1 / 22

S.N.P. GROUP OF COMPANIES

S.N.P. NEWS. S.N.P. GROUP OF COMPANIES. ข่าวสารฉบับที่ 152. Logistics Specialist and International Freight Forwarder. S.N.P. GROUP OF COMPANIES. www.snp.co.th. CEO Articles. CEO Articles. Global News. Supply & Demand. All about logistics. เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan. SNP Philosophy.

delu
Download Presentation

S.N.P. GROUP OF COMPANIES

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. S.N.P. NEWS S.N.P. GROUP OF COMPANIES ข่าวสารฉบับที่ 152 Logistics Specialist and International Freight Forwarder www.themegallery.com

  2. S.N.P. GROUP OF COMPANIES www.snp.co.th CEO Articles CEO Articles Global News Supply & Demand All about logistics เที่ยวรอบโลกกับPeter Chan SNP Philosophy Promotion Tel. 0-2333-1199 ( 12 Line )

  3. ชื่อสินค้า บัตรประชาชน เป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้เพื่อใช้แทนตัวของประชาชนผู้เป็นเจ้าของบัตร หลายกรณีที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางไปติดต่อกับทางราชการหรือธุรกิจด้วยตนเองได้ ก็สามารถลงนามในใบมอบอำนาจประกอบกับบัตรประชาชนของตน ก็ถือเสมือนหนึ่งว่า เจ้าของบัตรประชาชนนั้นได้มาติดต่อด้วยตนเองแล้ว CEO Articles สินค้าก็เหมือนกัน การดำเนินพิธีการต่าง ๆ ของราชการ หากทุกครั้งต้องนำสินค้าไปแสดงด้วย ผมว่าธุรกิจคงโกลาหลกันพิลึก การใช้เอกสารแทนตัวสินค้าจึงเป็นสิ่งจำเป็นประการหนึ่งซึ่งปัจจุบันเรียกว่า “ใบกำกับสินค้า” หรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า Invoice Invoice จึงมีสถานะเหมือนกับบัตรประจำตัวของสินค้า Invoice สามารถนำมาแสดงตนแทนสินค้าได้ในหลายกรณี บัตรประชาชนต้องมีข้อมูลมากมายซึ่งในยุคสมัยใหม่นี้ก็ทำเป็นไมโครชิฟฝังไว้ในบัตรแล้ว ส่วน Invoice ต้องมีข้อมูลอะไรบ้าง ผมขออนุญาตไม่นำมากล่าวในที่นี้ แต่ที่ผมอยากจะนำมากล่าวคือการเรียกชื่อสินค้าที่ระบุลงใน Invoice และเอกสารการค้าอื่น ผู้ประกอบการหลายท่าน ตกลงซื้อขายสินค้ากับผู้ซื้อและผู้ขายประเทศต่าง ๆ มักจะลืมไปว่าแต่ละประเทศที่เราติดต่อนั้น มีวัฒนธรรมในการเรียกชื่อสินค้าที่แตกต่างกัน ประเทศเราอาจจะเรียกชื่อหนึ่ง แต่อีกประเทศหนึ่งกลับเรียก อีกชื่อหนึ่ง ประสบการณ์ที่พบคือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจำนวนมากต้องถูกผลกระทบจากการเรียกชื่อสินค้านี้ อ่านต่อหน้า 2

  4. ผู้ประกอบการยื่นสูตรการผลิตไม่ว่าจะเป็นภายใต้กฎหมาย B.O.I. กฎหมายการคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ ตอนได้รับอนุมัติสูตรการผลิต มีการเรียกชื่อวัตถุดิบที่จะนำเข้าแบบหนึ่งหรือเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ที่จะส่งออกเป็นชื่อหนึ่ง แต่พอนำเข้าและส่งออกส่งกลับไประบุชื่อสินค้าอื่นที่แตกต่างใน Invoice ผลก็คือเกิดปัญหาต่อระบบของ B.O.I. หรือการคืนอากรในภายหลัง ปัจจุบันสินค้านำเข้าและส่งออกจำนวนมาก ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อตกลง F.T.A. ในข้อตกลงกำหนดพิกัดสินค้าไว้ชัดเจนว่าสินค้าพิกัดใดบ้างจะได้สิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี แต่พอนำเข้าและส่งออกจริง ผู้ประกอบการกลับไปใช้อีกชื่อหนึ่งใน Invoice หรือใบรับรองเมืองกำเนิด ผลที่ตามมาคือ การตีความ การตรวจสอบ และที่ร้ายที่สุดคือ การไม่ได้สิทธิลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีที่ผู้ประกอบการคิดว่าได้ แถมยังถูกข้อหาสำแดงเท็จที่ตามมาด้วยค่าปรับจำนวนมาก ชื่อสินค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการใช้เรียก และใช้ระบุลงไปในเอกสารทางการค้าที่ควรต้องตรวจสอบก่อนว่า ชื่อที่ถูกที่ควร ชื่อที่ทางราชการต้องการนั้น “เรียกว่าอะไร” จากนั้นควรทำความตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้เรียกชื่อสินค้าให้สอดคล้องกันจะดีกว่าครับ สิทธิชัย ชวรางกูร กลับสู่หน้าหลัก

