฒนาในการเรียนรู้ • ถ้าผลการสอบปลายภาคดีกว่าผลการสอบกลางภาค คะแนนการสอบปลายภาคจะเป็นคะแนนสุดท้ายในการคิดเกรด • ถ้าผลสอบปลายภาคต่ำกว่าผลสอบกลางภาค การคิดเกราจะคิดจากการให้น้ำหนักคะแนนกลางภาคร้อยละ 35 และคะแนนปลายภาคร้อยละ 65 • ลักษณะข้อสอบเป็นการประยุกต์ • เน้นความเข้าใจ • ไม่ใช้การทดสอบความจำ • มีลักษณะเหมือนกับแบบฝึกหัด

  8. ตัวอย่างการตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์ตัวอย่างการตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์ • ตัดสินใจด้วยเหตุและผล • ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย • ดูประโยชน์และต้นทุนที่เกิดขึ้น (cost-benefit) • ตัวอย่าง 1: คุณไปทานอาหารแบบ buffet ที่ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่งก่อนเข้าไปในห้องอาหาร คุณต้องซื้อคูปองอาหารในราคา 150 บาท หลังจากได้ซื้อคูปองแล้วคุณจะทานอาหารประเภทใด และในปริมาณใดก็ได้ • สมมติว่า คุณทานข้าวมันไก่ไป 1 จาน สลัด 1 จาน เนื้อแกะ 1 จาน แซลมอน 1 จาน สลิ่ม 1 จาน ผลไม้ 1 จาน และน้ำมะตูม 1 แก้ว • ในกรณีเดียวกัน ก่อนที่คุณจะซื้อคูปอง ก็ได้เจอเพื่อนคนหนึ่งซึ่งได้ขอเป็นเจ้าภาพสำหรับอาหารมื้อนี้ ซึ่งคุณก็ตอบรับด้วยความยินดี • คุณยังทานอาหารเหมือนกับในกรณีแรกที่คุณเสียเงินซื้อคูปอง 150 บาทหรือไม่?

  9. การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ)การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ) • ตัวอย่าง 2: คุณไปเที่ยว New York และกำลังจะขับรถไปเที่ยวชมวิวระยะทาง 250 ไมล์ แต่ก็ได้รับข้อมูลว่าสามารถไปรถบัสได้ด้วย • ค่ารถบัสเท่ากับ $100 • ค่าใช้จ่ายในการขับรถ ซึ่งเป็นข้อมูลที่คิดค่าใช้จ่ายต่อ $/10,000 ไมล์มีดังต่อไปนี้ • ค่าประกัน $2000 • ค่าน้ำมัน $2000 • ค่าบำรุงรักษา $1000 • รวม $5000 หรือ $0.50 ต่อไมล์ ทำให้ค่าเดินทางไปชมวิวโดยรถเท่ากับ $125 • คุณมีรสนิยมที่ชอบขับรถพอๆกับการนั่งรถโดยสาร • คุณน่าจะเลือกไปโดยรถโดยสารเพราะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่า?

  10. การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ)การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ) • ในห้องน้ำภายในโรงแรม บางครั้งจะมีการเปลี่ยนแปลงจากกระดาษเช็ดมือเป็นเครื่องเป่าลมร้อน และในบางครั้งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากเครื่องเป่าลมร้อนเป็นกระดาษเช็ดมือ

  11. การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ)การตัดสินใจอย่างนักเศรษฐศาสตร์(ต่อ) • ทำไมอาหารในเครื่องบินจึงอร่อยสู้อาหารในเหลาไม่ได้?

  12. ข้อจำกัดความเศรษฐศาสตร์ของ Marshall • เศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องของมนุษย์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน(ordinary business of life) • พฤติกรรมในการใช้ทรัพยากรเพื่อความอยู่ดีกินดี(well-being)ของบุคคล และของสังคม • พฤติกรรมในการใช้ทรัพย์สิน(wealth) • เกี่ยวกับตัวของมนุษย์เอง

  13. การดำเนินชีวิตประจำวันต้องมีการตัดสินใจการดำเนินชีวิตประจำวันต้องมีการตัดสินใจ • หลักการคือการตัดสินใจที่มีเหตุและผล(rational) • เหตุและผลหมายถึงการหาประโยชน์สูงสุดของผู้ตัดสินใจ • ผู้บริโภคต้องการความพอใจสูงสุด • ผู้ผลิตต้องการกำไรสูงสุด

