1 / 20

S.N.P. GROUP OF COMPANIES

S.N.P. NEWS. ข่าวสารฉบับที่ 149. S.N.P. GROUP OF COMPANIES. CLICK HERE. Free. www.snp.co.th Tel.0-2333-1199 ( 12 Line ). CEO Articles. 1. 2. Global News. 3. All About Logistics. 4. เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan. 5. SNP PHILOSOPHY. NEW PROMOTION. 6. 6.

melita
Download Presentation

S.N.P. GROUP OF COMPANIES

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. S.N.P. NEWS ข่าวสารฉบับที่ 149 S.N.P. GROUP OF COMPANIES CLICK HERE Free

  2. www.snp.co.thTel.0-2333-1199 ( 12 Line ) CEO Articles 1 2 Global News 3 All About Logistics 4 เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan 5 SNP PHILOSOPHY NEW PROMOTION 6 6 Logistics Specialist and International Freight Forwarder

  3. CEO Articles สูตรการผลิต 2 ฉบับที่แล้ว ผมได้นำเรื่องความสำคัญของ “สูตรการผลิต” มาเกริ่นนำเพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจความสำคัญเบื้องต้นก่อน ทั้งนี้เพราะผมพบผู้ประกอบการจำนวนมากที่เสียหายจากการไม่ยื่นสูตรการผลิต หรือยื่นไม่ถูกต้อง หรือได้รับผลเสียจากสูตรการผลิตที่ตนเองเป็นผู้ยื่นไปอย่างไม่เข้าใจครับ ฉบับนี้ผมอยากให้ลูกเล่นเพิ่มเติมในการบริหารจัดการกับ “สูตรการผลิต” และบัญชีวัตถุดิบคงเหลือที่ผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐต้องตรวจสอบร่วมกัน ผมได้กล่าวไว้แล้วว่า หน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องตรวจสอบและควบคุมปริมาณวัตถุดิบคงเหลือมิให้ตกอยู่ในประเทศไทยมากเกินไปกว่าปริมาณที่ผู้ประกอบการพึงมี พึงเก็บไว้เพื่อการผลิตของตน ยกเว้นกรณีที่มีการชำระภาษีไปแล้วขณะนำเข้า ดังนั้นหากตัวเลขบัญชีวัตถุดิบคงเหลือ (Inventory) ของผู้ประกอบการและหน่วยงานของรัฐไม่ตรงกันอะไรจะเกิดขึ้นครับ บางกรณีผมพบว่า ผู้ประกอบการถูกกำหนดให้มีวัตถุดิบคงเหลือไว้แต่ละช่วงเวลาบัญชี ยกตัวอย่างไม่เกิน 100 ตัน ผู้ประกอบการมีการนำเข้าวัตถุดิบ มีการส่งออกสินค้าสำเร็จรูป และมีการทำบัญชีวัตถุดิบคงเหลือไว้ทุก shipment ที่มีการนำเข้าและส่งออก สมมุติในขณะนั้นบัญชีวัตถุดิบคงเหลือของผู้ประกอบการแสดงตัวเลขวัตถุดิบคงเหลือไว้ที่ 60 ตัน ผู้ประกอบการจึงไปยื่นเรื่องขอยกเว้นภาษีวัตถุดิบนำเข้าเพิ่มเติมอีก 40 ตัน เพื่อให้เต็ม 100 ตันตามสิทธิที่ตนเองมีและเป็นการเตรียมการผลิตครั้งใหม่ แต่พอไปยื่นเรื่องปรากฎว่า หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบกลับแจ้งตัวเลขวัตถุดิบคงเหลืออยู่ที่ 70 ตัน หากอนุญาตให้นำเข้ามาอีก 40 ตัน ก็จะกลายเป็น วัตถุดิบคงเหลือที่ยกเว้นภาษีอยู่ในประเทศไทยถึง 110 ตัน เกินกว่าที่ อ่านต่อหน้า 2