  5. Global News พาณิชย์ทบทวน JTEPA หวั่นยุ่นรุกรถยนต์ นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯได้รับโอนภารกิจการกำกับดูแลการขับเคลื่อนความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA)  มาจากกระทรวงการต่างประเทศแล้วโดยจะเป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติภายในประเทศ และจัดประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนของฝ่ายไทย เพื่อกำหนดกลยุทธ์และท่าทีในการเจรจา  ซึ่งงานแรกที่จะดำเนินการคือการทบทวนข้อตกลง JTEPA  ที่มีการระบุไว้ว่า  หลังเปิดเสรีมาแล้ว 3 ปี  นับจาก  1  พ.ย.2550 จะต้องมีการทบทวนความตก ลงใหม่ ประเด็นเพิ่มเติมและการทบทวนข้อตกลง JTEPA กรมฯ ได้ยึดหลักมาตรา  190  ของรัฐธรรมนูญ ปี  2550  ทั้งการทำประชาพิจารณ์ และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง  ทั้งภาครัฐและเอกชน  และได้เตรียมนำเสนอกรอบต่อคณะรัฐ มนตรีและรัฐสภาต่อไป คาดว่าการเจรจาน่าจะเริ่มได้ในช่วงไตรมาสแรกปี 2554 สำหรับประเด็นที่คาดว่าญี่ปุ่น จะผลักดันให้มีการเจรจาเพิ่มเติมคงเป็นเรื่องการยกเลิกภาษีนำเข้ายานยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์มากกว่า 3,000  ซีซี  ที่ญี่ปุ่นผลักดันมาโดยตลอดส่วนไทยจะผลักดันให้ญี่ปุ่นเร่งดำเนินการเพิ่มความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจในโครงการต่างๆที่ได้ผูกพันไว้  แต่ญี่ปุ่นยังไม่ได้เร่งดำเนินการ  และหลายๆโครงการ มีความคืบหน้าค่อนข้างน้อย. อ่านต่อหน้า 2 หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

  6. แบงก์โลกหนุนคลังเพิ่มแวต 10% การประชุมระหว่างผู้บริหารคลัง และธนาคารโลก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการหารือเรื่องการปรับโครงสร้างภาษี ซึ่งธนาคารโลกเสนอแนะให้กระทรวงการคลังปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ที่เก็บอยู่ 7% เป็น 10% เนื่องจากอัตราที่เก็บอยู่ในปัจจุบันมีอัตราที่ต่ำเกินไป เทียบทั้งหมด 100 กว่าประเทศ ที่เก็บภาษีแวตมีเพียง 5 ประเทศ ที่เก็บแวตน้อยกว่าประเทศไทย นอกจากนี้ธนาคารโลกยังมองว่า การเก็บแวตเพิ่มขึ้นเป็นการสร้างรายได้มั่นคงให้กับประเทศในระยะยาว และในขณะนี้สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจก็เอื้อให้ประเทศไทยปรับขึ้นแวตได้โดยไม่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นแวตควรเพิ่มขึ้นครั้งเดียว 10% ไม่ควรทยอยปรับขึ้นที่ละน้อยและหลายครั้ง สำหรับการปรับโครงสร้างภาษีด้านอื่น ธนาคารโลกมีความเห็นเหมือนกับคลัง เช่น การปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30% เป็น 25% เพื่อให้สอดคล้องกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก เป็นการเอื้อการลงทุนภายในประเทศให้ขยายตัวได้มากขึ้น และควรมีการทบทวนภาษีสนับสนุนการลงทุนว่ามีมากเกินไปหรือไม่ ขณะที่ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็มีการเสนอให้เพิ่มฐานของผู้เสียภาษีให้มากขึ้น โดยไปเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลประกันสังคม หรือกองทุนการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เพื่อติดตามการเสียภาษีให้ถูกต้อง รวมถึงการทบทวนมาตรการยกเว้นภาษีต่างๆ ว่า เป็น การเอื้อให้กับผู้มีรายได้มากหรือไม่ เพราะเป็นการสร้างความไม่เป็นธรรมในระบบภาษี อ่านต่อหน้า 3 หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน

