1 / 24

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.

maya
Download Presentation

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

  2. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 การศึกษาไทยในอดีต เน้นให้ความสำคัญกับการท่องจำ ไม่ได้ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล การวัดและประเมินผลก็มุ่งเน้นตัวความรู้ความจำมากกว่าความคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จึงทำให้ผู้เรียน ไม่ค่อยมีความสุข ค่อนข้างเครียด วิตกกังวลสูง ไม่มีทักษะในการประยุกต์เอาความรู้ไปใช้แก้ปัญหา ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น เราด้อยกว่านัก

  3. ในปี พ.ศ. 2517- 2519 วงการศึกษาไทยพยายามเรียกร้องให้ปฏิรูปการศึกษา แต่มีการชะงัก เพราะว่าเกิดความรุนแรงทางการเมือง เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

  4. ในปี พ.ศ. 2540 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การพยายามปฏิรูปการศึกษาจึงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ ( สกศ. ) กับสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ( สสร. ) สายการศึกษาและครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี เมื่อได้รัฐธรรมนูญได้กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาไว้หลายเรื่องโดยเฉพาะ 2 เรื่องที่สำคัญ คือความเสมอภาคในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ( มาตรา 43 ) โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการกำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาการศึกษาแห่งชาติเพื่อปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ( มาตรา 81 ) อันเป็นที่มาของ “ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542”

  5. การเสนอร่างและการประกาศใช้บังคับการเสนอร่างและการประกาศใช้บังคับ • คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหลักการ เมื่อ 23 มิถุนายน 2541 และเห็นชอบเมื่อ 20 ตุลาคม 2541 • วุฒิสภาแก้ไขปรับปรุง นำมาเสนอสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง เห็นชอบ และกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อ 1 กรกฎาคม 2542 • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงปรมาภิไธยเมื่อ 14 สิงหาคม 2542 • ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ 116 ตอนที่ 74 ก. วันที่ 19 สิงหาคม 2542 • มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 เป็นต้นไป • พ.ร.บ. ฉบับนี้ ถือว่าเป็นกฎหมายที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดฉบับหนึ่งของไทยเพราะเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่ายร่วม 5 แสนคน

  6. การดำเนินการเมื่อ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติใช้บังคับ มี 5 เรื่อง ใหญ่ๆ ดังนี้ 1.เรื่องที่ต้องดำเนินการทันที 1.1 จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เสนอการจัดโครงสร้างองค์กร 1.2 ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษาคณะหนึ่ง จำนวน 15 คน

  7. 2. เรื่องที่ต้องดำเนินการภายใน 1 ปี นับแต่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ (ประมาณสิงหาคม 2545) ได้แก่ การออกกฎกระทรวงเพื่อแบ่งระดับและประเภทการศึกษาขั้นพื้นฐานและการออกกฎกระทรวงเพื่อแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัยและสำนักงานปฏิรูปการศึกษา

  8. 3. เรื่องที่ต้องดำเนินการภายใน 3 ปี (ประมาณสิงหาคม 2545) ได้แก่ (1) ต้องจัดการศึกษาให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี (2) ต้องจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติเสียใหม่ดังนี้ 2.1) ยุบกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ 2.2) ตั้งสำนักงานรองรับมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 2.3) ตั้งสภาและคณะกรรมการจำนวน 4 องค์ภายในกระทรวงการศึกษาศาสนา

  9. 2.4) ตั้งสถานศึกษาของรัฐที่ต้องจัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล 2.5) การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา 2.6) การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา 2.7) การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2.8) การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน

  10. (3) การจัดระบบ กระบวนการผลิต การพัฒนาครูอาจารย์ และบุคคลทางการศึกษา ได้แก่ 3.1) จัดตั้งกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคคลากรทางการศึกษา 3.2) จัดตั้งองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหารของสภาวิชาชีพ3.3) จัดตั้งองค์กรกลางบริหารงานของข้าราชการครู3.4) ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น3.5) แก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ. ครู พ.ศ. 2488 และ พ.ร.บ. ระเบียนข้าราชการครู พ.ศ. 2521

  11. 4. เรื่องที่จะต้องดำเนินการภายใน 5 ปี (ประมาณสิงหาคม 2547) ได้แก่ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่งเกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ที่ใช้บังคับอยู่เดิม ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ2542 5. เรื่องที่จะต้องดำเนินภายใน 6 ปี (ประมาณสิงหาคม 2548)ได้แก่ การประเมินผลภายนอกครั้งแรกของสถานศึกษาทุกแห่ง โดยกระทรวงศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

  12. สาระควรรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ2542สาระควรรู้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ2542 1. เป็นพระราชบัญญัติการศึกษาฉบับแรกของไทย และประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดฉบับหนึ่ง 2. ประกาศใช้ 19 สิงหาคม 2542 และมีผลใช้บังคับ 20 สิงหาคม 2542 3. เกิดขึ้นจากผลของมาตรา 43 ประกอบมาตรา 335 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 4. กระทรวงที่รับผิดชอบจัดการศึกษาของชาติมีเพียงกระทรวงเดียวคือ กระทรวงการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. การศึกษามี3 รูปแบบคือ 1) การศึกษาในระบบ 2) การศึกษานอกระบบ และ 3) การศึกษาตามอัธยาศัย

