1 / 17

สรุปและวิเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ..

สรุปและวิเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 Thai Law Watch: โครงการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน. ที่มา. ปัญหาของ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 (ปัจจุบัน)

noreen
Download Presentation

สรุปและวิเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .. ..

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สรุปและวิเคราะห์ ร่างพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554 Thai Law Watch: โครงการปรับปรุงกระบวนการนิติบัญญัติของประเทศไทยเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

  2. ที่มา • ปัญหาของ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 (ปัจจุบัน) • ไม่เคยบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง • ไม่ครอบคลุมรัฐวิสาหกิจ • สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าไม่เป็นอิสระ • ร่างพ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเสนอโดยนางอนิก อมระนันทร์ และคณะ ได้รับการรับรองโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2554 • ต้องการประเมินร่างฯ ว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่

  3. หลักการและเหตุผล 1(ของกฎหมายแข่งขันทางการค้า) • ให้เศรษฐกิจบรรลุประสิทธิภาพสูงสุด • ไม่มีการจำกัดปริมาณ และ/หรือโก่งราคา • ไม่ปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค • เช่น ลดคุณภาพ บังคับจำนวนซื้อ บังคับซื้อพ่วง ฯลฯ • ไม่กีดกันคู่ต่อสู้ทางการค้า เพื่อคงอำนาจผูกขาด • มีการพัฒนาสินค้าบริการ และลดต้นทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ • ฯลฯ

  4. หลักการและเหตุผล 2(ของกฎหมายแข่งขันทางการค้า) • การผูกขาด =>ความด้อยประสิทธิภาพ • นอกจากที่กล่าวไปข้างต้น ยังทำให้เกิดการแทรกแซงทางการเมืองด้วย • กฎหมายแข่งขันทางการค้า • เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ให้เศรษฐกิจบรรลุประสิทธิภาพสูงสุด • ป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาด (market power) เอาเปรียบผู้บริโภค และ กำจัดคู่แข่งขัน

  5. กฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศไทยกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย • พ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2480 • พ.ร.บ. กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ.2522 • พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 • ห้ามใช้อำนาจเหนือตลาดทำการค้าอย่างไม่เป็นธรรม (มาตรา 25 ) • ห้ามควบรวมกิจการอันก่อให้เกิดการผูกขาด (มาตรา 26) • ห้ามผู้ประกอบการสมคบกันผูกขาด (มาตรา 27) • ห้ามกีดกันคู่ต่อสู้ทางการค้า (มาตรา 28 และ 29)

  6. การบังคับใช้ • พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 • ใน 11 ปีที่ผ่านมาได้รับเรื่องร้องเรียน 77 เรื่อง • ดำเนินคดีบริษัทฮอนด้าเพียงกรณีเดียว • ไม่พบความผิด = 66, อยู่ระหว่างพิจารณาหรือตรวจสอบ = 10

  7. กฎหมายแข่งขันทางการค้าในต่างประเทศกฎหมายแข่งขันทางการค้าในต่างประเทศ ในช่วง 11 ปีเช่นกัน ... • Federal Trade Commission (FTC) ของสหรัฐอเมริกา • บังคับใช้ทั้งหมดอย่างน้อย 320 กรณี • Korea Fair Trade Commission ของประเทศเกาหลีใต้ • มีบังคับใช้อย่างน้อย 1,001 กรณี ฯลฯ

  8. สาระสำคัญของร่างกฎหมายสาระสำคัญของร่างกฎหมาย • ให้ “สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า” เป็นองค์กรอิสระ • มีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการฯ • ให้รัฐวิสาหกิจอยู่ภายในบังคับกฎหมายนี้ยกเว้นรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นของตนเองเท่านั้น • ให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียและจัดทำรายงานประจำปี • เพิ่มโทษระวางในกรณีที่มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการเพื่อผูกขาดและลดการแข่งขัน

  9. ประเด็นวิเคราะห์ • เสนอประเด็นวิเคราะห์แบบภาพรวมสำหรับกฎหมายการแข่งขันทางการค้า • เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ และ เพิ่มประสิทธิภาพได้จริง • การวิเคราะห์มาจากมุมมองทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก

  10. ประเด็นวิเคราะห์ 1: รัฐวิสาหกิจ • กฎหมายควรครอบคลุมรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ยกเว้นที่มีกลไกกับกับดูแลเป็นของตนเอง ไม่ใช่ที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นของตนเอง • ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายจัดตั้งเป็นของตนเองอยู่ทั้งสิ้น 38 แห่งที่ยังไม่มีกลไกกำกับดูแล เช่น การประปา การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

  11. ประเด็นวิเคราะห์ 2 : ขอบเขตตลาด • ยังไม่มีแนวทางการคำนวณที่ชัดเจน • การบังคับใช้มาตรา 25 ผู้ประกอบการจะต้องมีอำนาจเหนือตลาดก่อน ดังนั้น ต้องมี guideline ในการคำนวณที่ชัดเจน • ในระยะสั้นอาจจะใช้ขอบเขต 1 ตลาด = สินค้า 1 ประเภท, price correlation test, price difference test. • ในระยะยาวต้องใช้วิธีการคำนวณที่แม่นยำ เช่น SSNIP test (Small but Significant Non-transitory Increase in Price), barriers to entry ฯลฯ

  12. ประเด็นวิเคราะห์ 3 : อำนาจเหนือตลาด • เกณฑ์ในปัจจุบันค่อนข้างสูง • ในปัจจุบัน ผู้ที่มีอำนาจเหนือตลาดจะต้อง • มีส่วนแบ่งตลาดตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปและมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป หรือ • สามรายแรกที่มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป และมียอดเงินขายในปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป • ควรหาเกณฑ์การคำนวณใหม่ อย่างน้อยต้องครอบคลุมห่วงโซ่อุปทานของสินค้าจำเป็น เช่น น้ำดื่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ฯลฯ

  13. ประเด็นวิเคราะห์ 4 : การควบรวมกิจการ • ยังไม่มีหลักเกณฑ์เพื่อการให้อนุญาตที่ชัดเจน • มาตรา 27 (กระทำการผูกขาด หรือลดการแข่งขันตามที่กฎหมายระบุ) ให้ขออนุญาตคณะกรรมการฯ และสามารถได้รับการอนุญาตได้หากคณะกรรมการเห็นว่า “เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการประกอบธุรกิจ โดยไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เสรีและไม่เป็นธรรม ไม่เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจอย่างร้ายแรง และไม่กระทบประโยชน์สำคัญอันควรมีควรได้ของผู้บริโภคส่วนรวม”

  14. ประเด็นวิเคราะห์ 5 : การปกป้องสิทธิผู้บริโภค • บทบัญญัติ และการปฏิบัติยัง มิได้มุ่งเน้นเท่าที่ควร • ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการละเมิดกฎหมายนี้โดยตรง • ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้ารับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการเท่านั้น • สำนักงานฯ ควรใช้เกณฑ์การกระทำผิดกฎหมาย พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้าเป็นเกณฑ์รับเรื่องร้องเรียน ไม่ใช่ใช้ผู้ร้องเป็นเกณฑ์

  15. ประเด็นวิเคราะห์ 6 : บทลงโทษ • ค่าปรับไม่น่าจะสูงพอ • พ.ร.บ. แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 ล้านบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ • ร่าง พ.ร.บ. จำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือปรับไม่เกิน 12 ล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ • น่าจะปรับแบบสัดส่วน - ในอเมริกา ปรับ 3 เท่าของมูลค่าความเสียหาย แต่ไม่เกิน ร้อยละ 10 ของรายได้บริษัทจากทั่วโลก • ไม่ควรใช้บทลงโทษทางอาญา

  16. ประเด็นวิเคราะห์ 7: องค์ประกอบของคณะกรรมการ • การที่ร่างกฎหมายฯ ให้ความเป็นอิสระแก่สำนักงานฯ นั้นควรแล้ว • แต่องค์ประกอบของคณะกรรมการน่าจะยังไม่เหมาะสม • มาตรา 10 วรรคสอง ของร่างกฎหมายฯ ระบุว่า กรรมการต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ มีประสบการณ์ไม่น้อยกว่าสิบห้าปีในสาขานิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเงิน อุตสาหกรรม การบริหารธุรกิจหรือการบริหารราชการแผ่นดิน • เสนอให้มาจาก สาขานิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และ การคุ้มครองผู้บริโภค อย่างละ 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน

  17. ขอบคุณค่ะ

More Related