  7. ท่าเรือแหลมฉบังป่วน กลุ่มธรรมาภิบาลเครือข่ายต้านทุจริตและคอรัปชั่น ได้เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริต วุฒิสภา และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ถึงความไม่ชอบของการให้สัมปทานท่าเรือ A0 แหลมฉบัง (ทลฉ.) โดยระบุว่า มีการดำเนินการความไม่โปร่งใสเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทต่างชาติและมีการดำเนินการที่หลีกเลี่ยงกฎหมายทำให้รัฐเสียประโยชน์ โดยระบุว่า ทลฉ.ได้เปิดประมูลหาเอกชนเข้ารับสัมปทานท่าเรือ A0 ซึ่งเป็นท่าเรือชายฝั่งและสินค้าทั่วไปตั้งแต่ปี 2547 โดยมีบริษัทเอกชนที่สนใจเข้ายื่นซองประมูล 3 ราย แต่มีผู้ผ่านคุณสมบัติเพียงรายเดียว จึงล้มการประมูลไป และหันไปเปิดประมูลวิธีพิเศษอีกครั้งก่อนที่ลงนามในสัญญากับบริษัทเอกชนรายนี้ปลายปี 2547 ในนามบริษัทแอลซีเอ็มที อย่างไรก็ตาม หลังการลงนามในสัญญา ทลฉ. ได้ยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ท่าเทียบเรือแห่งนี้ใหม่มาเป็นท่าเรืออเนกประสงค์เพื่อให้บริการเรือสินค้าได้หลากหลาย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ภายหลังการประมูล อีกทั้งเมื่อตรวจสอบการเข้ารับสัมปทานท่าเทียบเรือดังกล่าวยังพบว่ามีการหลีกเลี่ยงไม่ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 เพราะมูลค่าโครงการตามแผนลงทุนบริษัทที่ยื่นให้ ทลฉ. ระบุว่าไม่ถึง 1,000 ล้านบาทนั้น เมื่อตรวจสอบกับแผนธุรกิจที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ และกู้เงินกับสถาบันการเงินกลับพบมูลค่าลงทุนที่แท้จริงสูงเกิน 37,000 ล้านบาท ทั้งบริษัทยังมีการขายหุ้นส่วน ใหญ่กว่า 90% ออกไปให้ต่างชาติก่อนเปิดดำเนินการทำให้รัฐได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท อ่านต่อหน้า 4 ไทยรัฐออนไลน์

  8. ข้อพิพาทการประเมินราคาเพื่อเก็บอากรสำหรับสินค้านำเข้าข้อพิพาทการประเมินราคาเพื่อเก็บอากรสำหรับสินค้านำเข้า การนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรนำเข้า โดยต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและพิธีการตามกฎหมายศุลกากร นอกจากนี้ผู้นำเข้ายังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากรด้วย และอาจต้องเสียภาษีสรรพสามิตหากสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตด้วย การดำเนินการพิธีการนำเข้า ผู้นำเข้าต้องยื่นใบขนสินค้าและเอกสารที่เกี่ยวกับการนำเข้าตามที่กำหนด และเป็นหน้าที่ของผู้นำเข้าต้องสำแดงพิกัดอัตราศุลกากรและราคาสินค้าที่นำเข้า ซึ่งจะเป็นฐานในการคำนวณอากรขาเข้า สินค้าต่างพิกัดกันอาจมีอัตราภาษีที่ต้องเสียต่างกัน จึงอาจมีข้อโต้แย้งในการจำแนกพิกัดสินค้าเกิดขึ้นระหว่างผู้นำเข้า กับเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้ ซึ่งทางกรมศุลกากรก็ได้เปิดช่องให้มีการอุทธรณ์พิกัดอัตราศุลกากรได้ แต่ก็มีบางรายบางกรณีเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องจนถึงศาลฎีกา สำหรับสินค้านำเข้าที่ต้องเสียอากรตามราคานั้น กฎหมายศุลกากรเดิมของไทยใช้ราคาตลาดหรือ “ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด” อันหมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด ไม่รวมค่าอากร ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้ โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่นำของเข้ากรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใดเป็นฐานในการประเมินอากรขาเข้า ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาประเมินราคาสินค้านำเข้าค่อนข้างมาก มีข้อโต้แย้งเรื่องการประเมินราคาระหว่างผู้นำเข้าและเจ้าหน้าที่ศุลกากรเป็นคดีสู้กันจนถึงศาลฎีกาปีละหลายคดี การประเมินราคาสินค้านำเข้าเพื่อจุดประสงค์ทางศุลกากรซึ่งรวมถึงการเรียกเก็บอากรขาเข้าด้วยเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นตามบทบัญญัติของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (แกตต์) จึงได้บัญญัติเรื่องการประเมินราคาเพื่อศุลกากรไว้ในข้อ 7 เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ให้ประเทศสมาชิกใช้เป็น แนวทางในการประเมินราคาสินค้านำเข้าเพื่อจุดประสงค์ทางศุลกากร แต่ข้อ 7 ของแกตต์ดังกล่าว ไม่มี รายละเอียดและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนพอเพียงที่จะแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ในการทำความตกลงจัดตั้ง อ่านต่อหน้า 5