  13. 6. การศึกษามี 2ลักษณะ คือ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การศึกษาตลอดชีวิต7. ผู้สอนมี 2 ประเภท คือ 1) ครู 2) คณาจารย์ 8. บุคลากรทางการศึกษามี 3 ประเภท คือ 1) ผู้บริหารสถานศึกษา 2) ผู้บริหารการศึกษา 3) ผู้สนับสนุนการศึกษา 9. สถานศึกษาทุกแห่ง จะต้องมีการประกันคุณภาพทางการศึกษาใน 2 ขั้นตอน คือ 1) มีการประกันคุณภาพภายใน 2) มีการประกันคุณภาพภายนอก

  14. 10. จุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา 1) พัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ 2) พัฒนาคนไทยให้มีสติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม 3) พัฒนาคนไทยให้มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต 4) พัฒนาคนไทยให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 11. หลักสำคัญในการจัดการศึกษา มี 3 อย่าง คือ 1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

  15. 12. หลักสำคัญในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษามี 6 อย่าง คือ 1) นโยบายมีเอกภาพ การปฏิบัติหลากหลาย 2) กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา จัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา 4) ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่างๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา 6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นๆ

  16. 13. การจัดการศึกษา ต้องให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย14. การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสาร และการเรียนรู้ 15. การจัดการศึกษาให้แก่ผู้มีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้นๆ 16. บิดา มารดา ผู้ปกครอง สามารถจัดการศึกษาให้บุตรของตนได้เอง 17. สถานศึกษาจะจัดการศึกษาเฉพาะในระบบหรือนอกระบบหรือตามอัธยาศัย หรือทั้งสามรูปแบบก็ได้

  17. 18. การจัดการศึกษาทุกรูปแบบ ไม่ว่าในระบบ นอกระบบหรือตามอัธยาศัย ให้มีการถ่ายโอนผลการเรียนกันได้ 19. การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ 1) การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การศึกษาระดับอุดมศึกษา 20. การศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา 21. การศึกษาระดับอุดมศึกษามี 2 ระดับ คือ 1) ต่ำกว่าระดับปริญญา 2) ระดับปริญญา22. การศึกษาภาคบังคับใช้เวลา 9 ปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงย่างเข้าปีที่ 16 เข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่ 9

  18. 23. แนวการจัดการศึกษายึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้ละพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด24. การจัดการศึกษาเน้นความร่วมมือระหว่างบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน สถาบันสังคมต่างๆ25 .กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีองค์กรหลัก 4 องค์กร คือ สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม

  19. 26. สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติมีหน้าที่พิจารณาเสนอ นโยบายและแผนและมาตรฐานการศึกษาของชาติ 27. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนามาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน28. คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษา 29. คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรมมีหน้าที่พิจารณา เสนอนโยบาย แผนพัฒนาด้านศาสนาการสนับสนุนทรัพยากร 30.การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษา

  20. 31.ในแต่ละในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีคณะกรรมการและสำนักงาน31. การศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย - ผู้แทนองค์กรชุมชน - ผู้แทนองค์กรเอกชน - ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบอาชีพครู - ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา - ผู้แทนสมาคมผู้ปกครองและครู

  21. - ผู้นำทางศาสนา - ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 32. แต่ละสถานศึกษา ต้องมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา เพื่อกำกับส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาประกอบด้วย - ผู้แทนผู้ปกครอง - ผู้แทนครู - ผู้แทนองค์กรชุมชน - ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น - ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา - ผู้ทรงคุณวุฒิ - ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษา

  22. 33. สถานศึกษาเอกชนให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วย 1) ผู้ บริหารสถานศึกษาเอกชน 2) ผู้รับใบอนุญาต 3) ผู้แทนผู้ปกครอง 4) ผู้แทนองค์กรชุมชน 5) ผู้แทนครู 6) ผู้แทนศิษย์เก่า 7) ผู้ทรงคุณวุฒิ

  23. 34. การรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีองค์กรมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์ 35. ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา ต้องมีใบอนุญาต 36. รัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนการผลิต และพัฒนาแบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการ สื่อสิ่งพิมพ์

  24. สมาชิกกลุ่ม • นางสาวชลธิชา เรือนปัญญา 551121806 • นางสาววิลัย ยาเจิม 551121829 • นางสาวจีรนันท์ คีรีพิพัฒน์ 551121837 • นางสาวปนัดดา พันธ์บานชื่น 551121842 • นางสาวนภาลัย เข้มขัน 551121848 โปรแกรมวิชาการประถมศึกษา 18คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

More Related