  4. กำหนดไว้ 100 ตัน ทำให้ผู้ประกอบการไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาได้ ต้องเสียค่าโรงพักสินค้าที่ท่าเรือ กว่าจะตรวจสอบและแก้ไขเรื่องได้ก็มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือบางกรณีก็อาจต้องเสียภาษีหรือภาระค้ำประกันไปก่อนและมาคืนภายหลัง การที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ประกอบการมิได้ตรวจสอบบัญชีคงเหลือร่วมกับหน่วยงานของรัฐเป็นประจำทุกเดือน ในทางปฏิบัติมีเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้นประจำวันและสามารถทำให้บัญชีคงเหลือที่ผู้ประกอบการถืออยู่ไม่ตรงกับหน่วยงานของรัฐ เช่น เมื่อมีการนำเข้าวัตถุดิบและส่งออกสินค้าสำเร็จรูป ผู้ประกอบการสามารถนำตัวเลขมาตัดบัญชีวัตถุดิบคงเหลือของตนได้ทันที เพราะผู้ประกอบการเองรู้ตัวอยู่แล้ว แต่หน่วยงานของรัฐยังคงต้องพึ่งพาหลักฐานจากใบขนสินค้าขาเข้าและขาออกที่รับรองโดยกรมศุลกากรก่อน และใบขนสินค้าเหล่านี้ยังต้องแสดงสถานะการนำเข้าและการส่งอออกที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Status 04) ด้วย ความไม่สอดคล้องกันในจุดนี้ย่อมทำให้บัญชีวัตถุดิบคงเหลือแสดงตัวเลขออกมาไม่ตรงกันและสร้างความเสียหายดังกล่าว ผมมักอธิบายให้ผู้ประกอบการทราบว่า การทำบัญชีวัตถุดิบคงเหลือที่ดีนั้น ควรทำกัน 3 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือหน่วยงานของรัฐที่ควบคุมผู้ประกอบการซึ่งอย่างไรก็ต้องทำโดยระบบอยู่แล้ว ฝ่ายที่สองคือตัวผู้ประกอบการเอง เนื่องจากเป็นผู้รับประโยชน์และโทษโดยตรง แต่ผู้ประกอบการจำนวนมากกลับละเลยไม่ทำบัญชีของตนเองก็มี และฝ่ายที่สามที่ผู้ประกอบการมักไม่นำขึ้นมาใช้ประโยชน์คือตัวแทนที่ผู้ประกอบการว่าจ้างให้มาดูแลในเรื่องนี้ ตัวแทนดังกล่าวนอกจากเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าและส่งออกแล้ว ยังจะต้องทำระบบบัญชีวัตถุดิบคงเหลือให้แก่ผู้ประกอบการ และเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบตัวเลขบัญชีวัตถุดิบคงเหลือที่ตนเองทำกับผู้ประกอบการ และส่วนงานของรัฐทั้ง 3 ฝ่าย เป็นประจำทุกเดือนอีกด้วย อ่านต่อหน้า 3

  5. เมื่อใดที่ตัวแทนพบว่า ตัวเลขไม่ตรงกันทั้ง 3 ฝ่าย การตรวจสอบก็จะเกิดขึ้นทันที การทำตัวเลขบัญชีทั้ง 3 ฝ่ายย่อมดีกว่า 2 ฝ่าย และการสร้างภาระหน้าที่ให้มีการตรวจสอบความสอดคล้องกันทุกเดือนก็ย่อมมีกว่าปล่อยให้พบข้อขัดแย้งกันขณะนำเข้าจนเกิดเป็นค่าใช้จ่ายครับ ผมยังมีเรื่องราวของสูตรการผลิตที่สำคัญกว่านี้อีกครับ สิทธิชัย ชวรางกูร กลับสู่หน้าหลัก