  9. องค์การการค้าโลกเมื่อปี 2537 ประเทศสมาชิกจึงได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อ 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยศุลกากรและการค้า เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลกออกใช้บังคับด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีระบบการประเมินราคาสินค้าเพื่อความมุ่งประสงค์ทางศุลกากร ที่มีความเป็นธรรม มีความเป็นเอกภาพ และมีความเป็นกลาง ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีการใช้ราคาศุลกากรที่กำหนดขึ้นตามอำเภอใจหรือสมมติขึ้นเอง โดยที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกของความตกลงดังกล่าวจึงต้องมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวกับการประเมินราคาสินค้า เพื่อการศุลกากร เพื่อรองรับและให้สอดคล้อง กับความตกลงดังกล่าว ด้วยการตราพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2543 ออกใช้บังคับ หลังจากที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรไทย ใช้ราคาแกตต์ ในการประเมินราคา เพื่อเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้านำเข้าแล้ว มีข้อสังเกตว่า (ตามข้อมูลคำพิพากษาฎีกาถึงปี 2551) ยังไม่ปรากฏว่ามีข้อพิพาทในการประเมินราคาสินค้านำเข้าเป็นคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาเลย แต่กลับปรากฏว่ามีคดีข้อพิพาทที่ไทยถูกรัฐบาลต่างประเทศฟ้องร้องเรื่องนี้ต่อองค์การการค้าโลกสองคดี คือคดีที่สหภาพยุโรปฟ้องไทย เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 กรณีการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บอากรสำหรับการนำเข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากสหภาพยุโรป และคดีที่ประเทศฟิลิปปินส์ฟ้องไทยเมื่อ วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีการประเมินราคาเพื่อเรียกเก็บอากรสำหรับบุหรี่นำเข้าจากฟิลิปปินส์ ซึ่งล่าสุด เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาองค์การการค้าโลกตัดสินให้ไทยแพ้คดี โดยมีข่าวว่าทางไทยจะยื่นอุทธรณ์ ซึ่งเมื่อพิจารณารูปคดีแล้ว หืดคงจะขึ้นคอแน่ กลับสู่หน้าหลัก โดย : สกล หาญสุทธิวารินทร์ หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

  10. Supply & Demand สินค้ายอดฮิต 9 ชนิดที่ชาวอินเดียนิยมซื้อหาช่วงปีใหม่ สวัสดีค่ะท่านผู้ประกอบการ เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ใกล้เข้ามาเศรษฐกิจเกือบทุกประเทศก็กำลังเริ่มไต่ขึ้น ในขณะที่ประเทศอื่นๆกำลังเตรียมตัวกับช่วงเทศกาลที่ใกล้เข้ามาทุกทีชาวอินเดียก็ได้ฉลองเทศกาลปีใหม่ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วในช่วงดิวาลีหรือช่วงปีใหม่แขก ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน และชาวอินเดียได้ทำการช้อปปิ้งกันอย่างดุเดือดทั่วประเทศส่งผลให้ยอดขายของทุกบริษัทในช่วงดิวาลีมีสัดส่วนถึง 35% ของยอดขายตลอดปีเลยทีเดียว เหมาะเป็นอย่างมากกับการผลิตสินค้าส่งออกไปเจาะตลาดโดยเฉพาะ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าสินค้าประเภทไหนที่ควรส่งไปเจาะ? เรามาดูสินค้ายอดฮิต 9 ชนิดที่ชาวอินเดียนิยมซื้อหากันในช่วงนี้ดีกว่าค่ะ 1.เผาเทียนเล่นไฟ ตั้งแต่เดือนตุลาคมยาวไปถึงวันดิวาลี บรรดาแขกจะออกมาเผาเทียนเล่นไฟหน้าบ้านกันทุกคน อย่างน้อยที่สุดก็เป็นประทัดยักษ์ตับใหญ่ 5 เส้นเป็นอย่างน้อย นอกจากนั้นก็มีสินค้าอื่นๆ ก็ขายดีเช่นกัน พลุและประทัดเป็นสินค้า ยอดนิยม แต่ชาวโรตีจะฉลองกันสนุกยิ่งขึ้นถ้าผู้ประกอบการไทยเข้าไปร่วมแจมด้วย และส่งสินค้าแจ่มๆ ไปขายประเภท พลุ พลุดาวกระจาย พลุเสียง ตะไล ไฟพะเนียง สายธาร อักษรสวรรค์ พลุร่ม พลุฟ้าลั่น พลุร่ม ควันสี พลุสายรุ้ง ตะไลติดร่ม ลูกหนูหวีด บั้งไฟหางเล็ก โคมลม โคมไฟ โคมยี่เป็ง บั้งไฟหาง พลุเอฟเฟคหน้าเวที พลุชุด พลุเค้ก และดอกไม้ไฟ อ่านต่อหน้า 2