  14. การตัดสินใจในการดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเศรษฐกิจการตัดสินใจในการดำเนินชีวิตขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบเศรษฐกิจ • ระบบเศรษฐกิจหมายถึงระบบของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง • ปัจจุบันมีระบบเศรษฐกิจอยู่ 3 ระบบหลักๆ ด้วยกัน • ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม(socialism) • ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์(communism) • ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม(capitalism)

  15. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผู้ที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม รัฐบาล บทบาท 1. กำหนดกติกา/ระเบียบในกระบวนการซื้อขาย 2. แทรกแซงในกระบวนการซื้อขาย นโยบาย นโยบาย ค่าตอบแทนสินค้าและบริการ สินค้าและบริการ กลุ่มผู้บริโภค บทบาท 1) บริโภคสินค้าและบริการ 2) ขายหรือให้เช่าทรัพยากร กลุ่มผู้ผลิต บทบาท 1) ผลิตสินค้าและบริการ 2) ซื้อหรือเช่าทรัพยากร ทรัพยากร ค่าตอบแทนการใช้ทรัพยากร

  16. โจทย์ในการตัดสินใจของสังคมไม่ว่าจะอยู่ในระบบศศใดโจทย์ในการตัดสินใจของสังคมไม่ว่าจะอยู่ในระบบศศใด • เราต้องการบริโภคสินค้าและ/หรือบริการอะไรบ้าง? • เราจะผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการได้อย่างไร? • เมื่อได้ผลิตสินค้าแล้ว จะจัดสรรสินค้าดังกล่าวให้ใคร และในลักษณะอย่างไร?

  17. จุดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมจุดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม • อิสระในการตัดสินใจของผู้บริโภคและผู้ผลิต • การซื้อขายระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน • ใช้กลไกราคาเป็นเครื่องมือในการซื้อขาย • มีลักษณะเหมือนกับการต่อรองหรือการประมูลสินค้า

  18. บทบาทของรัฐบาลในระบบศศแบบทุนนิยมบทบาทของรัฐบาลในระบบศศแบบทุนนิยม • กำหนดกติกาในการซื้อขายสินค้า • พิจารณาจากประโยชน์ของสังคมส่วนรวม • ห้ามการสูบฝิ่น • ห้ามการลักพาตัว • แทรกแซงในการกระจายประโยชน์สู่กลุ่มต่างๆในสังคม • ควบคุมราคา • พยุงราคา • แทรกแซงเมื่อกลไกราคาไม่ทำงาน • หัวข้อของเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ

  19. แนวคิดมือที่มองไม่เห็นของอาดาม สมิธ • ถ้าสมาชิกในสังคมทุกคนมุ่งหาประโยชน์สูงสุดให้กับตัวเอง สังคมส่วนรวมจะได้ประโยชน์สูงสุดด้วย • เกิดขึ้นจากกลไกราคา • ทุกคนมีสิทธิ์ในการแสดงความต้องการ • ประโยชน์ของสังคมคือประโยชน์ของผู้ผลิตรวมกับประโยชน์ของผู้บริโภค • แนวคิดนี้ไม่ได้พิจารณาการกระจายประโยชน์ • ตัวอย่างในการเลือกต้นไม้ในหมู่บ้าน

  20. วิธีวิเคราะห์ในเศรษฐศาสตร์วิธีวิเคราะห์ในเศรษฐศาสตร์ • การสร้างตัวแบบเศรษฐศาสตร์ • เพื่อจำลองเหตุการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริง • เหมือนกับการสร้างแผนที่ • ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และเงื่อนไข

  21. ตัวอย่างการสร้างแผนที่ตัวอย่างการสร้างแผนที่ • แผนที่นิด้า-เดอะมอลล์บางกะปิ • ข้อสมมติของการเขียนแผนที่คืออะไร? เดอะมอลล์บางกะปิ ทางเบี่ยงเข้าเดอะมอลล์บนสะพานลอย 300 เมตร ทางเบี่ยงขึ้นสะพานลอย ถนนเสรีไทย นิด้า