  6. Global News คาร์ฟูร์-บิ๊กซีควบกิจการ หวั่นผู้บริโภคถูกเอาเปรียบ นายสมชาย พรรัตนเจริญ นายกสมาคมค้าส่ง-ปลีกไทย เปิดเผยถึงการที่กลุ่มบิ๊กซีเข้าไปซื้อกิจการห้างคาร์ฟูร์ ประเทศไทยว่า ถือเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มภาคธุรกิจค้าปลีกของบิ๊กซี ที่สำคัญจะทำให้ประเทศไทยมีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่เพียง 2 ราย ได้แก่ โลตัส และบิ๊กซี อย่างไรก็ตาม ในแง่ของการแข่งขัน อำนาจการต่อรองของผูผลิตสินค้า (ซัพพลายเออร์) ของไทย จะน้อยลง อีกทั้งผู้บริโภคจะไม่มีอำนาจในการต่อรองสินค้า ซึ่งในระบบการแข่งขันหากมีห้างค้าปลีกมาก อำนาจการต่อรองของผู้ผลิตสินค้าและผู้ซื้อสินค้าก็จะมีมาก จึงต้องจับตาหลังจากนี้ไป ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ทั้ง 2 ราย จะไม่เน้นด้านการแข่งขันราคาเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงด้านการบริการและความสะดวกก็จะได้รับบริการน้อย รัฐบาลจะต้องหามาตรการดูแลไม่ให้มีการฉวยโอกาส การเอารัดเอาเปรียบ เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศไทยมีความล้าหลัง ไม่มีกฎหมายค้าส่ง ค้าปลีก เข้ามาควบคุมภาคธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่มีกฎหมายเข้ามาควบคุม ดังนั้น หากไทยยังไม่มีกฎหมายใด ๆ เข้ามาควบคุมผู้ผลิตสินค้าไทย และผู้บริโภคจะต้องถูกเอารัดเอาเปรียบจากห้างใหญ่ทั้งทางตรง และทางอ้อม อ่านต่อหน้า 2

  7. นายสมชายกล่าวว่า รัฐบาลจะต้องเตรียมตัวและตื่นตัว อย่ามองธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว ควรมองภาคธุรกิจค้าปลีก ค้าส่งรายย่อยของไทยที่มีอยู่จำนวนมาก และเห็นด้วยหากรัฐบาลจะเร่งส่งเสริมให้ภาคธุรกิจค้าปลีกของไทยเร่งปรับตัว เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองเพราะธุรกิจค้าปลีกของไทยปิดกิจการไปมาก ดั้งนั้นหากยังไม่มีกฎหมายเข้ามาควบคุม ก็จะต้องสร้างกฎกติกา และสร้างอำนาจการต่อรองให้กับภาคธุรกิจของไทย อ่านต่อหน้า 3

  8. น้ำตาลโลกพุ่ง แต่ไทยขมปี๋ นางพงษ์เทพ จารุอำพรพรรณ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย (กบ.) มีมติเห็นชอบราคาอ้อยขั้นต้นทุนการผลิต 2553/54 ในราคา 1,050 บาทต่อตัน ดังนั้น จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) พิจารณาหาเงินจำนวน 7,000 ล้านบาท ในการอุดหนุนส่วนต่างแก่ชาวไรอ้อย เพราะเดิมประเมินไว้ว่าราคาขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตัน แต่ปัญหาการแข็งของค่าเงินบาทได้ส่งผลกระทบต่อรายได้การส่งออกทำให้ราคาขั้นต้นอยู่ที่ 945 บาทต่อตัน จึงจำเป็นต้องอุดหนุนเงินเพื่อให้เกษตรกรมีกำไรในระดับที่อยู่ได้ นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการ สอน. กล่าวว่า ได้ร่วมมือกับโรงงานน้ำตาล 46 แห่ง ในการเข้มงวดการป้องกันผู้ค้า หรือผู้นำเข้าและส่งออกน้ำตาลทรายแอบลักลอบนำน้ำตาลทรายไทยไปไปจำหน่ายในประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เนื่องจากราคาน้ำตาลโลกปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคาน้ำตาล 2553/54 มีการจัดสรรน้ำตาลที่บริโภคในประเทศ (โควตา ก.) จำนวน 25 ล้านกระสอบ มากกว่าปีก่อน 3 ล้านกระสอบ ซึ่งง่ายต่อการลักลอบ “ราคาน้ำตาลเวียดนามอยู่ระดับที่กว่า 40 บาทต่อ กก. กัมพูชา 35 บาทต่อ กก. ลาวกว่า 30 บาทต่อ กก. จีน 35-40 บาทต่อ กก. เป็นต้น ไทยรัฐออนไลน์ อ่านต่อหน้า 4