  11. 2.ไฟคริสต์มาส ไฟระย้า ไฟประดับ โคมไฟ ก็ขายดีมาก 3. รถยนต์ รถยนต์ทุกค่ายมียอดขายพุ่งกระฉูดสูงเป็นประวัติการณ์ โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นถึง 53% เมื่อเทียบกับดิวาลีปีก่อน โดยเฉพาะผู้นำตลาดอย่างมารูติซูซูกิขายได้ถึง 1.19 แสนคัน นับเป็นยอดขายสูงสุดตั้งแต่ตั้งบริษัทมา 4. มอเตอร์ไซค์ ก็ขายดีเช่นกัน ยอดขายในช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาสูงเป็นประวัติการณ์ถึงกว่า 1 ล้านคันในการขายเพียงเดือนเดียว ผู้นำตลาด 3 รายได้แก่ ฮีโร่-ฮอนดา บาจาจ และทีวีเอส ต่างกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าปีนี้ยอดขายเพิ่มขึ้น 35% 5.สินค้าคงทน (durable goods) เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องเล่นดีวีดี ต่างก็ขายดี โดยมีการขยายตัวประมาณ 24-40% สำหรับโซนีได้เทสินค้ารุ่นใหม่แกะกล่องป้ายแดง 3D Bravia, Cyber-Shot digital cameras, home theatre systems, Blu-ray players และ PlayStation ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 50% ในภาพรวมทีวี  LCD และLED ดิวาลีปีนี้มียอดขายเพิ่มขึ้น 100% เลยทีเดียว 6. ของหวานและขนมขบเคี้ยว ขายดีมากกว่าทุกปี จนทำให้หลายบริษัทขายจะเกลี้ยงสต๊อกกันเลยทีเดียว โก๋แก่ ทองการ์เด้น ถั่วเจดีคู่ และสเน็คของไทยน่าจะลองไปทำตลาดกันดู อ่านต่อหน้า 3

  12. 7.อัญมณีและเครื่องประดับ ร้านทองและร้านเพชรจะมีคนแน่นร้านเป็นปลากระป๋องแทบทุกร้าน ใครมีทองสวยๆ น่าจะลองไปขายแขกช่วงปีใหม่ดิวาลีนี้ เพราะสาวแขกชอบทองมากที่สุดโดยคิดเป็นมาร์เก็ตแชร์ถึง 90% ของตลาดเครื่องประดับเลยทีเดียว 8. อาหาร แน่นอนงานเฉลิมฉลองจะขาดอาหารไม่ได้ บรรดาร้านอาหารไทยช่วงนี้จะขายดีเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็จะเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปของไทย อาทิเช่น Lobo, รอยไทย ชาวเกาะ เส้นหมี่ไวไว ฯลฯ ก็ขายกันเกลี้ยงร้าน เพราะกระแสความนิยมอาหารไทยมีสูงมากในอินเดีย 9. เฟอร์นิเจอร์ ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด และไฟเบอร์บอร์ด –คนอินเดียนิยมซื้อเฟอร์นิเจอร์ใหม่ช่วงดิวาลี สมาคมธุรกิจไม้ยางพาราไทยได้ไปสำรวจตลาดมาแล้วและเห็นว่าตลาดอินเดียมีศักยภาพสูงไม่แพ้ตลาดจีนเลยบรรดาแขกทั้งหลายแย่งกันซื้อไม้ยางพาราไทยเหมือนกันแย่งของฟรีเลยทีเดียว เพนกวิ้นตัวกลม กลับสู่หน้าหลัก