  22. กระบวนการสร้างตัวแบบเศรษฐศาสตร์กระบวนการสร้างตัวแบบเศรษฐศาสตร์ • การสร้างตัวแบบมาจากการสังเกตโลกแห่งความเป็นจริง โลกแห่งความเป็นจริง การสร้างตัวแบบ ปรับปรุง/ขยายผล ทดสอบ ทดลอง/วิเคราะห์ สรุป

  23. ประเภทของตัวแบบ • ตัวแบบเชิงตรรก(logical model) • ไม่ใช้ข้อมูลสถิติ • ตัวแบบเชิงสถิติ(statistical model) • ใช้ข้อมูลสถิติ • Ln X = 53 – 1.5LnPx + 2.6LnPi+ 3.4LnI R2=0.99 F = 125.4 • การผสมผสานระหว่างตรรกและสถิติในตัวแบบ • เป็นวิธีการศึกษาที่มีเหตุมีผล

  24. การทดสอบตัวแบบ LOGICAL MODEL • ลักษณะของตัวแบบเชิงตรรก • เป็นจริงเสมอ • มีลักษณะเหมือนกับเรขาคณิต • เป็นจริงเสมอ • ถ้ามุม B = มุม C จะทำให้ AB = AC • การเปรียบเทียบข้อสมมติกับข้อเท็จจริง? • ไม่ได้วัดอำนาจการจำลอง • การเปรียบเทียบข้อสรุปกับข้อเท็จจริง • วัดอำนาจการจำลอง • ทดสอบด้วยกระบวนการทางสถิติ

  25. การทดสอบตัวแบบสถิติ • การทดสอบอำนาจในการจำลอง • เครื่องหมายและนัยสำคัญของสัมประสิทธิ์ • สอดคล้องกับสมมติฐานหรือไม่ • t-test • F test • ความสามารถในการอธิบาย • R2

  26. ความน่าเชื่อถือของวิชาเศรษฐศาสตร์ความน่าเชื่อถือของวิชาเศรษฐศาสตร์ • การขัดแย้งของนักเศรษฐศาสตร์ • เป็นปรากฎการณ์ในวิวัฒนาการของศาสตร์ • ตัวอย่างความขัดแย้งของนักวิทยาศาสตร์ • ลาวัวซิเยกับพรีสลีในเรื่อง oxidation • ประเภทของแนวคิด • ปฎิฐาน(positive) • วิเคราะห์สภาพที่เป็นจริง เป็นเรื่องของตรรก ไม่มีค่านิยมหรือปรัชญาแฝงอยู่ • ปทัศฐาน(normative) • วิเคราะห์สภาพที่ควรจะเป็น ขึ้นอยู่กับค่านิยมหรือปรัชญา

  27. สาเหตุของความขัดแย้ง • ความขัดแย้งเชิงปฎิฐาน • เกิดจากการพิจารณาเงื่อนไขหรือสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน • ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของค่านิยม • ความขัดแย้งเชิงปทัศฐาน • เกิดจากค่านิยมที่แตกต่างกัน • การพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงปฎิฐานจะช่วยลดความขัดแย้งในเชิง ปทัศฐานได้

  28. ตัวอย่างของข้อความที่เป็นปฎิฐานกับปทัศฐานตัวอย่างของข้อความที่เป็นปฎิฐานกับปทัศฐาน • กฎหมายที่บังคับให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนตร์สวมหมวกนิรภัย จะทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุน้อยลง • กฎหมายหมวกนิรภัยเป็นกฎหมายที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่ให้อิสระในการตัดสินใจแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ • การที่ชาวคาทอลิกไม่ทานเนื้อสัตว์บกในวันศุกร์ทำให้เนื้อสัตว์น้ำมีราคาสูงขึ้น • การห้ามไม่ให้เด็กนักเรียนเล่นเกมส์ทางอินเทอร์เน็ทหลัง 22.00 นาฬิกา จะไม่ทำให้ผลการเรียนของเขาดีขึ้น • เราไม่ควรห้ามการโฆษณาสุรา เพราะจะทำให้รายได้ประชาชาติลดลง เนื่องจากรายได้ในตลาดการโฆษณาจะลดลง • การชักชวนให้ปิดเครื่องปรับอากาศระหว่าง 12 -13 น. จะช่วยลดดุลการค้า

More Related