  9. “แขก” ระงับการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศส่งผลกระทบไทยอย่างจัง นายวันชัย วราวิทย์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน เผย เมื่อช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาทางกระทรวงเกษตรอิหร่าน (Ministry of Jihad-e-Agriculture) ได้ประกาศระงับการนำเข้าสินค้าประเภทอาหารจากต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารของไทยในตลาดอิหร่าน เช่น ผลไม้กระป๋อง ข้าว ปลาทูน่ากระป๋อง ผลไม้สด และสินค้าอาหารอื่นๆ ซึ่งในเรื่องนี้ ทาง สคร.ณ กรุงเตหะราน ได้เข้าพบเพื่อหารือกับนาย Amir Talebi อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์อิหร่านเพื่อร้องเรียนถึงผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปอิหร่าน ซึ่งนายวันชัย เปิดเผยว่า การประกาศดังกล่าวมิใช่เป็นการระงับการนำเข้าทั้งหมด แต่เป็นการบริหารการนำเข้าเพื่อปกป้องภาคการเกษตรภายในประเทศ แต่สินค้าอาหารไทยเช่น สับปะรดกระป๋อง มะขามสด ข้าวโพดอ่อนกระป๋อง ปลาทูน่ากระป๋อง ถูกยกเลิกการนำเข้าโดยทันที ซึ่งสร้างผลกระทบในทางลบต่อการค้าและทำให้ผู้ส่งออกไทยไม่มั่นใจในการทำการค้ากับอิหร่าน แต่คาดว่าเมื่อฤดูเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรสิ้นสุดลงในอีก 4 เดือนข้างหน้า อิหร่านก็จะยกเลิกการระงับการนำเข้าสินค้าอาหารในทันที อ่านต่อหน้า 5

  10. หากผู้ประกอบการไทยต้องการที่จะส่งออกสินค้าอาหารไปยังเตหะราน สามารถทำได้โดยต้องขออนุมัติจากกระทรวงเกษตรอิหร่านก่อน หรือผู้ส่งออกไทยที่มีปัญหาในการส่งออกสินค้าอาหารไปเตหะราน ให้ติดต่อโดยตรงไปยัง สคร. ณ กรุงเตหะราน เบอร์โทรศัพท์ (9821) 22057378 , 22059776 หรือ E-Mail : thaicomaff@kanoon.net , thaitctehran@depthai.go.th ที่มา: http://www.depthai.go.th อ่านต่อหน้า 6

  11. สร้างสัมพันธ์ไทย-ภูฏาน พันธมิตรใหม่ทางการค้า นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ได้หารือข้อราชการกับปลัดกระทรวงเศรษฐกิจภูฏาน (Mr.Sonam Tshering) ในโอกาสที่นำคณะผู้แทนชาวภูฏาน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงเศรษฐกิจ สภาการท่องเที่ยว การลงทุน สภาหอการค้าและอุตสาหกรรม สื่อมวลชน และภาคเอกชน เดินทางมาเข้าร่วมงาน Bhutan Investment Roadshow ที่จัดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศ นอกเหนือจาก อินเดีย บังกลาเทศ และสิงคโปร์ที่ภูฏานให้ความสำคัญในการแสวงหาความร่วมมือทางการค้า การลงทุนจึงเลือกมาจัดงานนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศ ในฐานะที่เป็นแหล่งลงทุนที่น่าสนใจ และต้องการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติด้วยซึ่งถือว่าเป็นโอกาสดีที่นักธุรกิจไทย จะรับทราบถึงโอกาสทางการค้า การลงทุนที่มีอยู่ในภูฏาน เพื่อเป็นแนวทางสู่การขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในอนาคต ทั้งนี้ สาขาที่ไทยมีศักยภาพที่จะเข้าไปลงทุน ได้แก่ ท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหารไทย และการก่อสร้าง เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันไทยจะมีความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน กับภูฏาน ในฐานะที่เป็นสมาชิกกลุ่มประเทศ BIMSTEC ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี แต่การเจรจาได้เว้นว่างมากว่า 1 ปี เนื่องจากความไม่พร้อมของประเทศสมาชิก ไทยจึงได้ขอให้ภูฏานช่วยผลักดันให้สรุปผลความตกลงการค้าสินค้าโดยเร็ว เพื่อเป็นกลไกกระตุ้นการค้า ระหว่างประเทศสมาชิกภายในภูมิภาค อ่านต่อหน้า 7