  13. All about Logistics การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดเพื่อการส่งออก เคล็ดลับสู่ความสำเร็จในธุรกิจส่งออกนั้น ผู้ส่งออกจะต้องสามารถประเมินสถานการณ์ตลาดได้อย่างแม่นยำด้วยการทำวิจัยตลาดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อค้นหาลู่ทางและโอกาสทางการตลาดส่งออกก่อนคู่แข่งขัน รวมทั้งการทราบถึงอุปสรรคในตลาดต่างๆด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดที่ดีจะนำความพร้อมมาสู่ผู้ส่งออกในการพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการส่งออกที่เหมาะสมกับสถานการณ์และทันต่อเหตุการณ์ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น แม้ว่าบางบริษัทที่ยังไม่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด แต่ได้รับ Order จากผู้นำเข้าต่างชาติที่ติดต่อเข้ามา เนื่องจากความได้เปรียบด้านต้นทุนของสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตาม โอกาสเช่นนี้มักมีไม่มากและไม่ยั่งยืนนัก เพราะผู้นำเข้าจะค้นหาผู้ผลิตรายใหม่ในประเทศอื่นๆ ตลอดเวลาและพร้อมที่จะเปลี่ยนไปสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตรายอื่นทันที ดังนั้นข้อสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การค้นหาตลาดที่สินค้าของเรามีจุดแข็งและได้เปรียบคู่แข่ง และพร้อมที่จะค้นหาตลาดใหม่เมื่อสถานการณ์ตลาดเปลี่ยนแปลงไป หรือปรับกลยุทธ์ของสินค้าให้สามารถรักษาความได้เปรียบทางการตลาดต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดส่งออก คือ การใช้วิธีการต่างๆ ของบริษัทเพื่อค้นหาคำตอบให้แก่บริษัท ว่า ตลาดใดเป็นตลาดที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละสินค้าของบริษัท ดังนั้น ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดที่ดี จะต้องให้ข้อมูลด้านการตลาดแก่บริษัทได้ว่า อ่านต่อหน้า 2

  14. ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้านั้นๆตลาดที่ใหญ่ที่สุดของสินค้านั้นๆ • ตลาดที่มีการเจริญเติบโตเร็วที่สุด • แนวโน้มของตลาด • ลักษณะและสถานการณ์ของตลาด • สภาพการแข่งขันของตลาด • การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด มีความจำเป็นต่อผู้ส่งออกที่ทำการส่งออกทั้งแบบ Direct Marketing และ Indirect Marketing สำหรับผู้ส่งออกแบบ Direct การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการวางแผนการส่งออกที่จะต้องรับทราบข้อมูลอย่างละเอียดของตลาด การแข่งขันสินค้าคู่แข่ง พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อสินค้า เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ ส่วนผู้ส่งออกแบบIndirect นั้น การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาดจะช่วยให้ผู้ส่งออกสามารถเลือกตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าของตนเอง ก่อนที่จะเลือกพ่อค้าคนกลาง (Intermediary) ที่ดีต่อไป ที่มา : http://www.idis.ru.ac.th กลับสู่หน้าหลัก

  15. เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan ประเทศกาตาร์ (State of Qatar) สวัสดีครับท่านผู้อ่าน พบกันอีกเช่นเคยกับคอลัมน์เที่ยวรอบโลกกับ Peter Chan สัปดาห์นี้ที่จะพาไปเที่ยวประเทศกาตาร์เพราะ ประเทศนี้เพิ่งได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันฟุตบอลโลกต่อจากประเทศรัสเซียที่เราพาไปเที่ยวแล้วเมื่อฉบับที่แล้ว กาตาร์ เป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแหลมยื่นจากชายฝั่ง ตะวันออกของคาบสมุทรอาระเบียลงไปในอ่าวเปอร์เซีย ทิศใต้และทิศตะวันตกติดซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดบาห์เรน กาตาร์มีพื้นที่ประมาณ 4,247 ตารางไมล์ (11,437 ตารางกิโลเมตร) และมีหมู่เกาะอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 563 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นทะเลทราย ที่ตั้งประเทศมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เพราะอยู่ใจกลางอ่าวเปอร์เซีย และใกล้แหล่งน้ำมันดิบใหญ่ ๆ ของโลก มีประชากร ประมาณ 700,000 คน ร้อยละ 40 เป็นชาวอาหรับ ร้อยละ 18 เป็นชาวอินเดีย ร้อยละ 18 เป็นชาวปากีสถาน ร้อยละ 10 เป็นชาวอิหร่าน และอื่น ๆ อีกร้อยละ 14มีเมืองหลวง คือเมือง Doha (โดฮา) อ่านต่อหน้า 2