  12. ภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ทั้งขนาดพื้นที่และขนาดเศรษฐกิจ แต่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2552 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 6.3% แต่การค้าส่วนใหญ่ยังผูกติดกับการค้าขายกับอินเดีย การค้ากับไทยยังนับว่ามีมูลค่าน้อยมาก เฉลี่ยปีละประมาณ 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ยังมีแนวโน้มขยายตัว ดังนั้น เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-ภูฏาน เพื่อเป็นกลไกให้สองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็น ในการเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้า การลงทุน รวมทั้งสร้างโอกาสให้เกิดการขยายตัวทางการค้าระหว่างกันอย่างต่อเนื่องในอนาคต ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้หารือในรายละเอียดกันต่อไป” นายยรรยง กล่าว กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กลับสู่หน้าหลัก

  13. All About Logistics ตอน"การปรับปรุงระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน" สืบเนื่องมาจากการจัดทำพิธีสารฉบับที่ 2 (protocol2) ว่าด้วยเรื่อง การกำหนดที่ทำการพรมแดน (Designation of Frontier Posts) และ พิธีสารฉบับที่ 7 (protocol7) ว่าด้วยเรื่องภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framewoek Agreement on Facilitation of Goods in Transit) กลุ่มประเทศอาเซียนยังมีโครงการปรับปรุงระบบพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน หรือ ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature : AHTN ประเทศไทยซึ่งเป็นสมาชิกอาเซียนได้รับเอาพิธีสารว่าด้วยการนำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียนมาใช้ (Protocol Governing the Implementation of the ASEAN Harmonized Tariff Nomenclature: AHTN Protocol) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้พิกัดศุลกากรร่วมกันในระดับ 8 หลักซึ่งประกอบด้วยพิกัดฮาร์โมไนซ์ขององค์การศุลกากรโลกในระดับ 6 หลัก(WCO )และเพิ่มตัวเลขในหลักที่ 7 และ 8 เพื่อรองรับรายการสินค้าที่มีการซื้อขายและแผนการลดภาษีให้แก่กันภายในอาเซียน ซึ่งประเภทย่อยหลักที่ 7 และหลักที่ 8 นี้ เรียกว่า ประเภทย่อยอาเซียน และเป็นที่แน่นอนว่า หากมีการเริ่มใช้กันอย่างจริงจังแล้ว ย่อมส่งผลกระทบทั้งด้านดี และ ด้านเสีย ต่อหน่วยงานหรือผู้ประกอบการที่มรเกี่ยวความเกี่ยวข้องเป็นแน่แท้ ฉบับหน้าเราจะลองมาสรุป ถึงผลดี และ ผลเสียที่ว่านี้กันค่ะ กลับสู่หน้าหลัก Satinun

  14. เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan ประเทศพม่า สวัสดีครับท่านผู้อ่าน มาพบกันอีกเช่นเคยกับ “เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan” สัปดาห์นี้เราจะพาไปเที่ยวประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่เอง คือประเทศพม่า ซึ่งขณะนี้กำลังมีข่าวดังไปทั่วโลกเกี่ยวกับ นางอองซาน ซูจี ผู้นำประชาธิปไตย ที่ได้รับการปล่อยตัวจากรัฐบาลทหารพม่า Myanmar ประเทศพม่า (Burma หรือ Myanmar) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีพรมแดนทางแผ่นดินติดต่อกับสองประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และอินเดีย แต่เดิมชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า MyanmaNaingngandaw ไม่ว่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลทหารอย่างไรก็ตาม คำว่าเมียนมาร์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า Myanmar แต่ความจริงแล้ว ชาว อ่านต่อหน้า 2

  15. พม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า มยะหม่า/เมียนมา ส่วนสื่อไทยมักสะกดว่า เมียนมาร์ การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศนับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด จำนวนประชากร : 50.2 ล้านคน (2547) มีเผ่าพันธุ์ 135 เผ่าพันธุ์ ประกอบด้วย เชื้อชาติหลัก ๆ 8 กลุ่ม คือพม่า (ร้อยละ 68) ไทยใหญ่ (ร้อยละ 8) กะเหรี่ยง (ร้อยละ 7) ยะไข่ (ร้อยละ 4) จีน (ร้อยละ 3) มอญ (ร้อยละ 2) อินเดีย (ร้อยละ 2) รูปแบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council – SPDC) โดยมีประธาน SPDC เป็นประมุขประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล อ่านต่อหน้า 3

  16. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา : เป็นสกุลเงินจั๊ต (Kyat) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 25 จั๊ตต่อ 1 บาท หรือประมาณ 1,300 จั้ตต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (มิถุนายน 2549) การค้าระหว่างประเทศ : การค้าต่างประเทศในช่วงปี 2548 มูลค่ารวม 4.5 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ (นำเข้าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่งออกประมาณ 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สินค้าส่งออก : ก๊าซธรรมชาติ สิ่งทอ ไม้ซุง สินค้าประมง ข้าว ยาง อัญมณี และแร่ธาตุ สินค้านำเข้า : เครื่องจักรกล ใยสังเคราะห์ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และเหล็ก ตลาดนำเข้า : จีน (ร้อยละ 28.9) สิงคโปร์ (ร้อยละ 20.7) และไทย (ร้อยละ 14) ตลาดส่งออก : ไทย (ร้อยละ 30.2) สหรัฐฯ (ร้อยละ 9.7) อินเดีย (ร้อยละ 9) กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ 8 มิถุนายน 2549 ได้ระบุว่ารัฐบาลพม่าประกาศนโยบายตั้งแต่เข้ายึดอำนาจการปกครองใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจพม่าจากระบบวางแผนส่วนกลาง (centrally-planned economy) เป็นระบบตลาดเปิดประเทศรองรับและส่งเสริมการลงทุนจากภายนอก ส่งเสริมการส่งออก การท่องเที่ยว และขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับภูมิภาค แต่ในทางปฏิบัติ การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของพม่าไม่คืบหน้า รัฐบาลพม่าไม่ได้ดำเนินการในทิศทางดังกล่าวอย่างเต็มที่ รัฐบาลยังคงคุมและแทรกแซงภาคการผลิตต่าง ๆ อย่างเข้มงวด มีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบด้านการค้าการลงทุนบ่อยครั้ง อาทิ เมื่อปี 2546 รัฐบาลพม่าได้ประกาศให้ทำการค้าข้าวโดยเสรี แต่ในปี 2547 ได้ประกาศห้ามส่งออกข้าวเป็นเวลา 6 เดือน ปัจจุบัน แม้ว่ารัฐบาลพม่ายังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ ที่สำคัญเพื่อปฏิรูประบบเศรษฐกิจมหภาค แต่พยายามเร่งการพัฒนาภาคการเกษตร การส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งเสริมการท่องเที่ยว การนำทรัพยากรมาใช้ (โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติและพลังน้ำ) และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อ่านต่อหน้า 4