  16. ภาษา อาหรับ (ภาษาราชการ) ภาษาอังกฤษใช้กันแพร่หลายเป็นภาษาที่สอง และนับถือศาสนา อิสลาม (ร้อยละ 90 นับถือนิกายสุหนี่ อีกร้อยละ 5นับถือนิกายชีอะห์) และอื่นๆ อีก ร้อยละ 5 การปกครอง ระบอบกษัตริย์ (traditionalmonarchy) หน่วยเงิน Qatari Riyal ริยัล อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 3.64 ริยัล หรือประมาณ 12 บาท รายได้ต่อหัว 30,410 เหรียญสหรัฐ (2003)ต่อปี สูงสุดในกลุ่ม ประเทศอาหรับ ผลิตน้ำมัน ได้วันละ 928,055 บาร์เรลต่อวัน สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน ปุ๋ย เหล็ก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สินค้านำเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เครื่องยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหารและเสื้อผ้า ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น อังกฤษ สหรัฐฯ อิตาลี เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ กาตาร์เป็นประเทศอาหรับที่ดำเนินนโยบายสายกลาง มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับซาอุดีอาระเบียและประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council – GCC) ซึ่งกาตาร์เป็นสมาชิกอยู่ด้วย กาตาร์เป็นประเทศเล็กที่หวังพึ่งพาซาอุดีอาระเบียในด้านการป้องกันและความ มั่นคงของประเทศมาก โดยลงนามในความ ตกลงป้องกันร่วมกันในปี 1982 นอกจากนั้น ยังส่งกองกำลังของตนเข้าร่วมในการฝึกซ้อมทางทหาร (Peninsula Shield) ของกลุ่มประเทศ GCC สำหรับปัญหาตะวันออกกลาง กาตาร์ให้ความ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรัก – อิหร่าน และแผนสันติภาพของสันนิบาตอาหรับที่เมืองเฟซ ประเทศโมร็อกโกในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียเมื่อปี 1990 – 1991 กาตาร์สนับสนุนสหรัฐฯ และซาอุดี-อาระเบียอย่างเต็มที่ และภายหลังวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซีย กาตาร์ก็เข้าร่วมอย่างแข็งขันในแผนการรักษาความ มั่นคงของ GCC กาตาร์เป็นประเทศเล็ก มีกำลังรบทั้งด้านอาวุธและมีกำลังคนน้อย จึงหวังพึ่งกองกำลังอาหรับที่จัดตั้งขึ้นตามแผนการรักษาความมั่นของ GCC อ่านต่อหน้า 3

  17. แต่เดิมมาเศรษฐกิจของกาตาร์อาศัยรายได้จากปศุสัตว์ การประมง และไข่มุก ต่อมาเมื่อกาตาร์ค้นพบน้ำมันเมื่อ ค.ศ. 1939 รายได้หลักของกาตาร์ก็ได้แก่ การส่งออกน้ำมัน ซึ่ง กาตาร์ได้นำมาใช้จ่ายในการก่อสร้างงสิ่งจำเป็นพื้นฐานของประเทศ รายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบของกาตาร์มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 80 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมดของประเทศ และมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 66 ของรายได้ของรัฐ ปัจจุบันน้ำมันสำรองของกาตาร์ลดลงเหลือเพียงประมาณ 3.7 พันล้านบาร์เรล กาตาร์ผลิตน้ำมันในปี 2543 (2000) ปริมาณ 760,000 บาร์เรลต่อวัน (กาตาร์ได้รับโควต้าผลิตน้ำมันจาก OPEC ในปี 2543 ปริมาณวันละ 627,000 บาร์เรล แต่ผลิตจริงมากกว่านั้น) แม้ว่ากาตาร์จะมีปริมาณน้ำมันสำรองลดลง แต่กาตาร์ก็ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง กาตาร์มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันดิบในปี 2543 ประมาณ 6,496 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยกาตาร์มี แหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกรองจากรัสเซียและอิหร่าน แต่เป็นแหล่งก๊าซลักษณะบ่อเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก (North field) กาตาร์มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่พิสูจน์แล้วถึง 300 trillion ลูกบาศก์ฟุต สามารถนำมาใช้ได้มากกว่า 200 ปีในอัตราการใช้ปัจจุบัน หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่ากาตาร์มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กาตาร์ได้เริ่มโครงการสำคัญด้วยการผลิตก๊าซเหลว (Liquified Natural Gas : LNG) และกลายเป็นประเทศสำคัญในการส่งออกก๊าซเหลวไปต่างประเทศโดยเฉพาะญี่ปุ่นและ เกาหลีใต้ (ปี 2543 กาตาร์ส่งออกก๊าซจำนวน 10.8 ล้านตัน มูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าในปี 2546 กาตาร์จะ อ่านต่อหน้า 4