  17. การลงทุนด้านพลังงานในพม่าเป็นแหล่งรายได้จากต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของพม่าในปี 2547 – 2548 รัฐบาลพม่าได้ลงนามการสำรวจก๊าซธรรมชาติกับบริษัทเอกชนต่างประเทศหลายราย อาทิ จีน ไทย (ปตท.สผ.) อินเดีย และสาธารณรัฐเกาหลี ปัจจุบันการลงทุนด้านพลังงานในพม่ามีสัดส่วนประมาณร้อยละ 88 ของการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมดในพม่า มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 95 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2546 และ 128 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 นอกจากนั้น รัฐบาลพม่าเตรียมจะเปิดพื้นที่แหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในทะเลให้เอกชนต่างชาติลงทุนสำรวจและขุดเจาะเพิ่มอีก 13 แปลง (ยังคงสงวนแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติบนบกไว้สำหรับวิสาหกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของพม่า) ขณะเดียวกัน ก็เริ่มความร่วมมือด้านไฟฟ้าพลังน้ำกับไทยและจีน ซึ่งเป็นโครงการที่พลเอกอาวุโส ตาน ฉ่วย ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง นโยบายด้านสังคมและวัฒนธรรมของพม่าให้ความสำคัญต่อการยกระดับจิตใจ และศีลธรรมของประชาชน การรักษเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมประจำชาติและเน้นความรักชาติ รัฐบาลพม่าไม่ส่งเสริมให้ประชาชนพม่ารับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะวัฒนธรรมตะวันตกมีการปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน ซึ่งทำให้ประชาชนไม่มีข้อเปรียบเทียบกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของประชาชนประเทศอื่น ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลพม่าสามารถควบคุมและปกครองประเทศได้อย่างมั่นคงมากขึ้น ในพม่าภาคแรงงานนอกระบบมีการจ้างงานจำนวน 1,473,754 คน ลักษณะงาน ในภาคแรงงานนอกระบบของสตรีในพม่า ได้แก่ ขายของตามท้องถนน (15.7%) ขายของในตลาด (15.4%)  ขายของในร้านค้า  (14.0%) การทำงานฝีมือ (1.0%)  ขายของเร่ (9.8%) แรงงานในภาคอุตสาหกรรม (4.9%) ทอผ้า เย็บผ้า (2.2%)  รับจ้างทำงานตามบ้าน (1.2%)  ก่อสร้าง (1.2%) การโรงแรม (0.5%)  ทำผม (0.5%)  พนักงานในร้านน้ำชา ลูกมือในครัว และภาคธุรกิจอื่นๆ (0.2%) Perter Chan กลับสู่หน้าหลัก

  18. SNP PHILOSOPHY ข้อคิดดีๆ ยามท้อแท้ ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา...จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหวท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใครแค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ ถ้าโกรธกับเพื่อน. . . มองคนไม่มีใครรัก ถ้าเรียนหนัก ๆ . . . มองคนอดเรียนหนังสือ ถ้างานลำบาก . . . มองคนอดแสดงฝีมือ ถ้าเหนื่อยงั้นหรือ . . . มองคนที่ตายหมดลม ถ้าขี้เกียจนัก . . . มองคนไม่มีโอกาส ถ้างานผิดพลาด . . . มองคนไม่เคยฝึกฝน ถ้ากายพิการ . . . มองคนไม่เคยอดทน ถ้างานรีบรน . . . มองคนไม่มี เวลา อ่านต่อหน้า 2

  19. SNP PHILOSOPHY ถ้าตังค์ไม่มี . . . มองคนขอทานข้างถนน ถ้าหนี้สินล้น . . . มองคนแย่งกินกับหมา ถ้าข้าวไม่ดี . . . มองคนไม่มีที่นา ถ้าชีวิตนี้แย่ . . .มองคนที่แย่ยิ่งกว่า อย่ามองแต่ฟ้า . .. . ที่สูงเกินตาประจักษ์ ความสุขข้างล่าง . . . มีได้ไม่ยากเย็นนัก เมื่อรู้แล้ว . . . จัก . . . ภาคภูมิชีวิตแห่งตน มีความสุขแบบที่เรามีก็พอ....^_^ กลับสู่หน้าหลัก

  20. กลับสู่หน้าหลัก Logistics Specialist and International Freight Forwarder

More Related