  18. สามารถส่งออกก๊าซได้มากถึง 15 ล้านตัน) กาตาร์มีนโยบายเน้นการกระจายฐานอุตสาหกรรมเพื่อลดการพึ่งพารายได้หลักที่มา จากน้ำมันและก๊าซ ดังนั้น แม้ว่ากาตาร์จะได้เปรียบดุลการค้า แต่ก็ยังเป็นหนี้สินต่างประเทศที่กู้มาเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและจัดทำ โครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล (ในปี 2543 กาตาร์มีหนี้ต่างประเทศประมาณ 13 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อย่างไรก็ดี สถานะการคลังของกาตาร์ดีขึ้นมาก นับแต่ปี 2543 เป็นต้นมา เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเกินดุล และรัฐสามารถเพิ่มรายจ่ายภาครัฐในการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศได้ อุตสาหกรรมที่เป็นของรัฐบาลกาตาร์เป็นอุตสาหกรรมหนัก ได้แก่ โรงงานปุ๋ยแห้ง พลาสติก ซีเมนต์ คอนกรีต เหล็กเส้น และ ปิโตรเคมี กาตาร์นับเป็นคู่ค้าอับดับ 4 ในกลุ่มประเทศริมอ่าวอาหรับ การค้ารวมระหว่างไทย – กาตาร์ ระหว่างปี 2546 มีมูลค่า 494.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยไทยส่งออกสินค้าไปกาตาร์มูลค่า 28.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจากกาตาร์ 466 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไทยจึงขาดดุลการค้ากับกาตาร์ อย่างไรก็ดี การส่งออกของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2545 และ 2546 มีการขยายตัวร้อยละ 14.7 และ 25.3 ตามลำดับ สินค้าออกของไทยไปกาตาร์ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบลิฟต์ บันไดเลื่อน เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋อง ฯลฯ เป็นต้น สินค้าที่ไทยนำเข้าจากกาตาร์ที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ปุ๋ย เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า รองเท้า ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ และสิ่งพิมพ์ ฯลฯ เป็นต้น ปัจจุบัน มีแรงงานไทยในกาตาร์อยู่ประมาณ 2,500 คนเป็นแรงงานช่างฝีมืออาชีพและกึ่งฝีมืออาชีพ ทำงานในเขตอุตสาหกรรม และโรงกลั่น ธุรกิจบริการ ก่อสร้าง สายการบินกาตาร์ โรงแรม ภัตตาคารต่าง ๆ กลับสู่หน้าหลัก Peter Chan

  19. S.N.P. Philosophy อ่อนแอซะบ้าง..ก็ดีเหมือนกัน ชีวิตคือ... การปล่อยให้ตัวเองได้อ่อนแอบ้างไม่จำเป็นต้องเข้มแข็งตลอดเวลาบางครั้งเวลาเรารั้งความเข้มแข็งเอาไว้ความอ่อนแอมันจะมีกำลังแข็งแกร่งและทำร้ายเราได้ง่ายขึ้น ในวันที่เราอ่อนแอ ยอมรับเถิดว่าเราอ่อนแอ ไม่ต้องดันทุรังบอกว่า ตัวเองยังไหวอยู่ ในวันที่เรารู้สึกแพ้ ยอมรับเถิดว่าเราไม่ชนะ ไม่ต้องหลอกตัวเอง เพื่อที่จะได้เป็นคนเข้มแข็ง ความอ่อนแอไม่ได้น่ารังเกียจแต่อย่างใด อ่านต่อหน้า 2

  20. ถ้าเราทำดีที่สุดแล้วก็หมายความว่า เราได้ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่าแล้ว ถ้าเราทำดีที่สุดแล้วก็ไม่เห็นต้องเสียดายเวลาเลยถ้าเราทำดีที่สุดแล้ว จะแพ้หรือชนะก็ไม่ใช่ความหมายใหญ่โตอะไร ประเด็นคือ...เราเคยยอมรับบ้างไหมว่าเราก็เคยอ่อนแอ"การสร้างเนื้อสร้างตัวเป็นเรื่องลำบากการธำรงไว้ซึ่งความสำเร็จยิ่งลำบากแต่ผู้ที่รู้ว่าลำบากจักไม่ลำบาก" www.baanmaha.com กลับสู่หน้าหลัก

  21. Thank You ! พบกันใหม่ฉบับหน้า Logistics Specialist and International Freight Forwarder www.themegallery.com กลับสู่หน้าหลัก

More Related